กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐมาใช้ประกอบการเขียนตำรา


กรณีศึกษา :

ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นในการเขียนตำราจะสามารถนำมาใช้ได้มากน้อยเพียงใด ?

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

"...ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้น หากมีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์ขึ้น หน่วยงานของรัฐนั้นย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการเขียน ต้องอาศัยข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๒ วรรคสอง (๓) คือ นำข้อมูลนั้นในปริมาณที่ไม่มากเกินสมควรมาประกอบการเขียนตำรา โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลนั้น การรับรู้ในที่นี้คือ การอ้างอิง

ข้อที่ต้องระมัดระวัง คือ หากเป็นกรณีที่นำข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบการเขียนตำรา แต่ไม่มีการอ้างอิง กรณีนี้ถือได้ว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะไม่มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลนั้น

นอกจากนั้น หากนำข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบการเขียนตำรามากจนเกินไป เช่น ข้อมูลมีจำนวน ๕๐ หน้า นำทั้ง ๕๐ หน้ามาประกอบการเขียนตำรา โดยตำรานั้นรวมกับข้อมูลที่เอามาจาหน่วยงานของรัฐมีความหนารวมเพียง ๖๐ หน้า เช่นนี้ย่อมถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

อนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นลักษณะการจัดทำรายงานตามอำนาจหน้าที่เพื่อเผยแพร่ เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จัดทำเผยแพร่ตามอำนาจหน้าที่ เป็นต้น เช่นนี้จะเข้าลักษณะเป็นรายงานของทางราชการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ตามมาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ผู้เขียนย่อมนำมาเขียนประกอบตำราได้ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่โดยปกติมักจะมีการอ้างอิงว่า เป็นข้อมูลที่จัดทำโดยหน่วยงานใด เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้เขียนเป็นผู้จัดทำข้อมูลนั้น ..."

.....................................................................................................................................

 

ดังนั้น การใช้ข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐมาใช้เขียนตำราควรเขียนอ้างอิงให้ถูกต้อง และใช้ข้อมูลให้พอเหมาะพอควร ไม่ใช่ ใช้เกือบหมดเล่ม แบบนี้ละเมิดลิทธิ์แน่ ๆ ครับ

ขอบคุณครับ

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (16 มกราคม 2552).

 

หมายเลขบันทึก: 235633เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2009 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ติดตามอ่านทุกบันทึกเลยครับ เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนทำงานแบบผมที่เกี่ยวข้องกับ เอกสาร งานวิชาการ ตลอดเวลา

ล้านคำขอบคุณแล้วครับ :)

ขอบคุณมากครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :)

ตอนแรก ๆ ผมว่าจะเขียนเรื่องนี้ไม่มากมายครับ แต่ยิ่งเขียน เหมือนกับว่า ต้องเขียนให้ครบถ้วนในปัญหาพิเศษเหล่านี้สักหน่อย โดยอ้างอิงจากหนังสือของอาจารย์มานิตย์ พร้อมการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจตามหลักกฎหมาย ครับ

เหลืออีก 1 บันทึก 1 กรณีศึกษา ครับคุณเอก ...

หลังจากนั้นผมตั้งใจจะเข้าไปปรับปรุงบันทึก "กฎหมายลิขสิทธิ์" ที่ผ่านมาทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ครับ อาจมีกราฟิกเพิ่มขึ้น หรือ ปรับวิธีการเขียนให้เข้าใจง่ายขึ้น ครับ

ขอบคุณจากใจ ที่ทำให้บันทึกเรื่องราวนี้อบอุ่นเสมอ ครับ :)

ขอบคุณนัก ๆ ครับ คุณ พิมญดา ศรีสวัสดิ์

อำเภอแม่อาย คงหนาวกว่า อำเภอเมือง นะครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท