Communication Literacy


คนที่มีทักษะในการอ่านความรู้สึกคนนั้น จะจับใจคนได้เร็ว ทักษะชุดนี้จำเป็นมากในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะมันจะบอกเราว่าเราควรจะวางท่าทีอย่างไร หรือแสดงออกอย่างไรกับคนๆนั้น ได้อย่างเหมาะสมที่สุด เราไม่ได้ฝึกเพื่อเอาไว้ลวงใคร แต่เราควรฝึกไว้เพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่นได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เท่าที่ความสามารถของเราจะอำนวยให้

(52)   ทักษะพื้นฐาน communication literacy

 

 

 

 

ดิฉันตั้งหน้าตั้งตาสอนให้เด็กทำงาน  ฝึกการทำงานเป็นทีม และฝึกเด็กๆให้อ่านความรู้สึกคนอื่นใกล้ๆตัว  เพื่อให้เกิด "ทีม" ที่ดี  โดยไม่ทราบว่าจะจัดอยู่ในวิชาอะไร  รู้แต่ว่าหากอยากให้เขาโตขึ้นเป็นคนทำงานที่น่ารัก...ก็จำเป็นต้องสอน 

ลึกๆแล้ว ดิฉันอยากฝึกให้เด็กๆ(รวมทั้งตัวเอง) เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความรัก และรู้จักปรารถนาดีต่อกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ   :)

วันหนึ่ง  ดิฉันนึกแว่บถึงคำว่า "การรู้เท่าทันการสื่อสาร" และเข้าใจตามที่ตัวคิด  แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะบอกหรือสอนเด็กให้เขาเข้าใจ (ตามความหมายที่เรานึกถึง)ได้อย่างไร

จึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นมา  และขอให้เด็กๆอ่านก่อนเรียนและก่อนลงมือฝึกงานทีมทุกห้อง......

เด็กๆบอกว่าชื่อฝรั่งเท่ดี  แต่ชื่อไทยก็งั้นๆ  ดิฉันก็ไม่ได้เถียงเธอแต่อย่างใด  และยังคงภูมิใจเสนอให้อ่านต่อๆกันมาทุกรุ่นจนเธอเลิกบ่นกันไปเอง  :)

ในบทความนี้  ดิฉันเรียนขออนุญาตท่านผู้อ่าน เขียนแทนตัวเองว่า  ครู อย่างที่พูดกับนักศึกษานะคะ 

และขอเรียนเสนอเพิ่มเติมว่า การเขียนบทความเพื่อสนทนากับเด็ก โดยเขียนจากใจเรานั้น  ก็พอจะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กใกล้ชิดกันเพิ่มขึ้นได้ในระดับหนึ่งค่ะ  

 

..............................................................................................................

 

Communication Literacy

ครูเคยตั้งความหวังไว้ว่าถ้าเราได้แต่งงาน เอ๊ยได้ทำงาน ก็ขอให้ได้ทำงานที่เรารัก มีทีมงานที่ดี รู้มือรู้ใจกัน ทำงานแล้วมีความสุข จะเหนื่อยหนักหนาสาหัสแค่ไหนก็มีความสุข

ครูเคยเจอทีมงานอย่างนี้ก่อนที่จะตัดสินใจมาอยู่ที่ราชภัฏค่ะ งานหนักมาก แต่ครูมีความสุขมาก ครูรู้ว่าทีมจะไม่ทิ้งเรา และครูก็ไม่เคยทิ้งทีม เราทำงานจนหยดสุดท้าย เร็วและเงียบ แล้วเก็บเคลียร์ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิม ไม่เหลือร่องรอยใดๆ

แต่กว่าจะได้ทีมงานที่รู้มือรู้ใจอย่างนั้น ทุกคนต้องปรับตัวเข้าหากันอยู่เป็นปี เราต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจและยอมรับข้อดีและข้อจำกัดของกันและกัน โดยเฉพาะเมื่อต่างเพศและต่างวัฒนธรรมกัน การจะ “เข้าใจ” กันอย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

เมื่อได้ "รู้จัก เข้าใจ และ รัก" กันแล้ว เราก็กลายเป็นทีมงานที่ “รู้มือ รู้ใจ” กันในที่สุด

กว่าครูจะตัดใจออกจากทีมที่รู้มือรู้ใจอย่างนี้ได้ เล่นเอาน้ำตาร่วงไปหลายยก

และครูก็ไม่คิดเลยว่าจะโชคดีได้เจอ “ทีม” ที่มีหัวใจแบบเดียวกันนั้นอีกในราชภัฏไกลปืนเที่ยงอย่างที่นี่

 เด็กๆทำให้ครูกลับไปรู้สึกอย่างนั้นได้อีกครั้งนะคะ เวลาทำงานร่วมกัน ครูรู้สึกรื่นเริงบันเทิงใจเป็นอันมาก แม้ว่าจะเป็นกังวลกับอะไรต่อมิอะไรที่เกิดขึ้นได้เสมอขณะทำงาน แต่เด็กๆก็ทำให้ครูรู้สึกมั่นใจว่าทีมจะทุ่มใจลุยพายเรือน้อยบึ้ดจ้ำบึ้ดไปจนถึงฝั่ง แล้วเราก็ถึงฝั่งร่วมกันจนได้ทุกที จะทำงานกับมืออาชีพ หรือทำงานกับนักศึกษา ก็ได้อารมณ์มั่นใจไม่ต่างกันเลย

ครูว่าครูโชคดีชะมัด.....

เทอมนี้ครูโชคดีชะมัดเลยจริงๆนะคะ ครูเจอทีมที่ตั้งใจทำงานจริงๆ ครูว่าเด็กๆจะโตขึ้นเป็นมืออาชีพที่ใครก็ปฏิเสธได้ยาก หลายคนที่ครูได้ร่วมงานด้วยนั้นฉลาดมาก เขาอ่านออกว่าครูต้องการอะไร จะเอาอะไร จะให้ใครทำอะไร และขณะนั้น ครูกำลังรู้สึกอย่างไร

คนที่มีทักษะในการอ่านความรู้สึกคนนั้น จะจับใจคนได้เร็วค่ะ ทักษะชุดนี้จำเป็นมากในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะมันจะบอกเราว่าเราควรจะวางท่าทีอย่างไร หรือแสดงออกอย่างไรกับคนๆนั้น ได้อย่างเหมาะสมที่สุด เราไม่ได้ฝึกเพื่อเอาไว้ลวงใคร แต่เราควรฝึกไว้เพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่นได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เท่าที่ความสามารถของเราจะอำนวยให้

ที่ครูเรียกว่า ชุด เพราะทักษะนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะหลายประการ ได้แก่ ความละเอียดอ่อน ความไวต่อสีหน้าและท่าทางของบุคคล ความชำนาญในการอ่านความคิดและจิตใจคนจากสีหน้า สายตา ท่าทาง และคำพูด และประสาทสัมผัส

บางอย่างที่เป็นความรู้สึกแว่บเดียว แต่จะทำให้เรา “รู้” ว่าคนที่อยู่ตรงหน้ากำลังรู้สึกอย่างไร แม้ว่าเขากำลังพยายามจะซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงไว้ อาจเรียกว่า สัญชาตญาณ ก็ได้กระมังคะ


หากเรามีโอกาสร่วมงานกัน อย่าลืมฝึกทักษะชุดนี้นะคะ ครูสอนไม่เป็นหรอกค่ะ ครูเพียงแต่ฝึกให้เด็กๆสังเกตวิธีสื่อสาร และวิธีทำงานแบบโฮมๆของครู แล้วก็ให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะ “อ่าน” ครู อย่างเป็นธรรมชาติ อ่านผิดมั่งถูกมั่งก็ไม่เป็นไร สักวันจะ อ่าน ออกไปเอง


ครูคิดว่า การรู้เท่าทันการสื่อสาร (communication literacy) จำเป็นสำหรับเราในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และสักวันทักษะชุดนี้อาจจะเป็นประโยชน์กับชีวิตอย่างที่เรานึกไม่ถึงก็เป็นได้

ครูเพิ่งเข้าใจว่าที่เราเรียนวิชาอะไรต่อมิอะไรไปตั้งมากมายนี่.....เพื่ออะไร...........

เราเรียน อย่างหนึ่งก็เพื่อให้เรามีโอกาสมากขึ้น ที่จะเลือกความรู้ที่เรามี ไปประยุกต์ใช้กับอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา โดยที่เราแทบไม่มีโอกาสรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เมื่อมันเกิดขึ้น อะไรบางอย่างที่เราได้เรียนรู้ สั่งสม และตกผลึกเป็นประสบการณ์ ความรู้ และความคิด ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตอย่างที่เรานึกไม่ถึงทีเดียว .....และหากเมื่อวันนั้นมาถึง


ครูขอเอาใจช่วย......ให้เด็กๆทุกคนโชคดีนะคะ    :)

 

........................................................................................

 

ที่มา  ปรับจากกระทู้  การรู้เท่าทันการสื่อสาร เว็บไซต์ วิชาการ.คอม  ความเห็นเพิ่มเติมที่ 7       19 พ.ย. 2548  

 

หมายเลขบันทึก: 88583เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)
  • ชอบเทคนิคนี้จังเลยครับ
  • communication literacy
  • ไม่แปลกใจที่พี่โอ๋แนะนำให้มาอ่านบันทึกของอาจารย์ตั้งนานแล้ว
  • จริงๆแล้วมาอ่านบ่อยมากแต่ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้เลยครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่ทำให้คิดว่าครูดีๆมีอยู่ทั่วแผ่นดินไทย
  • ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต
  • ดิฉันคิดว่าเรื่อง การรู้เท่าทันการสื่อสาร ในที่นี้ เป็นเรื่องเฉพาะทางการเรียนการสอน  คู่กับการสอนเด็กตามธรรมดา  ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นเรื่องที่คุณครูอาจารย์ส่วนมากทราบกันอยู่แล้ว
  • แต่ดิฉันนำมาเขียนเสียยืดยาว  คือบางทีก็เหมือนทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก
  • เพื่อนดิฉันบ่นว่า....น้อยคนจะอ่านได้โดยไม่ง่วงนอนอะค่ะ  ... :)
  • ดิฉันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกับการฝึกให้คิดและทำอย่างมีวิจารณญาณนะคะ  แต่อาจจะขยายวงการคิดกว้างออกอีกนิดนึง  และมองเห็นภาคปฏิบัติการชัดขึ้น 
  • และดิฉันก็ยังคงเชื่อมั่นจนออกนอกหน้า ว่าต้องผลักดันให้  เกิดความตระหนักรู้ เรื่องการรู้เท่าทันการสื่อสาร ทุกระดับการศึกษา
  • และหน้าที่ที่ดิฉันต้องทำอย่างจริงจัง  คือสื่อสาร  ลงมือทำ ฝึกคนให้เกิดทักษะนี้จริงๆ และ ผลักดันอีกทีให้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร บรรจุอยู่ในหลักสูตรของชาติไทยให้จงได้ (คืออันนี้ก็เวอร์ไปพอประมาณ แต่ไม่รู้มีอะไรดลใจทำให้ดิฉันมุ่งมั่นจนออกนอกหน้า) 
  • ดิฉันเริ่มจากตนเอง โดยพยายามทำให้เด็กๆเกิดทักษะนี้จริงๆก่อน   จนเด็กเห็นจริง และตัวดิฉันก็เห็นและคิดอยู่เสมอว่าจริง........
  •  เริ่มจากคนเล็กๆ  วงเล็กๆ   แล้วค่อยๆเพียรพยายามสื่อสารไปสู่วงกว้าง 
  • เริ่มต้นเรื่องนี้ต้องขอบคุณ วิชาการด็อตคอม ค่ะ  เพราะดิฉันได้อาศัยพื้นที่โพสต์เป็นปี  มีกัลยาณมิตรที่ใจดีมากให้คำแนะนำเสมอ
  • จากนั้น เมื่อมา GotoKnow ก็ต้องขอบพระคุณพี่โอ๋ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ดิฉันกล้าออกมาสื่อสาร   แล้วก็เลยได้สื่อสารต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้
  • บางทีเลยรู้สึกเหมือนกำลังเรียนอยู่เลยค่ะ   ต้องเรียนรู้เอง  อ่าน ฟัง และดู  แล้วก็เรียนรู้จากทุกคน ทุกสิ่งรอบตัว  แล้วนำมาประมวลเป็นอะไรสักอย่าง  ที่บอกไม่ถูกเหมือนกัน  เลยเขียนวนๆพายอ่างอยู่ในเรือแบบนี้อะค่ะ
  • ดิฉันกะว่าพอ-วนได้ที่  เวียนหัวกำลังดีแล้ว  ก็จะเริ่มอ่านและแปลจากข้อมูลความรู้ของฝรั่ง  เพื่อนำมาสังเคราะห์  คืออ่านๆๆๆจนหลอมละลาย  ถ้าเข้ากันได้ก็จะ เดินต่อไปค่ะ   เพราะของไทย  ดิฉันไม่ทราบจะไปค้นหรือคว้าข้อมูลปฐมภูมิจากที่ใด  คือคิดยกเมฆคำนี้เอาเองมาตั้งแต่ต้น  แถมไปตู่เอาคำว่า communication literacy  ของฝรั่งมาด้วย   แล้วถึงตอนนี้ยังแปลไม่ออกสักกะตัว  เลยต้องมานั่งประมวลแบบมั่วตั้วมั่วตุงอยู่คนเดียว
  • แต่มั่นใจมากว่าท่านผู้รู้ที่ รู้และเข้าใจ และทำอยู่ก่อนแล้วนั้น  ท่านเขียนแป๊บเดียวก็เสร็จ  สักวันเมื่อมีหนังสือหรือมีงานวิจัยเรื่องนี้  ดิฉันจะมีความสุขมาก  เพราะมีที่อ้างอิงแล้ว
  • จากนั้นดิฉันก็จะได้ยืนบ่นหน้าชั้นอย่างมีความสุข  ไม่ต้องมานั่งกังวลกับความรู้ชุดนี้อีกต่อไป
  • เฮ้อ....กลุ้มใจตัวเองด้วยอะค่ะอาจารย์ขจิต  เขียนตอบทีไรยาวเป็นไมล์ทู้กที......  :)   

โอ...นึกออกอย่างนึงค่ะ.......

เพื่อให้ถูกหลักฮวงจุ้ย(เกี่ยวไรกันก็ไม่ทราบอะค่ะ)   ประเดี๋ยวดิฉันจะเปลี่ยนชื่อบันทึกนี้  กลับไปใช้ชื่อเดิมของบทความ  คือ Communication Literacy  จะได้รู้สึกเร้าใจ  อ่านแล้วไม่ง่วง 

ดิฉันชอบคำฝรั่งคำนี้จังค่ะ  ไม่ทราบเป็นยังไง  ดูเหมือนครอบคลุมการสื่อสาร  แบบที่ต้องใช้วิจารณญาณทุกประเภท  อิอิ  แปลของเขาไม่ออกแต่ตู่เอาอะค่ะ ....... :)

 

ชอบมากๆค่ะครู : )

"เราไม่ได้ฝึกเพื่อเอาไว้ลวงใคร"
แต่ "เพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่นได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง"

ี่ถูกใจมากค่ะ เพราะมีอ.ทางการสื่อสารน้อยคนนักที่สอนชัดเจนแบบนี้ เคยได้อ่านได้ยินแต่พวกที่สอนให้ เอาไปเจรจาเพื่อให้ได้ผลตามที่ตัวเองต้องการ 

มัทเพิ่งคุยกับสามีเรื่องนี้เองค่ะว่า เนี่ยะ คนนั้นหน่ะเค้าภูมิใจมากเลยนะที่พูดแบบมีเทคนิคเลยได้มาซึ่ง สิ่งที่ต้องการแต่เค้าไม่รู้ตัวเลยเหรอว่า คนฟังหน่ะอ่านเกมออก แต่ที่ยอมเพราะรู้ว่า เจตนาคุณคืออะไร ไม่ได้ยอมเพราะหลงในคารมเลย

มัทว่าหลายคนที่ไปเรียน communication skill มา คิดว่าตัวมีเทคนิคการพูดที่ดี แต่อาจจะไม่มี communication literacy ที่รอบด้าน

มันต้องรู้เท่าทัน ทั้งคนอื่นและตัวเอง แบบนี้ดีมากๆค่ะครู : )

มัทเบื่อมากพวกที่ไปอบรมงานที่พวก HR  จัด แล้วเข้าใจว่าตนเองมีทักษะทางการสื่อสาร เพราะสั่งสมประสบการณ์มาว่า พูดอะไรแล้วได้อย่างที่ต้องการ โดยที่ไม่ดู/ฟังกลับเลยว่าคนฟังรู้สึกอย่างไร 

กลายเป็น black list ของคนฟังไปแล้ว 

: ) 

  • ดีใจมาก ...อาจารย์มัทแวะมาแล้วอะ...ดีใจจริงๆนะคะ  อยากแวะไปหา  กำลังเวียนบล็อกไปเวียนบล็อกมา  จนไปไม่ถึงสักที  แต่อาจารย์มาแว้ว......สงสัยถูกหลักฮวงจุ้ยจริงๆ  อิอิ......
  • อยากบอกอาจารย์มัทนาอย่างนี้(มานานแล้ว)นะคะ

1. อยากเรียนกับอาจารย์ที่สุดเลยค่ะ  อาจารย์เข้าใจพุทธโมเดิร์น VS โพสต์โมเดิร์น  อย่างที่ไม่ติดกรอบ  อาจารย์มัททะลุกรอบไปแล้วอะค่ะ  ว้า...พูดไม่ถูก  แต่รู้สึกอย่างนั้น  แล้วก็อธิบายอะไรๆที่ติดค้างอยู่ในใจดิฉันได้อย่าง  เป็นธรรมชาติ เป็นปกติธรรมดา  แบบสูงสุดคืนสู่สามัญ 

ไม่ได้ชมหรูๆนะคะ  พูดจากใจจริง  การเข้าใจความเป็นธรรมชาติธรรมดา  เห็นภาวะสูงสุด  (เรียนรู้ หาความรู้มาอธิบายความจริง  ถ้าหลงอยู่ในความรู้  ก็จะไม่เจอความจริง) คืนสู่สามัญ (มองเห็น "ความจริง" ว่า "มันเป็นเช่นนั้นเอง")

ดิฉันนึกๆดู  รู้สึกว่าบางทีเราก็ทำให้นิพพานไกลเกิน(กว่าที่จะยอมให้เป็นความ)จริงไปหน่อย 

(เอ่อ...ขอโทษท่านผู้รู้ทุกท่านที่อาจแวะมาด้วยนะคะ ดิฉันก็คิดไปตามประสาคนรู้น้อย  เลยไม่ทราบจะอ้างความรู้ใดนอกจากพูดไปตามที่คิด)

2. ชอบวิธีคิด และกระบวนการคิดของอาจารย์มัทมากค่ะ  โดยเฉพาะบล็อกจินตนาการ ของคุณเบิร์ด (คุณเบิร์ดก็น่ารักมาก  สื่อสารได้ดีมาก) 

อุ้ย...ยังไม่จบอะ   มือไปโดนอะไรเข้าง่ะ   ไม่ได้อ่านทวนเลยด้วย   สดๆจากใจเลยอะค่ะ... :)

ต่ออีกหน่อยนะคะ...

ดิฉันชอบวิธีคิดและกระบวนการคิดของอาจารย์มัทมาก   และในบล็อก"จินตนาการ......"ของคุณเบิร์ด อาจารย์ตอบได้ชัดและตรงตามสภาพจริงมากค่ะ

ขณะเดียวกัน   ดิฉันได้เห็นว่าการสนทนาเช่นนี้ให้คุณค่าอย่างสูง  เพราะทุกคนที่เข้ามาตอบ  ต่างก็ตั้งใจ "ให้" สิ่งที่ตนรู้    และการแลกเปลี่ยนก็เป็นไปเพื่อการค้นหาคำตอบ  เพื่อที่จะ "ให้"อีกเช่นกัน   เป็นการสนทนาที่น่ารักมากนะคะ  ดิฉันอยากให้นักศึกษาได้อ่านจริงๆ  แม้วันนี้เขาจะยังไม่รู้เรื่อง  แต่หากฝึก "อ่าน" หรือ "ฟัง" การสนทนาแบบนี้บ่อยๆ  เขาจะมีวิธีคิดที่แยบคาย  และจะติดเป็นนิสัยดีๆ  โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่นิสัยดีที่มีความคิด 

สงสัยต้องแวะเข้าไปบอกคุณเบิร์ดด้วย  บอกให้ถึงตัวเลย  :) 

  • ดิฉันก็เลยต่อความยาวไปสามกิโลอีกแล้วอะค่ะ :)
    • ขอบคุณอาจารย์มัทนามากนะคะ 

     

     

    ครูอ่านแล้วชอบแปลว่า ครูเองก็ทะลุกรอบไปแล้วเช่นกันค่ะ : )

    ขอบคุณมากๆนะคะสำหรับกำลังใจ อ่านแล้วตัวม้วนเลยค่ะ : P ต้องกำหนดจิตตั้งสติอย่างแรงเลยค่ะ ต้องบอกตัวเองว่า ได้รับคำชมแบบนี้มีสุขเหลือเกิน แต่สุขมาแล้วก็ไป อย่าไปยึดมั่น : ) 

    มัทเชื่อว่าคนที่คิดดีๆมีมากมายนัก เพียงแต่ความคิดในหัวมันก็ยากเหลือเกินที่ จะเรียบเรียงออกมาเป็นคำๆตามที่ใจคิด

    ปราชญ์บางท่านเลยไม่ใช้แล้วภาษาพูดเขียนแนวอธิบาย ใช้ภาพ หรือ koan หรือ riddle แทน

    มัทก็ได้ gotoknow นี่แหละค่ะที่เป็นแบบฝึกหัดให้มัท สื่อสารความคิดออกมาให้ทั้งตัวเองและคนอื่นเข้าใจด้วยตัวอักษร

    มัทมีปัญหาเรื่องการ "articulate" ความคิดกับชาวต่างชาติที่ไม่มีความรู้ด้านพุทธศาสนามากค่ะ พยายามใช้คำที่จะให้ใครก็ได้ฟังเข้าใจ  ยังต้องฝึกอีกนานค่ะ

    ขอฝากเป็นศิษย์ครูสุขุมาลนะคะ

     

    • ทึ่งกับผู้ที่สวมบทบาทครูมานานแล้วค่ะ
    • และก็ได้เห็นครูดีดี ที่ทุ่มเทให้ศิษย์มามากมายหลายผู้หลายคน
    • รวมทั้ง คุณครูผู้มีนามแฝง ดอกไม้ทะเล ด้วยค่ะ
    • ขอชื่นชมคุณครูค่ะ
    • :)   :)    "ไม่มีอะไรยากเท่ากับการถ่ายทอดทุกถ้อยคำให้ตรงใจ.......... "
    • ดิฉันรู้สึกอย่างนั้นบ่อยค่ะ  อาจารย์มัท   บางทีถึงขนาดอยากให้ปริ๊นต์ออกมาจากสมองเลย  เพราะที่นึกแว่บน่ะดี๊ดี  แต่พอเขียน...ไอ้ที่ดี๊ดีมันเก๊าะวิ่งจู๊ดนำลิ่วๆๆไป....มือเขียนตามไม่ทัน
    • บางเรื่องดิฉันก็ออกจะกลัวๆ  ไม่กล้าพูดตามที่คิด ยกเว้นเจอคนที่คิดแบบเดียวกัน  คือหากันนานอะค่ะ ....แต่พอ "หากันจนเจอ" ก็ดีใจชะมัด....  
    • ที่ดิฉันอยู่ มี อาจารย์ฝรั่งสนใจศาสนาพุทธ และไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์นานาชาติอยู่บ้างเหมือนกันค่ะ   เวลาสอนภาษาไทย  ดิฉันต้องแปลศัพท์พุทธกันเมื่อยมือ  ความเชื่อเดิมของเขาไม่ใคร่สอดรับกับของเรามังคะ   ดิฉันยิ่งภาษาฝรั่งไม่แข็งแรงอยู่ด้วย  แต่เขาก็ชอบถาม  ฝรั่งเวลาสนใจอะไรนี่เขามุ่งมั่นจริงๆ
    • เอ่อ.....ประโยคหลังสุด  "ผู้น้อยมิกล้า"   อิอิ  ดิฉันแย่งฝากตัวเป็นศิษย์ไปก่อนแล้ว  ขอคารวะสองจอกเลยอ่ะค่ะ  
    • ขอบพระคุณมากค่ะ คุณหมอนนทลี  :)
    • ดิฉันยังทำไม่ได้ถึงเสี้ยวของครูประถมกับครูมัธยมเลยค่ะ  .........กำลังนึกเสียใจอยู่ว่าทำไมระบบประเมินผลงานวิชาการจึงรังแกคุณครูได้ขนาดนี้  แต่ก็ไม่ทราบจะช่วยได้อย่างไร 
    • ..... เพราะของดิฉันก็กำลังเร้าใจอยู่เหมือนกัน 
    • อย่างไรก็ตาม  ได้เห็นรูปแฝดแล้วก็อารมณ์ดีอะค่ะ  อมยิ้มก็เหมือนกัน  ยิ่งรูปเล็กยิ่งเหมือนกันเปี๊ยบ....
    • วันก่อนคุณหมอโพสต์บันทึก    ดิฉันก็งงว่าเราไม่ได้พิมพ์อะ   มีรูปเราขึ้นมาได้ไงอ๊ะเนี่ย.....  :)   :)    
    • เชื่อแล้วครับ
    • ว่าเขียนยาวเป็น miles
    • ขอบคุณมากครับผม
    • เอ่อ...กำลังจะขยายให้เป็น เอเค่อร์ อะค่ะ
    • ดูกว้างดีค่ะ อาจารย์ขจิต :)
    นางสาวสุมณวรรณ ตั้งสุข(นางสาวสุมนทิพย์ฯ)
    หัวใจพองโตอีกครั้ง...เหมือนหลาย ๆ ครั้งที่ อึ้ง ทึ่ง ในความพยายามที่จะให้...พยายามทำอะไร ๆ ให้ดีที่สุด ของ...พระคุณที่ 3 ...แม่แอมแปร์ จะติดตามอย่างละเอียดค่ะ
    • ตอนนี้คงหลาย เอเค่อ แล้วครับ
    • ฮ่าๆๆๆ
    • คนข้างบนลูกศิษย์ใช่ไหมครับ
    • กำลังนั่งสัปหงกพิมพ์งาน....และว่าจะแวะมาดูอะไรในบันทึกสักนิด  ก็เจออาจารย์ขจิตพอดีค่ะ  
    • ใช่ค่ะ  ...ข้างบนเป็นลูกศิษย์ที่จบไปแล้วแวะมาอะค่ะ  :)  
    • เอ่อ... ว่าจะเปลี่ยนจากเอเค่อร์เป็น ตารางวา  จะได้ดูเป็นอสังหาริมทรัพย์หน่อยค่ะ  อิอิ

    สวัสดีค่ะ น้อง

    • ดีใจที่น้องแวะมานะคะ ขอให้ทำงานอย่างมีความสุข และอย่าลืมขยันอ่านหนังสือมากๆนะคะ 
    • ครูเขียนเรื่อง  การรู้เท่าทันการสื่อสาร  อย่างตั้งใจค่ะ  ครูคิดถึงเด็กๆทุกคน    ที่ให้โอกาสครูได้สอน  ได้บอก ได้ฝึก ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเด็กๆ    และให้โอกาสครูได้ทำหน้าที่ครู   
    • ถ้าไม่มีเด็กๆ....ครูจะทำไม่ได้อย่างที่ทำทุกวันนี้นะคะ     ครูรู้สึกขอบคุณเด็กๆทุกคนเสมอมา  และครูไม่เคยลืม "ที่ปรึกษา" ห้องแรกของครูเลย 
    • ตอนนี้เด็กๆมีน้องแล้วนะคะ  อิอิ   ครูเพิ่งรับเป็นที่ปรึกษาอีกครั้ง  (รุ่นปี 48)   และครูก็ทำให้น้องๆเวียนหัวมั่วตั้วมั่วตุงเช่นเคย  แต่คล้ายๆว่าเขาจะทำใจได้แล้วน่ะนะ...ครูว่านะ  :)
    • สุดท้ายนี้ขอให้น้องรักษาสุขภาพและพบแต่สิ่งดีนะคะ    โชคดีนะคะ ลูกสาว....... :)

    สวัสดีครับน้อง P ดอกไม้ทะเล

    พี่ข้ามน้ำข้ามทะเลมา...แค่คลิกเดียว..

    มาเรียนรู้กับอาจารย์แอมแปร์ครับ ชอมมาก ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์โข่งด้วยคนนะครับ 

    สวัสดีค่ะพี่บางทราย

    ขอบพระคุณมากที่สุดเลยค่ะ   แอมแปร์รีบพนมมือย่อตัวไหว้พี่บางทรายด้วยความเคารพอย่างสูง    พี่บางทรายต่างหากที่เป็น"ครู" ผู้รู้จริง     แอมแปร์ศรัทธาในความจริงที่พี่"ลงมือทำ" กับชุมชนซึ่งเป็นฐานรากของสังคมที่แท้จริง

    ของแอมแปร์เป็นครูที่ยืนพูดหน้าชั้นธรรมดา  และสิ่งที่พูดก็เกิดจากการเรียนและอ่าน  ที่เหลือก็เรียนรู้ร่วมกันแบบล้มลุกคลุกคลานไปพร้อมๆกับการสอนและฝึกเด็กในรั้วโรงเรียน  แล้วก็ยังไม่เคยออกไปถึงชุมชนใดๆเลย  

    คนที่ต้องฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และต้องเรียนรู้จากพี่  คือแอมแปร์ต่างหากอะค่ะพี่บางทราย  : )

    แม่จ๋า

    นาน...เนิ่นนาน

    ที่ห่างหาย

    แต่ความรู้สึกในหัวใจ

    ไม่เคยห่างเหินเลยสักนาที

    คุยทางMSNกับป้อม-พิจัยฤทธิ์ บ่อย ๆ ว่าไม่ได้โทร.หาแม่แอม

    คิดถึง

    เป็นห่วงเรื่องจมูกฟุดฟิดตลอดเวลา

    กับการเดินสะดุดรากไม้หน้าคณะฯ

    เติบโตค่ะ

    ทั้งหน้าที่การงานและความคิด

    เป็นผู้เป็นคนมากขึ้น

    ตามกาลเวลาและประสบการณ์ตรง

    เจ็บปวด สุข สดชื่น สมหวัง เสียความรู้สึก

    คละเคล้ากันไป

    ปีหน้าฟ้าใหม่ปี 52

    ลูกสาวแสนวนคนนี้ของแม่แอม

    จะเป็นมหาบัณฑิตแล้วนะค่ะ

    วันนั้นมาถึง

    แม่แอมคงได้เห็นหน้าลูกอีกครั้ง

    เหมือนครั้งที่สวมชุดขาวบนบ่ามีดอกราชพฤกษ์เหมือนครั้งนั้น

    รักแม่แอมมากเสมอ

    ลูกสาว

    สุมณวรรณ...

    อ่านแล้วรู้สึกนุ่มนวล จังครับ ทำให้ อ่านความรู้สึกของครูได้ด้วย..

    เอามาแชร์ด้วยคนครับ

    http://gotoknow.org/blog/productionmgt/181702 การทำงานเป็นทีม..ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป?

    สวัสดีค่ะลูกสาว...คิดถึงจังเลย  : )

    ครูขออภัยอย่างสูงนะจ๊ะ  ที่เข้ามาตอบช้า  ช่วงนี้ครูงานหนักหน่อยจ๊ะ  ดีใจมากๆๆๆๆจริงๆจ๊ะที่น้องแวะมาส่งข่าวดี  ครูยินดีด้วยในความสำเร็จที่จะมาถึงเร็วๆนี้นะจ๊ะ  น้องเก่งจัง  แป๊บเดียวจะจบปริญญาโทแล้ว  ป๋าสมพรรู้ยังจ๊ะ ท่านคงดีใจน่าดู  ครูขออนุญาตบอก อ.จันทรา แม่วัลย์ และอ.โต ด้วยนะจ๊ะ  จะได้ดีใจไชโยร่วมกัน  

    คิดถึงสมัยที่พวกเราทำโทรทัศน์จำลองแล้วสนุกชะมัดเลย  เครื่องไม้เครื่องมือเราไม่มีอะไรพร้อมสักอย่าง  แต่ทำไมทำงานสนุกนักก็ไม่รู้  ....แม้ว่าบางครั้งจะใช้เวลาในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันนานสักหน่อย  แต่ครูคิดว่าเป็นแบบฝึกหัดชีวิตทำงานที่น่ารักมาก  คงเป็นเพราะเราหลายคนเรียนรู้ที่จะทำงาน "เป็นทีม" อย่างดีที่สุด บนฐานของความเข้าใจ(แม้จะไม่พร้อม)มั้งจ๊ะ    เราจึงทะลุ่มทะลุยทำงานร่วมกันมาได้อย่างสนุกสนาน 

    ท่านประธานพิจัยฤทธิ์คงยังจำได้เนอะ   เพราะกล่าวรายงานเสร็จปั๊บท่านก็ต้องแปลงร่างเป็นช่างเทคนิคทันควัน  นิเทศศาสตร์ของเรานี่สนุกจริงๆ  : )

    และงานกีฬารวมบุคลากร(ทั่วไทย)คราวนั้น  ครูประทับใจสีมือของน้องที่เป็นพิธีกรพิธีเปิดงานที่สุดเลย  น้องพูดได้อย่างคล่องแคล่ว  ราบรื่น  แก้ไขสถานการณ์เพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว  ครูยังทำไม่ได้อย่างน้องเลยจ๊ะ  เวลาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ฝึกซ้อมพิธีกร ครูนึกขำตัวเองทุกที เพราะครูทำไม่เป็นจริงๆ  เด็กๆนี่แหละช่วยสอนให้ครูทำงานเป็น  ...ครูรู้สึกขอบคุณเด็กๆอยู่เสมอเลยนะจ๊ะ
     
    ครูไปทำงานรับปริญญาทีไรก็ได้เจอป้อมทุกทีจ๊ะน้อง  ดีจัง  ได้เห็นหน้าเห็นตากันปีละหนก็ยังดีเนอะ  ครั้งก่อนครูส่งงาน "ฝัน" คืนเด็กๆทุกคน  ดีใจที่ยังติดต่อกันได้บ้างจ๊ะ  และครั้งหลังที่ไปยะลาได้เจอเกริกพันธ์ครูดีใจน่าดูแต่ก็ห่วงด้วย..ไปอยู่ไกลบ้าน  และเจอเอฟที่งานรับปริญญาคราวที่แล้ว  เอฟไปอยู่หว้ากอ  ได้ทำงานอย่างฝัน   หลายคนได้ทำในสิ่งที่ฝันไว้   คิดแล้วก็ชื่นใจ และหลายคนก็มีชีวิตที่ไม่ต้องอยู่ในสายงานนิเทศศาสตร์  แต่ก็สุขกายสบายใจดี   ...เมื่อได้รับรู้ข่าวดีของเด็กๆ  ครูก็ดีใจไปด้วยจ๊ะ  

    ภาพน้องสวมชุดขาวบนบ่ามีดอกราชพฤกษ์ ครูชอบมากเลย  เห็นทีไรก็นึกถึงหน้าตาร่าเริงและมุ่งมั่นของน้องทุกครั้ง  เมื่อตั้งใจจะทำสิ่งใด  น้องก็จะมุ่งมั่นตั้งใจทำจนสำเร็จได้จริงๆ  ครูเล่าให้รุ่นน้องฟังทุกรุ่นจ๊ะ  เผื่อว่าเธอจะมีแรงฮึดเหมือนรุ่นพี่ของเธอมั่ง   และดีใจจังที่น้องบอกว่าได้ "เติบโต... ทั้งหน้าที่  การงานและความคิด"  ความมีวุฒิภาวะต้องแลกด้วย "กาลเวลาและประสบการณ์ตรง" ซึ่งจะหล่อหลอมให้เราเติบโต เป็นผู้ใหญ่ได้อย่างแท้จริง  

    ดีใจที่ลูกสาวเดินทางมาถึงวันนี้ด้วยดี  และครูจะรอ"วันนั้นที่กำลังจะมาถึง"    ครูจะได้เห็นหน้าลูกสาวที่รักอีกครั้ง  ....รู้สึกชื่นใจและมีความสุขไปล่วงหน้าแล้วนะคะ  ^_^

    ปล.ครูหัวเราะกิ๊กเลยเรื่องจมูกฟุดฟิด เราเป็นภูมิแพ้เหมือนกัน  หัวอกเดียวกัน   ของครูพอฝนจะมาก็จามฟุดฟิดที  ลบกระดานทีก็จามอั๊ดจิ๊วที  เปิดปากกาไวท์บอร์ดก็อั๊ดจิ๊วซะอีกที    สนุกชะมัด 
    ส่วนเรื่องเดินสะดุดรากไม้หน้าคณะนี่  เราชำนาญพอๆกันไม่ใช่เหรอจ๊ะน้อง    ทฤษฎีที่ว่า "คนสวยมักซุ่มซ่าม"  อาจไม่จริงเสมอไป 
                      ...ก็เพราะเราสองคนเนี่ยแหละ...   อิอิอิ

    สวัสดีค่ะคุณ คนโรงงาน

    ดิฉันขออภัยอย่างสูงที่เข้ามาตอบช้า  เพราะติดภารกิจหลายประการค่ะ  ขอบพระคุณมากนะคะที่แวะมาเยี่ยมบันทึก "ทีมเวิร์ค" พร้อมลิ้งก์น่าอ่านที่สื่อสารด้วยประเด็นเดียวกัน..   คุณ   คนโรงงานเขียนไว้ดีจัง

    ดิฉันมักเอาใจช่วยให้เด็กๆได้พบกับคนที่จริงใจ และไว้วางใจได้   (ดังที่คุณคนโรงงาน  เขียนคำนี้ไว้ในบันทึกที่ลิ้งก์มา) เพื่อว่าเขาจะได้เห็นคุณค่าและรักผู้อื่นได้อย่างสนิทใจ   ซึ่งน่าจะนำไปสู่สัมพันธภาพที่มั่นคง  และสัมพันธภาพที่มั่นคง  น่าจะนำไปสู่ความเป็นทีมเวิร์คที่ดี    ...และดิฉันรู้สึกเอาใจช่วยอยู่เสมอ  ให้เด็กๆปรับตัวได้  ปรับใจทัน  ....เมื่อเขาได้พบคนแบบตรงกันข้ามกับคำข้างต้น : )

    ขอบพระคุณมากอีกครั้งที่แวะมานะคะ ดิฉันตามไปอ่านบันทึกแล้วและชอบมากโดยเฉพาะวิธีคิดในการสื่อสารของคุณ  มีจังหวะเมื่อไหร่จะเข้าไปทักทายนะคะ

    อ่านแม่แอมกับลูกสาวคุยกัน ช้อบชอบ : )

    คิดถึงนะคะ

    หวัดดีจ้ามัท   : )

    ขอบคุณมากและดีใจออกนอกหน้าซะอีกที (แบบด่วนๆ) จ๊ะ  ที่มัทแวะมาบันทึกนี้อีกครั้ง  หลังจากที่น้องทำให้พี่แอมป์ดีใจ(โวยวาย)ทะลุกรอบจอไปเมื่อปีที่แล้ว  เวลาผ่านไปเร็วนัก  ลูกสาวพี่จะจบปริญญาโทแล้ว  แม่ยังไม่ได้แต่งงานเลย  อิๆๆๆๆๆ    ; )

    คิดถึงมากๆๆๆเช่นกันจ้า   คิดถึงทุกท่านในโกทูโนว์ด้วย  งานเบามือเมื่อไหร่  จะเข้ามาท่อง "ไปให้รู้"  อย่างสนุกสนานเช่นเคย  ขอให้มัทกับน้องเจษฎ์ผ่านทุกด่านไปได้โดยราบรื่น ได้กลับบ้านเราเร็วๆเน้อ

    สวัสดีค่ะน้องตาหยู

    ดีใจจังเลย !!   คิดถึงอยู่เสมอนะคะ   พี่ขออนุญาตแทนตัวว่าพี่แล้วละ  ไหนๆพี่ก็แก่เอ๊ยโตกว่าแหงๆอยู่แล้ว 

    พี่แอมป์ขออนุญาตแสดงความยินดีย้อนหลังนะคะ  ถ้าไม่อ่านบันทึกหว้าคราวโน้นพี่ก็ไม่รู้นะเนี่ย  ตอนนี้งานยุ่งมากไหมคะ  ของพี่แอมป์สุดยอดเลย  หลังๆเลยไม่ค่อยได้แวะมาที่นี่บ่อยนัก    แต่ทุกครั้งที่เข้ามาจะรู้สึกดีอยู่เสมอ  สังคมที่ทำให้เรารู้สึกดีนี่มีค่าจัง  

    หวังว่าน้องตาหยูคงสบายดี   ขอให้มีความสุขในทุกมิติของชีวิตนะคะ  และขอบคุณมากสำหรับคำว่า "ตกผลึก"ของน้อง  เพราะทำให้พี่แอมป์รู้สึกสบายใจที่จะรอคอย  ให้ตัวเองตกผลึกก่อน แล้วจึงจะเขียนบันทึกอีกครั้ง 

    ส่วนที่เขียนบ่นๆไปยืดยาวในหลายบันทึกก่อนหน้านี้  แม้ว่าจะยังไม่ใช่ผลึก แต่เมื่อพี่ๆน้องๆให้เกียรติแวะมาสื่อสารด้วย พี่ก็ตอบไปยืดยาวสุดชีวิต  กลับมาอ่านอีกทีก็ให้ขำความขี้บ่นของตนเองเป็นอันมาก  แล้วก็แอบดีใจหน่อยๆด้วยละ  ที่มีแต่คนใจดีน่ารักมาบ่นร่วมกัน เรียกว่า"ตกหลุม" ได้รึปล่าวเนี่ย  อิอิ

    คิดถึงเสมอ และขอให้น้องทำงานอย่างมีความสุขนะคะ   : )

    พี่แอมป์คะ..

    ตามมาบอกว่าคิดถึงมากๆเลยค่ะ..

    พี่แอมป์สบายดีมั๊ยคะ..แล้วเดี๋ยวแอ๊วจะแวะมาใหม่นะคะ...

    ไปทำงานก่อนค่า..^^

    แม่แอมที่รักและเคารพยิ่ง

    ม่ะเป็นไรค่ะ

    รอได้เสมอ

    ก็เฝ้ามอง เปิดเข้ามาดูหลาย ๆ รอบ

    ยังไม่ตอบสักที

    คงยุ่งมาก ๆ

    วันนี้ เปิดเข้ามา ชื่นหัวใจสุด ๆ

    ----

    เพิ่งวางสายจากเพื่อนที่เรียน ป.โท ด้วยกันค่ะ

    คุยกันยาวเลย เพื่อนเขาทุกข์(ใจ)

    เลยให้เพื่อนระบายพร้อม ๆ กับการให้กำลังใจที่ดี

    ทำให้ได้อะไรมากมายหลายอย่าง

    ในคำว่า "คน" แปลกแท้หนอ...

    ให้กำลังเพื่อนที่กำลังทุกข์ ท้อ ที่ประหลาดใจกับคำว่า "คน"

    เลยย้อนมามองตัวเอง

    จริง ๆ นะ แปลกดีนะ

    ----

    ช่วงนี้ season chaeng

    รักษาสุขภาพให้มากขึ้นกว่าเดิมนะค่ะ ให้ร่างกาย+คอ(สวย ๆ ) อบอุ่นอยู่เสมอ ๆ

    ----

    คณะฯ ของหนู กำลังเตรียมจัดสัมมนาของรุ่น

    "ชีวิตเพียงพอ พ.ศ.คนเมือง"

    หนูทำหน้าที่เลขาฯ ของ ฝ่ายวิชาการค่ะ

    หนุกหนานเหมือนเคย

    สนุก+ปวดหัว พอ ๆ กัน

    กับการทำงานกับคนหมู่มาก

    ----

    KM ที่ตอนนี้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญถูกบรรจุอยู่ใน PMQA-การบริหารจัดการภาครัฐ

    และถูกเพิ่มเป็น CoP (Community of Pratice)ชุมชนนักปฏิบัติ เข้าไปด้วย

    หนูทำหน้าทีเป็นเลขาของคณะทำงาน KM Team ขององค์กรด้วย

    นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วยังสามารถนำออกไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย

    อาทิ การทำงานกลุ่มใหญ่ในการศึกษา มากคนมากความ แต่ต้องทำงานร่วมกัน

    จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างไร เพื่อให้งานเดินไปข้างหน้า บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

    ----

    ตอนนี้กำลังเรียนวิชา "การสื่อสารสาระบันเทิง"

    กับอาจารย์ถิรนันท์ อนวัชศิริวงษ์ (อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ)

    ท่านกล่าวถึง "การรู้เท่าทันสื่อ" ด้วยค่ะ

    มีโอกาสแปลบทความวิชาการ "กลุ่มละครมะขามป้อม" ที่เป็นงานวิจัยของอาจารย์ปาริชาติ (ผู้หญิงเก่ง หัวใจแกร่ง)

    และกำลังเรียนรู้ว่า...ในฐานะที่เราเองเป็นสื่อ(ของรัฐ)เราจะรู้เท่าทันสื่อทั้งรับและเอกชนได้อย่างไร วิธีไหน แล้วทำได้จริงหรือไม่???

    --------

    ได้รับโอกาส

    ที่มักมาเร็วไปเร็ว ซึ่ง...ใครหนอ ใครกัน

    ย้ำ สอน เสมอ ตั้งแต่เรียนปี 1 ถึง ปี 4

    "โอกาสมาเร็ว ไปเร็ว ให้รีบคว้า แต่อย่าฉกฉวย"

    ได้รับโอกาสได้ลงหนังสือ "รามปริทัศน์" ของมหาวิทยาลัย

    กล่าวถึง อกอุ่นของแม่แอม กล่าวถึงการเป็นพิธีกรสนามการแข่งขันกีฬาสถาบันราชภัฏ ฯ ภาคใต้ เป็นความภาคภูมิใจที่มิอาจลืมเลือน ยังคงตราตรึง ฝังลึกอยู่ในหัวใจเสมอ

    เพราะการร่วมกิจกรรมครั้งนั้น ทำให้รู้ว่า เราทำอะไร ๆ ดี เช่นนี้ได้ด้วยเหรอ เพราะแรงผลัก ได้กำลังใจที่ดีเยี่ยม เพราะได้รับการฝึกฝน เพราะได้รับรอยยิ้ม แล้วก็บอกว่า "น้อง สู้ สู้ นะลูก พูดให้ทุกคนหยุดฟังเราให้ได้ ครูรู้ว่าน้องทำได้"ยังคงก้องอยู่ในหูเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน

    และทุกครั้งที่นเสนองานกลุ่มหน้าขั้นเรียน เพื่อน ๆ หยุดฟัง แล้วบอกว่า ไม่ฟังเดี๋ยวโดนด่า(ด้วยสายตา) เพื่อน ๆ มักขอร้องให้พรีเซ็นต์เป็นกลุ่มสุดท้าย เพราะกลัวเกิดการเปรียบเทียบแล้วเขาจะได้คะแนนไม่ดี (อย่างนี้ก็มีด้วย)

    ------

    วันนี้

    เรารู้เท่าทันสื่อหรือยัง???

    วันนี้

    เรารู้จักการทำงานเป็นทีมเพียงพอหรือยัง???

    วันนี้

    เราทำงานเป็นทีมหรือยัง???

    เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ

    แต่...ขอให้ปฏิบัติด้วยหัวใจ

    More Than Word...ที่จะบอกแม่แอมว่า

    รัก คิดถึง และห่วงใยมากเพียงไหน

    ลูกสาวคนเดิม

    แม่แอมป์...

    ขออีกหน่อย...

    เดี๋ยวทันสมัยน่าดูชม

    ต่อเน็ตที่หอพักค่ะ ใช้สาย USB ต่อผ่านกับมือถือ อิอิอิ

    เรื่องแต่งฮาน...

    แม่แอมป์เปรยมาตั้งแต่ปี 2539 แย้ววววว

    อย่าเพิ่งเรยยยยยค่ะ

    ไว้เราแต่งพร้อมกันดีกว่ามั๊ยค่ะ???

    หมายถึง...แต่งกับงาน....

    "เพื่อน"

    ณ วันนั้น

    อาจจะยังไม่ลึกซึ้งถึงคุณค่าของคำคำนี้มากมายนัก

    จึงทำให้ไม่ผูกพัน

    ที่ผูกพันจึงกลายเป็นแม่แอมป์และเขามหาชัย

    แต่วันนี้

    กับการมีเพื่อน ในวันนี้

    มีความคิดมากขึ้น เรียนรู้ เข้าถึง เข้าใจ มากขึ้น

    คำว่า "เพื่อน" จึงทำให้รับรู้ เข้าใจ ลึกซึ้ง ถึงคุณค่าของคำคำนี้มากขึ้นมากมาย

    วันนี้

    จึงมีเพื่อน ที่เป็นเพื่อนจริง ๆ

    ลูกสาวคนเดิม

    สวัสดีด้วยความคิดถึงมากเช่นกันจ๊ะแอ๊ว

    พี่แอมป์ขอโทษอย่างสูงเลยจ๊ะที่เข้ามาตอบช้ามากเพราะงานที่โรงเรียนยุ่งสุดเหวี่ยง  ส่วนที่บ้าน ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงหลานชายน้อยๆอายุสี่เดือนครึ่งครั้งนี้  พี่ก็แทบไม่เหลือเวลาเป็นของตัวเองอีกเลย  แต่ก็สนุกชะมัดจ๊ะ  : )

    การเลี้ยงหลานด้วยตนเอง ทำให้พี่แอมป์รู้เท่าทันการสื่อสารของเด็กเล็กๆ (ที่ยังพูดไม่ได้)มากขึ้น  เช่นถ้าหลานร้องขึ้นต้นว่า  "..แอะ  แอะ  แอ๊ะ  แหงะ  แหงะ แง  แง้ๆๆๆๆ .." แปลว่า "หิว..ว..  โน้ม...ม...  ค้าบ...บ.. ป้า "  และถ้าหลานร้องว่า   "...แง้ ๆ ๆ ๆ.. กว๊าก ๆ ๆ ๆ.."  แปลว่า "...ป๊วด..ด... ฉี่.."  เป็นต้น 

    แบบฝึกหัดที่หนึ่งว่าด้วยการเดาเสียงร้อง ทำให้พี่แอมป์ฮุนฮงอยู่เป็นเดือน  ตอนนี้พี่เลยพยายามผลักดันให้เกิดการจัดการความรู้อย่างเข้มข้นในครอบครัว  คือทั้งพ่อ แม่ และพี่แอมป์  ต้องมา ARR ถอดบทเรียนหลังอุ้มกันเป็นสามารถ  เพราะหลานช่างมีเทคนิคประหลาดๆในการนำเสนอการสื่อสารเพื่อการสื่อความหมาย ไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน   เขาร้อง "..กว๊ากๆๆๆๆ.."  ที  เราก็เดากันจ้าละหวั่นกันที  คือไม่รู้จริงๆว่าร้องเพราะอะไร    ...แต่ในที่สุดแม่พี่แอมป์มักจะเป็นคนที่เดาถูกเสมอ  ^_*

    การเลี้ยงเด็กเล็กๆคงสนุกเพราะได้ลุ้นกันแบบนี้ทุกวันมังจ๊ะแอ๊ว....  และการพยายามฝึกฝนการคาดเดาภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (non-verbal language) ของเด็กเล็กๆนี้  ทำให้ ทักษะคุณป้าระดับ 3 เชิงประจักษ์ ของพี่แอมป์ พัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็ว  พี่สามารถเดาเสียงร้องและอากัปกิริยาได้ว่าหลานต้องการอะไร อาทิ  หิวนม  ปวดห้องน้ำ  จะให้อุ้ม  หรือง่วงนอน  ครบวงจรอย่างน่าภาคภูมิใจ

    อีกไม่นานพี่คงผ่านการประเมิน  ได้เลื่อนขั้นเป็นคุณยายระดับ 4 เชี่ยวชาญพิเศษอย่างแน่นอน   อิอิอิ

     ขอบคุณมากๆที่แอ๊วแวะมาทักทายนะจ๊ะ  ถึงแม้พี่แอมป์จะไม่ค่อยได้แวะมา แต่เข้าไปอ่านบันทึกน้องทีไร  ก็สัมผัสได้ถึงแง่มุมดีๆในชีวิต ที่ถ่ายทอดผ่านจิตใจที่ดีงามของน้องอยู่เสมอนะจ๊ะ 

    พี่แอมป์จ๊ะ  ^_^

    สวัสดีอีกครั้งด้วยความชื่นใจนักค่ะ ลูกสาว

    ครูขอโทษที่สุดเลยจ๊ะ  ที่เข้ามาตอบช้าเพราะงานยุ่งเหลือเกิน วันนี้มีจังหวะแวะมาและหวังว่าเน็ตคงไม่หลุดกระเด็นกระดอนไปอีก   ดีใจที่ได้รับรู้ความเป็นไป และความทันสมัยของลูกสาว ^_^    ดีใจด้วยมากๆที่น้องได้เรียนกับท่านอาจารย์ถิรนันท์ อนวัชศิริวงษ์  ครูประทับใจวิธีสื่อสารของท่านมาก   หนังสือวิธีวิจัยของท่านอาจารย์ปาริชาติ ก็เป็นหนังสือในดวงใจครูอีกเล่มหนึ่ง  ได้เรียนกับสองท่านนี้ครูถือเป็นวาสนาเลยละ

    ครูอยากอ่านข้อเขียนของน้องจังจ๊ะ  ครูรู้สึกดีใจมากในหลายๆครั้งได้เห็นว่าเด็กๆจำนวนมากเก่งทั้งการพูดและการเขียน  แถมเก่งกว่าครูอีกต่างหาก  :) 

    และครูรู้สึกว่าการได้เรียนรู้เรื่อง KM  จะทำให้เราเข้าใจวิธีสื่อสารที่ดี   เมื่อเรามองเห็นและเข้าใจ  “หัวใจของการสื่อสาร”   เพื่อการจัดการความรู้อย่างแท้จริงแล้ว   เราจะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยจิตที่คิดดีต่อกัน สามารถเชื่อมและถ่ายโยงความรู้ด้วยความรัก จากจิตใจที่ดีงามอย่างแท้จริงได้ 

    และชื่นใจที่สุดที่น้องได้ซาบซึ้งกับความหมายของคำว่า"เพื่อน"   ที่เป็นเพื่อนจริงๆ   อย่างแท้จริงนะจ๊ะ

    ครูรู้สึกว่าน้องยังเป็น "คนทำงาน" เหมือนเดิม ไม่ต่างจากเมื่อครั้งยังอยู่ในนิเทศศาสตร์บ้านเราเลย แถมยัง "สามารถ"เหมือนตอนเรียนเปี๊ยบ  ชีวิตที่งานขวักไขว่คงทำให้วุ่นวายแกมเวียนหัวแต่น่าสนุกดีชะมัด   ครูเชื่อว่าว่าน้องจะทำงานสัมมนา งาน  KM และงานทุกอย่างที่น้องรับมาอย่างมั่นใจและมีความสุขเช่นเคยนะจ๊ะ 

    ครูดีใจจังที่น้องอ้างถึงคำพูดที่ครูชอบพูดในห้องเรียนครั้งแล้วครั้งเล่า    ครูกำลังรวบรวมความขยันเอ๊ยรวบรวมกำลังใจที่จะเขียนถึงเรื่องนี้พอดี   ครูจำประโยคนี้ได้ขึ้นใจเลยจ๊ะน้อง 

    “โอกาสมาเร็วไปเร็ว   จงไขว่คว้า แต่อย่าฉกฉวย” 

    และครูก็หมายความตามนั้น   การแสวงหาโอกาสเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาพึงทำ  แต่การฉวยโอกาส  และการฉกฉวยโอกาสจากผู้อื่น  เป็นสิ่งที่มนุษย์ที่ดี ไม่ พึง ทำ 

    ครูก็ไม่รู้ว่าสอนผิดหรือเปล่านะจ๊ะน้อง   แต่ครูยังยืนยันในจุดยืนอันมั่นคงของครูอยู่เสมอ  แม้ว่าจะดูเชยๆไปสักนิดก็ตาม  และครูรู้สึกขอบคุณเด็กๆในใจทุกครั้ง  ที่เขาทำท่าเข้าใจ  เมื่อครูปิดท้ายบทเรียนเสียงดังๆแทบทุกครั้งว่า  “ขอให้เป็นคนดี”  และกระซิบต่อในใจว่า   “ขอให้มีจิตใจดีงามโดยเนื้อแท้    ขอให้พูด คิด เขียน และทำ  เป็นเนื้อเดียวกัน”

    ...ครูตั้งความหวังไว้เช่นนี้เสมอมา  และไม่เคยสิ้นหวังที่จะรอพบคนเช่นที่ว่านี้เลยจ๊ะน้อง..  ^_^

    ขอบคุณสำหรับถ้อยคำดีๆของน้อง ที่ทำให้ครูเกิดกำลังใจอยู่เสมอ  โดยเฉพาะเรื่องแต่งฮาน  ซึ่งครูมีอุดมการณ์มุ่งมั่นมาโดยตลอด   จึงได้เปรยๆกับเด็กๆทุกรุ่นว่า   “ครูจะไปแต่งฮาน”  แปลว่า หากถึงวันที่ต้องตกลงปลงใจกับผู้ใดแล้ว  โปรดอย่ามองข้ามขั้นตอนพิธีการ อันเป็นรากฐานของความมั่นคงในชีวิตคู่  จะเดินเคียงไปกับผู้ใดในเส้นทางชีวิต  ก็พึงตระหนักในคุณค่าของการผูกมัดด้วยความรับผิดชอบนี้ 

    ครูพูดเสียงดังๆอย่างสั้นๆ แต่พูดเงียบๆในใจอย่างยืดยาว  เด็กๆจะเข้าใจครูมั้ยน้อ   : )

    สุดท้ายนี้ขอบคุณมากๆอีกครั้งจ๊ะที่น้องแวะมาคุยด้วยให้ชื่นใจ  ขอให้น้องประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่น้องเลือกทำ  ส่วนเรื่องแต่งฮานนั้นครูขอยืนยันด้วยความกลุ้มใจแทนว่าอย่ารอครูเลย...

    ....เพราะครูเป็นคนรักษาคำพูดไม่มีผิดเพี้ยน  ....จึงแบบว่า “จะไป”  อยู่จนบัดนี้เนี่ยแหละจ๊ะน้อง....      ...อิอิอิอิ... !!!!

    แม่แอมแปร์

    วันนี้ที่บางกอกฟ้าอมร(ใคร ๆ เขาว่ากัน)ฟ้าครึ้ม ๆ

    หนูได้ข่าวว่าทางใต้โฝนตกหนัก จั๊ก จั๊ก (คุณแม่ที่บ้านบอกมา อิอิ)

    ระวังสุขภาพด้วยนะค่ะ มีผ้าคอผืนสวยพันคองาม ๆ ไว้ก็น่าจะดีนะค่ะ

    ที่เป็นห่วง เกรงว่าหลานชายจะติดหวัดหน่ะค่ะ

    ด้วยความปรารถนาดีจาก คนหน้าตาดีมาก

    ---------

    วันนี้ ได้รับมอบหมายงานยาวยืด...ตั้งแต่เช้าเลยค่ะ

    มอบหมายทางโทรศัพท์ค่ะ จดซะเมื่อยมือเลย

    ข้าของแผ่นดิน สู้ สู้!!!

    เคยโดนสอนว่า หากต้องการจะพัฒนาการทำงานของตนเองให้ฝึกฟังคำสั่งให้จบแล้วค่อยถามหรือนำไปปฏิบัติ

    ครั้งนั้น ที่พบเจอคำพูดเช่นนั้น เจ็บและปวดหัวใจพอสมควร

    แต่วันนี้ ไม่รู้สึกเช่นนั้ คงเป็นเพราะ เข้าใจ และรู้เท่าทันการสื่อสารของ "คน" กระมังค่ะ ไม่ได้ปลงนะค่ะ แต่เข้าใจมากกว่า เพราะอย่างไรเสีย เราก็ต้องเผชิญอยู่ รับรู้ หนีไม่ได้ ตายไว่ได้ ลาออกไม่ได้ ที่ทำได้ คือเรียนรู้และรู้เท่าทัน

    จัดระบบความคิดของตนเองเสียใหม่ ใจเย็น ๆ รับฟัง (เรามันผู้น้อย)

    วันนี้ เมื่อได้รับคำสั่ง จึงใจเย็น ๆ และลงมือปฏิบัติอย่างดีที่สุดเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา

    เราควรภาคภูมิใจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานใด ๆ ที่สำคัญ ๆ เพราะนั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเราเองว่าสามารถปฏิบัติงานที่ยากในเวลาอันจำกัดได้

    หน่วยงานของหนูกำลังจะมีการเปิดเทศกาลภาพยนตร์ค่ะ เป็น 1 ในกิจกรรมของ KM ประจำปีงบประมาณ 2551 (ที่กำลังจะปิดงบฯ แต่ต้องทำตามแผนฯ)

    เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการประเมินผลการดำเนินงานด้วย หนังสือเชิญร่วมกิจกรรม/แบบประเมิน กำลังจะ print ค่ะ (ฝีมือหนูเองค่ะ ไม่ได้โม้!)

    การทำงานร่วมกัน กับคนหมู่มาก

    มากคนก็มากอุปสรรค(ความ)

    รับรู้ เข้าใจ ทำใจ ยอมรับและลงมือปฏิบัติ

    โดยต้องรู้เท่าทันด้วย เพื่องานที่ได้รับมอบหมายจะได้ประสบความสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

    วันนี้ หนูคงไม่เข้าใจผิดไปใช่มั๊ยค่ะว่า "การรู้เท่าทัน" ไม่จำเพาะ "สื่อ" เท่านั้น แต่ในการดำเนิน+ดำรงชีวิตประจำวัน หรือในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้น ต้องรู้เท่าทันในเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย เหมือนกับที่แม่แอมรู้เท่าทันเสียงร้องของหลานชาย...

    แม่แอม รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

    รักมากที่สุดเสมอ

    ลูกสาว-สุมณวรรณ

    สวัสดีจ๊ะคนหน้าตาดีมาก  : )

    • คือว่าปกติครูชอบพูดเล่น  ดังนั้นที่ทักทายไปข้างบน..ก็อย่าไปถือเป็นจริงเป็นจังเนอะ     อิๆๆๆๆ  ^_^   
    • ที่นครฯในเมือง ฝนตกไม่บ่อยนัก แต่ก็มีบ้างพอเย็นๆใจจ๊ะ 
    • ขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีอยู่เสมอนะจ๊ะน้อง  และขอบคุณที่สุดสำหรับการถอดบทเรียนที่น้องนำมาเล่าให้ครูฟังอย่างผู้ใหญ่ที่เข้าใจ"งาน"แล้ว
    • การทำงานกับคนที่ "เข้าใจงาน" นั้นถือเป็นโชคดีมหาศาล และการได้ร่วมงานกับคนที่ "เข้าใจคน" นั้นถือเป็นโชคดีที่สุดในโลก
    • คนที่จะเข้าใจงาน และเข้าใจคน ต้องผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนตัวเป็นๆมาแล้วในระดับหนึ่ง 
    • แปลว่าต้อง ลง มือ ทำ เอง จริง ๆ  มิใช่แค่ "ได้อ่านมา"
    • การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นน่ากลัวไปอีกแบบ  เพราะเราจะถูกฝึกให้เรียนจากความรู้สำเร็จรูปที่คนอื่นเขาเรียนรู้และนำมาเขียนถ่ายทอดให้เราอ่าน
    • เราจึงมักเรียนด้วยการอ่านเป็นหลัก  น้อยคนนักที่จะระลึกรู้ว่า มนุษย์จะเรียนรู้สิ่งใดได้อย่างแท้จริง  ก็ต่อเมื่อได้ลงมือทำด้วยตนเอง ได้สัมพันธ์กับเหตุการณ์  สถานการณ์  และบุคคลต่างๆด้วยตนเอง
    • การทำด้วยตนเอง  ลองผิดลองถูก  และรับเอาผลจากการลองผิดลองถูกนั้นด้วยตนเอง  ทำให้เราเรียนรู้ และ"จำ" ได้อย่างแท้จริง
    • พ่อครูสอนสามเณรน้อยๆ(ที่ไม่ชอบเรียนเป็นอันมาก)  และอยากให้ท่านเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ด้วยตนเอง โดยพยายามหาคำอธิบายที่ง่ายที่สุดมาเป็นเวลานาน
    • วันหนึ่ง...พ่อถามสามเณรน้อยๆว่า   เหตุใดเมื่อเราอ่านหนังสือ  ไม่กี่วันเราก็ลืม  แต่ทำไมเราขี่จักรยานและว่ายน้ำได้โดยไม่ลืม ?
    • เพราะเราต้องทำเองใช่ไหม ?  ท่านก็ตอบว่าใช่
      พ่อจึงสรุปให้ท่านฟังว่า การเรียนหนังสือที่เขาเขียนมาให้อ่าน คือการเรียนลัด ประหยัดเวลาที่จะไปค้นคว้า ศึกษา และทดลอง เพื่อหาคำตอบในเรื่องต่างๆด้วยตนเอง  ซึ่งนั่นเป็นข้อดี  ช่วยประหยัดเวลาในการหาความรู้
    • แต่นั่นยังไม่เรียกว่า การเรียนรู้ อย่างแท้จริง 
    • การเรียนรู้ที่แท้จริง  คือการที่เราลงมือทำสิ่งใดๆตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเองต่างหาก  และเราจะจำได้ไม่ลืม 
    • น้องจ๊ะ ...  ครูรู้สึกชื่นชมเด็กๆที่ทำกิจกรรมจริงๆ  เพราะคนทำกิจกรรมก็คือคนทำงานนั่นเอง  และคนทำงานก็จะเกิดการเรียนรู้และสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
    • และในที่สุดก็จะตกผลึกเป็นความรู้  ที่สามารถถ่ายทอดแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นได้ แบบ "คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้" อย่างเช่นที่ได้เห็นในเว็บไซต์ GotoKnow   และแบบที่น้องกำลังสื่อสารกับครูอย่างสนุกสนานนี้    : )
    • ครูจึงขอเอาใจช่วยลูกสาวคนสวย  ให้ทำงานอย่างเข้าใจและมีความสุข มีความ "ภาคภูมิใจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานใด ๆ ที่สำคัญ ๆ เพราะนั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเราเองว่าสามารถปฏิบัติงานที่ยากในเวลาอันจำกัดได้"  
    •  "ในการดำเนิน+ดำรงชีวิตประจำวัน หรือในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้น ต้องรู้เท่าทันในเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย"  ครูเห็นด้วยและเห็นจริงดังที่น้องว่า 
    • ขอบคุณมากๆอีกครั้งที่น้องยังคงแวะเวียนมาร่วมสนทนาด้วยอย่างน่ารัก   และอดทนฟังครูบ่นยาวๆ(เช่นเคย)ได้เสมอ  แถมยังคุยด้วยยาวๆเหมือนครูเปี๊ยบ
    • จนไม่รู้ว่าแม่กับลูกสาว  ...ใครติดเชื้อบ่นยาวๆมาจากใครกันแน่แล้วจ๊ะ...  อิๆๆๆๆ  ^_^

    แม่แอมที่เคารพ รักและคิดถึงมาก

    ลูกหายไปหลายวัน...แม่แอมสบายดีใช่มั๊ยค่ะ?

    ลูกขอบคุณสำหรับกำลังใจเท่าภูผาที่ส่งผ่านตัวอักษรมาถึงหนู

    --------

    บ่นอะไร ๆ ยาว ๆ หนูน่าจะติดจากแม่แอมมากกว่านะค่ะ ฮิฮิฮิ

    --------

    ช่วงนี้หัวกับหางไปคนละทางเลยค่ะ

    เรียนค่อนข้างหนัก

    งานก็หัวฟูแทบทุกวัน

    --------

    และกำลังพยายาม..เพื่อวันนึงจะทำได้

    ...ความใจเย็น...

    ปัจจุบันเย็นกว่าเมื่อก่อนเยอะแล้วค่ะ

    แต่ยังคงร้อน ๆ อยู่เลย

    เพราะก่อนที่เราจะรู้เท่าทันคนอื่น เราต้องรู้เท่าทันตัวเราเองซะก่อน จริงมั๊ยค่ะ?

    --------

    ช่วงหลัง ๆ ในการเรียนของหนู มีการกล่าวถึง communication literacy บ่อย ๆ ค่ะ นั่นย่อมแสดงให้เห็น ในแวดวงการศึกษาหรือแวดวงการสื่อสารในปัจจุบันหัสมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น

    จากที่เมื่อก่อนเราหรือใครหลายคนอาจจะมองข้ามไป ซึ่งจริงแล้ว ประเด็นนี้ที่แม่แอมพยายามผลักและดันให้เป็นรูปธรรมสำหรับคนผลิตและสร้างสรคค์สื่อหรือคนที่เรียนเกี่ยวกับต้องเข้าใจ ตระหนักให้มาก

    อีกอย่างหนึ่งค่ะ ที่นอกจากการ communication literacy แล้ว สิ่งที่เราชาวสื่อมวลชนต้องมีประจำใจในสังคมที่เปลี่ยนแปลง (วุ่นวาย) ในปัจจุบัน คือ จรรยาบรรณ, จรรยาวิชาชีพและ จริยธรรม นั่นเอง 3 คำนี้ ดูเหมือนจะคล้าย ๆ กัน แต่ไม่เหมือนกัน แต่เราจำเป็นต้องมีอยู่ในหัวใจ....เพื่อสังคมจะได้ดีขึ้น...กว่าทุกวันนี้

    รักษาสุขภาพนะค่ะ

    รักแม่แอมค่ะ

    ลูกสาว...สุมณวรรณ

    สวัสดีจ๊ะลูกสาวที่คิดถึงมาก

             งานหนักมากเหรอจ๊ะ  อย่างไรก็ขอให้ทำงานและเรียนคู่กันไปด้วยใจที่เป็นสุขนะจ๊ะ   ครูเอาใจช่วยอยู่เสมอ และขอบคุณจริงๆที่น้องแวะมาพร้อมกับข่าวดีในวงการศึกษานิเทศศาสตร์....ที่ทำให้ครูรู้สึกมีความสุขจัง คำว่า  communication literacy  นี้  ถึงแม้ครูจะยังเข้าใจกระบวนการและความหมายไม่ชัดเจนนัก   แต่ครูชอบมากจ๊ะ  ส่วนคำว่า การรู้เท่าทันการสื่อสาร ในภาษาไทย  ครูก็คิดได้แค่ความหมายตามตัวอักษรเท่านั้น     น้องทำให้ครูคิดไปถึงเมื่อครั้งที่ครูจับเอาคำว่า "การรู้เท่าทัน" มาชนกับคำว่า "การสื่อสาร" ในสมัยโน้น  ครูเคยเรียนถามผู้รู้ในวิชาการด็อตคอม  ในกระทู้นี้ว่าควรใช้ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร  ท่านก็กรุณาแนะนำคำและวลี เช่น reflection on communication หรือ communication cognizance  เป็นต้น  ซึ่งลึกซึ้งกว่าที่ครูคิดไปมาก  ครูยังรู้สึกขอบพระคุณทุกท่านอยู่เสมอที่กรุณาร่วมสนทนากับครูในครั้งนั้น   เพราะท่านทำให้ครูได้รู้และได้คิดอะไรสืบเนื่องไปได้มากมาย และในที่สุดครูก็เลือกใช้คำว่า  communication literacy  เพื่อให้ดูเป็นญาติๆกับคำว่า media literacy   หรือ  การรู้เท่าทันสื่อ คือพูดแล้วดูคล้องจองกันดี

              ทั้งนี้เพราะครูต้องหาคำอะไรสักคำที่จะมาบอก(ยืนยัน)กับเด็กๆว่า  สิ่งที่ครูกำลังฝึก  คืออะไร  เด็กๆจะได้ทำใจเป็นเบื้องต้น  และเป้าหมายที่ครูตั้งใจมุ่งมั่นเมื่อฝึกเด็กๆ  คือ ครูอยากเห็นคนดี ที่ฉลาด และมีจิตใจดีงามโดยเนื้อแท้   (และไม่ฉลาดน้อยเหมือนครู) นึกแล้วครูก็ขำตัวเองนะจ๊ะน้อง  เพราะ communication literacy คืออะไรก็ไม่รู้ละ  ถ้าให้ครูเขียนเป็นวิชาการ ครูคงปวดหัวไปสิบวัน   และเอาจริงๆเข้าครูก็ฝึกเด็กๆด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ  ที่ไม่ใช่ communication literacy ในทฤษฎีขั้นสูงเลยสักนิด  อาทิเช่น

             1. เมื่อมาพบครู  ต้องถือกระดาษปากกามาด้วยเสมอ     ใครไม่ถือมา...ขอให้ไม่ได้แต่งงาน..!!   ^_^ แปลว่า  จำดีกว่าจด ถ้าจำไม่หมดจดดีกว่าจำ  : ใครพูดไว้ก็ไม่ทราบจ๊ะแต่ครูชอบจริงๆ  ครูคิดว่าทักษะการจับใจความ จดบันทึกประเด็นสำคัญ และการนำไปประสานงานต่อได้โดยครบถ้วนไม่ตกหล่นนั้น สำคัญมากสำหรับคนทำงานที่มีคุณภาพ(และคิดถึงใจผู้อื่น)  เด็กๆเดี๋ยวนี้เคยชินกับการฟังโดยไม่จด  แล้วก็คิดเอาเองว่านั่นเป็นวิธีรับสารที่ถูกต้องแล้ว  ก็เมื่อฟังแล้วจำได้  จะต้องจดไปทำไม   ครูเลยลองสั่งงานแบบเร็วปรื๋อ  แถมมั่วอีกต่างหาก  เพราะคิดแล้วพูดเลย  ไม่ได้เรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น  เธอก็ยืนงงเป็นแมวเมาปลาทู  รีบคว้ากระดาษปากกามาจดกันเป็นแถวๆ เด็กๆจำนวนหนึ่งคงยังนึกไม่ออกว่าเวลาไปทำงานจริงๆนั้น    งานบางประเภทไม่มีใครมานั่งทวนซ้ำคำสั่งให้  ถ้าฟังครั้งเดียวไม่รู้เรื่อง อาจได้อยู่หลังสำนักงานตลอดไป  ใครบ้างอยากได้คนทำงานแบบที่บอกสามครั้งแล้ว....ยังไม่รู้ว่าตะกี้เขาบอกอะไรไป    จำได้ได้ว่าสมัยโน้น  เวลาครูพูดมั่วตั้วมั่วตุงเร็วปรื๋อ  แม้แต่ตัวเองยังงงๆว่าตัวสั่งอะไรไปมั่ง   ...มีสาวน้อยทีวีบางคนยังอุตส่าห์จดทัน   แถมสรุปได้ดีกว่าที่ครูพูดอีกด้วยละ...  ^_^

             2. เมื่อเห็นครูถือของ  จงวิ่งลั้นลันลาเข้ามาช่วยโดยไว  อย่าให้ครูยืนถือถุงพุงป่องน่องทู่อยู่คนเดียวเป็นอันขาด แปลว่า จงมีน้ำใจ  จงมีน้ำใจ  และจงมีน้ำใจ  เด็กๆบางคนมีน้ำใจแต่ไม่รู้จะแสดงออก อย่างไรจริงๆ  ครูคิดว่าการฝึกที่ดีที่สุด  คือการให้ผู้นั้นลงมือทำด้วยตนเอง  เมื่อเขาได้ทำเป็นความถี่ซ้ำๆ เขาก็จะติดนิสัยไปเองในที่สุด หากถามว่า โตแล้ว.. ทำไมถึงต้องฝึกกันทุกเรื่อง  ครูก็อยากตอบว่า เรื่องบางเรื่อง  เด็กๆบางคนอาจถูกฝึกมาแล้วจากที่บ้านก็จริง    แต่บางเรื่อง..  เด็กๆอีกบางคนก็อาจนึกไม่ถึงจริงๆ  เพราะที่บ้านเขาไม่มี...!!!  ไม่ใช่ความผิดของเขาเลยนะจ๊ะ  เพราะที่บ้านเขาไม่มีจริงๆ  (และเมื่อก่อน ...หลายอย่างที่บ้านครูก็ไม่มีเหมือนกัน)

             ครูนึกถึงเรื่องกดลิฟต์ทีไรแล้วขำทุกทีจ๊ะน้อง  เวลาขึ้นลิฟต์ ประชาชน จำนวนหนึ่งจะเข้าไปยืนรออย่างสง่าผ่าเผย  โดยไม่เข้าไปประจำที่ปุ่มกดลิฟต์  น้อยคนเหลือเกิน(จริงๆนะจ๊ะ)ที่จะเข้าไปยืนตรงปุ่มกดลิฟต์   พร้อมยิ้มน้อยๆ แล้วถามอย่างนุ่มนวลแบบมืออาชีพว่า "ไม่ทราบชั้นไหนคะ..?"     communication  literacy skill ในลิฟต์นี่สนุกชะมัด  ครูยินดีกดลิฟต์ให้แต่โดยดีทุกกลุ่มจ๊ะน้อง   ยกเว้นพิราบขาวตัวน้อยของครู  ครูจะไม่ปล่อยให้หลุดมือไปแม้แต่ตัวเดียว  ทันทีที่ทำได้ ครูจะจับมายืนที่ปุ่มกดลิฟต์  แล้วฝึกให้พูดอย่างดูดีมีตระกูล  เอ๊ยดูดีมีระดับ  เพราะครูอยากมีชีวิตอยู่กับมนุษย์ที่น่ารัก ใส่ใจผู้อื่น มีจิตใจที่จะช่วยเหลือดูแลผู้อื่น  ครูจึงต้องฝึกหนุ่มน้อยสาวน้อยของครูสุดชีวิต  ด้วยความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กๆจะมองเห็นและเชื่อมโยง "นิสัย" อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะสืบทอดความเป็น "คนไทย" โดยวัฒนธรรมความมีน้ำใจด้วยใจจริง

             ไม่เฉพาะเรื่องกดลิฟต์  แต่เป็นทุกเรื่องที่เหมาะที่ควรแก่การมีน้ำใจ  และการแสดงน้ำใจด้วยการลงมือทำจากใจจริงได้  ...ขณะเดียวกันก็อยากฝึกให้ไวพอที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมการสื่อสารที่ติดมากับเทคโนโลยีทุกชนิด โดยไม่ทิ้งน้ำใจอันดีงามต่อเพื่อนมนุษย์

             การใช้เทคโนโลยีแบบนึกถึงแต่ความต้องการของตัวเป็นใหญ่  แล้งน้ำใจ ไร้ความรู้สึก(รับผิดชอบต่อความรู้สึกของเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ) นั้นน่ากลัวนัก  เพราะทำให้มนุษย์กลายเป็นหุ่นยนต์ได้เร็วเกินคาด  ...ไม่ว่าเด็กๆจะมองครูว่าเป็นอย่างไร  ครูก็ยอมจ๊ะน้อง  ...แต่ครูจะไม่ให้เกรดไป"โดยไม่ฝึกคนให้ได้เท่าเกรด"เป็นอันขาด....  ส่วนเด็กๆจะได้อะไรไปจริงหรือไม่นั้น...  ครูก็เตรียมใจพร้อมน้อมรับกรรมที่ก่อไว้ทุกประการ   : )
     
              3. เมื่อโทรศัพท์ถึงครู  จงรายงานตัว ดังนี้   "ชื่อเล่น สาขา ชั้นปี"  เช่น "น้อง ทีวี ปีสี่ค่ะ"  และจะคุยอะไรกับครูบ้าง  จงคิดให้ดีก่อน  แปลว่า  หนึ่ง เมื่อสังกัดองค์กรใด  จงเรียนรู้ที่จะปฏิบัติการการสื่อสาร ให้เข้ากับรูปแบบและวัฒนธรรมขององค์กรนั้น เป็นเบื้องต้น  สอง เมื่อสื่อสารกับใคร หรือผู้ใด จงจับวิธีการสื่อสารที่จะทำให้สื่อสารกับเขาได้เร็วที่สุด  ดีที่สุด  ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป จงเรียนรู้เองอย่างรวดเร็ว  บางคนบอกล่วงหน้า  บางคนไม่บอกอะไรเลย  จงเรียนรู้จากมวลประสบการณ์และสัญชาตญาณของตนเอง  สาม ทุกครั้งที่สื่อสาร จง"อ่าน" คน "อ่าน"สถานการณ์และบริบทแวดล้อม  ทั้งก่อน-ขณะ-และหลังการสื่อสาร  อ่านให้เร็วที่สุด  และ "จับให้ชัด จัดให้ครบ  จบให้ดี"  แปลว่าเมื่อสื่อสาร การเข้ารหัสและการถอดรหัส  มีผลต่อประสิทธิผลของการสื่อสารครั้งนั้นๆอย่างมีนัยสำคัญ   เราต้องชัดเจนว่าเราจะสื่อสารอะไร  และเมื่อเขาสื่อสารกลับมา จงแปลความ(และแปลเจตนา)ให้ดีว่าแท้ๆแล้วเขาหมายถึงอะไร (จับให้ชัด)จากนั้นจงเรียบเรียงให้ดีอย่างรวดเร็ว  ว่าจะตอบกลับไปอย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกหล่น  (จัดให้ครบ)  เริ่มและจบให้ดูดีมีตระกูลเอ๊ยดูดีมีมนุษยสัมพันธ์ (จบให้ดี)  เว้นแต่ว่า...เราแน่ใจว่าเราจะไม่ต้องสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้นั้นอีกชาตินี้

             แรกๆเด็กๆก็อาจอึดอัดบ้างจ๊ะน้อง  โดยเฉพาะคนที่เคยแต่จะสื่อสารอย่างไรก็ได้ตามใจตัว  ซึ่งครูยอมไม่ได้เป็นอันขาด   เพราะได้เห็นมาด้วยชีวิตแล้วว่ามนุษย์ชาติประเมินกันด้วยการสื่อสารเฉพาะหน้า ก่อนที่จะได้เห็นหัวใจแท้ๆของกันและกัน  ทั้งที่เราจิตใจดีแท้ๆ  แต่คนอื่นเขาตัดสินจากคำพูดที่เราไม่(แม้แต่จะ)คิด  ...ครูได้หวังว่า นอกเหนือจากความรำคาญครูอย่างเข้มข้นต่อเนื่องกันมาทุกรุ่นแล้ว  ^_^   เด็กๆจะได้ความตระหนักและความไหวระวังในการสื่อสาร (communication awareness)อย่างอ่อนๆติดไปบ้าง แค่นี้ครูก็โล่งอกแล้วจ๊ะ

             4. เอ่อ.. ^_^ ครูว่าถ้าไปถึงเรื่องจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ เก็บขยะ  ทั้งก่อนและหลังเรียน (จิตสำนึกสาธารณะ และการออกแบบการสื่อสารในการทำงานเป็นทีม)  เรื่องเข้าห้องแอร์ทุกครั้งจงปิดประตู  (จิตสำนึกเรื่องมารยาทและพลังงาน)   เรื่องไปชงกาแฟให้ครูแก้วซิคะ   เรื่องช่วยไปซื้อข้าวให้ครูหน่อย.. เอาอะไรก็ได้ค่ะ... (ซึ่งทำให้เด็กๆลำบากใจมาก เพราะไม่รู้ว่า"อะไรก็ได้"น่ะคืออะไรมั่ง)  เรื่องซื้อผลไม้มาเลี้ยงแขกด้วย มาสามคนนะจ๊ะ  (ทักษะการทำงานพื้นฐาน  ทักษะการสื่อสารในพื้นที่ที่ไม่คุ้นชิน  ทักษะการคำนวณเบื้องต้น การประเมินสถานการณ์  การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า)  สงสัยครูต้องเล่ายาวไปจนถึงมะรืนนี้แหละจ๊ะน้อง  อิๆๆๆ

              ครูเลยขออนุญาตสรุปแบบยาวยืด(ตามเคย)ว่า ทั้งหมดที่เพียรฝึกไปนี้ ก็เพื่อให้เด็กๆ "รู้จักคิด และรู้จักฉุกใจคิด"    ฝึกโดยคนที่เคยคิดไม่เป็นและไม่เคยมีใครจับมือฝึก  แต่เรียนรู้ลองผิดลองถูกแบบแลกด้วยชีวิต   ทำได้คิดว่าหากได้เป็นครู  ครูจะไม่ทิ้งเด็กๆที่ครูรับผิดชอบเป็นอันขาด  และครูหวัง(จนออกนอกหน้า)ว่า การรู้จักคิดและรู้จักฉุกใจคิด  อาจพัฒนาสืบเนื่องไปถึงความมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม   ความไม่เห็นแก่ตัว การรู้จักละอัตตาหรือตัวตน และพัฒนาไปเป็นคุณธรรมขั้นละเอียดยิ่งๆขึ้นไป  และครูไม่ได้ทำงานนี้อยู่คนเดียวเลยจ๊ะน้อง  คนเป็นครูนั้นต่างก็ช่วยกันทำงานฝึกเด็กสร้างคนส่งไม้ต่อมือกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า  แม้ว่าจะไม่เคยเห็นหน้าค่าตากัน  แต่เห็นจากเด็กๆที่มาถึงมือเรา... ก็พอจะเดาได้ว่าเด็กๆผ่านครูผู้ฝึกอะไร ..และฝึกแบบใดมาบ้างในเบื้องต้น

               นึกแล้วอุ่นใจจริงๆจ๊ะน้อง    มี "ครู" แท้ๆอีกเป็นจำนวนมากที่ท่านฝึกคนได้อย่างดี  และท่านทำได้ดีกว่าที่ครูทำหลายเท่า  เพียงแต่ท่านไม่ได้มาเขียนเล่าออนไลน์เท่านั้น  ส่วนครูก็เขียนเล่าไปเรื่อยเจื้อยอย่างสนุกสนาน(อยู่คนเดียว)เช่นเคย  เพราะรู้ว่าน้องชินแล้ว ดังนั้นน้องคงไม่รำคาญครูเท่าไหร่ : )    ขอบคุณที่น้องฟังครูเล่าอย่างอดทน  แม้จะตาปรือๆไปบ้าง ^_^  ครูประทับใจที่น้องพูดถึงคำว่า จรรยาบรรณ  จรรยาบรรณวิชาชีพ  และจริยธรรม ด้วยจ๊ะ  ในฐานะสื่อมวลชน ครูเชื่อว่าน้องเข้าใจคำสำคัญนี้อย่างลึกซึ้ง    เพราะไม่ว่าความสัมพันธ์ส่วนตัว และความต้องการเฉพาะกลุ่มจะเป็นเช่นไร  แต่สุดท้าย  ก็ต้องนึกถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้ง  และการนึกถึงส่วนรวมนั้น  ก็คงต้องคำนึงถึง"ความถูกต้อง"(อันเหมาะแก่ภาวะนั้น) เป็นสำคัญ   เพราะสิ่งที่(เราคิดว่า) "ดี"  แต่"ผิด" นั้น  อันตรายนัก  การฝึกให้คนเลือกพอใจแต่สิ่ง(ที่ชอบใจและรู้สึกว่า)ดี   ให้คุณกับตัว แต่ผิดทำนองคลองธรรมนั้น อันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง  และเมื่อถึงวันหนึ่ง  เกิดสิ่งผิดทำนองคลองธรรมมากพอ ที่จะทำให้สังคมตกอยู่ในอันตราย  ตัวคนผู้นั้นเองก็จะตกอยู่"ในอันตราย"ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

              ขอบคุณน้องมากอีกครั้งนะจ๊ะ  ที่ทำให้ครูพูดเอ๊ยคิดอะไรไปยืดยาวอย่างสนุกสนาน เพราะคำว่า communication literacy ของน้องแท้ๆ  ครูก็ลั้นลันลายาวไปห้ากิโลเช่นเคย  หวังว่าคงไม่ทำให้น้องเสียเวลาจนเกินไป  ครูก็หัดทำลิ้งก์ไปที่โน่นที่นี่อย่างเพลิดเพลิน  ถ้าน้องเผลอคลิกไปก็โปรดทำใจไว้ก่อนล่วงหน้า
                    ..ว่าแต่ละลิ้งก์ต้องยาวเกินห้ากิโลแม้วแหงๆเลยจ้า  ... อิๆๆๆๆ ...

     

    ลูกสาวคนดี ดี๊ ดี (จริง ๆ ค่ะ)

    สวัสดีค่ะแม่แอม (ของหนู)

    หนูดีใจมหาศาลที่ได้รับข้อความยาว ๆ จากแม่แอม ซึ่งถือว่าเป็นปกติ หากเป็นข้อความสั้นๆ จะทำให้หนูคาด-คิด-และเดาว่าแม่แอมงานยุ่งมาก ๆ

    ช่วงนี้งานยุ่งเหมือนเดิมค่ะ (ทำให้ดูเหมือนยุ่งไว้ จะได้ดูดี อิอิอิ) ต้องบริหารเวลาหลายขั้นหลายตอน สลับซับซ้อน เพราะต้องศึกษาต่อที่กำลังจะสำเร็จในไม่ช้า แต่การศึกษาต่อของหนู ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดยังคงเป็น คือหน้าที่การรับราชการ ดังนั้นหนูจึงต้องบริหารเวลาของตัวเองให้ดีที่สุด งานหลวงไม่ได้ขาด งานราษฎร์ให้สมบูรณ์พร้อม

    ความยาวของความคิดถึง ความห่วงใย ที่ตัวอักษรถูกเรียงร้อยออกมาเป็นคำ วลี ประโยค แล้วส่งผ่านถึงกัน เป็นสิ่งวิเศษและมหัศจรรย์จริง ๆ ข้อความยิ่งยาว ยิ่งบ่งบอกได้ถึงความรัก ความคิดถึง ความอาทรอันมากมายที่มีในหัวใจที่ต้องการส่งถึงกัน...ไม่ใช่ความเคยชิน แต่หากเป็นความยินดีต่างหากค่ะ (หลายครั้งที่รู้สึกเหมือนกันว่า เราเขียนยาวไปไหมหนอ เราเขียนออกมาตามที่ใจบอก สมองสั่งให้เขียน อาจจะไม่ได้เรียบเรียง แล้วแม่แอมจะเข้าใจไหมเนี่ย!!!)

    เพราะใคร ๆ และเรา ๆ มักได้ยินจนชินหู จนบางครั้งดูเหมือนว่าเป็นประโยคธรรมดา ๆ “ครูเปรียบเสมือนเรือจ้าง” เมื่อส่งผู้โดยสารถึงฝั่ง ค่าก็จางหาย แต่ในหัวใจและสมองของหนู “ครู” (ช่วงชีวิตที่ผ่านมาเคยเป็นครู) เป็นสิ่งที่ยากจะนิยาม เพราะนอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการที่พร่ำสอน พยามยามมอบให้ลูกศิษย์ตามหน้าที่แล้ว ในวิญญาณของความเป็นครู ที่เป็นพ่อ แม่ คนที่สอง เป็นพระคุณที่สาม เป็นความรู้สึกที่พิเศษสุด นอกจากให้วิชาการความรู้ และยังบ่มเพาะความเป็นฅนให้ลูกศิษย์อีกด้วย

    ที่แม่แอมบอกไว้ว่า...การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการลงมือทำ เมื่อปฏิบัติก็อาจจะประสบกับปัญหา นำมาซึ่งการหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น นั่นคือ “ปัญญา”

    ความรู้ที่ได้รับจึงเป็นความรู้ถาวร ซึ่งการเรียนรู้นั้นบางครั้งอาจจะต้องเจ็บปวด อารมณ์เสีย เครียด หงุดหงิด ปวดหัว ตีอกชกหัวตัวเอง แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป วันที่เราสามารถผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาเหล่านั้นไปได้ด้วยความเข้มแข็งและอดทนแล้ว เมื่อมองย้อนกลับมา อาจทำให้รู้สึกว่า วันหนึ่งวันนั้น ทำไมต้องรู้สึกแย่มากมายขนาดนั้นด้วย

    หนูเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับประโยคนี้ “จำดีกว่าจด ถ้าจำไม่หมดจดดีกว่าจำ” ก่อนหน้านี้หนูเองก็ให้ความสำคัญกับการจำมากกว่าการจด แต่ปัจจุบันด้วอายุอานามที่เพิ่มพูน(ตามหลังแม่แอมมาติด ๆ) หน้าที่การงานที่เติบโตขึ้น ได้รับมอบหมายงานที่ไม่ใช่ในหน้าที่(แต่เราสามารถ) ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ต้องเรียนหนังสือด้วย ทำให้เราอึนบ่อย ๆ (เอ๋อ+มึน=อึน) ทำให้เราจำอะไร ๆ ได้ไม่หมด และเกิดปัญหาแน่ ๆ หากสิ่งที่จำไม่หมดเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น ณ วันนี้ จึงอาศัยการจดมากขึ้นมาก ๆ แม้บางครั้งสิ่งที่พยายามจดจะไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไรเลยก็ตามที แต่อย่างน้อยเราก็อุ่นใจที่มีข้อมูล วัตถุดิบสำหรับนำไปสู่กระบวนการอื่น ๆ มกามายเต็มมือไร้กังวล อีกอย่างหนึ่งค่ะ มักได้รับมอบหมายให้เป็นเลขาฯ คณะทำงานต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ หน้าที่หลักของเลขาฯ แน่นอนค่ะ ต้องบันทึกการประชุม ต้องจดโน่น นั่น นี่ จากนั้นก็จัดทำรายงาการประชุมหรือบันทึกเพื่อนำเสนอเรื่องต่าง ๆ อยู่เสมอ การจดจึงสำคัญมาก ๆ กับบทบาทหน้าที่ประจำวันและบางครั้งหากไม่มั่นใจว่าจะจดได้ทันก็ต้องอาศัยเครื่องทุ่นรอง คือ เครื่องบันทึก (ไม่ทันหมัยนัก ไม่ใช่ MP ไหน ๆ แต่ยังคงใช้คาสเซ็ทอยู่ค่ะ ของยังใหม่อยู่ค่ะยังใช้ได้ดีชัดแจ๋ว ไม่ต้องปวดหัวกลัวการบันทึกซ้ำลงไปในไฟล์อื่น ๆ) เมื่อจำเป็นต้องใช้ก็แค่เปิดฟังและบันทึกเพิ่มเติม งานก็จะฉลุย เรียบร้อยโรงเรียนสุมณวรรณค่ะ

     ตอนนี้กำลังเรียนวิชา “นโยบายการสื่อสารเพื่อการสื่อสาร” กับอาจารย์จุมพล รอดคำดี ค่ะ ท่านกล่าวย้ำเรื่อง Communication Literacy บ่อย ๆ ค่ะ เพราะท่านบอกว่าเราในฐานะสื่อมวลชน (สื่อสารมวลชนแตกต่างจากสื่อมวลชนใช่มั๊ยค่ะ?) เราต้องรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร จากสื่อหลาย ๆ สื่อ อ่านหนังสือหลาย ๆ ฉบับ, ดู TV. หลาย ๆ ช่อง, อ่านข่าวสารจาก Internet หลาย ๆ เว็ป ---นำมา พิจารณา ไตร่ตรอง ประมวลผล แล้วค่อยเชื่อ จะได้รู้เท่าทันสื่อ และในฐานะที่เราเป็นสื่อมวลชนสิ่งหนึ่งที่จะต้องตระหนักและประพฤติ ปฏิบัติ คือ ความซื่อสัตย์ เรามีเสรีภาพในการหน้าที่ ต้องควบคู่กันไปกับคุณธรรม เพื่อจะได้อยู่ในกรอบที่ดีงามของอาชีพ นำไปสู่การปฏิบัติตนตามกติกาหรือจรรยาวิชาฃีพ เมื่อประพฤติ ปฏิบัติจนเป็นนิจก็อาจะจารึกเป็นลายลักษณ์ นั่นคือ จรรยาบรรณ นั่นเอง (หนูเข้าใจถูกต้องใช่มั๊ยค่ะ ??? แม่แอม)

    ยุคนี้คือ Information Era เราในฐานะสื่อมวลชนและเรียนในสาขาการสื่อสารพัฒนาการ ยิ่งต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งด้วย ยุคของข้อมูลข่าวสาร ยุคที่ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น ประชาชนไม่เป็นเพียงผู้รับสารเหมือนเมื่อก่อน แต่ยุตปัจจุบันประชาชนเป็นผู้สร้างสารได้เองอีกด้วย

     “การรู้เท่าทันสื่อ” จากสิ่งที่แม่แอมจุดประกายขึ้นมาใน gotoknow ทำให้หนูอยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าใจ ว่าคืออะไร และวันนี้ แม้หนูจะรู้เพียงบางส่วน แต่หนูก็ภูมิใจไม่น้อยที่วันนี้ อ๋อ! หนูก็สามารถเรียนรู้ได้เหมือนกัน

    “การรู้เท่าทัน” ความหมายกว้างเท่าผืนฟ้าจริง ๆ นะค่ะ บางครั้งจิตใจของเราเองเรายังรู้ไม่เท่าทันเลย

     การเรียนรู้ มารยาท กาลเทศะ ความมีน้ำใจในสังคม เป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ จดจำจากที่เราได้การพร่ำสอนอบรม แต่ขณะเดียวกัน เราเองก็ต้องหมั่นเรียนรู้จากสังคมโดยตรงด้วย เพราะหลายครั้งที่หนูต้องงัดเอาความรู้ที่แม่แอมและอาจารย์ท่านพร่ำสอนไว้ ที่ถูกเก็บไว้ในลิ้นชัก นำขึ้นมาใช้ และใช้ได้ดีเสมอ หลาย ๆ อย่างเป็นสากล แม้กาลเวลาล่วงเลยแต่ยังทันสมัยทุกยุคทุกสมัย (รู้สึกว่าตัวเองแก่ชมัด ยิ่งตอนที่มีน้องนักศึกษาเข้ามาฝึกงานที่ฝ่ายฯ)

    --------------

    คิดถึง ระลึกถึง ห่วงใย เสมอ

    เอ๊ ! ความยาวของตัวอักษรที่ถูกเรียงร้อยส่งผ่านถึงกัน ใครติดใครกันแน่ค่ะแม่แอม

    รักมากที่สุดเสมอ

    สวัสดีด้วยความคิดถึงมากและขออภัยอย่างสูงจ๊ะน้อง   

     

    ขอโทษจริงๆจ๊ะที่เข้ามาตอบน้องช้ามาก  อาทิตย์ก่อนโน้นครูล็อกอินได้แป๊บเดียว  หนนี้เข้าได้เลยรีบแวะมาบอกสั้นๆว่าคิดถึงมากๆ และเรียนท่านเลขาคนสวยว่าตอนนี้ครูงานเข้า เอ๊ยฮานยุ่งมากจริงๆจ๊ะ  แถมมีเรื่องต้องพิจารณาตัดสินใจงานหลายเรื่องอย่างรอบคอบรัดกุมแบบพลาดไม่ได้    ต่อเนื่องกันมาเกือบปี  ครูจึงไม่สามารถจัดเวลาไปทำอะไรอื่นได้เลยในช่วงที่ผ่านมา   แต่วันนี้ครูได้รับทราบข่าวดีอันเป็นมงคลสมใจแล้ว  ครูจึงรีบดิ่งมาโพสต์ตอบน้องอย่างรวดเร็ว 

    น้องพูดถึงประเด็นถูกครูใจที่สุด   โดยเฉพาะที่น้องบอกว่า  

     

    ยุคนี้คือ Information Era เราในฐานะสื่อมวลชนและเรียนในสาขาการสื่อสารพัฒนาการ ยิ่งต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งด้วย ยุคของข้อมูลข่าวสาร ยุคที่ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น ประชาชนไม่เป็นเพียงผู้รับสารเหมือนเมื่อก่อน แต่ยุคปัจจุบันประชาชนเป็นผู้สร้างสารได้เองอีกด้วย

    โอยชอบๆๆๆๆ !!! ..อยากมีเวลาคุยด้วยยาวๆจัง  ครูนึกเลยไปถึงคำว่า  ประชาภิวัฒน์  ที่ได้ยินบ่อยในระยะนี้   เพราะครูคิดว่าคำนี้อาจหมายรวมถึงความฉลาด(ขึ้น)ของประชาชน ที่จะเป็นผู้สร้างสาร และสื่อสารกันได้เองโดยไม่ต้องรอ...   และครูขอต่อประเด็น(เป็นมุมมองส่วนตัว)เพื่อเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้    

     

    ครูคิดว่า โลกาภิวัตน์ เป็นปรากฏการณ์ในโลกกายภาพ (= สิ่งที่มี และเกิดขึ้น มนุษย์รับรู้ได้)     อยู่ในการรับรู้ของคน  แต่เน้นที่ (= เพ่งความหมายไปที่) ปรากฏการณ์นอกตัว

     

    แต่ ประชาภิวัฒน์  เป็นการปฏิวัติปรากฏการณ์ในโลกจิตภาพ (ในใจคน =  เรารับรู้และเกิดเป็นความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ  เป็นมุมมองของเราที่มีต่อสิ่งต่างๆเหล่านั้น) เพ่งไปที่ประสบการณ์ในใจ  และความสามารถในการรู้เท่าทันของคน (เป็นจำนวนมากที่อยู่ในชาติ)  ในฐานะพลเมืองของชาติ

     

    ดังนั้น  คำว่า  ประชาภิวัฒน์    จะมีคุณค่าอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อ

     

    1. ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายจากหลายทิศทาง 
      (มิใช่จากแหล่งกำเนิดสารชุดเดียว) 
    2. ประชาชนเกิดวิจารณญาณในการรับรู้และวินิจฉัยสาร (แปลความ ตีความ )
      สามารถมองทะลุไปเห็นเจตนาที่แท้จริงของผู้ส่งสาร  เบื้องหลังสารชุดนั้นๆ
    3. ในที่สุดจะเกิดเป็นทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร  (Communication Literacy Skill)
       กลายเป็นประชาชนที่จิตใจและสติปัญญาพัฒนาขึ้นได้ในระดับสูง

     

    ในฐานะนักสื่อสาร  เราต้องช่วยกันสร้างภาษาขึ้นมา (ประโยคนี้เป็นความคิดของพ่อของครู จากที่นั่งคุยกันเรื่องนี้)   และขยายวงการรับรู้ภาษา(ความหมาย)ในใจคนให้กว้างออกไป  เพื่อทำให้เกิดการรับรู้ และ เข้าใจ  ความหมาย   และที่มาที่ไปของความหมาย  ของถ้อยคำแห่งยุคสมัยอย่างเข้มข้น  (ที่ต่อท้ายมานี้และต่อจากนี้ไป  คือครูคิดเพิ่มเติม  ขยายความ  และแต่งความเอาเองอย่างสนุกสนาน) 

     

    การมีโอกาสรับรู้ความหมายของคำ  ตั้งแต่คำนั้นเริ่มก่อร่างสร้างรูป    (คำร่วมสมัย) ช่วยให้คนได้สั่งสมการรับรู้และเข้าใจความหมายของคำนั้นจากประสบการณ์ตรงแห่งยุคสมัยร่วมกัน  
    (เช่นคำว่า  วิกฤตต้มยำกุ้ง  สึนามิ  สตอร์มเสิร์จ    การเมืองภาคประชาชน การรู้เท่าทันการสื่อสารการเมือง  ฯลฯ  เป็นต้น)   

     

    การอยู่ในยุคสมัยเดียวกัน ในกรอบประสบการณ์เดียวกัน (รับรู้ และแปล ความหมายในแบบเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็เกือบจะคล้ายๆกัน) ทำให้เกิดประสบการณ์ร่วม  อารมณ์ร่วม และอาจสร้างให้เกิดอุดมการณ์ร่วมในที่สุด  

     

    การสร้างประสบการณ์ร่วม  ที่ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมว่าเป็นพวกเดียวกัน   มีอุดมการณ์ร่วมเดียวกันนี้ เป็นวิธีหนึ่งที่จะดำรงความเป็นชาติไว้

     

    การให้ช่วยคนในชาติ ดำรงความเป็นชาติ   เป็นพลเมืองที่ฉลาดและรู้เท่าทันได้  วิธีหนึ่งก็ด้วยการสร้างภาษา(สื่อความหมายชุดหนึ่งๆของยุคสมัย)ขึ้นมา  และขยายวงการรับรู้ และเข้าใจภาษาชุดนี้(ความหมายชุดนี้)ในใจคนให้กว้างออกไป

     

    ทู บี คอนตินิว ^_^

     

    ภาษาที่ว่า อาจแบ่งเป็นสองชุดอย่างง่าย   

     

    ภาษาชุดแรก    เป็น  เครื่องมือช่วยในการคิด 

    ภาษาชุดที่สอง  เป็น  ข้อมูลประกอบการคิด

     

    ภาษาชุดแรก เรียกว่า  เครื่องมือช่วยให้เกิดวิธีคิดที่เหมาะสม    

     

    เป็นภาษาที่ใช้เรียกรูปแบบการคิด และอธิบายกระบวนการ และคำที่แสดงถึงการใช้สมองคิดคิดของมนุษย์  เช่น คิดไปเรื่อยๆ  คิดแบบถูกครอบงำ  คิดตามที่เขาสั่งให้คิด  คิดเองไม่ได้    คิดแบบใช้อารมณ์    คิดมีเหตุมีผล  คิดเปรียบเทียบ คิดประยุกต์  คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดสังเคราะห์  คิดสืบค้นหาความจริงที่อยู่เบื้องหลัง   หยั่งรู้ถึงเจตนาที่แท้จริง คิดละเอียด  คิดลึกซึ้ง  คิดรัดกุม  คิดรอบคอบ  คิดรอบ คิดครบ  คิดแยบคาย ฯลฯ 

     

    ภาษาเหล่านี้ เมื่อบอกไปแล้ว   ก็จะทำให้คนตระหนักรู้ และมองเห็น เครื่องมือช่วย ในการคิด  ที่มีรูปแบบหลากหลาย และนำรูปแบบเหล่านั้นมาใช้ร่วมกันได้ โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับชื่อ  เพียงแต่อาจต้องช่วยอธิบาย(แบบเนียนๆ  สั้นและกระชับ)ว่าเครื่องมือเหล่านี้ มีคุณค่า และมีลักษณะเฉพาะที่จะเป็นประโยชน์อย่างไร   เอาสั้นๆแบบไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังอธิบาย ยิ่งดี 

     

    ผู้สื่อสารต้องสร้างคำแบบที่ให้คนฟังแล้ว เข้าใจ  และรู้สึกขึ้นมาเดี๋ยวนั้นว่า  เครื่องมือช่วยในการคิดแบบต่างๆนี้     เอาไปใช้ได้ผล  มีคุณค่าต่อชีวิตเราจริงๆแฮะ   ดังนั้นเราจึงควรฝึกคิด  มิใช่ฟัง ดู รู้ เห็นไปเรื่อยๆแบบไม่รู้จักคิด  และ เราไม่ควรคิดแบบ คิดไปเรื่อยๆ  เท่านั้น อีกต่อไป

     

    ตัวอย่างนี้เห็นชัดจาก สป็อตรณรงค์เลือกตัวแทนของประชาชนไปทำอะไรสักอย่างทางวิทยุ เมื่อไม่นานมานี้   มีคำว่า หาข้อมูล และ วิเคราะห์ให้ดี ก่อนเลือก...(+ตำแหน่งผู้แทนนั้นๆ)... 

     

    ครูเคยได้ยินแต่สป็อตที่บอกให้พลเมืองอย่างครูรับผิดชอบในหน้าที่ ไปเลือกตั้งตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่ทำแล้วกฎหมายจะลงโทษต่างๆนานับประการ  ฟังดูแล้วน่าเกรงขามเป็นที่ยิ่ง  แต่ไม่เคยเลยจริงๆที่จะได้ยินสป็อต ระบุคำที่แสดงถึงวิธีคิดฉลาดๆ  รอบคอบ ในการคิดคัดกรองคนที่เหมาะสมจริงๆ  ก่อนไปกากะบาดหนึ่งหรือสองที  เพื่อเลือกใครก็ไม่รู้เป็นตัวแทนไปตัดสินอะไรต่อมิอะไรแทนเรา  (อันนี้อาจเป็นความบกพร่องในการรับสารของครูเองด้วย  อาจมีคนผลิตสป็อตเช่นที่ว่า  มาก่อนหน้านี้เมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว  แต่ครูไม่ได้ฟังเองเป็นต้น)

     

    ครูได้ยินสป็อตนั้นแล้วก็ให้ดีใจไชโยมากที่สุดเป็นครั้งแรกในชีวิต  ชอบใจคนคิดคำรณรงค์จริงๆ   ขออภัยที่จับตัวเอ๊ยระบุตัวไม่ได้  เพราะฟัง(ได้ยิน) ในช่วงที่กำลังรีบร้อน  แต่ถ้าได้ฟังอีกทีคิดว่าจังหวะดีๆจะอัดเอาไว้เลยจ๊ะ  (ครูคิดว่าน้องอาจจะเคยฟังสป็อตผ่านหูแถว กทม.มาแล้วบ้างนะจ๊ะ)  

     

    ภาษาชุดที่สอง  เป็น ข้อมูลประกอบการคิด 

     

    เป็นภาษาของโลกกายภาพ  ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ ปรากฏการณ์และประสบการณ์ต่างๆ  ฯลฯ  ที่มนุษย์ได้ฟัง ดู รู้ เห็น และเกิดเป็นประสบการณ์ชีวิต  บางอย่างเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล  บางอย่างเป็นประสบการณ์ร่วมของกลุ่ม 

     

    ประสบการณ์ร่วมของ คนกลุ่มใหญ่มากๆในชาติเดียวกัน (พลเมือง)  จะทำให้เกิด การรับรู้ชุดของความหมาย ที่ใกล้เคียงกัน  ผ่านคำ ถ้อยคำภาษา แบบเดียวกัน  และอาจจะ แปล ความหมาย ตีความ และสรุปความ คล้ายๆกันด้วย 

     

    ภาษาชุดที่สองเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลที่ผ่านมาแล้วผ่านไป  และจะไร้ประโยชน์ยิ่งหากผู้สื่อสารไม่รู้จักคิดก่อนนำไปใช้ 

     

    การเข้าใจภาษาชุดแรก อันเนื่องด้วยวิธีคิดแบบต่างๆ จึงจำเป็นและสำคัญมาก  ที่จะต้องจับมาให้เจอกับภาษาชุดที่สอง  แล้วก็เชื่อมโยงเพื่อนำไปใช้กันเป็นสามารถ  ใช้กรณีศึกษาต่างๆที่เกิดขึ้นในชาติ ทั้งแบบที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากน้ำมือมนุษย์  ชี้ให้เห็น สอนและฝึก  ให้ทำเป็นกันอย่างเข้มข้นทั้งในและนอกระบบการศึกษา  เริ่มกันเสียตั้งแต่ยังเล็กๆ  

     

    พลเมืองที่ฉลาด  จะรู้จักวิธีคิด รู้จักฝึกตนเองให้ อ่าน  ดู  ฟัง  ประสบ  แล้วร้จักแปลความหมายของข้อมูล   และแปลให้กันฟังบ่อยๆ (ด้วยวิธีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ  ที่หลากหลายและอาจไม่เป็นการสื่อสารสำเร็จรูปเสมอไป)  เช่น    เริ่มจากการพูดคุยในครอบครัว   การสื่อสารกันในโรงเรียน  การคุยกันในที่ทำงาน  การได้ยินใครต่อใครคุยกันระหว่างที่นั่งรถประจำทางกลับบ้าน   หรือบังเอิญโทรคุยกับเพื่อนเก่า   แล้วเพื่อนพูดให้ฟัง      ว่าอันข้อมูลที่นำมาเสนอเหล่านี้  แท้ๆแล้วมัน แปล ว่าอะไร  สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นและเป็นไป   ต้องแปลให้ออกว่า เป็นประโยชน์แก่ใคร ผู้ใด  เป็นการส่วนตัว เฉพาะกลุ่ม  หรือส่วนรวม  แปลให้ออก  ชี้ให้เห็นว่าผลโดยตรงที่เกิดขึ้นคืออะไร  ใครได้อะไร  ใครเสียอะไรบ้าง  เสียอย่างไร  และส่วนรวม  ได้อะไร  เสียอะไรบ้าง  เสียอย่างไร  และ นำไปสู่อะไร ส่งผลกระทบสืบเนื่องต่อไปอย่างไรในระยะยาว    มีผู้ใดได้รับผลกระทบ  และกระทบอย่างไรบ้าง... และสมควรไหมที่จะเป็นเช่นนั้น? .. 

     

    หากโชคดีพอ  ก็จะมีผู้เปิดวงตั้งเวทีให้วิพากษ์โต้แย้งแสดงเหตุผล ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยวิธีคิดที่แตกต่าง  ด้วยกลุ่มคนอันมีที่มาที่ไปหลากหลาย  ที่อยู่กระจายในวงกว้าง  เปิดหนทาง เปิดเวทีให้วิพากษ์ร่วมกัน  นั่นจะทำให้เห็นวิธีคิดที่แตกต่าง หลากหลาย ทำให้คนมีข้อมูลมากมายที่จะเชื่อมโยง เปรียบเทียบ มีข้อมูลตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง  มีข้อมูลที่ยากจะปิดบังความจริงไว้เสียครึ่งหนึ่ง (เพราะรู้เท่าทันเสียแล้ว)   และมีตัวเลือกทางความคิดจำนวนมากที่จะนำไปพินิจพิจารณา ด้วยสติปัญญาของตนเอง

     

    การเรียนรู้จากเวทีเหล่านี้  เป็นสนามชั้นดีในการฝึกทักษะการตีความ  แปลความ  รวมถึงการแปลเจตนาที่ที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความหมาย (= ทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร)  

     

    การเปิดเวทีเหล่านี้  เป็นกุศโลบายในการสร้างจิตสำนึกตระหนักเรื่องการรู้เท่าทัน   ทำให้เกิดความรู้  เกิดหลักคิด  เกิดวิธีคิด   และเกิดการตั้งคำถามว่าเหมาะไหม ควรไหม  ถูกต้องหรือไม่  และควรปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้นหรือไม่  และจะนำไปสู่วิธีทำ ว่า  ถ้ายอม ควรทำอย่างไร  ถ้าไม่ยอม  ควรทำอย่างไร 

     

    ภาษา และเวที ที่เปิดเผยและวิพากษ์กันได้เหล่านี้  น่าจะทำให้คน แต่ละคน  รู้จักคิดเชื่อมโยงเพื่อสืบค้นหาความจริงด้วยตนเอง  รู้จักวินิจฉัยประเมินค่าในเรื่องที่ซับซ้อนลึกซึ้ง  แทนที่จะวินิจฉัยเอาด้วยข้อมูลเพียงน้อยนิด  และมองเห็นแคบเพียงประโยชน์เฉพาะตัว 

     

    คนแต่ละคน  ที่ได้รับการศึกษาด้วยการสื่อสารกระแสทางเลือกเหล่านี้  จะกล้าตัดสินใจด้วยความรอบคอบรัดกุม  (เพราะฉลาดแล้ว) และจะกล้าหาญที่จะลงมือทำสิ่งที่ถูกต้องควรทำในที่สุด เพื่อส่วนรวม  

     

    ...และนั่นคือจุดสุดยอดของความฉลาดของคนในชาติ   แบบมีจิตสำนึกตระหนักถึงส่วนรวมอย่างแท้จริง...

     

    ขอบคุณมากอีกครั้งที่น้องแวะมาพูดประโยคคมๆจับใจ  : )  ที่ทำให้ครูนึกมุกอย่างง่าย ที่จะไป เปิดเวที ฝึกเด็กๆออกเป็นฉากๆอย่างสนุกสนานมาก     นึกแล้วต้องไปลงมือวางแผนเตรียมการทำเลย  ไม่งั้นเดี๋ยวลืม    และขออภัยจริงๆที่บ่นเพ้อเจ้อเรื่อยเจื้อยไปอีกแล้ว   
     

    คิดถึงมากๆๆๆและขอให้งานทุกอย่างผ่านฉลุย  รักษาสุขภาพด้วยนะจ๊ะ ลูกสาว : )     

     

    เอ่อ..  ครูจะสรุปว่าที่บ่นเอ๊ยตอบไปข้างต้นทั้งหมดนี้ยังไม่ถือว่ายาวนะจ๊ะเนี่ย    อิอิอิ  : )   : )

     

    ก่อนเข้านอน..ก็เฮ้อ..บันทึกเธอ 
    ตื่นนอนก็เฮ้อ..บันทึกเธอ

    พี่แอมป์เกิดทันเพลงรอเรียกสายเพลงนี้นะคะ อิ อิ เอ้า เป็นการเป็นงานดีกว่า

     

    ก่อนอื่นขอลงทะเบียนเป็นลูกศิษย์ด้วยคนค่ะครู : )
    (วิธีลดอายุแบบเนียน ๆ)

    "เราไม่ได้ฝึกเพื่อเอาไว้ลวงใคร"
    "เพื่อเรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่นได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง"

    สองประโยคสุดยอดพระคัมภีร์นะคะ

    น้องเคยคุยกับเพื่อน ๆ ลูกทีม เวลาเขาประสาทวิตกกังวล เช่น เวลาจะไปตรวจงานคนอื่น(ความลับ..ผู้ตรวจงานคนอื่น ปริวิตกกว่าผู้รับการตรวจนะคะ-เคยสัมผัสมา)  คุยคล้าย ๆ แบบนี้แต่บ้าน ๆ กว่า คือ

    "เอาน่ะ เดี๋ยวเจออะไร อย่างไรเฉพาะหน้าค่อยว่ากัน"

    จริง ๆ แล้ว เราต้องฟังเขาก่อนมาก ๆ จนรู้ภาระงานเค้า  เราต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจงานเค้า อย่างรวดเร็วลึกซึ้ง

    เพื่อ..บอกข้อสอบ..เอ๊ย..เพื่อการตรวจที่ราบรื่น

    อันนี้ ถ้าเอามาคิดอีกที ใช้งานได้กว้างมาก ๆ

    ใช้ได้กับคู่กรณี, คนไข้, ผู้รับการตรวจประเมินต่าง ๆ ฯลฯ(ลูกหนี้ด้วย)

    ยังอยากคุยแต่เดี๋ยวจะผิดคอนเซ็บต์ ปกติเป็นคนเขียนอะไรสั้น ๆ ค่ะ (คนละขั้วกับพี่แอมป์)  คือมีเวลาน้อย(นอนเยอะ) ใช้วิธีผ่อนส่งเขียนน่ะค่ะ

    สุดท้าย(แถมดอกเบี้ยให้ก่อน)

    ตัวเองมีปัญหาว่า "พี่น่ะต้องเรียนรู้ที่จะไม่แสดงออกทางสีหน้า จน คนอื่น ๆ น่ะเขารู้เท่าทันพี่กันหมด"..เป็นคำเตือนจากลูกทีมค่ะ

    *รู้ว่า เดี๋ยวอีกแป๊บ เราก็จะบอกข้อสอบเขาจนหมด..อิ อิ

     

    สวัสดีค่ะคุณหมอเล็ก 

    พี่แอมป์เผลอฮัมเพลง  เฮ้อ..เธอ..  ตามไปเรียบร้อยแร้ว..ว..  : )  

    เรื่องการรู้เท่าทันการสื่อสาร ( Communication Literacy) นี้   เป็นเรื่องที่ทำให้พี่แอมป์กลุ้มใจอยู่พักนึงเลยค่ะ  เพราะทันทีที่เริ่มคุยเรื่องนี้กับใครก็ตาม  โดยเฉพาะในสายการสื่อสารด้วยกัน   ...ก่อนอื่นเพื่อนจะหาว..ว..         ....จากนั้นก็ขอตัวไปทำงาน.. !!!

    สรุปว่าพี่แอมป์ประสบความสำเร็จด้านการสื่อสาร"โดยสิ้นเชิง"ค่ะคุณหมอเล็ก  อิอิอิอิ

    พี่แอมป์จึงดีใจไชโยทุกครั้งที่มีพี่ๆน้องๆเข้ามาร่วมสนทนาเรื่องนี้  คืออย่างน้อยก็เป็นความอบอุ่นและมั่นใจว่าพี่แอมป์ยังพอพูดกับประชาชนรู้เรื่อง และมีสติพร้อมสตังค์ครบถ้วนดี : )  

    งานของคุณหมอเล็กเป็นงานทีมที่น่ารักชะมัดเลยนะคะ  เพราะเริ่มด้วยความเห็นอกเห็นใจและตั้งใจที่จะ "ฟัง" ให้เข้าใจกัน  ความเข้าใจจะเป็นเครื่องเชื่อมประสานใจของกันและกัน ความเข้าใจเป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมสัมพันธภาพและสร้างมิตรไมตรีได้อย่างไม่จำกัดเพศ วัย สถานภาพ อาชีพ ฯลฯ  อย่างที่คุณหมอเล็กบอกว่า "ใช้งานได้กว้างมาก ๆ ใช้ได้กับคู่กรณี, คนไข้, ผู้รับการตรวจประเมินต่าง ๆ ฯลฯ(ลูกหนี้ด้วย) "   อ่า..อันหลังสุดนี่ลึกซึ้งจริงๆ  อิอิอิ

    ที่น่าประทับใจที่สุดนอกเหนือจากความเข้าใจ คือความปรารถนาดีต่อกันด้วยความจริงใจนี่เองนะคะคุณหมอเล็ก  ถ้าเราจริงใจจนคนอื่นสัมผัสได้ถึงหัวใจแท้ๆของเรา  แบบที่คุณหมอเล็กเล่าให้ฟังอย่างน่ารักในวรรคสุดท้ายนี้ : )  พี่แอมป์ว่าคนที่โชคดีที่สุด  คือเพื่อนร่วมงานของคุณหมอเล็กนะคะ  : )  : ) 

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท