ความสำคัญของการเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์


 

ความสำคัญของการเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์

Ico64_seed444Ico64_seed222Ico64_seed7777Ico64_seed555Ico64_seed444Ico64_seed222Ico64_seed7777Ico64_seed555

 

          ปัจจุบันชาวไร่ชาวนา หรือเกษตรกรของเราแทบจะไม่ได้เป้นเจ้าของปัจจัยการผลิตเลย เช่น ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เครื่องมือหว่านไถ ปุ๋ยและสารกำจัดแมลง เครื่องมือเก็บเกี่ยว  และเมล็ดพันธุ์  เป็นต้น

          การไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต นับว่าเป็นความล้มเหลวของการประกอบอาชีพของเกษตรกรบ้านเรา  กล่าวได้ว่านี่คือสิ่งบ่งชี้การสูญสลายของอาชีพเกษตรกรรมรายย่อย  ดูเหมือนไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเท่านั้น  แต่มันกำลังระบาดไปทั่วในประเทศต่าง ๆที่คนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร

         ปรากฏการณ์เช่นนี้ มีผลร้ายต่อเกษตรกร และมีผลร้ายต่อมนุษย์ทุกคน และโลกของเราด้วย

         คนโดยส่วนใหญ่มักมองข้ามพิษภัยอันตรายจากปรากฏการณ์นี้  แม้ตัวผู้เขียนเอง ก็ไม่เคยรู้และรู้สึกมาก่อน

         เมื่อวันที่ 19 นี้รายการ กินอยู่ คือ ได้เสนอการสัมภาษณ์ คุณโจน จันได ผู้ที่เป็นที่รู้จักกันจากการเป็นคนนำเอาบ้านดินมาเผยแพร่ในบ้านเรา  คุณโจน จันไดได้พูดถึงสถานการณ์การคุกคามด้านเมล็ดพันธุ์ของกลุ่มทุน และได้ชี้ให้เห็นมหันตภัยจากการผูกขาดการเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์พืชของกลุ่มทุนที่มีต่อมนุษย์และโลกไว้อย่างน่าใจหาย ผู้เขียนได้บันทึกไว้ และใคร่นำมาเสนอในบล็อกนี้ เพื่อขยายความคิดนี้สู่การใคร่ครวญไตร่ตรองสำหรับผู้รู้และผู้สนใจ อยากให้ช่วยกันพิจารณาว่ามันมีภยันตรายร้ายแรงเช่นนั้นจริงหรือ ถ้าจริง เราทั้งหลายไม่ควรจะอยู่นิ่งเฉย  โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนาควรเป็นคนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องรักษาอำนาจของการเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกของตนเอาไว้

         โปรดฟังและชม ความเห็นของ คุณโจน จันได เกี่ยวกับเรื่องนี้ จากคลิปข้างล่างนี้ ครับ

 

 วิกฤติเมล็ดพันธุ์ 1

 

 

          วิกฤติเมล็ดพันธุ์ 2

 

            ขอให้ทุกท่านมีความสุขนะครับ

            สวัสดีครับ

 

                            Ico64_seed444Ico64_seed222Ico64_seed7777Ico64_seed555Ico64_seed444Ico64_seed222Ico64_seed7777Ico64_seed555


paaoobtong
22/11/53
03:34

 

หมายเลขบันทึก: 409685เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2010 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ไม่มี..คำว่า.."สาย"..หากเราทุกๆคน..พยายามเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมของเราคืออะไร..และ.."..เริ่มต้น.."กับสิ่งที่คุณโจน..จันใด.เสนอแนะไว้..มิใช่แต่พืชพันธุ์..หากแต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่วิกฤตอยู่ในเวลานี้...หากว่า..เราถอยหลังกันคนละก้าว..เก้าต่อไปอาจจะมั่นคงได้มากกว่า..ยายธี

สวัสดีค่ะอาจารย์

        กล่องคอมเม้นท์สวยจังเลยค่ะ   ครูอิงเคยสงสัยนะคะ ว่าทำไม มะละกอ และบวบที่ปลูกไว้ โดยการซื้อเมล็ดพันธุ์เป็นซอง  พอบวบและมะละกอโต ก็จะเลือกลูกงาม ๆ เพื่อเอาเมล็ดพันธุ์  คิดว่าไม่ต้องไปซื้อใหม่ แต่ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ค่ะ ตอนหลังเลยไปถามเกษตรกรที่ปลูก  เขาก็อธิบายให้ฟัง สรุปว่าถ้าจะปลูกใหม่ ก็ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ค่ะ อาจารย์สบายดีนะคะ

        ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ

                อิงจันทร์ 

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ถ้าอาจารย์ต้องการให้พื้นหลังเป็นสีดำทั้งหมด  ไม่มีภาพหัวบล็อกซ้อนกัน
  • ลองนำ โค้ดข้างล่างนี้ ไปแปะไว้ที่ส่วนบนสุด ใน css นะคะ
  • #screen-wrapper,
    #screen-wrapper #bottom {background-image: none;}
  • พื้นหลังก็จะเป็นสีดำทั้งหมดค่ะ  เหมือนบล็อกนี้ของครูอิงไงคะ
  • http://gotoknow.org/blog/yodsapon/409551

เมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์ ตัวเกษตรกรเอง ก็ต้องเลือกที่จะใช้

เมล็ดพันธุ์ ที่มีอยู่อย่างจำกัด(จากที่จำเป็นต้องไปซื้อเค้ามา) ให้เกิดผล สูงสุด

 

ไม่หว่านทิ้งขว้าง ไม่โยนมั่วซั่ว .......ให้ข้าวจมน้ำตาย ให้นกหนู กิน ให้เบียดแย่งแสง ไม่พร้อมเติบโต

เป็นแม่พันธุ์ ข้าวลีบ ข้าวดีด ข้าวเด้ง ผลลัพธ์ จาก การส่งเสริมการ "ทำนาหว่านเมล็ดข้าว"แก้ปัญหาแรงงานขาดเเคลน และลดต้นทุนทำนา ตั้งแต่อดีต.

....มาตอนนี้ส่งเสริม ทำนาโยน "ต้นข้าว" อีก บอกหนี อีดีด อีเด้ง  ก็เป็นผลพวงมาจากจนาหว่านที่เคยส่งเสริม ....

ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ...

 

เรื่องนี้ต้องตั้งคำถามให้ "จบกระบวนการ" ครับ ระยะยาวที่ ...ส่งเสริมเป็นเช่นไร

1.การใช้เมล็ดพันธุ์ มีความแน่นอนหรือไม่ จะมากขี้นหรือไม่

2.การกระจายตัว มีความแน่นอน เป็นระเบียบหรือไม่ 

3.ดินดีหญ้าต้องขึ้น อยู่แล้ว ทำยังไง ใช้ยา หรือใช้คน ใช้เครืองจักรแทนได้หรือไม่

4.แสงเเดด ...ทั้วถึงหรือไม่

บอกว่า ลดต้นทุน(จริงหรือไม่)  สร้างผลงานวันนี้ จะเป็นภาระระยะยาว??? ใครรับผิดชอบ ครับ

เพราะ ตั้งแต่ชาวนาไทยหันจากนาดำ มา "ทำนาหว่าน" ชาวนาไทยจนลง วิถีชีวิตเปลี่ยนไป๊ จากคนทำนาเป็นเจ้าของนา-> มาเป็นผู้จัดการนาเช่า เเห่งประเทศไทย ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดหญ้า ศัตรูพืชเพิ่มขึ้น  

เป็นอัปลักษณะการพัฒนาการเกษตรไทย = ทำผลงานปัจจุบัน สร้างปัญหาให้อนาคต

 

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ถ้าจำเป็นต้องลงทุน ....ต้องคิดยาว ๆ ครับ

 

จ่ายแล้วหมดไป ="ค่าใช้จ่าย"

จ่ายแล้วกลับมา = "การลงทุน"

 

ภาพประกอบ

หลักการพื้นฐาน การเติบโตของข้าว

นำความขยันกลับมาสู่ท้องนา "ลงแขกถอนหญ้า" ทำเเปลงข้าวพันธุ์ ได้ข้าวบริสุทธิ์

กำจัดหญ้า พวกนอกแถว นอกกอ ไม่เอาข้าวปนพันธุ์ทำได้เอง .......

.ปีนี้ใช้ได้ปีหน้ากลับมาใช้ได้อีก= การลงทุน  

นาหว่าน นาโยน = ไร้ระเบียบ ถึงเวลา ที่หญ้าขึ้น จัดการอย่างไร(นาใครหญ้าไม่ขึ้น ให้เลิกทำนา ครับ) หนีไม่ออกครับ กับ

ภาพชินตา ........ฉีดยาหญ้า=ข้าวเฉา = ใส่ปุ๋ย=ข้าวเขียวอวบ=แมลงลง=ฉีดยา=ตาย 

เรื่องจริง  ..................

ขอบคุณครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

1.Aging Society จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป เมื่อ "อายุ ไม่เข้าใครออกใคร เกษตรกรต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนแก่"

http://gotoknow.org/blog/supersup300/407780

2.ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว S.R.I “Achieving More with Less: A new way of rice cultivation" “ผลิตให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง: หนทางใหม่ในการเพาะปลูกข้าว”

http://gotoknow.org/blog/supersup300/405066

3.ทางเลือกในการผลิตข้าว "เมื่อการทำนา คือ การลงทุน ที่ไม่รู้ผลตอบแทน"

http://gotoknow.org/blog/supersup300/404456

4.การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ก้าวสู่เกษตรอินทรีย์ ในไต้หวัน ญี่ปุ่น

http://gotoknow.org/blog/supersup300/404338

5.Q:ประสิทธิภาพการจัดการเเปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว อยู่ที่ไหน

A:อยู่ที่ "ทัศนคติ" ที่มีต่อฟางข้าว และเพื่อนร่วมโลก

http://gotoknow.org/blog/supersup300/408749

 

 

สวัสดีครับยายธี

  • ผมเห็นด้วยกับยายธี ทุกประการเลยครับ
  • แต่มีคนที่คิดถอย หรือ จะถอย น้อยเหลือเกิน โดยเฉพาะในหมู่เกษตรกรส่วนใหญ่จะไหลไปตามประแส
  • แม้แต่ผมเองที่ก็พยายามเงี่ยหูฟัง และ จดจ้องอยู่เสมอ ๆ กว่าจะรู้ และรู้สึก วันเวลาก็พ้นผ่านมามากแล้ว
  • ซึ่งก็สุดแสนเสียดาย วัน เวลา ที่ผ่านมา
  • ปัจจุบันได้ทำบางสิ่งบางอย่างไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยมาก  แต่ก็คิดว่ายังดีที่ไม่ได้ทำอะไรเลย หรือทำผิดต่อไปอีก
  • ขอให้ยายธี มีความสุขครับ
  • สวัสดีครับ

 

paaoobtong
24/11/53
08:48

 

สวัสดีครับครูอิงจันทร์

  • เช่นกันครับ ระลึกคิดถึงครูอิงเสมอ ๆ
  • เขาไปในblog ของครูครูอิงบ่อย ๆ เพียงแต่ไม่ได้ 'ment เท่านั้นเอง
  • ผมเอาโค้ดที่ครูอิงให้มาไปปรับปรุง css ของผมแล้ว  ขอบคุณมากครับ
  • ขอให้ครูอิงมีความสุขนะครับ
  • สวัสดีครับ

paaoobtong
24/11/53
08:57

 

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

  • ผมเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายด้วยคนนะครับ
  • และขออนุญาตเป็นสมาชิกนิสัยไม่ค่อยดีสักหน่อย คือ
  • อยากจะรบกวนอาจารย์ช่วยเก็บเมล็ดนมวัวส่งมาให้หน่อย จะขอบพระคุณมากเลยครับ
  • ผมจำได้ว่าอาจารย์เคยลงรูปภาพของ ผลนมวัว ไว้ครั้งหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าอาจารย์เคยบอกว่าที่เมืองกาญจน์พอหาได้ หรือเปล่า???????
  • ผมเคยกินตอนเด็ก ๆ มีคนเก็บให้กินแถว ๆบ้านผมนี่แหละ ปัจจุบันเขาตัดทิ้งไปแล้ว  นึกอยากปลูกไม้แบบ ๆนี้ไว้ให้ลูกหลานได้รู้จัก
  • หากพอหาได้ กรุณาหน่อยนะครับ  ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ
  • ขอให้อาจารย์ขจิตมีความสุขนะครับ
  • สวัสดีครับ

paaoobtong
24/11/53
09:10

สวัสดีครับคุณต้นกล้า

  • บันทึกของคุณต้นกล้าทำให้ผมได้เรียนรู้อะไร ๆอีกเยอะเลย
  • เห็นผืนนาที่ประจงปักดำอย่างในรูป ทำให้เห็นว่าหัวใจของคนปักดำช่างงดงาม  เต็มเปี่ยมด้วยความปรารถนาดี และความพากเพียร
  • และทำให้อยากกลืนกินข้าวจากเมล็ด และรังรวงจากต้นข้าวแบบนี้ มีความรู้สึกไว้วางใจว่ามันคงไม่ปนเปื้อนสารพิษจากยาปราบศัตรูพืช หรือ จิตใจที่มุ่งแสวงหากำไรจากผู้บริโภคอย่างไร้เหตุผล
  • ได้ทราบว่าคุณ ต้นกล้า เป็นคนประจวบฯ และเคยมาเรียนที่เพชรบุรี เป็นคนหนุ่ม ที่ร่ำเรียนมาในด้านที่จะช่วยยกระดับอาชีพของชาวเกษตรได้ หวังว่าคงได้มีโอกาสได้ร่วมมือกันในการทำอะไร ๆที่เป็นประโยชน์กับท้องถิ่นบ้านเราบ้าง
  • ขอให้คุณต้นกล้า จงมีความสุขนะครับ
  • สวัสดีครับ

paaoobtong
24/11/53
09:30

ยินดีครับ อาจารย์

เส้นทางผ่านกลับบ้าน ต้องผ่านเพชรบุรี

ก็มีคุย ๆ ไว้บ้างกับอาจารย์ ศรชัย เย็นเปรม 

อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ตอนม.ปลาย  ครับ

หวังว่าจะได้ร่วมงานกันในโอกาสต่อไปครับ

 

มาอีกรอบค่ะอาจารย์  มาติดตามชมความโดดเด่นของภาพหัวบล็อกค่ะ ดูเด่นขึ้นจริง ๆ นะคะ 

สวัสดีครับคุณต้นกล้า

  • ขอขอบคุณในน้ำใจที่ได้แวะไปอวยพรปีใหม่ให้
  • และก็ขอให้คุณต้นกล้าจงประสบความสุข ความเจริญในชีวิต  ปรารถนาสิ่งใดก็ขอให้สมดั่งปรารถนา และปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง
  • สวัสดีครับ

paaoobtong
06/01/54
07:54

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท