เราคุยกันถึงเรื่อง "วิธีคิด"


ปัญหาสังคมปัจจุบันเราคิดแบบ "ตื้น" ไม่ได้แล้วครับ เสียทั้งงบประมาณและเวลา ถึงเวลาที่เราจะได้เรียนรู้กันใหม่ว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ได้ทำแค่ คว่ำกะโหลก กะลา หรือใส่ทรายอะเบทแต่เพียงอย่างเดียว

เราคุยกันเรื่องวิธีคิด

 

มนุษย์เรามีอิสระและศักยภาพทางด้านความคิด  ตลอดจนใช้พลังของความคิดเป็นบทเรียนเพื่อเป็นฐานการเดินทางของชีวิต ผมเชื่อว่าทุกคนมีคุณสมบัติการเป็นนักคิด และคำถามต่อไปของผมคือ ทุกคนคิดกันอย่างไร?

 

วันนี้ผมสนทนากับนักวิชาการท่านหนึ่งเรื่อง "วิธีคิด" เขาพูดกับผมว่า เมื่อทำงานวิจัยขึ้นมาชิ้นหนึ่ง โดยมีการ Review literature อ้างแนวคิด ทฤษฏีจากตำราที่มีไว้แล้วและเป็นที่ยอมรับสากล และกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อหาปรากฏการณ์ใหม่ๆตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ จำเป็นจะต้องอ้างอิงกรอบคิดที่ทฤษฏีนั้นๆตั้งเอาไว้ เพื่อนำมาอธิบายผลที่ได้จากการค้นหาคำตอบ...

 

เขาถามผมว่า จำเป็นหรือไม่? หากผลงานวิจัยจะอ้างอิงกรอบแนวคิดที่เราตั้งไว้ เพื่ออธิบาย และปิดงานวิจัยเมื่อปรากฏการณ์นั้นตรงหรือสอดคล้องกับทฤษฏีที่เราอ้างถึง

 

ผมตอบว่า หากเราคิดเช่นนี้ ก็เท่ากับว่าเราจำกัดกรอบคิดของตนเอง เราอาจใช้ทฤษฏีนั้นเป็นแนวทางได้ แต่ในบริบท (Context) ของเราที่แตกต่างหรือเฉพาะ คำตอบที่ค้นพบเราสามารถอธิบายได้ ตามสถานการณ์และธรรมชาติของปรากฏการณ์ ผมหมายถึงเราอาจได้ ทฤษฏีใหม่ๆที่ตอบโจทย์สังคมในวินาทีนี้ ...หากเรากล้าพอที่จะทะลุกรอบคิด เราสถาปนาชุดความคิดใหม่ได้ หากเรามีวิธีคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking)

 

ผมพบว่าหลายครั้ง เราไม่กล้าพอที่จะคิดแบบทะลุกรอบ หรือ เรามีองค์ความรู้ไม่พอ หรือเราคิดกันไม่ถึง  ยังไงก็แล้วแต่ส่วนใหญ่เรามักคิดระดับ Convergent thinking หรือที่ผมได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่ผมเคารพท่านหนึ่งท่านบอกว่า วิธีคิดแบบ "หน่อมแน้ม" ซึ่งความหมายตรงคือ "ตื้น"  ท่านใช้คำว่า Generic  thinking   ซึ่งยังไม่ถึงระดับ Critical thinking

 

มีคำถามต่อว่างานของ นักศึกษาปริญญาโท - เอก ที่เรียกว่า Thesis บางส่วนคิดไม่สุด คือ คิดแบบ Generic thinking กันเป็นส่วนใหญ่ลงไม่ลึกถึงระดับการสังเคราะห์ อันเป็นความคิดที่แจ่มแจ้งผ่านการใคร่ครวญมาแล้วอย่างรัดกุม ดังนั้นเราพบว่า "พลังขององค์ความรู้ที่ได้จากงาน Thesis จึงตอบสนองกับปัญหาน้อยมาก หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาเลย"

 

ผมไปแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อไม่กี่วันมานี้ นอกจากจะคุยเรื่องของ "การเรียนปริญญาโทอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ" แล้ว สิ่งที่ผมเน้นที่สุดก็คือ   "ผลผลิตของความคิด" ซึ่งเป็นหัวใจของนักศึกษา ได้แก่ "วิทยานิพนธ์" ที่เน้นการผสมผสานศาสตร์ (Cognitive Operation)  ทั้งประสบการณ์ ความรู้ แนวคิด และ ทฤษฏี ที่สำคัญต้องกล้าที่จะคิดโดยผ่านยุทธวิธีต่างๆในการสร้างความรู้ใหม่

 

ผมบอกนักศึกษาว่า ๑ + ๑ =

ซึ่งหมายความว่า ความรู้ของตัวเรา (๑) + ความรู้ของเขา(๒)  = ความรู้ของพวกเรา (๓)  การถกเถียงที่อยู่ภายใต้เหตุผลและอารมณ์ที่สมดุล  เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ท้าทายอย่างมาก  เกิดความรู้ที่เกิดจากการผสานศาสตร์อันเป็นการรวมของ Tacit knowledge เป็นพลังอย่างหนึ่งของการสร้างความรู้เป็นทุนปัญญาให้กับบุคคลและองค์กร

 

ผมเน้นย้ำให้มีการรวมกลุ่มนักศึกษาด้วยกันเองเพื่อถกประเด็น

การเรียนแบบนี้สนุกและท้าทายอย่างมาก ช่วงที่ผมเรียนปริญญาโทไม่ค่อยได้ปะทะทางความคิดกันสักเท่าไหร่ เรารับทฤษฏีมากเกินไป เราเรียนเนื้อหาจากตำรามากเกินไป ทำให้การเรียนกับตำราที่ตายไปแล้ว มันช่างหงอยเหงาและลดทอนพลังในตัวเราเองลงมาก

 

ทางออกของการพัฒนาศักยภาพผมจึงเน้นไปต่อที่ การปฏิบัติด้วยตัวเอง แล้วถอดบทเรียน  ซึ่งคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือ ใคร่ครวญผ่านการสังเคราะห์ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนได้ได้องค์ความรู้ชุดหนึ่ง ตอบโจทย์ สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างมีพลัง

 

ที่เขียนมาทั้งหมด อาจดูเหมือนง่าย แต่แท้จริงยากครับ!!

เพราะการคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) ต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะการคิด ทุกแง่ทุกมุมและคิดซ้อนลงไปเรื่อยๆ เราจะพบว่า ปรากฏการณ์ความคิดมหัศจรรย์เพียงใด

 

และปัญหาสังคมปัจจุบันเราคิดแบบ "ตื้น" ไม่ได้แล้วครับ เพราะเสียทั้งงบประมาณและเวลา ถึงเวลาที่เราจะได้เรียนรู้กันใหม่ว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ได้ทำแค่ คว่ำกะโหลก กะลา หรือใส่ทรายอะเบทแต่เพียงอย่างเดียว


จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
นนทบุรี
๒๓ มิ.ย.๕๑
๒๒.๔๐ น.

 

หมายเลขบันทึก: 189915เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)
  • ปัญหาสังคมปัจจุบันเราคิดแบบ "ตื้น" ไม่ได้แล้วครับ เพราะเสียทั้งงบประมาณและเวลา ถึงเวลาที่เราจะได้เรียนรู้กันใหม่ว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ได้ทำแค่ คว่ำกะโหลก กะลา หรือใส่ทรายอะเบทแต่เพียงอย่างเดียว
  • ถูกใจกับประโยคนี้ของน้องเอกมากค่ะ
  • หมอเจ๊เพิ่งคุยกับลูกน้องไปเมื่อหลายวันก่อนในเรื่องของวิธีการทำงานเรื่องนี้ว่า เมื่อใช้วิธีการหนึ่งแก้ปัญหาไข้เลือดออกแล้ววัดผลที่ตามมา ปรากฎว่าทำงานแบบปกติกับทำงานแบบเร่งรัดให้ผลเหมือนกัน โดยขณะทำงานแบบเร่งรัดใช้งบประมาณกว่าล้าน ถอดบทเรียนออกมาก็เห็นๆอยู่ที่ทำลงไปแบบเร่งรัดก็ใช้วิธีทำงานแบบเดิมๆ ใช้งบมากกว่าเดิม ให้ผลไม่ต่างจากทำแบบปกติ  พอครั้งใหม่จะแก้ตัวทำงานแบบเร่งรัด แล้วเสนอวิธีทำงานแบบเดิมๆมาอีก อะไรทำให้แน่ใจว่างานจะได้ผลดีกว่าเดิม 
  • ถามไปแล้วลูกน้องก็ตอบไม่ได้ เรื่องนี้เหมือนจะบอกกันง่าย แต่ทำยากอย่างที่ว่าจริงๆค่ะ  ทำให้คนมีความคิดแบบมี      วิจารณญานนี่อ่ะ

ถ้าทุกคนช่วยกันคิดในเรื่องสร้างสรรค์ สังคมเราจะสวยงาม เพราะเดี่ยวนี้นอกจากจะไม่คิดแล้ว ยังมีบางพวกที่ชอบทำลาย อยากให้สังคมสงบ ผลผลิตทางความคิดที่ดูสวยงามคะ

สวัสดีครับ คุณหมอเจ๊

การคิดในระดับที่ซับซ้อน หรือการคิดในระดับสูง (Hiher order thinking) ต้องอาศัยการฝึกทักษะ (Skill) อย่างมากครับ ส่วนใหญ่เรามักจะติดกันตรงที่คิดแบบตรงไปตรงมาและสรุปแบบห้วนๆ ซึ่งมีพลังในการแก้ไขปัญหาน้อยมาก เหตุเพราะการเกิดของปรากฏการณ์หนึ่ง เกิดจากปัจจัยอื่นๆมากมาย

เหมือนที่ผมไปทำงานที่ ๓ จชต. สิ่งที่เห็น และสิ่งที่ผมวิเคราะห์นั้น จำเป็นต้องสืบสาวลงไปหลายๆชั้น จึงจะคลำพบข้อเท็จจริง ซับซ้อนมากครับ

ผมได้อ่านจากเอกสารเล่มหนึ่ง หลังจากที่ได้ฟังบรรยายจาก อาจารย์ที่ผมเคารพในประเด็นเดียวกันนี้ -Critical thinking ในเอกสารชุดนี้ได้บอกว่า ยุทธวิธี ที่สนับสนุนให้เกิดความคิด และพฤติกรรมที่ฉลาด และเกิดผลดี [1] ได้แก่

  • รู้จักใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  • มองหาหลักฐานสนับสนุน
  • เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น
  • ตั้งใจทำงานจนสำเร็จ
  • เปลี่ยนความคิดเมื่อมีเหตุผลที่ควรรับฟัง
  • ไม่ด่วนตัดสินใจหากยังมีหลักฐานที่ไม่เพียงพอ

[1]  เอกสาร "ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ"

 

ขอบคุณครับคุณหมอ

แวะมาเยี่ยมครับน้องเอก

  •  ขอนำวิธีคิดแบบทุลุกรอบไปใช้นะครับ
  • วิธีคิดส่วนหนึ่งมาจากฐานความรู้ความต้องการของคนคิด(ใช่เปล่าไม่รู้นะ)
  • ชาวนามีวิธีคิดจากประสบการณ์ที่จะทำอย่างไรให้ผลผลิตดี มีราคา นักวิชาการมีวิธีคิดอีกรูปแบบซึ่งอาศัยหลักการ วิธีการ และทฤษฎีว่าจะทำอย่างไรผลผลิตจะดี มีราคา....ไม่มีผิดหรือถูกในทุกวิธีที่คิด...ขึ้นอยู่กับผลของการปฎิบัติ(ใช่เปล่าเนี้ย..เพราะชอบคิดนอกกรอบ)5555 แวะมาทักทายนะ

เราไม่กล้าพอที่จะคิดแบบทะลุกรอบ หรือ

เรามีองค์ความรู้ไม่พอ หรือเราคิดกันไม่ถึง

มีบางส่วน..ไม่คิด ก็มีนะคะ

ช่วงนี้พี่ต้องอ่าน"การเสนอแนวคิด" ประกอบผลงานประเมิน เลื่อนขั้น

เป็นที่น่าตกใจว่า

หนึ่งไม่กล้าคิด

สองไม่รู้จึงไม่คิด???(เขาน่าจะรู้แต่ยังสัมผัส"งาน"ไม่ลึกพอ???)

สามไม่คิดอย่างในบันทึกนี้ว่าไว้

สี่..."ไม่คิด"....

อันสุดท้ายน่ากลัวมั้ยคะ

สามคิดไม่ถึง (ไม่ใช่ไม่คิด)อย่างในบันทึกนี้ว่าไว้

มาแก้หน่อยค่ะ

พี่  สิขเรศ ครับ

ต้องขอบคุณครับ บันทึกอ่านซึ่งดูเหมือนจะหนักไปหน่อยครับ แต่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการเรียนรู้สำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ควรจะพัฒนากระบวนการ"คิด" ให้ลึกซึ้ง ใคร่ครวญ รวมถึงคิดแบบมีพลังในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสังคม

ผมยืนยันว่าเราสามารถพัฒนาการคิดได้ และทักษะแบบนี้เราเองยังสามารถฝึกฝนเยาวชนเราได้ด้วยครับ

เอาง่ายๆก็เหมือนกับการใช้ Mind map ครับ เราวสามารถแตกความคิดเราได้มากกว่าเดิม รวมถึงเราสามารถอธิบายสังเคราะห์ปรากฏการณ์ให้ลึกซึ้งไปกว่าที่เห็นได้ครับ

:)

น้อง กรรณิการ์ วิศิษฏ์โชติอังกูร

สิ่งที่เราจะเหนือกว่าใครได้ก็คือ กระบวนการคิดของเราเอง ผมขอฝากไว้นะครับ หากเราฝึกฝนกระบวนการคิดที่สามารถคิดวิเคราะห์ได้ สังเคราะห์ได้ ประสิทธิภาพของความคิดสามารถพัฒนางานของเราได้ รวมถึงพัฒนาตนเองได้

ทุกคนคิดได้ สำคัญที่ว่าเรา"คิด"กันอย่างไร? มากกว่าครับ

ขอบคุณครับ

ขอให้กำลังใจในการทำงานนะครับ :)

ครับ...เพื่อนเอก P...

บางเรื่องมนุษย์ควรใช้การคิดซึ่งกระบวนการทำงานของสมองในการพิจารณาแก้ปัญหา...

แต่บางเรื่องมนุษย์ก็ควรใช้การรู้และการสัมผัสซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจิตในการพิจารณาแก้ปัญหาครับ...

ขอบคุณครับเพื่อน...

คุณหมอเล็กจริยา

ที่ "ไม่คิด" นี่น่ากลัวนะครับ เพราะการไม่คิดนำไปสู่ความประมาท แต่ในทางกลับกันอุบายทางจิตเรื่องความทุกข์ หากเราไม่คิด ก็ทำให้เราหลุดออกจากกองทุกข์นั้นได้ ตรงนี้ก็แล้วแต่สถานการณ์ครับ

จากการที่พูดคุยกันตอนเย็นเมื่อวานกับ นักวิชาการคนหนึ่ง ทำให้ผมอยากเขียนบันทึกนี้ขึ้นมาครับ คิดว่า น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้าง เรียบเรียนค่อนข้างยาก รวมถึงบอกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของความคิดได้ยากเหมือนกัน

หากคุณหมอพอเข้าใจ ก็ยินดีมากๆครับ เพราะผมอ่านบันทึกผมเองก็ยังรู้สึกว่า ต้องเติมบางส่วนเพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น

ผมอาจคิดไม่สุดก็ได้นะครับ  :)

ขอบคุณมากครับ

 

คิด คิด คิด ครับ อย่างไร ก็ ให้

 คิด เชิง "บวก บวก และ บวก คือ Positive Thinking"ครับ

Mr.Direct

ต้องขอบคุณความคิดเห็นดีๆที่เติมเต็มบันทึกครับ

การคิดเป็นกลไกของสมอง สมองมนุษย์มีความพิเศษยิ่งกว่าสองสัตย์ชนิดใดๆในจักรวาล เราวัดกันที่เซลล์สมอง...

อีกไม่กี่วันผมจะได้ไปคุยเรื่อง "การพัฒนาสมอง"  ซึ่งกระบวนการคิดก็เกี่ยวพันกับศักยภาพของสมอง

สมองจะสุขภาพดีได้สุดๆต้องทำอย่างไร?  ผมเคยเขียนบันทึกแนว BBL.นี้ไว้นานแล้วครับ

เรื่องบางเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้...เกี่ยวกับสมอง

สมอง กับ...การเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมองเด็ก

และผมเห็นด้วยครับกับประโยคที่ว่า "แต่บางเรื่องมนุษย์ก็ควรใช้การรู้และการสัมผัสซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของจิตในการพิจารณาแก้ปัญหา"

ขอบคุณมากครับ:)

อาจารย์ หมอJJ

ต้องขอบคุณครับ สำหรับประโยคทอง (พร้อมกับภาพประกอบที่สวยมากครับ)

"คิด คิด คิด ครับ อย่างไร ก็ ให้

 คิด เชิง "บวก บวก และ บวก คือ Positive Thinking"

เมื่อคืนผมได้อ่านบันทึกของเพื่อนผมเอง น่าสนใจมากครับเกี่ยวกับการคิด ลองติดตามอ่านครับที่ นี่ ครับ

 

ขอบคุณความห่วงใยจากพี่อดิศักดิ์ J.moragot
ครับ

มาเยี่ยมยามในบันทึกก็รู้สึกมีความสุขครับผม

ช่วงนี้ผมต้องเดินทางค่อนข้างบ่อย แต่การเดินทางของผมก็ไปใช้ความคิดหนักหนาพอสมควรครับ :)

ผมมองว่า กระบวนการคิด สำหรับคนไทยเรา อยู่ที่ว่า "เรากล้าคิด" ขนาดไหนครับ

เพราะฐานด้านการคิดเราต้องฝึกกันอย่างมาก อย่าง นศ.ป.โท ส่วนหนึ่งที่ผมสัมผัสมา คิดกันไปไม่ได้เลย ติดอยู่ตรงการวิเคราะห์ ส่วนการสังเคราะห์นั้นแทบจะไม่ค่อยเห็นผลผลิตความคิดแบบนี้

ซึ่งคุณภาพการศึกษา กับพัฒนาการด้านการคิด น่าเป็นห่วง

หรือ เราเป็นห่วงตั้งแต่ผู้สอนมาเลยก็ไม่รู้นะครับ

:)

ผมเองก็ต้องฝึกฝนไปเรื่อยๆครับ เพราะสถานการณ์ที่เปลี่ยน เวลาที่ไปข้างหน้า เราต้องปรับวิธีคิดเสมอ

ขอบคุณมากครับผม :)

เมื่อวานได้คุยกับกำนันของตำบลดงติ้ว อำเภอนาแก

ผมคิดว่า แกมีวิธีคิด ที่ลึก พอสมควรนะ ผมสัมผัสได้จากวิธีการพูดและคำถามที่ถามออกมา บางคำถามนะ

* เมื่อก่อนอดีตนายกทักษิณ ทำงานมา 8 ปี ประชาชน ได้อะไรจากนโยบายของอดีตนายกบ้าง ?

* สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันใหม?

* คงไม่มีใครแก้ไขวิกฤติ ตรงนี้ได้ นอกจากคนที่มีบารมีที่สุด หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่สุด ?

* สังคมใหม่ น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ?

เราคุยกันไป สัมผัสกับแวววตาที่มีความจริงจังและเชื่อมั่นในตนเอง

------------------------------------------

บางที่การคุยกันเพียงเท่านี้ ผมก็มองเห็น "ทางรอด" ของชุมชน

อาจารย์เอกน้องรัก

พี่ว่า 1+1 = 3 ได้

โดยคิดว่า 1.คือความรู้ของเรา+2.ความรู้ของเขา = 3.ความรู้ของพวกเรา ไงครับ !

ช่วงนี้บรรยากาศเป็นอย่างไรบ้าง ที่ปาย กำลังฮ็อต!!!

..............

 20 กันายนนี้ พี่จะจัด มหกรรมตลาดนัดเยาวชน แน่นอน !

พี่ จิ๋ว ธวัชชัย แสงจันทร์ สสอ.ปลาปาก "KM มือใหม่ " ครับ

ชาวบ้านนั้นเป็นปราชญ์โดยธรรมชาติ อันเนื่องจากได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีพลังปัญญาอันเกิดจากการปฏิบัติ และถอดบทเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีก

ผมจึงมองว่าหากเราทำ KM แบบธรรมชาติได้ องค์ความรู้ที่มีคุณค่าเหล่านี้ สามารถเป็นศักยภาพที่ดี และแรงพอในการพัฒนาบ้านเรา สังคมเราได้

ผมเชื่อนะครับว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ที่เราสามารถสร้างเวทีการเรียนรู้ให้กับชาวบ้าน เอื้อให้ชาวบ้านมาร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาของตนเองได้ งานแบบนี้ท้าทาย และหมออนามัยก็มีศักยภาพทำได้ และทำได้ดี เพราะอยู่ในใจของชุมชน ของชาวบ้าน

สังคมใหม่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ หากคนไทยถามหา "ความรู้" นะครับผม

รักและศรัทธาครับผม

เอก

พี่หมอรอนMr. Kraton Pai

ต้องขอบคุณมากครับ สำหรับนักพัฒนาที่ช่วยกันพัฒนา"เมืองปาย" บ้านของเรา ผมมองว่าไม่มีใครแล้วหากเราไม่ลุกขึ้นมาจัดการบ้านเราเอง

อ.หมอ วิจารณ์ พานิช ท่านเคยถามผมว่า "แล้วงานที่ปายวางมือไปแล้ว หรือใครสานต่อ"  ผมก็ตอบว่า ก็ยังช่วยอยู่ แต่อยู่ห่างๆ เป็นคนประสานงานจากตรงนี้

ผมยินดีนะครับสำหรับสิ่งไหนก็ตามที่ผมสามารถทำได้...

ยินดีครับสำหรับข้อคิดเห็น

๑.คือความรู้ของเรา+๒.ความรู้ของเขา = ๓.ความรู้ของพวกเรา

ใช่เลยครับผม !!!

 

  • สวัสดีครับพี่
  • มาอ่านครับ

สวัสดีค่ะ

มาสนับสนุนความคิดนอกกรอบ เมื่อนั้นความอิสระจะกลับคืนมา เป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา มองเห็นศักยภาพตนเองได้แจ่มชัดขึ้น

เป็นการรู้จักสำรวจตังเองเบื้องต้นด้วยค่ะ

สวัสดีครับ

  • เห็นทีผมต้องไปเรียนการคิดและการตัดสินใจแล้วละครับ
  • ดูเหมือนกัน มีปัญหาเรื่องการคิดพอสมควร
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมค่ะ

พุดถึง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ.ก็คืดถึงวิทยานิพนะตัวเองตอนเรียนป.โท ทำเรื่องนี้ล่ะคะ..กับนักเรียนชั้นปอหก.เค้าว่าเด็กวัยประถมปลายพอจะเริ่มปลูกฝังการคิดแบบนี้ได้..และช่วงนั้นี้สึกว่าเด็กไทยเราขาดการคิดแบบนี้มากสังเกตจากการใช้ชีวิตและความสนใจในสิ่งรอบตัวของเค้า..ทำเป็นแบบฝึกโดยใช้บทความจากหนังสือค่ะ..เด็กๆชอบนะคะ..ที่ได้วิเคราะห์ และฝึกใช้การคิดหลายๆแบบจนกระทั่งหาข้อสรุปเชื่อมโยงกับชีวิตตนเองได้..

จริงๆแล้วชอบสอนในลักษณะนี้ล่ะค่ะ..ที่สามารถฝึกระบบการคิดให้กับเด็กได้..การตั้งคำถามปลายเปิดและการเสริมแรง เป็นการกระตุ้นนให้เด็กชอบที่จะคิดต่อ..สนุกทั้งครูทั้งเด็ก..เพราะได้คิดโดต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย..ที่สำคัญฝึกเชื่อมโยงความรุนี้กับมุมมอง..รวมถึงการใช้ชีวิต การตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆได้อีกด้วย..

(โอ้โห..เป็นคอมเม้นท์..ที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยเขียนมาเลยนะคะ..พดีหัวข้อนี้..น่าสนใจค่ะ..)

คุณเอกสบายดีนะคะ..^^

สวัสดีครับ น้อง กวิน 
ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน.. :)

สวัสดีครับ พี่ บุญรุ่งตันติราพันธ์

ประเด็นอยู่ที่เราจะกล้าที่จะคิดนอกกรอบหรือไม่...เห็นด้วยครับว่า การคิดเป็นความอิสระ ยิ่งหากเราได้ปลดปล่อยความคิดเราให้เต็มศักยภาพ เราจะพบความมหัศจรรย์ของวิธีคิดครับ

ขอบคุณครับผม :)

สวัสดีครับ อ.เอก นมินทร์ (นม.)

ผมเองก็ต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่องครับ กระบวนการคิดจำเป็นต้องคิดให้ทันต่อสถานการณ์ เวลาและปัญหา

ดังนั้นเราก็ต้องเรียนรู้กันไปต่อเนื่องครับ :)

สวัสดีครับคุณ berger0123

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม และมาให้กำลังใจครับ :)

คุณครูแอ๊ว

ยินดีครับ สำหรับข้อคิดเห็น และ Thesis ของครูแอ๊วน่าสนใจมาก หากมีโอกาสอยากเรียนรู้ร่วมด้วยครับ

กระบวนการสอนของครูในหลักสูตรใหม่ๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมอง (ผมเคยเรียนรู้กับคุณครูที่ กำแพงเพชร) ที่เป็นโรงเรียนนำร่อง BBL. ซึ่งเป็นนิมิตรหมายอันดี

ขอบคุณครับ สำหรับข้อเสนอแนะยาวๆครับ :)

สวัสดีครับคุณเอก

เข้ามาอ่านความคิดครับ เห็นด้วยครับ การคิดทะลุมุมมองแบบเดิมออกไปโดยยังใช้ฐานความรู้เดิม ๆ ที่เราพอจะเข้าใจตรงกันได้ แต่นี้ก็ยากแล้ว ยิ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่แล้วคิดจากความรู้ใหม่ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ประมวลผลเปรียบเทียบประสบการณ์เดิมมาแล้ว ยิ่งยากเข้าไปอีก

แต่ประเด็นไข้เลือดออก ทำไมเราทำอะไรไม่ได้ไปกว่าที่พูดถึงกัน ทำไมวนเวียนอยู่แบบเดิม ทำไมพฤติกรรมพึงประสงค์ไม่เกิด ก็เหมือน ทำไมถึงกินเหล้า ทำไมสูบบุหรี่ ทำไมโรคเอดส์ยังแพร่ เหล่านี้เราประมวลความรู้ในแง่มุมไหนมันก็ยังคงหลุดออกจากกรอบแนวคิดแบบเดิมได้ยากอยู่

ผมว่าพฤติกรรมที่เคยชิน เป็นความรู้แบบหนึ่ง อาจผิดหรือถูกก็ได้ การเปลี่ยนพฤติกรรมจึงยาก เพราะต้องเปลี่ยนความรู้ นอกจากนั้นแล้ว ตัวความรู้ไม่ใช่แค่การทำข้อสอบ มันผนวกความเชื่อและความรู้สึกเข้าไปด้วย เช่นว่าเราจบจากสถาบันไหนเราก็เชื่อและยึดอยู่กับรูปแบบนั้นไปโดยไม่รู้ตัว

การเปลี่ยนความเชื่อและความรู้สึกจึงไม่ใช่ให้องค์ความรู้แล้วจะเปลี่ยน มันต้องใช้กระบวนการหลายอย่าง ก็อย่างที่ทราบครับว่ามีหลายทฤษฎี

แต่ผมสนใจทฤษฎีปลุกระดมนะ การเคลื่อนแนวความคิดใหญ่ของคนในสังคม เพราะเราจะเปลี่ยน ความคิด ความเชื่อ และความรู้ เพื่อการบางอย่าง

แต่ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ผมว่าอาจเป็นแค่ทางเปิดหนึ่ง หรือเมื่อทำไปอาจถึงทางตันก็เป็นได้ แต่เราก็ไม่มีใครกล้าทะลุกรอบ

หากจะแก้ไขโรคไข้เลือดออก เราต้องปฏิวัติสังคมการใช้น้ำ ในครัวเรือนให้ได้ครับ แล้วไปคิดกันต่อครับว่าสังคมการใช้น้ำเป็นอย่างไร

สนุกคิดนะครับ ขอบคุณที่ได้แลกเปลี่ยนแบบยาว ๆ ครับ

1 + 1 เป็นอะไรได้บ้างที่ไม่ใช่ 2

1 + 1 = 3 ก็ดีนะ

1 + 1 = 0 อันนี้มีบ่อย คือรวมกันแล้วไม่ได้อะไรเลย แย่กว่านั้น....

1 + 1 = -3 อันนี้ ไปกันใหญ่

สำหรับผม ผมชอบ (0.2+0.3+0.6-0.1)+ (5-6+0.8+1.2)= 3 นะครับ

  • ไม่รู้ว่านี่ Critical Thinking หรือเปล่า
  • เอาเป็นว่า Critical Thankyou ละกัน ผมคิดเล่นๆว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันนะ

ปางมะผ้า ก็ยังคิดถึงคนอยู่ไกลครับ

น้องเอกหายไปนาน กลับมามีเรื่องให้พีๆๆ..คิดตามอีกแล้วนะคะ

คิดๆๆๆ บางวันก็คิด++ บางวันก็คิด - -

ทำอย่างไร จึงจะคิดดีดี  +++ ได้ตลอดเวลานะ

หวัดดีค่ะ...

หากเรากล้าพอที่จะทะลุกรอบคิด

คิดว่าตรงนี้ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของความคิดด้วยเหมือนกัน

แต่ยังไง ๆ ก็ขอคิดบวกไว้ก่อนค่ะ

1 + 1 = 3    ^_^ 

สวัสดีครับ คุณจตุพร

มาเยี่ยมตอบครับ ก็ดีใจนะครับที่ใน Gotoknow มีผู้คนหลากหลาย มีผู้รู้บัณฑิต นักคิดนักปรัชญา ได้ต่อยอดแตกแขนงและเกิดพืชพันธุ์ใหม่ๆ ผมจะติดตามอ่านครับ

ดี..เอก

ผมเองนะ ศาล..(หมออนามัย) ลองเข้ามาดูตามที่นายแนะนำ ทีแรกยัง งง นะ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร วันนั้นที่ประชุมเราไม่ได้ coppy ไฟล์ที่สอนวิธีใช้ blog มาซะด้วยซิ เสียดายมาก แต่ไม่เป็นไร ยังงัยก็จะพยายามศึกษา ดีใจว่ะ..ที่มีนายเป็นเพื่อน อย่างน้อยก็เชิดหน้าชูตา พอ.รุ่น 43 พิดโลก ได้อย่างมาก ...สุดยอดเพื่อน

สวัสดีครับ

วันนี้ทำงานอยู่จังหวัดไหนครับ ใกล้ๆอยุธยาหรือเปล่า จะชวนไปทานก๋วยเตี๋ยวเรือ อิอิ

สวัสดีครับ ทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัดครับ เดินทาง ทำงาน และเที่ยวไปด้วย

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ คุณสุมิตรชัย ที่มาเติมเต็มข้อคิดเห็นที่น่าสนใจมากๆครับ ...

ไว้ผมกลับที่ทำงานคงจะขอนั่งลงจิบน้ำชาคุยกันยาวเลยครับประเด็นนี้

ผมขอติดไว้ก่อนนะครับ

ขอบคุณพี่  ยอดดอย   ,พี่ แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช  ,พี่ อ.ภูคา ,คุณwindy

ยินดีต้อนรับ หมอน้อย 447  ยินดีที่ได้รู้จักครับ

ขอบคุณอย่างอบอุ่นกับนายบินเดี่ยว ไพศาล วีรพงษ์  คิดถึงครับ

คุณ กบ ข้ามสีทันดร  วันนี้ผมอยู่จังหวัดชายแดน อำเภอเล็กๆครับ มาพักผ่อนสักคืนแล้วก็จะกลับครับผม

ทุกท่านที่เอ่ยนาม ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนในบันทึก นั่งจิบชาไปพลางๆก่อนนะครับ

ผมขอเวลาสักครู่ จะมาสนทนาประสา "วิธีคิด" ด้วยกัน

ขอบคุณครับผม

-------

เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

คำว่า "ตอบโจทย์" เป็นคำเฉพาะที่ใช้กันอย่างมากสำหรับนักวิจัยโดยแท้จริง ...

ในฐานะผมคนธรรมดา คำว่า "ตอบโจทย์" น่าจะใช้คำว่า "ตอบปัญหา" หรือ "ตอบคำถาม" แทน

หา "วิธีคิด" อยู่น่ะครับ :) .. จึงขอล้อคุณเอกซะเลย

 

สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

ยินดีครับที่ทักทายผมกลางดึก ตอนนี้ผมอยู่ที่อำเภอเล็กๆที่มีเสน่ห์ล้นเหลือ ที่พักสบายๆผมมาพักผ่อนครับ...เลยไม่ค่อยได้เข้ามาตอบข้อคิดเห็น

ผมเพิ่งกลับจากการแลกเปลี่ยนกับ นศ.ป.โท ที่ มรภ.กำแพงเพชรมา มีประเด็นที่พูดคุยเกี่ยวกับ ประเด็นที่เขียนบันทึก "วิธีคิด แบบ critical thinking" นี้ กะว่าจะเอามาแลกเปลี่ยนในบันทึกผมในโอกาสต่อไป ซึ่งผมคิดว่า ข้อมูลความคิดและกระบวนการเรียนรู้ที่ทาง มรภ.กำแพงเพชร ได้จัดให้ นศ.ได้เรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ พัฒนาวิธีคิดอย่างเป็นรูปธรรม..จากการที่ได้พูดคุยกับคณาจารย์หลายท่าน

กระผมชื่นชมครับ

ผมเพิ่งได้อีเมลจากอาจารย์และตอบไปแล้วด้วยครับ ด้วยความเคารพครับ

นักวิจัยก็คนธรรมดา ด้วยความเป็นคนธรรมดาของนักวิจัยนี่เองทำให้ต้องเข้าใจโลก เข้าใจคน ยอมรับความต่างได้ครับ

เชื่อมั่นและศรัทธาครับผม

:)

ควรไม่ควรอยู่ที่รู้หรือไม่รู้ ไม่รู้ก็มองว่าไม่ควร รู้เท่าไหนเลยตัดสินจากข้อมูลที่มีเท่านั้น จุดเล็กๆ จุดหนึ่งที่มีปัญหาไม่ได้ทำให้สังคมล่มสลาย นอกจากจะช่วยกันขยายไม่เลิก

สวัสค่ะ

  • แวะเข้ามาอ่าน+แนะนำตัวค่ะ
  • อ่านแล้วชอบค่ะ เพราะมีบ่อยๆ ที่คิดออกนอกกรอบ ทั้งๆ ที่ชีวิตจริงต้องอยู่ในกรอบ
  • บางครั้งมีโอกาสได้ลองทำนอกกรอบดูบ้าง ก็ช่วยให้ชีวิตไม่เงียบเหงาเกินไปนัก
  • ขอบคุณชีวิต.....ที่ยังมีชีวิต และยังได้มีโอกาสคิด ......นะคะ

แวะมาทักทายในเช้าที่ฟ้าดูเหมือนกำลังครึ้มฝน

ดีใจที่ได้เห็นความเคลื่อนไหวของคุณเอกในเส้นทางสายนี้
ประสบการณ์ตรงโดยการ "ฝังตัว"  ในงานที่ผ่านมา  ปรากฏรูปรอยศักยภาพอย่างชัดเจนในวันนี้อย่างน่ายกย่อง

...

ผมคงไม่สันทัดเรื่องวิจัย  แต่ก็ยืนยันได้ว่า  ประสบการณ์อันเกิดจากการทำงานและใช้ชีวิตแบบฝังตัวของคุณเอก  มีพลังต่อการเติมแต่งอะไรต่อมิอะไรได้อย่างไม่ผิดหวัง...

....

โชคดีในเส้นทางสายปัจจุบันนี้นะครับ

สวัสดีครับ  เรื่อง  คิด  พวกเราพูดกันมานาน  โดยเฉพาะในโรงเรียน ถึงกับเอาไปใส่ไว้ในการประเมินมาตรฐานสถานศึกษา แล้วก็ตก มาตรฐานนี้กันเป็นแถว  ผมเองก็...งง  เรื่องเป็นเรื่องสำคัญกับชิวิต กับครอบครัวและประเทศชาติ น่าจะทำกับจริงๆ จังๆ  ดีมากครับ ให้สดใส สดชื่นตลอดวันครับ

 อ.Wasawat Deemarn

ผมดำเนินการให้ตามที่ร้องขอแล้วครับ

ขอบคุณมากครับ  :)

(พอดีเพิ่งกลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อครู่นี่เองครับ เช็คเมลแล้วก็ดำเนินการให้เลย)

  • สวัสดีค่ะคุณเอก สนุกกับงานและชีวิตทุกวันเลยนะคะ
  • ประเด็นนี้น่าสนใจค่ะ นุชได้ความรู้ทุกทีที่เข้ามาที่ "บ้าน" คุณเอกนะคะ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนประเด็นนี้ดังนี้ค่ะ ด้วยเรามักถกเถียงกันในห้องเรียนเสมอๆ ว่าก่อนลงพื้นที่เราควรถือแนวคิดทฤษฎีติดหัวลงไปด้วยหรือเปล่า บ้างก็ว่าควร บ้างก็ว่าไม่ควร
  • นุชปิ๊งคำของ คุณlittle jazz ที่ว่า  "รู้เท่าไหนเลยตัดสินจากข้อมูลที่มีเท่านั้น" 
  • ซึ่งนุชเห็นด้วยเรื่องการreviewข้อมูลรอบด้านให้มากเท่าที่จะมากได้ ก่อนลงพื้นที่ (ยิ่งไม่รู้จักชุมชนเลยอย่างนุชเนี่ย ยิ่งต้องอ่านมากๆค่ะ)  แต่ไม่ควรยึดแนวคิดหรือทฤษฎีใดตายตัว (อาจารย์ชอบแซวพวกเราว่า พวกชอบถือขวานเข้าป่า:ใช้เครื่องมือเดียวอธิบายทุกปรากฏการณ์ค่ะ)  
  • อ่านยังไงก็ยังไม่ทะลักออกมาเป็นงานเขียนเสียที ก็คงยังต้องลงพื้นที่สลับการอ่านต่อไปค่ะ (รวมทั้งเข้ามาหาความรู้ที่ "บ้าน" คุณเอกบ่อยๆ )
  • เดือนหน้า โครงการงดเหล้างานศพที่จังหวัดลำปางระยะ 2 (ต่อยอดจากงานวิจัยสกว.) จะเริ่มแล้วนะคะ  จะมีการเชิญคนทำงานด้านสุขภาพในเขตภาคเหนือบนมาเจอกัน 4 เดือนครั้งค่ะ  คุณเอกสนใจเรื่องงดเหล้าเพิ่มอีกสักเรื่องไหมคะ ????  อิอิ

สวัสดีครับ

เข้ามาเยี่ยม และขอรับเอาวิธีคิดเพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพ

มีหลายครั้งพยายามคิดนอกกรอบแต่คิดไม่ถึง อาจเป็นเพราะขาดองค์ความรู้อย่างที่ว่าจริงๆ

ขอบคุณมากสำหรับบันทึกดีๆครับ

ขอบคุณทุกท่านครับที่เข้ามาเติมเต็มและมาให้กำลังใจผู้เขียนไปด้วย

คุณ Little Jazz  คำคมๆจากซาน ...ได้คิดเสมอครับ ขอบคุณครับ

คุณตัวยุ่ง ลองท้าทายตนเองโดยการคิดมุมกลับ คิดแบบวิเคราะห์ เป็นทักษะครับ ผมเองก็ฝึกปฏิบัติสม่ำเสมอครับ

ชอบภาพที่นำมาเสนอจังครับ

นายประจักษ์  ในหลักสูตรใหม่ๆที่ผมเห็นมีการแทรกให้เด็กฝึกทักษะการคิดอยู่มากครับ สำคัญที่ว่าเราจะสร้างบรรยากาศนั้นอย่างไร บางลี่ เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ให้โอกาสเด็กๆครับผม

ขอบคุณครับอาจารย์ประจักษ์

 คุณกล้าเกื้อฝัน  เปลี่ยนชื่อ แต่ยังมีความละไม ไม่เปลี่ยนครับ ยินดีอย่างยิ่งครับ สำหรับการแลกเปลี่ยน ประเด็นไหนๆผมก็สนใจเรียนรู้ครับ อยู่ที่จะกรุณาผมหรือไม่ครับ(หมายถึง นำมาบันทึกให้อ่านด้วยนะครับ)

 

คุณ กะทกรกบ้าน  ต้องกล้าที่จะคิดนอกกรอบด้วยครับผม :) .ให้กำลังใจครับผม

คุณ แผ่นดิน ขอบคุณกัลยาณมิตรท่านนี้ครับ เป็นการเรียนรู้ของผมครับ เรียนรู้ไปถอดบทเรียนไป ถูก ผิด ก็ล้วนแต่เป็นครู

ยินดีสำหรับการแลกเปลี่ยนเสมอครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท