Early Dectection (8) รากฟันผุเป็นอย่างไร ตอนที่ 6 บทสรุป ของเรื่องรากฟันผุ


จุดประสงค์ในการดูแลช่องปากผู้สูงอายุ สิ่งที่เน้นคือ "คุณภาพชีวิต"

 

สรุป ... เรื่องบรรยายของ อ.มัท ตามประเด็นเหล่านี้ละค่ะ

นั่นก็คือ

การเกิดรากฟันผุ

cementum ตรง root caries ต่างกับ ตรง crown อย่างไร ... นั่นก็คือ composition จะต่างกัน และเวลาผุ จะผุเร็ว ข้อเสียของการเริ่มผุได้เร็ว มันจะ dissolve ได้บ่อย ก็คือ การ early detection ทำไม่ได้แล้ว ยากมากที่จะ early detection คือ มันจะผุไปแล้ว เพียงแต่ข้อดีคือ มันผุเร็ว แต่มันไม่ลงลึก ไปกว้างๆ และด้วยความที่มันมี periodontal ligament ก็โดนทำให้ mineral เสียไปเยอะก็จริง แต่ว่าการสัมผัสฟลูออไรด์ก็เยอะด้วย การรักษาด้วย fluoride treatment ก็จะได้ผลดีมาก

การวินิจฉัย แบ่งเป็น active กับ inactive

  • Active คือ นิ่ม หรือติดคล้ายๆ หนังเหนียวๆ
  • ส่วน inactive คือ แข็ง มัน มีรูได้ทั้ง 2 อย่าง
  • cavitation ไม่ได้เป็นตัวที่จะบอกว่า เป็น active หรือ inactive
  • สี ถ้า active โอกาสที่จะเป็นสีอ่อนเหลืองๆ กว่า แต่ก็ไม่เสมอไป สีเป็นตัวที่บอกว่า ผุหรือไม่ผุได้ง่ายที่สุด
  • เมื่อเอา probe ต้อง probe แต่ให้เบาที่สุด แค่ไหน ก็ test ลงไป
  • แต่เขาบอกว่า หลังจากที่ test reliability แล้ว ทดลองให้คุณหมอหลายๆ คนมาตรวจ แล้วดูว่า เป็นไหม ถึงแม้ว่าจะ subjective มาก ก็พบว่า ค่าที่ออกมาไม่มีความต่าง แต่ละคนก็ออกมาได้เท่าๆ กัน
  • เพราะว่า ไม่ควร probe เยอะ และห้ามไปเจาะอะไร เพราะว่าตัว surface ด้านนอกสุด จะเป็นตัวที่เกิด remin ก่อน ด้านใน ก็ควรรักษาส่วนที่ active ด้านนอกสุดไว้ให้ดี
  • การอุดหรือไม่อุด ดูว่า ฟลูออไรด์ตัวนี้ดี ก็ใช้ดู หรือถ้าอุดแล้ว ดูงาส มันจะดีต่อฟันจริงหรือเปล่า และ lesion ที่เป็น active ไม่ต้องอุดก็ได้ ถ้าจะอุด ก็อุดเพื่อความสวยงาม

การป้องกัน

  • และการใช้ฟลูออไรด์ ใช้ยาสีฟันอย่างเดียวก็พอ ... ถ้าเรามั่นใจว่า เขาแปรงฟันทุกวัน วันละ 2 รอบ ถ้าเราไม่มั่นใจก็ใช้น้ำยาบ้วนปากเสริมก็ได้
  • ถ้าผุในที่เสี่ยงน้อยหน่อย ก็คือ ใช้ทุก 6 เดือน ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงเยอะๆ ก็ใช้ทุก 3 เดือน
  • อย่าลืมเรื่องอาหาร และเรื่องน้ำลายด้วย ที่สำคัญคือ อย่าไปกินพวกน้ำตาลบ่อยๆ
  • ถ้าปากแห้ง ... ให้จิบน้ำบ่อยๆ และมีการใช้น้ำลายเทียม หรือกินมะขามป้อม ที่กระตุ้นน้ำลาย หรือเคี้ยวหมากฝรั่งก็ได้

อ.มัท บอกส่งท้ายไว้ว่า

  • ภาพของผู้สูงอายุในวันนี้ เป็นภาพหนึ่ง แต่กลุ่มวัยทำงานในปัจจุบัน จะเป็น baby boom เมื่ออายุประมาณ 50-60 ปี สภาพช่องปากของเขาก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง
  • เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราคิด คือ พวก complete denture พวกโรค perio ที่เห็นในวันนี้ พอ cohort ข้างหน้า อีก 20 ปี มันก็จะเปลี่ยนไป เราต้องตามให้ทัน
  • อีกอย่างหนึ่งก็คือ สิ่งที่เราทำลงไปสู่ผู้สูงอายุ ที่พยายามให้รักษาฟันไว้เยอะๆ ให้มีสุขภาพช่องปากแข็งแรง บอกว่า ถ้าไม่มีฟันแล้วเดี๋ยวจะตายเร็ว จะโง่ ก็เป็นข้อความที่กระตุ้นให้เขามาสนใจ ซึ่งใช้ได้ดีใน cohort นี้
  • แต่สำหรับ cohort หน้า ที่เขาจะมีฟันเยอะขึ้นอยู่แล้ว เราพูดอย่างนี้อย่างเดียวไม่พอ เราต้องระวัง เพราะว่า จากประสบการณ์การทำงานที่แคนาดา คนที่เขามีฟันเยอะขึ้น แต่ว่าถึงจุดหนึ่ง กลายเป็นติดบ้าน ติดเตียงแล้ว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มี bridge มี rampant caries ในปากมากๆ จะดูแลรักษาลำบากมาก
  • เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ในการดูแลช่องปากผู้สูงอายุ สิ่งที่เน้นคือ "คุณภาพชีวิต" ไม่ต้องเน้นมากว่า จะต้องไม่มีโรคเลย หรือว่ามีฟันเยอะๆ
  • และสิ่งที่ต้องเตรียม นอกเหนือจากการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุมีฟันเยอะๆ คือ เตรียมทันตบุคลากรให้พร้อม เพราะว่าป้องกันอย่างเดียวไม่พอ รักษาอย่างเดียวก็ไม่ทัน เพราะว่าเขามาหาเราก็ไม่ได้ เราต้องรุกเข้าไปหาผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ที่บ้านด้วย ... ฝากไว้อีก 20 ปี ก็จะออกมาในรูปนั้น

รวมเรื่อง Early Detection

 

หมายเลขบันทึก: 256123เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2009 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท