ทำไมงานดีๆจึงล้มเหลวในสายตาผู้ชม


ปัจจัยที่ผมลองแยกออกมาเป็นข้อๆเพื่อตอบโจทย์ที่ตัวเองตั้งขึ้นมาเป็น ส่วนหนึ่งที่ผ่านประสบการณ์การทำงานของผมเอง ผมเข้าใจว่าทุกคนต่างมีบริบท มีฐานความรู้และประสบการณ์ที่ต่างกัน คำตอบต่อโจทย์นี้น่าจะมีคำตอบที่หลากหลาย

ปกติเวลาอยู่บนเครื่องบิน หรือนั่งรถโดยสารที่มีโอกาสได้อยู่กับตัวเองความคิดมักจะพร่างพรู สิ่งที่ผมทำได้ตอนนั้นก็คือมีสมุดโน๊ตเล็กๆไว้จดความคิด ไว้กันลืม บางครั้งก็ได้โมเดลงานบางประเด็นออกมาจนครบ บางครั้งประเด็นที่เคยนั่งขบคิดมานาน ความคิดไม่เคยแตก แต่หากมีเวลานั่งนิ่งๆทบทวน ความคิดก็จัดระบบเกิดผลผลิตของความคิดออกมาน่าอัศจรรย์

ผมเปิดสมุดเล่มเล็กหน้ากระเป๋าคอมพิวเตอร์ เปิดดูทีละเห็นร่อยรอยความคิดเต็มไปหมด บางครั้งก็ดูเป็นความคิดฟุ้งๆ บางครั้งก็เป็นความคิดที่ดูเข้าที รู้สึกแบบ “คิดได้ไง” ทำนองนี้

หน้าล่าสุด ผมเปิดไปพบประโยคที่ผมเขียนไว้ไม่นานมานี้ ผมเขียนไว้ว่า “ทำไมงานดีๆจึงล้มเหลวในสายตาผู้ชม” ผมหยุดความคิดไว้ที่ประโยคนี้นานพอสมควร ผมพยายามย้อนความคิดไปว่า ผมเขียนประโยคนี้ แล้วคิดถึงเรื่องอะไร และในสถานการณ์ที่คิด ผมกำลังทำอะไร ...

พยายามครุ่นคิดแต่คิดไม่ออก แต่ก็ช่างเถอะครับ ประโยคนี้ทำให้ผมคิดต่อได้หลายๆประเด็นด้วยกัน

ผมหยิบปากกามานั่งขีดเชื่อมโยงความคิดตนเอง ตอบคำถาม “ทำไม” ให้ได้ และผมคิดเลยไปถึง “งานที่ดี” น่าจะหมายถึงงานแบบใด หากงานดีๆที่ล้มเหลว น่าจะมีจากสาเหตุใดบ้าง เป็นที่มาของคำตอบว่า “ทำไม” และผู้ชมในที่นี้คือใคร? เมื่อตัวละคร กรรม กริยาชัดเจนผมก็เริ่มวิเคราะห์ โดยดึงเอาจากฐานประสบการณ์การทำงานของผมและจากที่ผมได้เรียนรู้

ทำไมงานดีๆจึงล้มเหลวในสายตาผู้ชม

คำว่า “งานที่ดี” คืองานที่ให้ประโยชน์ไม่ว่าจะในระดับไหน ต่อผู้ทำ ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยอ้อม โดยสรุปก็คืองานที่มีคุณค่า มีผลผลิตที่ตอบสนองการแก้ไขปัญหานั่นเอง

“ล้มเหลว” คือ ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือภาพลักษณ์ที่ถูกมอง ถูกตัดสินจากผู้ได้รับผลกระทบจากงานในแต่ละระดับ หากตัดสินว่า “ล้มเหลว” คืองานชิ้นนี้ไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาหรือไม่สามารถตอบโจทย์ที่ต้องการได้ เรียกภาษาลูกทุ่งว่า “ไปไม่ถึงดวงดาว”

“ผู้ชม” น่าจะหมายถึง คนวงนอก หรือวงในก็ได้ที่เฝ้าติดตามผลของงาน และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับงานชิ้นนี้

ภาพเล่าเรื่อง :

"การสนทนาด้วยความสนใจ ใคร่รู้ ให้ความเอาใจใส่กับเรื่องเล็กเรื่องน้อย ภายใต้บรรยากาศแห่งมิตรภาพเป็นองค์ประกอบของการสร้างองค์ความรู้ จากความรู้ฝังลึก"

 

---------------------------------------------------------------------------------

ทำไมงานดีๆจึงล้มเหลวในสายตาผู้ชม

ผมลองวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆดังนี้

-          ขาดการจัดการ “คน” หมายถึง ขาดการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถ ภาระงานสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ของคนทำงาน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ การดูแลทั้งทางกายและจิตใจร่วมกันไปด้วย และคนในที่นี่ จะหมายความไปถึง “ผู้นำ” และ “สมาชิก” ในองค์กรด้วยศักยภาพที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาองค์กรเกิดผลผลิตของงานที่ดีนั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้  มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  กระบวนทัศน์ทัศน์ในการมองปัญหา และลักษณะความเป็นผู้นำ รวมไปถึงความรักความผูกพันต่อองค์กรด้วย

-          ขาดการจัดการ “ความรู้”  งานดีๆหลายงานมักจะไม่มีพลังในการแก้ไขปัญหา ถึงแม้กระบวนการการทำงานที่ดี ได้คนที่เก่งมาทำงาน มีงบประมาณที่เพียงพอ มีปัจจัยต่างๆที่เอื้อให้งานนั้นประสบความสำเร็จโดยง่าย แต่เราพบว่าผลผลิตที่ออกมากลับไม่มีพลังพอในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ไม่สามารถขับเคลื่อนตามเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อย้อนวิเคราะห์ดูพบว่า เราขาดการจัดการความรู้ในองค์กร ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นจากกระบวนการทำงาน ความรู้ที่เกิดจากผลของงาน กลับไม่ได้ถูกนำมารวบรวมให้เกิดเป็นพลังร่วม แต่ถูกผลักเข้าไปเป็น ความรู้แฝง ( Tacit knowledge) และเมื่อคนทำงานที่มีความรู้เหล่านี้ออกไปจากงาน หมายถึงความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวบุคคลก็หายไปจากองค์กรไปด้วย

-          ขาด “จังหวะ” และ “โอกาส” ที่ดี ประสิทธิภาพของงานที่มีพลังขึ้นอยู่กับ “จังหวะ” หมายถึงการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องดูจังหวะที่เหมาะสม เหมือนเรารอคอยที่จะถ่ายรูปยามพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ แสงแรกเป็นจังหวะนาทีทองที่เราต้องกดชัตเตอร์ เพราะสีของฟ้าที่ได้ จะเป็นสีเฉพาะเวลานั้น หากเวลาล่วงเลยไปแม้แต่เพียงนาที ภาพของท้องฟ้าก็เปลี่ยนไป ดังนั้นงานที่ดีจึงต้องอาศัยจังหวะที่ดีด้วย

-          ขาดการนำเสนอผลงาน เราพบเสมอว่างานที่ดี แต่นำเสนอไม่เป็นหรือไม่ถูกเสนอ งานดีๆชิ้นนั้นก็ถูกลดคุณค่าลงไปอย่างน่าเสียดาย การนำเสนอที่ดีทำให้งานถูกนำไปใช้ต่อ ทำให้เกิดการคิดต่อเนื่อง เกิดการแลกเปลี่ยนต่อในวงกว้าง เป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้กับสังคม งานที่ดีแต่ล้มเหลวส่วนหนึ่งเพราะไม่ให้ความสำคัญประเด็นนี้ ส่วนการนำเสนอที่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและเทคนิคต่างๆ ที่เราควรต้องให้ความสำคัญเช่นกัน อาทิ การสร้างบรรยากาศ,การนำเสนอที่สอดคล้องกับสถานการณ์,การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการนำเสนอ,นวัตกรรมการนำเสนอที่เร้าความสนใจ

-          ขาดทิศทาง และยุทธศาสตร์ในการทำงาน ข้อนี้ขอกล่าวเป็นข้อสุดท้ายเพราะงานที่ดี ต้องมีข้อนี้อยู่แล้ว  แต่สิ่งที่พบในการทำงานเสมอคือ ไม่ได้ทำงานตามยุทธศาสตร์ แต่ทำงานตามเวลาและวัฒนธรรมองค์กรที่ไร้พลังจนคุ้นชิน  กระบวนการทำงานแบบนี้ไม่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปิดตายความคิด ทำงานให้หมดเวลาไปตามกรอบระยะเวลา

ปัจจัยที่ผมลองแยกออกมาเป็นข้อๆเพื่อตอบโจทย์ที่ตัวเองตั้งขึ้นมาเป็น ส่วนหนึ่งที่ผ่านประสบการณ์การทำงานของผมเอง ผมเข้าใจว่าทุกคนต่างมีบริบท มีฐานความรู้และประสบการณ์ที่ต่างกัน  คำตอบต่อโจทย์นี้น่าจะมีคำตอบที่หลากหลาย ทั้งนี้ การรู้ปัจจัยสาเหตุ เป็นการAfter Action review ( AAR.) อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่พลาดในเรื่องเดียวกันในครั้งที่สอง

เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องครับ

หมายเลขบันทึก: 212644เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2008 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

ดิฉันพลาดและล้มเหลวบ่อย ก็เพราะขาดสิ่งที่คุณพูดถึงนี่แหละ แด่ฉันลุกแล้วลุกอีกนะ ยังไม่สำเร็จเลย แก็จะพยายาม่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้

สวัสดีครับคุณไม้ร่ำ

ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ ยินดีต้อนรับสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ + มิตรภาพแบบออนไลน์

หากเราล้มบ่อยๆก็คิดเสียว่าเป็นโอกาสที่เราได้รู้ ความล้มเหลวทุกมุม ทุกมิติก็แล้วกันนะครับ จะได้บอกคนหลังๆว่า ผ่านมาแล้ว

ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า ผลผลึกของประสบการณ์เป็น tacit knowledge ให้กับคุณไม้ร่ำ และในที่สุดสิ่งที่เป็น"ทุน" เหล่านั้น จะเป้นบทเรียนที่ดีให้กับตัวเองและสังคม

ผมขอให้กำลังใจนะครับ

จะล้มกี่ครั้งไม่ใช่ปัญหา นะครับ อยู่ที่ว่าล้มแล้ว เราพร้อมที่จะลุกสู้ต่อหรือไม่

:)

  • สวัสดีครับ แวะมาทักทาย มาเพิ่มเติมครับ (ส่วนที่คิดว่าไม่สำเร็จ/ล้มเหลว)
  • ...งานแก้ไขปัญหา เจ้าของปัญหาไม่ได้ลงมือคิดและปฏิบัติ/ร่วมแก้ไขด้วย
  • งานบางอย่างทำไปตามขั้นตอน/กรอบการทำงานของหน่วยงานที่ดูแล ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ไม่นำวิธีปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้
  •  งานบางอย่างคนไม่สนใจ/ไม่ให้ความสำคัญ เพราะอะไรก็อาจจะตอบยาก เราจึงเห็นบางงานที่ดีๆ ไม่ค่อยได้ถูกกล่าวขานถึง
  • ไม่รู้ว่าจะตรงประเด็นหรือเปล่า

พี่วีรยุทธสิงห์ป่าสัก ครับ

ต้องบอกว่าไม่มีถูกผิดครับ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของพี่วีรยุทธ เรามักจะเห็นเสมอๆว่า งานที่ดี แต่ไม่ค่อยมีพลังในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา เราได้แต่ตั้งคำถามว่า "เพราะอะไร?"

ลองมาถอดบทเรียนดู มีเหตุผลที่สามารถตอบได้ มากมายเต็มไปหมด สำคัญที่ว่าเราได้ AAR.แล้วได้แก้ไข ปรับเปลี่ยนอย่างจริงจังหรือไม่...

 

ขอบคุณมากครับผม

สวัสดีครับ

  • มีคนกล่าวว่า "พันวิธีการ..แต่หากทุกวิธีการมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน...งานสำเร็จฯ"
  • ..
  • งานดีดีทำไมล้มเหลวในสายตาผู้ชมฯ
  • ผมว่าเป็นเพราะความแตกต่างเรื่อง "ความคาดหวัง" ที่ไม่เหมือน (หรือไม่เท่า) กัน
  • องค์กรคาดหวังแบบหนึ่ง
  • คนทำงานคาดหวังอีกอย่าง
  • ผู้ชมหรือผู้มีส่วนได้เสีย...คาดหวังอีกอย่างหรืออีกระดับ
  • ...
  • ที่สำคัญไม่แพ้กัน...หลังจากเสร็จงาน...ผลตอบแทน-รางวัลที่ได้รับ (return หรือ rewards) ไม่เป็นดังที่คาดหวังของผู้ปฏิบัติงาน (ผู้แสดง)...
  • แรงจูงใจ (เต็มไปด้วยไฟลุกโชน) ที่รออยู่ในส่วนลึก ก็มอดลง...รอวันดับ (เป็นความล้มเหลว) งานต่อๆ ไปลงแรงทำแค่ครึ่งเดียวของกำลังที่มีก็พอ
  • ผมว่า...ถ้าพูดคุยทำความเข้าใจด้วยเหตุ-ผลให้มากเข้า ช่องว่างของความคาดหวังคงลดระดับมาใกล้กันมากขึ้นนะครับ
  • ..
  • ขอบคุณครับ
  • ตามมาอ่านครับพี่
  • ตกลงวันที่ 2 พี่ไปช่วยลุงเอกไหม
  • อิอิ

พี่พิทักษ์ ครับ

ผมเห็นด้วยครับ กับประเด็น "ความคาดหวัง"ที่แตกต่าง หากไม่ตรงความคาดหวังก็ล้มเหลว เกิดความ bias ไปด้วย ทั้งๆที่เป็นงานชิ้นที่ดีมีคุณภาพ

"ความคาดหวังทั้งผู้แสดง และผู้ชม ที่ไม่ได้ตามความคาดหวัง"

ขอบคุณครับผม

--------------------------------------

จากอีเมลล์

เรื่อง "ไปเที่ยวปาย" ผมชวนไปช่วงปลายฝนต้นหนาวดีไหมครับ ผมมีโครงการพาพี่น้อง gotoknow ไปทำงานจิตอาสา 21859   และ 21777

"สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หยิบยื่นไออุ่นให้คนบนดอย"

 

น้องครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

วันที่ ๒ น่าจะได้ไปช่วยครับ เพราะลุงเอกท่านได้โทรมาบอกแล้ว ..

สวัสดีครับ คุณคนพลัดถิ่น

งานยุ่ง งานหนัก ดูแล สุขภาพด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

เรียนคุณจตุพรที่เคารพ

เขียนมาขออนุญาตทำบล็อกของคุณเข้าไว้ใน planet/thaiclแ ค่ะ เนื่องจากคณะวิจัยของเราได้เริี่ิ่มดำเนินโครงการประสานพลังปัญญา เพื่อพัฒนาชุมชนด้วยการจัดการความรู้

โดยเลือก อบต หรืออบท จำนวน 25 แห่งมาเข้าร่วมโครงการ (สนับสนุนโดยสสส.)

กำลังพัฒนา website ด้วยค่ะ www.thaiclc.org

ถ้าหากคุณจตุพรรู้จัก blogger ที่เขียนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน แนะนำด้วยค่ะ

จะได้เชิญมาร่วมวงกัน ช่วยแนะนำ เสริมสร้างความรู้ความคิด

ทัศนีย์

ขอบคุณครับ คุณ tadsanee

ผมขอแนะนำ blog ที่เขียนงานเกี่ยวกับ "งานพัฒนาชุมชน" ดังนี้ครับ

Blogger และ blog ที่ผมแนะนำต่อไปนี้ เป็น blogger ที่เขียนงานแนวการพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม รูปแบบการเขียนเป็นการเขียนผ่านประสบการณ์ และเป็นองค์ความรู้จากพื้นที่ครับ

ทุกท่านถือว่าเป็นนักจัดการความรู้ และคุณอำนวย ตัวจริง เสียงจริงครับ

สวัสดีอีกครั้งครับคุณ เอก (ขออนุญาติเรียกตาม ผองเพื่อนสมาชิก G2K นะครับ)

  • ดีใจที่รู้สีกเหมือนกันครับ ความคิดดีๆมักเริ่มต้นในเวลาเดินทางที่ได้อยู่กับตัวเองแล้วทบทวน หาทางแก้ รวมทั้งไอเดียที่บรรเจิด หลายๆครั้งมาจากการเดินทางครับ
  • “ทำไมงานดีๆจึงล้มเหลวในสายตาผู้ชม”  ชอบคำนี้ครับ เพราะก่อนหน้าที่จะมาเป็นครู ผมทำงานสื่อมานาน 13 ปี มีคำถามเกิดขึ้นเสมอ ทั้งที่หาคำตอบได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ชอบทั้งแนวความคิดของคุณเอก ที่หาคำตอบมาตอบคำถามนี้ และจากเพื่อนๆที่มาร่วมสนับสนุน ได้ไอเดียให้กลับไปนอนคิดอีกแล้วครับ
  • ขอบคุณมากๆครับ

ครูต่อ

 

ครูต่อสุรชัย เพชรวงษ์ ครับ

ผมชอบคิดครับ !!!

ด้วยการที่ชอบตั้งคำถาม แล้วหาคำตอบ สนทนากับตัวเอง ผมพบว่ามีประเด็นที่ผมได้เรียนรู้ มีประเด็นที่ผมได้ค้นพบ รวมถึงประเด็นที่ผมยังกังขา...ก็พยายามหาคำตอบต่อไป

ผลของความคิดที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รวบรวมไว้ น่าเสียดายมากๆครับ บันทึกไว้ เสร็จแล้วค่อยต่อประเด็นต่อไปได้

ครูต่อจะได้เห็น ความคิดของผมในมุมที่ทะลุกรอบอยู่เรื่อยๆนะครับ เป็นธรรมชาติของผมเอง แต่สิ่งที่ผมอยากให้สะท้อนก็คือ การคิดต่างจากผม หรือมุมมองที่ใกล้เคียงก็แล้วแต่ เรามาถกกัน แบบนี้สนุกดี ผมชอบบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ เหมือนว่าเราได้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

และ กระบวนการ KM ตอบโจทย์การพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ลักษณะนี้ได้ครับ

ขอบคุณครับสำหรับกัลยาณมิตรที่ดีต่อผม

 

 

สวัสดีครับคุณเอก

สบายดีมั๊ยครับ ขอบคุณสำหรับผลึกทางปัญญาที่นำมาแบ่งปันกันครับผม

ถ้าเราอยากให้เกิดปรากฏการณ์ปล่อยของดีในองค์กรเราควรเริ่มต้นยังไงดีครับ แย๊บๆ หน่วยเหนือให้เปิดเวทีก่อนดีมั๊ยครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

มาเติมเต็มส่วนที่ขาดเหลือ  ดีใจที่ได้อ่านแนวคิดของสมาชิกหลาย ๆ ท่าน

การทำงานที่ล้มเหลว  ย่อมดีกว่า  การไม่ทำนะคะ

และการล้มเหลวครั้งนี้ อาจจะมีคุณค่า เป็นข้อสนเทศของงานชิ้นสำคัญก็ได้นะคะ

ขอขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีครับ คุณกบ ข้ามสีทันดร

พอดีจะรีบเดินทางไปสนามบินแล้วครับ เห็นข้อเสนอแนะคุณกบ ผมสนใจคำว่า "ปล่อยของดี"  ในองค์กร

เอาไว้ถึง กทม.ผมจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณกบอีกครั้งนะครับ...

 

ขอขอบคุณค่ะคุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร 

ที่กรุณาเห็นคุณค่ะ และแนะนำบล็อค

จะพยามเป็นผู้แลกเปลี่ยนที่ดีค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณเอก “จังหวะ” และ “โอกาส” เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่เคยล้มเหลวมีโอกาสพัฒนางานและประสบความสำเร็จอีกครั้ง

คิดตามไม่ทัน แต่บอกได้ว่า คุณเอกเป็นคน "คิดดี คิดเป็น" ครับ :)

ขอบคุณครับ

  • งานดี แต่ขายไม่ได้ มักได้ยินบ่อยๆ
  • คำว่า งานดี แสดงว่า ในตัวงานนั้นได้ใส่ จิตใจ ความรู้ ลงไปเต็มที่แล้ว งานจึงดี
  • แต่งานดี ขายไม่ได้ น่าจะเป็นส่วนประกอบจากภายนอก ตามที่คุณเอกบอก เช่น ขาดการส่งเสริมการขาย ขาดจังหวะโอกาส และอาจจะหมายถึง การขาดยุทธศาสตร์ในการทำงาน เป็นองค์รวม

 

สวัสดีคะ น้องเอก

ความล้มเหลวเป็นโอกาสพัฒนา

ความผิดพลาดและล้มเหลวจะเป็นกำลังใจ

เป็นบทเรียนให้สร้างสรรค์งานที่ดีต่อไปคะ

เห็นด้วยนะคะ งานดี ๆ แต่นำเสนองานของตัวเองไม่เป็น

ขาดโอกาส แหล่งที่จะนำเสนอ ขาดการสนับสนุน

สวัสดีค่ะ

ชอบส่วนที่วิเคราะห์ ขออนุญาตเก็บเข้าแพลนเน็ตนะคะ

สมเป็น นักคิดนักปฏิบัตินะครับ

คุณกบ ครับ

คำว่า "ปล่อยของดี" ในความคิดของผมคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะ KM การดึงความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล เพื่อนำมาเป็นคลังปัญญาให้กับองค์กร

ถามว่า ทำยังไง?

คำถามนี้ คุณคนโรงงานอาจให้คำตอบได้ดีเพราะได้ทำกับองค์กรและลักษณะองค์คล้ายคลึงกับของคุณกบนะครับ

เบื้องต้นผมคิดถึง การวิเคราะห์ตัวเองขององค์กรก่อนนะครับ ว่าเรามีศักยภาพ จุดอ่อน จุดแข็ง จุดเอื้ออย่างไรบ้าง และความรู้ในองค์กรเรามีระบบการไหลเวียนของความรู้อย่างไร และผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นเกิดจาก "ของดี" ในองค์กรเราจริงๆหรือไม่ หากใช่เราอาจต้องคิดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องไป แต่หากไม่ใช่ เราก็ต้องหาวิธีการ "ปล่อยของดี" ให้ใช้ระบบองค์ความรู้ ปัญญามาเป็งพลังในการพัฒนาองค์กรอย่างแท้จริง

กระบวนการอื่นๆ เริ่มจาก การรู้ตัวเอง ...และวางแผนจากสิ่งที่เรามีศักยภาพ ที่สำคัญ คนในองค์กรเราต้อง "มีความสุข" ด้วย

คิดว่าต้องคุยกันยาวครับ ประเด็นนี้

มีโอกาสเรามานั่งคุยกันดีกว่าครับ

krukim

ยินดีครับ ครูคิม ..

บันทึกครูมีคุณค่าและเป็นการดึงเอาประสบการณ์ในพื้นที่ออกมา เล่าอย่างมีชีวิต ผมชอบอ่านครับ

ให้กำลังใจในการเขียนบันทึกดีๆต่อไปนะครับ

พี่ tuk-a-toon 

การล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ  กล้ายอมรับความล้มเหลว และวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการถอดบทเรียนเพื่อก้าวใหม่ที่แกร่ง ไขว่คว้า หาโอกาส และ จังหวะ

อ.Wasawat Deemarn

บางทีผมก็คิดได้ไม่ดีหรอกครับ แต่ผมก็พยายามเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์คิดว่า น่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจ และ แลกเปลี่ยนกันครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ คุณ yaibuaw  ยินดีต้อนรับสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

สวัสดีครับคนโรงงาน

ยินดีมากครับ ที่คุณขจรศักดิ์ เข้ามาเติม ในส่วนของการทำงานองค์กรต้องอาศัยมุมมองจากคุณขจรศักดิ์ครับ

ทำไมของดี ขายไม่ได้ ...

ผมคิดมองเบื้องหลังก็พอเห็นคำตอบ และหากเราเข้าใจ เราก็เกิดการผลักดันการพัฒนา

ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีค่ะ คุณเอก

  • ในระบบราชการ บางทีก็อยู่ที่นโยบายของผู้บริหาร สั่งการเพื่อทดสอบศักยภาพของผู้ปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงปริบท ซึ่งจริงๆแล้วในภาพรวมงานนี้น่าจะออกมาดี ตัวเราเป็นผู้ปฏิบัติเอง ก็ย้งมองว่าไม่มีคุณภาพ    จึงกลายเป็นความล้มเหลวล้มเหลวไป 
  • ขาดการจัดการ “คน”
  • แถมยังเข้าข่ายน้ำท่วมปากอีก

ขอบคุณครับ พี่ ประกาย

หากมองในเชิงธุรกิจ ก็ต้องอยู่ที่การสร้างภาพลักษณ์ (Image) ซึ่งเป็นความจำเป็นในการสร้างคุณค่าใหม่ให้สินค้า

ผมคิดว่า งานที่ดีก็เช่นกัน ต้องอาศัยการโปรโมชั่นไปด้วย

ดังนั้น งานดีๆ ก็คิดกลวิธีการนำเสนอที่ดีๆด้วย...

ขอบคุณครับที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น

ขอบคุณครับ พี่jaewjingjing    ยินดีเป็นเกียรติครับสำหรับการแลกเปลี่ยน และรับเข้า planet ของพี่ครับ

ขอบคุณครับ อ.หนึ่ง  ผมติดตามงานของอาจารย์ตลอดเวลาเช่นกัน อีกทั้งได้ยินคำชมจาก นศ.ป.เอก ถึง อ.หนึ่ง ของ นศ. ฟังแล้วชื่นใจครับ

พี่นก NU 11

หมายถึงว่า ระบบการจัดการโดยรัฐ มีผลทำให้ งานดีๆ ล้มเหลวในสายตาผู้ชมด้วย อีกปัจจัยหนึ่งใช่ไหมครับ

ขอบคุณครับ สำหรับความเห็นเพิ่มเติมครับ

:)

สวัสดีค่ะ พี่เอก

พี่เอกสบายดีนะค่ะ วันนี้งานยุ่งไหม แล้ววันที่ 2 พี่เอกไปไหมค่ะ อยากเจอค่ะ

คิดถึงนะค่ะพี่เอก

 

สวัสดีครับ น้องก้อย kittyjump~เลขา~natadee(มากๆ)

ผมสบายดีครับ นอนดึกบ้าง เพราะงานเร่งรัด (เรื่องปกติ) วันที่ ๒ ได้พูดคุยบ้างแล้วกับท่านเอกชัย ครับ ...

อาจจะได้เจอกันนะครับผม

สวัสดีครับคุณ จตุพร น่าสนใจมากครับ

กับคำถาม ทำไมงานดีๆ จึงล้มเหลว ในสายตาผู้ชม

เคยตั้งคำถามนี้ กับงานวรรณกรรม หลายเรื่อง ที่เป็นงานดีๆ ที่ขายไม่ออก

มันคงเป็นความจริง ที่คงอยู่อไปในสังคม กับคำถามนี้

  • ตามมาขอบคุณ
  • เข้าใจว่า
  • ขึ้นอยู่กับสายตาผู้ชม
  • แต่ละคน
  • ว่าคาดหวังอย่างไร
  • ทำดีที่สุดก็ดีแล้วครับ
  • ค่อยๆปรับข้อที่ผิดพลาดแล้วทำให้ดีใหม่ในครั้งหน้า
  • ขอบคุณหลายๆๆ
  • สำหรับข้อคิดดีๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ บังหีม

ผมเขียนบันทึกนี้ ผ่านประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาครับ หลายครั้งมานั่งคิดดูว่า งานที่เราทำเต็มที่ และใครๆก็บอกว่าเป้น งานคุณภาพนั้น ทำไม ไม่ค่อยตอบสนองกับปัญหา และ ไม่เร้าความสนใจ

ก็เลยถอดบทเรียนออกมาตามที่เขียนไว้ในบันทึกครับ

ขอบคุณ อ.ขจิต ฝอยทองที่ปรึกษา~natadee
มากครับ

ถอดบทเรียนตัวเอง เพื่อไม่ให้ผิดพลาดซ้ำสองครับ

 

ขอบคุณบังมากครับ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • พี่ชายคะ แต่ละคนมีมุมมองไม่เหมือนกันเลย
  • เห็นด้วยกับบันทึก
  • เห็นบันทึกมีกำลังทำงานอีกเป็นกองภูเขาคะ
  • ขอบคุณคะ

สวัสดีครับ น้อง กรรณิการ์ วิศิษฏ์โชติอังกูร

เมื่อมีกำลังใจทำงานแล้ว หยิบประสบการณ์ดีๆของน้อง มาเขียนเป็นบันทึกแลกเปลี่ยนเพื่อนๆใน gotoknow บ้างนะครับ

ให้กำลังใจครับ

ความล้มเหลว ก็ เป็นครูของเรา นะคะ

  • นานๆ ได้แวะเวียนมา G2K เห็นบันทึกแล้วโดนใจจัง
  • เชื่อว่าหลายๆ คนคงมีบทเรียนแบบนี้เหมือนกัน คุณเอกสรุปบทเรียนได้ดีมากๆค่ะ ขอบคุณนะคะกับการแบ่งปัน ผลผลิตแห่งปัญญา
  • สำหรับแหววแล้ว หลายๆ ครั้งบทเรียนสอนให้รู้ว่า เราก็เป็นเพียงองค์ประกอบเล็กๆ ของระบบ ที่จำต้องยอมรับอะไรบางอย่าง ที่ต้องเป็นไป ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากทำใจ หรือมีสติรู้ ยอมรับในสิ่งที่เกิดที่เราพยายามทำดีที่สุด ณ ขณะนั้นด้วยปัจจัยต่างๆ เอื้อให้เกิดเช่นนั้นเอง ใช้ปัญญาวิเคราะห์ แล้วก็วาง...เพราะไม่เช่นนั้นเราอาจตกหลุมดำเฝ้าแต่ทบทวนความล้มเหลว  แล้วเริ่มใหม่กับการอยู่กับปัจจุบัน ด้วยสติ และปัญญา กับการมีส่วนร่วม ด้วยหัวใจและความรัก

ผมเชื่อว่า คนทำงานก็ต้องมุ่งหวังและคิดว่างานของตนดีที่สุดครับ

แต่บอกยากครับ เพราะผู้ชมก็อาจมองในมุมที่แตกต่างกันครับ

และก็มีหลาย ๆ ปัจจัยครับ

บางครั้งผลงานเดิม แต่ผ่านไปหลาย ๆ เดือน หลาย ๆ ปีก็อาจกลายมาเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จก็ได้ครับ

เวลาทำงาน ผมมักจะเป็นคนหวังผลงานครับ คิดว่า ผลงานต้องดีที่สุด

เพราะ "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" ครับ

แต่เมื่อทำไปหลาย ๆ ปีกลับพบว่า สิ่งที่มีค่ากว่าผลงาน คือ กระบวนการให้ได้มาซึ่งผลงานครับ เพราะแม้ว่า ผลงานอาจไม่ดี (ไม่เข้าตา) แต่ถ้าหากเริ่มคิด เริ่มทำในทางที่เหมาะสม(กับตัวเอง).. (ซึ่งผมว่าบางครั้งรู้ได้ด้วยตัวเอง)ก็มีโอกาสที่จะพัฒนาตามศักยภาพของเราได้ครับ (อย่างน้อยผู้ทำก็รู้สึกภูมิใจในผลงานที่เราคิดว่าดี ก็มีความสุขใจแล้วละครับ ...)

เป็นกำลังใจให้คนหมั่นเรียนรู้และพัฒนาเหมือนเคยครับ

ขอบคุณครับ พี่หมอเล็กภูสุภา

ความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่ดีครับ หากเราได้เรียนรู้ความสำเร็จนั้น เราก็จะพบเงื่อนไขความสำเร็จที่ซ่อนอยู่

คุณแหวว พชรวรัตถ์ แสงทองชนาพงศ์

เห็นข้อเสนอแนะคุณแหวว อ่านแล้วมีความสุขดีครับ ง่ายๆสบายๆ เป็นบุคลิกที่ผมคิดว่าเป็นบุคลิกของคุณแหวว

ผมเองลองวิเคราะห์ ในมุมของผมเองครับ ก็คิดว่ายังมีอีกหลายๆปัจจัยที่เรายังมองไม่เห็น นำมาเขียนใน gotoknow ก็ได้กัลยาณมิตรมาเติมความเห็นหลากหลายน่าสนใจดี

คุณแหววสบายดีนะครับ ขอบคุณมากที่มาให้ข้อเสนอแนะ เป็นกำลังใจที่ดีสำหรับคนเขียนบันทึกครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณน้อง

โก๊ะจิจัง แซ่เฮ~natadee ที่สุดในแก๊ง
ขอบคุณสำหรับเพลงอีเเซวครับ

--------------------------------------

 

 

สวัสดีครับ หมอเก๋    analyst

แปลกใจครับ ที่เห็นหมอเก๋มาให้ข้อเสนอแนะ

ผมเห็นด้วยอย่างมากครับ ที่หมอบอกว่า "กระบวนการ" ที่นำมาซึ่งผลงานนั้นสำคัญที่สุด งานที่ดีแต่ไม่เอาคน ก็ไม่ได้ถือว่าสำเร็จโดยแท้จริง

งานที่สำเร็จ และงานที่ดี นั้นกระบวนการต้องดีด้วย หมายถึงคนต้องมีความสุขไปด้วย

ขอบคุณมากครับ หมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท