หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๔ เดิน ปีน ไต่ มุด คลาน ข้าม ฯลฯ)


ยังมิทันที่จะตั้งตัวรับมือกับการเดินทางสู่เป้าหมาย มิทันที่จะให้ร่างกายได้วอร์มอัพให้เครื่องร้อน นายหัวบุญเลิศ ก็นำลิ่วพาพวกเราเดินขึ้นเขาชันสุด ๆ ระยะทางหลายร้อยเมตรกว่าที่จะได้หยุดพัก

    เดิน ปีน ไต่ มุด คลาน ข้าม ฯลฯ

   อาการเหล่านี้คืออาการของผมที่เกิดขึ้นในการเดินป่าสู่เขาเจ็ดยอด...

   วันแรกแห่งการเดินทาง...

   ยังมิทันที่จะตั้งตัวรับมือกับการเดินทางสู่เป้าหมาย มิทันที่จะให้ร่างกายได้วอร์มอัพให้เครื่องร้อน นายหัวบุญเลิศ ก็นำลิ่วพาพวกเราเดินขึ้นเขาชันสุด ๆ ระยะทางหลายร้อยเมตรกว่าที่จะได้หยุดพัก

   ผมลิ้นห้อยตั้งแต่ร้อยเมตรแรก แต่เพราะกลัวเสียฟอร์ม จำต้องฝืนใจเดินต่อไปแบบลิ้นห้อย ๆ กว่าจะถึงนาคอน จุดแรกที่พวกเราพักก็แทบขาดใจ

   ผมไม่รู้ว่าคนอื่น ๆ กลัวเสียหน้าอย่างผมหรือไม่ แต่ “น้อง” หญิงสาวรุ่นน้องผู้ร่วมเดินทาง ผมเห็นเธอออกอาการตั้งแต่ร้อยเมตรแรก เธอไม่กลัวเสียฟอร์ม เอ่ยบอกท่านผู้เฒ่าวอญ่าขอพักก่อน และเธอก็หยุดพักเป็นระยะ แหะ แหะ ผมเลยพลอยได้อานิสงส์ เพราะผมเดินอยู่หลังน้อง

   ที่น้องหมดแรงเพราะเธออยู่ในระยะกินเจ มื้อสุดท้ายที่เธอกินเจคือมื้อเช้าที่ผ่านมา เธอติดกับข้าวมาด้วยแต่กับข้าวเจ้ากรรมดันบูด เธอจึงกินเพียงขนมปังเจเพียงสองแผ่น พลังงานหมดไปตั้งแต่ตอนเตรียมของ

   มิเพียงแค่นั้น เป้ใบโตบนหลังน้องที่บรรจุข้าวของเผื่อคนอื่น ๆ ก็เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งกับการเดินทาง

   เส้นทางสู่เขาเจ็ดยอดที่พวกเราเดินเท้าขึ้ไปตลอดระยะเวลา ๒ วัน ไม่มีช่วงใดที่เป็นทางราบเรียบให้ได้เดินอย่างสบายตีน เอ้ย !!! เท้า

   ทางเดินที่สบายที่สุดคือการเดินไต่ไปตามไหล่เขาที่ชันไม่มากนัก

   แต่... ทางเดินสบาย ๆ อย่างนี้ พวกเรามิได้รับการอนุญาติให้เลินเล่อ ขณะที่เดินจึงต้องระมัดระวัง เพราะบางช่วงต้องเดินอยู่บนขอบเหวลึก คนกลัวความสูงชะโงกหน้าลงไป ลมอาจใส่ได้ และหากมีคนพลาดท่าตกลงไปเบื้องล่าง อย่าคาดหวังว่าทริปนั้นจะเดินต่อไปได้

   ในบางช่วง แม้มิใช่เหวลึก แต่การเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขา หลายช่วงหลายตอนความชันของเขาเยื้องล่างก็มิใช่ย่อย หากผู้เดินทางไม่ระมัดระวังก็อาจจะกลิ้งหลุน ๆ ลงสู่เบื้องล่างได้ และหากสิ่งของในมือในตัวร่วงลงไปเบื้องล่าง สิ่งที่ทำได้คือการ “ทำใจ” เพราะการลงไปเก็บของใต้ทางเดินเบื้องล่างนั้นยากยิ่งกว่าการ “ทำใจ”

   ทางขึ้นเขาบางช่วง ต้องปีนขึ้นไป อาศัยความเอื้อเฟื้อจากธรรมชาติ ที่ประทานกิ่งไม้ รากไม้และก้อนหิน ให้พวกเราเกาะเกี่ยวปีนขึ้นไป หากพลาดพลั้งตกลงมารับรองว่าเดี้ยง ความสูงของทางสูงชันเกือบเก้าสิบองศา มีตั้งแต่เมตรกว่า ๆ เรื่อยไปจนถึงราว ๓ เมตร

   การเดินทางวันแรกว่าโหด แต่ยังมิได้ครึ่งของวันที่สอง

   วันที่สองหลังกินข้าวเช้า เราเดินเลาะลำธารไปเรื่อย ๆ ก่อนถึงจุดพักต้องผ่านผาสูงราว ๔ เมตร หน้าผามีหิน รากไม้ กิ่งไม้ ที่ธรรมชาติเอื้อเฟื้อให้เราเกาะไต่ลงไปเบื้องล่าง

   ผมเดินมาถึงจุดนี้เป็นลำดับสาม นายหัวบุญเลินเดินลิบตาไปแล้ว ซากี้ลงไปถึงด้านล่างแล้ว

   “ผูกเชือกโรยตัวดีไหม...” ผมถามซากี้

   “ไม่ต้องหรอกพี่ ค่อยหันหลังปีนลงมา” ซากี้ตอบ

   ผมขาสั่น หันหลังให้ผา แล้วกระเถิบตัวค่อยปีนลงมา

   “พุทโธ พุทโธ ๆ ๆ ...” ผมท่องอยู่ในใจขณะไต่ลงมา

   ก่อนเที่ยงวันที่สองของการเดินทาง เราวพักที่เนินทรายแห่งหนึ่ง นายหัวบุญเลิศบอกว่าจุดนี้เป็นจุดที่ตั้งใจจะพักเมื่อคืน แต่พวกเราเดินได้ช้า จึงต้องพักก่อนหน้านั้น

   ช่วงเช้าที่ผ่านมา พวกเราเดินทางด้วยความเพลิดเพลินจำเริญใจ ทางไม่ยากลำบากนัก เส้นทางลัดเลาะไปตามหุบเขาและธารห้วย

   พวกเรายังไม่เห็นโลงศพ...

   หลังจากพักครู่ใหญ่ พวกเราเดินทางต่อ สักพักก็เริ่มเห็นโลงศพ และเริ่มหลั่งน้ำตา

   หนทางที่เราย่ำเดินไป มิอาจเรียกมันว่าเส้นทาง เพราะหนทางนั้นคือหนทางที่ไต่และปีนไปตามโขดหิน ก่อนหน้านั้นลำพังเขาสูงชันก็แย่เอาการอยู่แล้ว แต่นี้ปีนผาหินขนาบไปกับข้างน้ำตก

   การพาตัวเองขึ้นไป นอกจากสองเท้าแล้ว สองมือ สองศอก และสองเข่าถูกใช้งานอย่างเต็มที่

   เวลาผ่านไปเกือบชั่วโมงก็ถึงชั้นบนของน้ำตก ที่นั่นเป็นที่พักก่อนเดินทางต่อ ผมเดินถึงที่นั่น “แมะฮาก”

   มิทันที่จะหายเหนื่อย นายหัวบุญเลิศก็พาเดินต่อ

   “พระเจ้าจอร์จ แม่งยังไม่หมดอีกเหรอวะ...” ผมสบถกับตัวเอง แล้วก็ออกย่ำเดินตามนายหัวไปต้อย ๆ

   พวกเราเดินไต่ขึ้นไป ขึ้นไป ขึ้นไป ขึ้นไป ขึ้นไป ๆ ๆ ๆ ๆ . . . . .

   รากไม้ถูกน้ำชะจนกลายเป็นขั้นบันได เป็นบันไดที่ธรรมชาติประทานให้

   บันไดธรรมชาติ บางชั้นกว้าง บางชั้นแคบ บางชั้นสูงน้อย บางชั้นสูงมาก บางชั้นโคตรสูง

   ผมก้าวไปได้สองขั้นพัก ไปอีกสองขั้นพัก พักทุก ๆ สอง-สามขั้น จนสุดขั้นบันไดจึงเจอทางลาดไต่ไปสู่ยอดเขา

   แรงผมหมดสิ้นทันทีที่ก้าวพ้นขั้นสุดท้ายของบันไดธรรมชาติ และหากต้องไต่ต่ออีกไม่กี่ขั้นเข้าใจว่าต้องขาดใจตาย...

   การเดินขึ้นเขาเจ็ดยอด นายหัวพาพวกเราเดินขึ้นทางหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้านพูด อ.กงหรา จ.พัทลุง ใช้เวลาเดินขึ้น ๒ วัน

   สำหรับการเดินลง เรามีเวลาเพียงวันเดียว นายหัวจึงพาเราเดินลงอีกทางหนึ่ง ตรงข้ามกับทางขึ้น เป็นทางที่มุ่งหน้าไปสู่ จ.ตรัง

   ขากลับเป็นทางลง ทำให้การเดินไม่เหนือ่ยยากเหมือนขามา แต่ก็ยังคงความระมัดระวังไว้ เพราะมิเช่นนั้นอาจกลิ้งตกเขาไปได้

   ช่วงท้าย ๆ ของการเดินเส้นทางเดินผ่านสวนหมาก สวนยาง ได้ความเพลินเพลินไปอีกแบบ

   การเดินคราวนี้เป็นครูผมมาก ๆ อยากเขียนต่อ แต่รู้สึกว่าบันทึกนี้ยาวแล้ว เอาไว้เขียนคราวหน้าดีกว่า...

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง  

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๒ จัดของลงเป้)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๓ แต่งตัวเดินป่า)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๔ เดิน ปีน ไต่ มุด คลาน ข้าม ฯลฯ)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๕ ฝ่าดงทาก)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๖ กินในป่า)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอนที่ ๗ นอนในป่า)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๘ นายหัวบุญเลิศ ชายเกตุ ลูกผู้ชายใจนักเลง)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๙ ซากี้ คนลาวชื่อฝรั่ง)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๑๐ หญิงสาวน้ำใจงาม

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๑๑ ทะเลหมอกเขาเจ็ดยอด)

การเดินทางของชีวิต : จากโลกไซเบอร์สู่เขาเจ็ดยอด (ตอน ๑๒ เรื่องเล่าจากซากี้)

 

 

หมายเลขบันทึก: 310037เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

คนอ่านสนุกครับ จะติดตามตอนต่อไป..

สวัสดีครับน้องหนาน

จำต้องฝืนใจเดินต่อไปแบบลิ้นห้อย ๆ กว่าจะถึงนาคอน ตรงนี้คือ(นาควน)ครับ

ก่อนเที่ยงวันที่สองของการเดินทาง เราวพักที่เนินทรายแห่งหนึ่ง นายหัวบุญเลิศบอกว่าจุดนี้เป็นจุดที่ตั้งใจจะพักเมื่อคืน แต่พวกเราเดินได้ช้า จึงต้องพักก่อนหน้านั้น

(ณ.จุดนี้คือ หนานสนครับ จุดพักแรมคืนแรกของพวกเราทุกครั้งที่ผ่านเส้นทางนี้ครับ)

หนทางที่เราย่ำเดินไป มิอาจเรียกมันว่าเส้นทาง เพราะหนทางนั้นคือหนทางที่ไต่และปีนไปตามโขดหิน ก่อนหน้านั้นลำพังเขาสูงชันก็แย่เอาการอยู่แล้ว แต่นี้ปีนผาหินขนาบไปกับข้างน้ำตก

(ตรงนี้คือ คุ้งคั้ง) หรือคลุ้มครั่งของนักเดินทางบางคน บริเวณนี้เรามักเก็บส้มกบ (บิโกเนีย) เอาไปแกงที่ที่เจ็ดยอดครับ)

แฮะๆ อายุ ห้าสิบหก น้ำหนัก แปดสิบสี่ปี นี้น่าเป็นห่วงกว่าน่ะน้องหนาน

ผมส่งแผนที่สำหรับจุดหมายในช่วงเย็นในอีเมลครับ...

โทรศัพท์หาผมได้ตลอดนะครับ ผมstand by...

ฮ่าๆๆๆ.... “พระเจ้าจอร์จ แม่งยังไม่หมดอีกเหรอวะ...”

สู้ๆ เน่อเจ้าอ้ายหนาน...ไว้คราวหน้าชวนน้องสาวคนนี้ไปด้วยเน่อ จะได้ช่วยบ่นไปอีกคน

แวะมาอ่านเรื่องดีๆครับ

สวัสดีคะคุณหนานเกียรติ

พี่ไก่ประกายเข้ามาอ่านอย่างต่อเนื่องแต่ไม่สามารถฝากร่องรอยในบันทึกได้

อยู่เวรทำงานเดี่ยวจะบอกว่าไม่ทำงาน

เดินป่าเล่าเรื่องราว ทำให้คนติดนิยายคิดภาพจินตนาการได้อย่างดี

เขียนเป็นนิยาย ลงตีพิมพ์ได้นะคะ

ขอบคุณมากที่เล่าให้ฟัง จะติดตามต่อไปเรื่อย ๆคะ

ถ้าให้เทียบกับดอยม่อนจอง ... ป่าฮาลา บาลา ... ดอยหลวงเชียงดาว .. แล้ว

ถือว่า เจ็ดยอดแห่งบรรทัด นี่โหดที่สุดหรือเปล่าคะนี่ท่านหนานฯ ... จะติดตามต่อคะ 

พี่หนาน....ไม่ชวนเลยอ่ะ ฝากไว้ก่อน อิอิ

P สวัสดีครับ ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

P คารวะท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

P สวัสดีครับ เอก-จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

P สวัสดีครับ น้องชาดา ~natadee

P สวัสดีครับ คุณ supolpp

P สวัสดีครับ คุณครู กิติยา เตชะวรรณวุฒิ

P สวัสดีครับ พี่ไก่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

P สวัสดีครับ คุณ poo

P สวัสดีครับ คุณ วิไล วิไล บุรีรัตน์

P น้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿ ครับ

ขออนุญาตตอบ Comment รวมรวบยอดเลยนะครับ
ขอบคุณมากมายเลยครับที่แวะมาเยี่ยม
ช่วงนี้ผมมีภารกิจมากมายเลยครับ จึงมีเวลามากนักสำหรับการเข้ามาตอบ
แต่ถึงไม่ได้ตอบผมก็ตามความเคลื่อนไหวบันทึกตัวเองและ G2K อื่น ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ
เป็นเกรงใจ๊เกรงใจ จึงต้องพยายามหาเวลามาตอบ...
ตอนนี้ผมเล่าถึงความลำบากของการเดินเขา
ที่ยังไม่ได้บอกคือการลื่นหกล้มหลายคร้ังคราว
และที่ไถลเกือบจะหล่นเขาก็อีกสองคร้ังที่ไม่ได้เล่าไว้
เกี่ยวกับการเดินผมได้รับการสอนดังที่ทิ้งท้ายไว้
สัญญาว่าจะเล่าให้ฟังครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท