ผญาม่วน 9... หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง (2) ความทวยให้ขบคิดอะไร...


ภาษิตโบราณอีสานมักจะไม่บอกกันตรง ๆ แต่จะออกมาในรูปปริศนาคำทาย  หรือที่เรียกว่า "ความทวย" ซึ่งเป็นวิธีการสอนคนให้มีศีลสัตย์โดยผ่านกระบวนการขบคิดตีความไปต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งมีทั้งเข้าใจง่ายคิดตกแตกออกมาได้  และบางครั้งครูบาอาจารย์ก็ต้องบอกเฉลย ความทวย นั้น ๆ ออกมา 

อย่างความหมายของ  หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง นี้เช่นกัน  ผมเองก็คิดไปถึงบทบาทการหาบหามของสตรีเพศแม่ชาวบ้านอีสาน  ผู้มีบุญคุณแก่โลกเปิงบ้านปูมเมืองอีสานหรือหัวเมืองลาวโบราณมา  ใน หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง (1) แม่ผู้หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม  

ในครั้งนี้ปราชญ์ครูบาโบราณท่านกล่าวถึง  หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง (2)ไว้ว่า

1. หาบบ่หนัก  ได้แก่  บุญหรือวิชาความรู้ต่าง ๆ  ที่มีไม่รู้จบที่คนจะแสวงหาไม่รู้สิ้น  โดยมิต้องใส่บ่าแบกหาม  แต่พอกพูนงอกงามในห้วงนึกคิด ในภูมิปัญญาสมอง  นำพาให้บ้านเมืองทุกยุคสมัยผ่านมาได้จนลูกหลานได้สืบบ้านครองเมืองตลอดมา  ทั้งนี้ หาบบ่หนัก นี้มีทั้งภูมิปัญญาที่ฉ้อฉล  และภูมิปัญญาที่เป็นคุณแก่บ้านเมือง ซึ่งควรที่เราในยุคปัจจุบันจะต้องไตร่ตรองให้รู้อีกเช่นกัน  ว่าคนเราเป็นพวกมีวิชาความรู้แบบไหน

2. ตักบ่เต็ม  ได้แก่  โลภะ คือความโลภ  อันเป็นความต้องการอยากได้ใคร่มีมิสิ้นสุด  ดุจดังตักตวงสิ่งที่ต้องการใส่ภาชนะแห่งความต้องการที่ไม่มีวันพอ  เหมือนคำพูดที่ว่า "เมืองพอบ่มี มีแต่เมืองเพียกับเมืองพล" (ชื่อหมู่บ้านอยู่ระหว่างอ.บ้านไผ่กับ อ.ชนบท  และชื่ออำเภอพล  จ.ขอนแก่น) 

3. เค็มบ่จืด  ได้แก่  คุณงามความดีซึ่งบุคคลทำไว้แล้ว  อันคงทนอยู่ยั้งยืน ดุจเกลือรักษาความเค็ม  และน่าจะไม่เกี่ยวกับความหมายที่ว่า "คนเค็ม" ที่หมายถึงคนตระหนี่ถี่เหนียว เห็นแก่ได้แก่ตัว  แต่เค็มบ่จืดคือความดีที่คงทน  จะตกน้ำลุยไฟคนดีหรือคุณค่าของความดีก็มีความดีอยู่วันยังคำ  ดั่งเกลือละลายเป็นน้ำหรือตกผลึกเป็นเกล็ดเกลือ ก็รักษาความเค็มไว้ได้ตลอด

4. มืดบ่แจ้ง  ได้แก่  อวิชชาหรือโมหะคือความหลง  ทั้งที่ไม่รู้จริงและอวดอุตริดื้อรั้น  ซึ่งมิเพียงทำให้ตนเองเสื่อมเท่านั้น  บ้านเมืองส่วนรวมก็ย่อมตกต่ำเป็นที่เดือดร้อนแก่คนอื่นอยู่ไม่หาย 

หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง นี้จึงเป็นปริศนาธรรม หรือ ความทวย/คำทาย หนึ่งของปราชญ์โบราณ ให้เราได้ขบคิดและใช้เป็นหลักยึดสร้างคุณความดีแก่ตนเองและสังคม  พร้อมระวังสังวรณ์ในความโลภและความหลงอันเป็นอวิชชาที่ทำให้เสียหายได้ตลอดมา.

 

 

หมายเลขบันทึก: 167611เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ดีจังเลยครับ
  • ได้ศึกษา ผญาด้วย
  • เขียนอีกนะครับ
  • ได้เรียนรู้เพิ่มเติมด้วย
  • สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ
  • ผมจะค่อย ๆ ค้นหาแลกเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ
  • ขอขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

เนื้อก็งาม ความก็เพราะ

ลอกเก็บไว้แล้วครับ ;)

  • สวัสดีครับ แวะมาอ่าน กำลังจะย้อนอ่าน บทความก่อนๆด้วยครับ ได้ความรู้ดีมากๆ
  • หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง  ผญาสั้นๆ แต่ความหมายกว้างขวาง ความทวย นี่เหมือน ปริศนาเซ็น เลยนะครับ
  • สวัสดีครับท่านP 3. ธ.วั ช ชั ย ขอบคุณมากที่บันทึกนี้ได้มีส่วนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันครับ

 

  • สวัสดีครับท่านP 4. กวินทรากร ครับ  คำทายหรือความทวย (ทาย:ทวย) นี้  ก็เป็นแนวคิดปรัชญาตะวันออกอย่างหนึ่ง  จึงมีความรู้สึกอย่างเซ็นอยู่  เมื่อผมอ่านเรื่อง-กวีเซ็นก็รู้สึกมีนัยถึงผญาปริศนาของลาว/อีสานเช่นกันครับ.. ยินดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ
  • ขอบคุณทั้งสองท่านครับ

 

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ครูชา

       หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด มืดบ่แจ้ง 

       เป็นปริศนาคำทายที่ลึกซึ้งมากครับ   จะออกในแนวเซ็นอย่างที่คุณกวินทรากร ว่าไว้นั่นแหละครับ

       คนอิสานมีภูมิปัญญาที่ลึกซึ้งมากนะครับ   เสียดายที่เราไม่ค่อยหยิบเชิดชูขึ้นมา  หรืออาจเป็นเพราะว่าผมไม่ค่อยได้อ่าน หรือศึกษาก็เป็นได้

        ท่านอาจารย์ได้นำมาเผยแพร่ถือว่าดีมากครับ

                                 จะรอติดตามตอนต่อไปครับ

      

      

มาเยี่ยม...

มาได้ลื้อฟื้นควมเก่า...ผญาเฮา...มีปริศนาธรรมหลายแท้น้อ...

  • สวัสดีครับอาจารย์ umi ครับ
  • สักครู่ผมเข้าอ่าน กลอนตลาด...เพื่อนเชยชม..? ของท่าน ได้อรรถรสมาก
  • พอกลับมาพบท่านเข้าเยี่ยม ผญาม่วน 9 นี้ ดูปุ๊บปั๊บทันใจ สมเป็นสวรรค์ของการ ลปรร โดยแท้ครับ G2k
  • สวัสดีครับ อาจารย์

    ผมเพิ่งแวะมาอ่านเพราะชอบอ่านที่เป็นของอีสาน เพราะผมเป็นคนอีสาน แต่เพราะความจนเลยจากอีสานมานาน...แต่ภูมิใจที่เป็นคนอีสานครับ..ชอบข้อเขียนของอาจารย์มาก ๆ..ผมขออนุญาตอาจารย์เผยแพร่ไปสอนเด็กใน กทม..นะครับ สนุกดี

    ครูดี๋

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท