สัมมนา : พุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ ณ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (ประเด็น + เอกสารประกอบ)


 

ผมได้รับเกียรติจาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ให้ไปบรรยายในวิชา

สัมมนาพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่
(Seminar on Buddhism and Modern Sciences)

[เอกสารแผนการเรียนการสอนวิชานี้ (doc)]

ในหัวข้อพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ (Buddhism and Science)

ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา 15:00-17:30 น.
ณ วิทยาเขตวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์

  


  

ประเด็นการสัมมนาและเอกสารประกอบ มีดังนี้

 

1. แง่มุมที่ควรคำนึงถึงในการเปรียบเทียบพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

    เอกสารประกอบ :

          ไอน์สไตน์ : การนำวิทยาศาสตร์ไปเทียบเคียงกับศาสนา

           ตอน 1, ตอน 2 & ตอน 3(จบ)

2. ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่มักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบกับพุทธศาสนา

    2.1 หลักความไม่แน่นอนทางควอนตัม (The Uncertainty Principle in Quantum Physics)

    เอกสารประกอบ :

           หลักความไม่แน่นอนทางควอนตัม หมายถึงอะไร (pdf)

    2.2 ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ (Einstein's Theory of Relativity)

    เอกสารประกอบ :

           เปิดโลกสัมพัทธภาพ (pdf)

           ความยาวหด & เวลายืด ปรากฏการณ์ที่แสนจะขัดกับความรู้สึก (pdf)

    2.3 ทฤษฎีเคออส (Chaos)

    เอกสารประกอบ :

          ทฤษฎีเคออส (Chaos Theory) มีแก่นสาระอย่างไร (pdf)

3. กรณีศึกษาที่ควรทราบ

    3.1 หนังสือที่เปรียบเทียบพุทธศานากับวิทยาศาสตร์ (ภาพรวม)

    3.2 กรณีที่วิทยาศาสตร์ถูกบิดเบือน (อย่างมาก) ที่ควรทราบ

    เอกสารประกอบ :

       วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"
       บ. อมรินทร์ ระงับการพิมพ์เพิ่มหนังสือ (บางเล่ม) ของ ทพ.สม เพราะมีข้อผิดพลาดมาก
       สัมภาษณ์ : ทางออกที่สร้างสรรค์ - กรณีหนังสือ ไอน์สไตนพบ พระพุทธเจ้าเห็น

    3.3 กรณีที่พยายามเชื่อมโยง & เปรียบเทียบวิทยาศาสตร์กับคริสต์ศาสนา

    เอกสารประกอบ :

       สัมภาษณ์ นายแพทย์ภากร จันทนมัฏฐะ "หลักวิทยาศาสตร์ทั่วไปไม่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ไบเบิล ยกเว้นทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน" จาก นิตยสาร สารคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 288 กุมภาพันธ์ 2552


4. สรุป & ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อ

 


ประวัติวิทยากร

       1. เอกสารประวัติทั่วไป  

       ดาวน์โหลด CV/Biodata (ปรับปรุงล่าสุด : จันทร์ 10 สิงหาคม 2552)

       2. ประสบการณ์ทางวิชาการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์

               - ผู้เขียนบทความ สัมพัทธภาพ & ควอนตัม ในหนังสือ ธรรมชาติของสรรพสิ่ง (นพ.ประเวศ วะสี, บรรณาธิการ)

               - ผู้แปล (ร่วม) หนังสือ ควอนตัมกับดอกบัว, สนพ. สวนเงินมีมา

 


หมายเลขบันทึก: 315496เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะพี่ชิว..

  • พุทธศาสนาสอดคล้องทั้ง ในแง่ของวิทยาศาสตร์...
  • และจิตวิทยาก็ได้ด้วยนะคะ
  • เคยเห็นหนังสือเกี่ยวกับคำถามคำตอบ ของพระพุทธเจ้า และไอสไตน์ แต่ยังไม่มีโอกาสอ่านเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

คุณน้อง Pizza ครับ

       เล่ม ไอน์สไตน์ถาม-พระพุทธเจ้าตอบ นั้น วิทยาศาสตร์ "มั่ว" ครับ และผู้เขียนเองก็บอกว่าตัวเองอาจจะผิดก็ได้

       ในหน้า 18 ของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนบอกเองว่า

        “จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คือ ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ดิฉันไม่สามารถเข้าใจได้หมดและถ่องแท้ แต่ถึงแม้ความรู้ทางฟิสิกส์ของหนังสือเล่มนี้จะผิดหมดก็ยังไม่เป็นไร ไม่น่าห่วงมากเท่ากับการสรุปภาวะพระนิพพานอย่างผิดๆ …

         ไอน์สไตน์ยังไม่ใช่ผู้รู้เห็นสัจธรรมอันสูงสุดของจักรวาลอย่างแท้จริง เพราะผู้รู้สัจธรรมจะพูดเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ พูดชักชวนคนไปนิพพาน”

        ซึ่งพี่อ่านดูแล้ว ผู้เขียนก็ไม่รู้เรื่องจริงๆ นั่นแหละครับ เพียงแต่ยกไอน์สไตน์มานำ ทำให้คนสนใจ

        แต่อีกเล่มที่เละเทะกว่านั้นคือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ของ คุณสม สุจีรา ครับ นอกจากวิทยาศาสตร์จะมั่วเกือบทั้งเล่มแล้ว ยังอาจเข้าข่ายสัทธรรมปฏิรุป (บิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์) ด้วย

        พี่จะนำประเด็นเหล่านี้ไปปรึกษากับพระและผู้รู้ทางพุทธศาสนาที่มหาจุฬาฯ ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ครับ

สวัสดีค่ะ

  • ใช้เครื่องที่โรงเรียน  เน็ตสัญญาณต่ำ  เปิดอ่านไม่ได้ค่ะ
  • รอไปอ่านที่บ้านดีกว่า
  • อาจารย์สบายดีนะคะ  ขอขอบพระคุณกับแหล่งเรียนรู้ที่แนะนำนะคะ

ครูคิม สวัสดีครับ

         ค่อยๆ อ่านบทความที่ให้ไว้ครับ หากสนใจ เพราะแต่ละเรื่องยากๆ ทั้งนั้นเลย

         เห็นคุณหนานเกียรติว่า เดือนธันวาคม นี้จะไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนใช่ไหมครับ

เสียดาย... อยู่สงขลา ถ้าอยู่กรุงเทพ จะไปฟังอาจารย์บ้าง...

นึกถึงตอนเรียน ป.ตรี เมื่อสิบกว่าปีก่อน วิชาพุทธศาสนา (หรือพุทธปรัชญา) กับวิทยาศาสตร์ ได้เรียนเพียง ๓ ครั้ง และรู้สึกว่าอาตมาจะได้เจออาจารย์ ๑-๒ ครั้งเท่านั้น เป็นอาจารย์พิเศษจำไม่ได้แล้วว่าเป็นใคร แต่ก็ทำให้รู้จักทฤษฎีเชือกผูกรองเท้า...

ที่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะเกิดความสงสัยผุดขึ้นว่า หรือว่าอาตมาเคยเรียนกับอาจารย์ !

เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

        ไม่ใช่กระผมแน่ๆ ครับ เพราะไม่เคนไปบรรยายที่วิทยาลัยสงฆ์ที่ไหนมาก่อน (ครั้งที่จะถึงนี้จะเป็นครั้งแรกครับ!)

        จริงๆ แล้วแต่ละเรื่องที่นำมาเปรียบเทียบกับพุทธศาสนานี่เป็นเรื่องใหญ่ที่มีความลุ่มลึกทั้งสิ้น ถ้าจะให้ได้เนื้อหาสาระอย่างเต็มที่ ก็ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่านี้ครับ

ผู้สนใจที่ไม่ได้เป็นนักศึกษาที่นั่นเข้ารับฟังได้ใช่ไหมคะ

สวัสดีค่ะพี่ชิว

นี่คือเรื่องที่เราเคยคุยกันกลายๆเมื่อนานมาแล้วใช่มั๊ยคะ ยินดีกับพี่ชิวอีกขั้นหนึ่ง

.........พี่ชิว คนเก่ง...

วันนี้ตามมาเชียร์นะคะ หนาวแล้วพาน้องมนน้องนิไปเที่ยวไหนเอ่ย

วันเสาร์นี้นกจะไปแถวๆเพชรบูรณ์กับดาวฟ้าแล้วจะเก็บหมอกมาฝากนะคะ

สวัสดีครับ คุณ Supaporn

      ไม่กล้าตอบแทนทางผู้จัดครับ แต่ความเข้าใจของผมคือ ไม่น่าจะมีป้ญหา (หากมีที่นั่ง) ถ้ายังไง ผมให้เบอร์โทรไว้ก่อนครับ เผื่อสอบถามห้องสัมมนาและอื่ๆน : 081-42-42-010

สวัสดีครับ คุณ Giant Bird (เพิ่งสังเกตว่าเปลี่ยนชื่อใน G2K...แต่ขอเรียกแบบเดิม เพราะจำง่ายกว่าครับ ^__^)

        จะว่าไปแล้ว ผมก็มีความรู้ไม่มากนักครับ แต่คงจะเรียนรู้เรื่องทางพุทธศาสนาจากพระและผู้รู้ที่มาร่วมการสัมมนา ส่วนเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ก็คงนำข้อมูลและข้อคิดเห็นไปแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจครับ

        เที่ยวเพชรบูรณ์กับคุณหมอดาวฟ้าให้สนุกนะครับ เก็บภาพเมฆ & หมอกมาฝากสักหน่อย ตอนนี้ผมกำลังจัดการกับต้นฉบับหนังสือดูเมฆอยู่ครับ

พี่ชิว ขอไปฟังด้วยได้ไหมครับ

อยากฟัง....

น้องหนานเกียรติ

         ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะ (ถ้ามีที่นั่งพอ) เอาเบอร์พี่ไปก่อนครับ (081) 42-42-010

         ถ้ายังสะดวก ก็เจอกันวันพรุ่งนี้ครับ ^__^

สวัสดีครับ ท่านที่สนใจการสัมมนานี้

         เรื่อง สัมมนา พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ที่ มหาจุฬาฯ วันพรุ่งนี้ (ศุกร์ 27 พย 2552)

         ผมสอบถามผู้จัดแล้ว คนนอกเข้าไปฟังได้ครับ ไปที่วัดมหาธาตุ ห้องสัมมนาอยู่ในอาคารมหาจุฬาฯ (เห็นว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดในวัดครับ)

สวัสดีค่ะ

มาทราบข่าว

ล่าไปหน่อยค่ะ

  • พี่ชิวมาเชียร์ก่อนนะครับ
  • น้องเคยไปสอนที่นี่ครับ
  • ข้างหน้ามีร้านหนังสือธรรมบรรณาคารด้วย
  • มีหนังสือเกี่ยวกับธรรมมะดีๆๆ
  • รออ่านทางบันทึกนะครับ
  • พอดีงานยุ่งๆๆครับพี่

สวัสดีค่ะอ.ชิว สัมมนา พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ที่ มหาจุฬาฯ (ศุกร์ 27 พย 2552 บรรยากาศในงานเป็นอย่างไรบ้าง...ไม่ได้ดูรายการมีอัดเทปรายการไว้ไหมคะหรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ไหน...อยากดูบ้าง

โอย ชอบมาก...ขออนุญาติบันทึกทั้งหมดเก็บไว้ศึกษานะครับ แหมน่าจะมีเทปบันทึกเสียงนะครับ

เสียดายไม่ได้ฟังค่ะ น่าจะมีเสียงให้ฟังนะคะ

ขอให้ความเห็นในฐานะยังไม่เก่งทั้งสองศาสตร์นี้ว่า ศาสตร์ ของพุทธศาสนา และศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ ไม่น่าจะเกี่ยวกันนะคะ คนที่ไม่รู้ทั้ง 2 ศาสตร์ทำไมชอบเอามาเขียนให้มันเกี่ยวกัน

เคยฟังหลวงพ่อเล่าว่า ศาสนาพุทธ ไม่มีเรา มีแต่รูปนาม แต่วิทยาศาสตร์ ยังมีตัวเราอยู่ ไม่แน่ใจว่าจำมาผิดหรือเปล่า เล่าให้อาจารย์ฟัง เผื่ออาจารย์มีความเห็นเพิ่มเติมค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ติดตามอ่านงานอาจารย์ในหนังสือพิมพ์บ่อยๆค่ะ

ขอแจมด้วยครับ ความจริงแล้วพระพุทธศาสนาน่าจะสอนให้เห็น ความมีเรา(อุปาทาน) เพื่อคลายการยึดมั่นครับ คือ กำหนดให้เห็นชัดว่า "สักแต่ว่าเป็นรูปที่เกิดมาจากเหตุปัจจัยหลายอย่าง"

แลกเปลี่ยนความคิดครับ

ป.ล.ช่วงนี้อาจารย์มีหนังสือออกใหม่หรือไม่ครับ ติดตามงานอาจารย์อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท