กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำ "ภาพ" มาประกอบการเขียน


ในการเขียนตำรับตำรา หนังสือต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเขียนบันทึกบน BLOG นั้น เราอาจจะต้องใช้ "ภาพ" ประกอบคำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เนื้อความมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้เขียนดาวน์โหลดภาพจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือสแกนมาจากหนังสืออื่น มาใช้ประกอบการเขียนผลงานได้หรือไม่ ?

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ "เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ว่า

 

"... กรณีนี้ต้องพิจารณาและระมัดระวังว่า ภาพที่ผู้เขียนจะนำมานั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ หลักการในพิจารณา คือ หากภาพนั้น เป็นภาพที่มีการถ่ายโดยไม่ได้สร้างสรรค์ใด ๆ ภาพนั้นก็ไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น ภาพโต๊ะ, ภาพเก้าอี้ อาคาร เป็นต้น แต่หากภาพนั้นมีการใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ เช่น ผู้ถ่ายได้ใช้ความพยายามอดทนเฝ้ารอเพื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก หรือมีการจัดแสง ปรับแต่งภาพเป็นพิเศษ ภาพที่สร้างสรรค์เช่นนี้จะเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์

ดังนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ การเอาภาพเขามาประกอบการเขียนผลงาน จำต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ส่วนภาพนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ ย่อมสามารถนำมาใช้ประกอบการเขียนได้ โดยไม่จำต้องขออนุญาต

นอกจากนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ แม้ผู้เขียนจะนำภาพนั้นจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือนำมาจากที่ใดก็ตาม แล้วนำมาตกแต่งดัดแปลงจนไม่เหมือนของเดิม ในกรณีนี้ ยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเข้าข่ายดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ ..."

 

ภาพที่อยู่ในระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งต่าง ๆ มีความยากลำบากที่เราจะทราบว่า ภาพใดผ่านการสร้างสรรค์มา

วิธีการที่ปลอดภัยที่สุด คือ ลงมือถ่ายภาพเองเลย ... ถ่ายเอง ก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จะตกแต่งดัดแปลงสักแค่ไหน ก็ภาพเราเองครับ

 

ภาพนี้ถ่ายเอง ลิขสิทธิ์ก็ตกอยู่ผมเอง ครับ ...

(จากบันทึก ชมภาพดอกไม้เมืองหนาว "งานโครงการหลวง 2551" จังหวัดเชียงใหม่ )

 

 

อีกประการหนึ่ง ... การถ่ายภาพเอง ต้องระมัดระวังการถ่ายภาพโดยเจ้าของเขาไม่ยินยอมด้วย เช่น เขาติดป้าย "ห้ามถ่ายภาพ" เอาไว้ แต่เราดันไปถ่าย แบบนี้อาจจะถูกฟ้องร้องว่าละเมิดลิขสิทธิ์เขาได้นะครับ เพราะร้านค้าบางร้าน กว่าจะจัดมุมร้านให้ได้ดี อาจจะต้องผ่านกระบวนการค้นคว้าวิจัยและสำรวจความต้องการมาหลายครั้ง หากต้องการภาพนั้นจริง ๆ ควรขออนุญาตจากเจ้าของเขาก่อนครับ และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ควรเขียนขอบคุณไว้ใต้ภาพดังกล่าวด้วย

 

 

กรณีศึกษา : การละเมิดลิขสิทธ์ "ภาพถ่าย"

 

ลองนำความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ในกรณีนี้ไปใช้พิจารณาการเขียนผลงานของตัวเองดูนะครับ อันนี้ ควรรวมถึงการเขียนบันทึกบน BLOG ด้วยครับ

 

.....................................................................................................................................

ความรู้เพิ่มเติม จาก คุณ Top

 

เพิ่มเติมนิดหน่อย จากประสบการณ์ของผู้เคยฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาพที่มีลิขสิทธิ์

-------------------------------------------

ภาพที่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ (สัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์)

1.ในภาพนั้นระบุเป็นเครื่องหมาย (C)

2.ในภาพนั้นระบุชื่อเจ้าของผลงาน หรือเว็บไซต์ที่มาของภาพนั้น

3.ในภาพนั้นถูกประทับด้วยลายน้ำ (ในบางครั้งอาจเป็นโลโก้เจ้าของผลงานขึ้นไว้จาง ๆ)

!! แต่ในบางกรณี ภาพที่มีลิขสิทธิ์อาจไม่ระบุสัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์ข้างต้นใด ๆ ไว้เลย ทำให้ผู้เขียนบางรายนำภาพเอาไปเผยแพร่ต่อสาธารณะก็ถูกฟ้องร้องจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ได้เหมือนกัน

พฤติกรรมใดบ้างที่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์

-------------------------------------------------

การนำส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานที่มีลิขสิทธิ์เหล่านั้นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของผลงาน ไม่ว่าจะ

- นำไปเผยแพร่โดยเป็นผลงานต้นฉบับ

- นำไปเผยแพร่โดยได้ดัดแปลงผลงานนั้น

ตัวอย่างพฤติกรรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์

--------------------------------------------------

(พฤติกรรมที่กระทำโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของลิขสิทธิ์)

1. นำภาพที่มีลิขสิทธิ์เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

2. ตัดต่อวิดีโอโดยปรากฎผลงานที่มีลิขสิทธิ์นั้นอยู่ด้วย

3. นำภาพจากแผ่นซีดี ฯลฯ ที่คุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ อัปโหลดเป็นวีดีโอ หรือตัดต่อออกมาเป็นรูปภาพ (เช่น นำภาพยนตร์ในซีดี ฯลฯ มาโพสต์ในอินเทอร์เน็ต)

4. นำภาพที่ถ่ายจากกล้องวิดีโอส่วนตัวที่ถ่ายทำการแสดงคอนเสิร์ตมาโพสต์เผยแพร่ ในโลกอินเทอร์เน็ต (บางคอร์นเสิร์ตที่ไม่อนุญาติให้ทำการบันทึกภาพใด ๆ หากผู้ใช้นั้นได้บันทึกภาพและนำไปเผยแพร่จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์)

5. การนำผลงานหรือสัญลักษณ์ที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ซ้ำในเชิงการค้า

ผลงานในบ้างที่ไม่ถูกคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์

-----------------------------------------------------

1.ผลงานที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างง่าย เช่น สี่เหลี่ยม ฯลฯ

2.ผลงานที่มีแต่ตัวอักษรเรียบ ๆ เช่น ตัว M สีแดงในพื้นหลังสีดำ

ฯลฯ

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (20 ธันวาคม 2551).

 

หมายเลขบันทึก: 230870เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)
  • ขอบคุณมากค่ะได้ความรู้มากๆเลยคะเพราะนกเองก็เป็นอีกคนที่กังวลเรื่องนี้มากค่ะแต่หากจะหาภาพจากไหนก็จะต้องดูว่าภาพสงวนลิขสิทธิ์หรือไม่ซึ่งในแต่ละเวปไซท์ส่วนใหญ่เขาก็จะบอกและมักจะทำสัญญาลักษณ์ไว้ถ้าเป็นลิขสิทธิ์
  • ขอบคุณค่ะ

@ กราบขอบพระคุณสำหรับข้อมูลครับ

  • มาเยี่ยมค่ะครู
  • ขอบคุณสำหรับความรู้
  • ดูเหมือนกฎหมายมียุบยับจนชาวบ้านตามไม่ทันเลยนะค่ะ
  • ไม่รู้บ้านเมืองอื่นเขา...จะเหมือนบ้านเมืองเราแค่ไหน
  • ขยัน...ขยัน...ขยัน....ตั้งกฎ
  • แทนที่จะขยัน...ขยัน...ขยัน....สร้างคนดีๆให้มากขึ้น....
  • มากขึ้น...มากขึ้น....มากขึ้น
  • จะได้ไม่ต้องมีกฎมากมาย
  • รึว่าเราตามก้นบ้านอื่นเมืองอื่นจนลืมตัวไป.....
  • ขอบคุณ อาจารย์ ครับ
  • ผมก็พยายามระมัดระวังเรื่องนี้เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • กรณีนำภาพจากแหล่งที่อนุญาตให้ใช้ในบลอกที่ไม่หวังผลกำไรอย่าง G2K น่าจะได้ (ไหมครับ)
  • ผมคิดว่า ในสังคมเรายังขาดแคลนบุคลากรในการสร้างภาพเพื่ออธิบายเนื้อหาทางวิชาการ หลายครั้งต้องอาจารย์ต้องยืมจากเน็ตหรือจากหนังสือไปประกอบในตำราครับ

สวัสดีครับ คุณ เพ็ญศรี(นก) :)

อากาศที่พิด'โลก เป็นไงบ้างครับ หนาวเหมือนภาคเหนือหรือยังครับ :)

เรื่อง "ลิขสิทธิ์" มีเรื่องที่น่าเหนื่อยใจสำหรับคนไทยครับ

เพราะ "ตามสบาย คือ ไทยแท้" มานานแล้ว

ขอบคุณครับ คุณ ไทบ้านผำ ที่มาเยี่ยมเยือน ยินดีครับ :)

สวัสดีครับ คุณ หมอเจ๊ :)

ไม่ได้คุยกันนานนะครับ สบายดีหรือไม่ครับ

เรื่อง "ลิขสิทธิ์" เป็นเรื่องที่เรียกว่า SUPER ยุบยิบ ครับ

ละเอียด ละเมียด และ ละไม มาก ๆ ครับ

"ขยันสร้างคนดี" ก็ 1 ใน หน้าที่ผมน่ะครับ 555

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ พันคำ :)

"แหล่งภาพ" ที่ได้ให้อนุญาตมาภาพไปใช้ได้มีมากมายครับ และไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์แน่นอน เพราะเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตอย่างเป็นทางการแล้วครับ

แต่บางแหล่ง ก็บอกว่า อนุญาตเฉพาะงานไม่แสวงหากำไร แต่หากเป็นงานที่แสวงหากำไรก็ต้องพูดคุยกันอีกรอบ ครับ

"บุคลากรสร้างภาพในงานวิชาการ" ขาดแคลนครับ

มหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง มักจะรับตำแหน่ง "นักวิชาการช่างศิลป์" เพื่อทำงานนี้ครับ แต่ขอบอกว่า น้อยมาก แบบนับคนได้ ส่วนใหญ่ ARTIST นี่ เค้าต้องชอบทำงานอิสระครับ

วงการแพทย์ วงการทางวิทยาศาสตร์ ต้องการใช้ "ภาพ" เพื่ออธิบายความหมายของทฤษฎีที่เป็นนามธรรมมาก ๆ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของการทำความเข้าใจเนื้อหานั้น ๆ

แต่ "กลับไม่มีคนวาดภาพเหล่านั้น" ... ทำอย่างไรดีครับ ประเทศไทยจึงจะมีบุคลากรลักษณะนี้ :)

นอกจาก "ลิขสิทธิ์" แล้ว ยังได้ประเด็นน่าคิดใหม่ ๆ มาให้คิดอีกครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ จะระมัดระวังครับ

สวัสดีครับ น้อง บีเวอร์ :)

นับรุ่นพี่รุ่นน้องกันไม่ได้เลยนะครับ ห่างกันเยอะเกิน 555

ทำงานด้านสื่อ ก็ต้องระมัดระวังทุกฝีก้าวทีเดียวเชียวแหละ

ขอบคุณครับ

  • ธุ  อาจารย์วสวัตดีมารค่ะ..

บางทีต้อมก็งงๆ กับคำว่า "ลิขสิทธิ์"  เพราะไม่รู้ว่าระดับไหนถึงจะควรหรือไม่ควร  ใช่หรือไม่ใช่  อย่างไร  อิอิ  แต่สำหรับตัวเองต้อมพยายามที่จะระวังให้มากเท่าที่สุดค่ะ

  • ขอขอบคุณค่ะ
  • เรื่องลิขสิทธิ์ มาแรงนะคะ
  • เมื่อวานไปเจอดอกไม้สวย  ไม่กล้าถ่ายภาพและไม่ขออนุญาตถ่ายภาพค่ะ
  • แต่เจ้าของใจดี..บอกว่ามีกล้องหรือมีโทศัพท์มาให้ถ่ายภาพไปดูได้
  • น่ารักจังค่ะ..แต่ก่อนจะออกจากร้าน  รู้สุกอายค่ะ
  • เพราะร้านนี้มีแต่ต้นไม้ราคาแพงไม่เหมาะกับฐานนะของคนอย่างครูคิม  สักนิดเดียว
  • ลิขสิทธิ์ทางวิชาการ...ได้ข่าวว่ามีการฟ้องร้องกันแล้วนะคะ  คัดลอกวิทยานิพนธ์ไปส่งเป็นผลงาน..ท้อใจจังค่ะ

ดีจ้า หนูต้อม เนปาลี :)

กำลังค้นคว้าหาความจริง กับเรื่อง "ลิขสิทธิ์" อยู่น่ะครับ

หนูต้อม ซึ่งเป็นนักเขียน ย่อมต้องกระทบกระเทือนอย่างมากทีเดียว

งานที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน ทางกฎหมายถือว่า งานนั้นเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ ครับ

โปรดติดตามบันทึกเกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์" บันทึกต่อ ๆ ไป ครับ :)

สวัสดีครับ คุณ ครูคิม :)

ผู้ที่ทำผลงานวิชาการเป็นผู้มีได้ควรรู้ "กฎหมายลิขสิทธิ์" เป็นอย่างมากครับ เพราะกฎหมายบอกแล้วว่า "ความไม่รู้" ใช้เป็นข้ออ้างมิได้

การฟ้องร้องกัน ฟ้องกันถึงศาลฎีกาเลยครับ เพราะต่างฝ่ายต่างคิดว่าตัวเองไม่ผิด ศาลจะพิจารณาถึงรายละเอียดของคดีนั้น ๆ ไปครับ

อย่างไรลองติดตามต่อนะครับ อาจจะมีกรณีศึกษามาให้อ่านอีก :)

อย่าเพิ่งท้อใจครับ ทำได้ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

  • อาจารย์วสวัตดีมารคะ..

เคยได้ยินได้ฟังเรื่องการ "ละเมิดลิขสิทธิ์" มาหลายครั้งหลายครา   และตัวต้อมก็เจอเข้าให้จังๆ เมื่อตอนที่มีเวบเป็นของตัวเอง (ณ บัดนี้ด้วยเหตุผลนานานัปการก็ได้ปิดตัวไปแล้ว)   เคยมีใครก็ไม่รู้ลอกงานเขียนของต้อมมาเต็มๆ แถมเป็นชิ้นที่ต้อมก็เอาลงไว้ในเวบนั้นอีกต่างหาก   เขา(หรือเธอก็ไม่รู้) ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเรื่องเสียใหม่   เจอก็อึ้ง..ง..ง

ใช่ครับ หนูต้อม เนปาลี เคยมีคนเขียนไว้ใน Pantip.com ก็หลายคน มีหลายคนได้คัดลอกไปเลย แล้วเปลี่ยนชื่อ ฟ้องศาลได้ครับ หากรวบรวมหลักฐานได้ครบ ฟ้องได้ทั้งคดีแพ่งและอาญา ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

  • ตามมาเก็บเกี่ยวความรู้..อีกละ
  • คิดเหมือนกันค่ะเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ (กลัวถูกฟ้อง..อิ อิ)
  • เวลานำภาพ หรือความรู้ที่นำเสนอ มาจากอินเตอร์เน็ตหรือที่อื่น ๆ
  • ก็จะอ้างอิงไว้ด้วย..แบบนี้ใช้ได้รึเปล่าคะ
  • ที่มา : ....
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณพยาบาล สีตะวัน :)

การหาช่องกฎหมายฟ้องคนเขียนบันทึก ไม่ยากเลยครับ

ตามเนื้อหาที่อยู่ในบันทึก

"... หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ การเอาภาพเขามาประกอบการเขียนผลงาน จำต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ส่วนภาพนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ ย่อมสามารถนำมาใช้ประกอบการเขียนได้ โดยไม่จำต้องขออนุญาต ..."

ที่กล่าวมาเป็น "ภาพ"

หากเป็น "ความรู้" ก็ต้องดูว่า ยกมาทั้งหมดเลยหรือไม่ หากยกมาทั้งหมด แล้วเขียนอ้างอิงไว้ ก็ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ ครับ เพราะไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์งานเอง

ตรงจุดนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจอย่างยิ่งครับ โดยเฉพาะการเขียนบันทึก แล้วอ้างอิงมาจากที่อื่น

คงเตรียมสำรองข้อมูลไว้ได้เลยครับ อาจจะผิดเข้าสักวัน

ขึ้นอยู่กับเจ้าของลิขสิทธิ์เขาจะเห็นว่า เราเผยแพร่เพราะอะไร แสวงหาอะไร แบบนี้อ่ะครับ

ระบบการเขียนบันทึกทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนไปในอนาคต ครับ ด้วยคำว่า "ลิขสิทธิ์" นี่แหละ

โปรดติดตามอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ "ลิขสิทธิ์" ต่อไปนะครับ มีอะไรน่าเรียนรู้อีกเยอะเลย

ขอบคุณมากครับ :)

น่าคิดนะคะ

ถ้างั้นในผลงานวิชาการที่อ้างอิง..แล้วมีบรรณานุกรมก็ใช้ไม่ได้รึเปล่าคะ

หนังสือบางเล่ม ..เขียนชื่อเจ้าของหนังสือ แล้วบอกว่า...ผู้รวบรวม

ก็แสดงว่าเอาผลงานจากที่อื่นมารึเปล่า..

แล้วจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

ปล. ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง..หากเราอ้างอิงมา ..แล้วมองว่าเราช่วยเผยแพร่ผลงานดี ๆ จะได้หรือไม่

อืม..กลัว ๆ ๆ

สวัสดีครับ คุณพยาบาล สีตะวัน :) v v

กรณีที่ 1 ... ผลงานวิชาการ แล้วอ้างอิงอย่างถูกต้องนั้น

จะถือว่า ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หากการอ้างเนื้อหานั้น ไม่ได้ยกของคนอื่นเขามาเกือบหมด หรือทั้งเล่ม ครับ เช่น เขียนตำรา 100 หน้า แต่ปรากฎว่า ลอกของคนอื่นเขามา 90 หน้า แบบนี้ ศาลตัดสินว่า ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นแน่แท้ ครับ

การเขียนผลงานวิชาการ ควรเป็นการนำความรู้ เก็บความ ประมวลผล แล้วผู้เขียน เขียนด้วยความเข้าใจ พร้อมกับให้เกียรติผู้ที่เราขอยกเนื้อหา แนวคิดของคนอื่นเขามาด้วยการอ้างอิงในเนื้อหา และบรรณานุกรม ครับ

กรณีที่ 2 ... เป็นผู้รวบรวม หรือ บรรณาธิการของหนังสือ

เป็นการนำบทความของคนอื่น ๆ มารวบรวมไว้ในเล่มเดียวกัน แบบนี้ "ผู้รวบรวม" ต้องขออนุญาตเจ้าของบทความนั้น ๆ เสียก่อน ครับ จึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่ขอ เจ้าของบทความจะฟ้องว่า เราละเมิดลิขสิทธิ์ ได้

การเผยแพร่ หากเจ้าของลิขสิทธิ์มีความเข้าใจในเจตจำนงของผู้เผยแพร่ ก็ไม่มีปัญหาครับ หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ได้คิดอย่างนั้น สงสัยจะมีปัญหาแน่ ๆ ครับ

ไม่ทราบว่า ผมตอบพอใช้ได้ไหมครับ ... ไม่ใช่นักกฎหมายหนา :)

ขอบคุณครับ เดี๋ยวผมนำเรื่องลิขสิทธิ์บทความมาเล่าให้ฟังครับ

เหนื่อยใจเลยล่ะ คราวนี้ :)

 

มาเรียนรู้ ขอบคุณค่ะ

ตามไปอ่าน กระทู้ : ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ ... ผมเอาความผิดของตัวเอง มาให้ดูเป็น case study แล้วค่ะ ได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเลยค่ะ เดี๋ยวต้องแวะไปท่องชุมชน เพื่อแนะนำเราๆให้ระวังการนำรูปมาใช้ประกอบในเว็บไซต์แล้วล่ะค่ะ ขอบคุณนะคะ

รับทราบครับ น้อง เก๋น้อย :) ... ยินดีครับ

อยากทราบว่ามีเว็บไซต์ไหนบ้างค่ะที่เราสามารถนำรูปภาำพที่ไม่จดลิขสิทธิื์์ืมาใช้ในการทำหนังสือได้ค่ะ อยากได้รูปเกี่ยวกับสุขภาพนะค่ะ

ลองค้นจาก Google ดู ดีไหมครับ คุณนูตา ;)...

พิมพ์คำว่า Free+Picture+Health

ในเมื่อโลกอินเตอร์เน็ตคือห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนให้มากที่สุด แต่ผู้ใช้กลับต้องมานั่งกังวลว่า ข้อมูลที่เราดึงมาเขาจะสงวนลิขสิทธิ์หรือเปล่า ภาพที่เรานำมาประกอบ จะโดนฟ้องหรือเปล่า กฏหมายคุ้มครอลิขสิทธิ์งมันก็ดีอยู่หรอก

แต่กลัวว่ามันจะเป็น ตลาดการหากินนะสิ เจ้าของอัปโหลดรูปภาพ.ข้อมูลลงในเว็บต่างๆ แล้วมานั่งค้นหาว่ามีใครนำภาพของฉันไปใช้บ้าง แล้วฉันจะฟ้องหารายได้เข้ากระเป๋าอีกทางหนึ่ง อย่างนี้มีไหมคะ คนที่รู้เท่าไม่ถึงการเห็นภาพสวยๆก็นำไปใช้ สุดท้ายเกือบหมดตัว

ทำไมเจ้าของเว็บไม่ตั้งเจตนาเพื่อแบ่งปันความรู้ซึ่งกัน เพื่อผู้อื่นจะได้นำความรู้ที่เรามอบให้เป็นวิยามานนั้นไปดัดแปลงเสริมแต่งกลายเป็นงานสร้างสรรค์อีกชิ้นหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคมต่อไป ซึ่งเขาไม่ได้ก็อปปี้งานของคุณทั้งดุ้นอยู่แล้วใช่มั้ย อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ

คุณควรจะฟ้องในกรณีถ้ามันเกิดความเสียต่อคุณหรือชื่อเสียงของคุณ แต่ไม่ใช่เพื่อล่อเหยื่อมาติดกับดัก แล้วฉันจะฟ้องเรียกเงินให้หนำใจ

ตอบคุณ กล้วยไม้ ;)...

Internet เป็นของทุกคนในโลก เป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะก็จริง แต่สิ่งใดก็ตามที่เป็นชิ้นงานที่เกิดจากมันสมอง ฝีมือของบุคคลคนนั้น บุคคลคนนั้นถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยสมบูรณ์ครับ

ซึ่งหากเขาต้องการให้งานของเขาเป็นวิทยาทาน หรือ ตัวอย่าง เขาก็จะแจ้งให้เราทราบเอาไว้ หรือหากเราไม่แน่ใจ เราต้องติดต่อเขาเพื่อขออนุญาตก่อน

ส่วนการฟ้องให้เป็นคดีตัวอย่างนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ได้จริงครับ

แต่ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคมดั่งที่คุณ กล้วยไม้ เล่ามาให้ฟังครับ

หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีจริยธรรมคุณธรรม เขาก็ใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือนี้เรียกร้องสิทธิ์มากเกินควรได้

กฎหมายลิขสิทธิ์ออกมาเพื่อคุ้มครองงานของเจ้าของสมองครับ ออกมาน่ะ ดีแล้วครับ เพื่อเป็นบรรทัดฐานและเป็นการปรามผู้ที่ชอบ Copy ด้วย

ขอบคุณครับ ;)...

เพิ่มเติมนิดหน่อย จากประสบการณ์ของผู้เคยฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาพที่มีลิขสิทธิ์

-------------------------------------------

ภาพที่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ (สัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์)

1.ในภาพนั้นระบุเป็นเครื่องหมาย (C)

2.ในภาพนั้นระบุชื่อเจ้าของผลงาน หรือเว็บไซต์ที่มาของภาพนั้น

3.ในภาพนั้นถูกประทับด้วยลายน้ำ (ในบางครั้งอาจเป็นโลโก้เจ้าของผลงานขึ้นไว้จาง ๆ)

!! แต่ในบางกรณี ภาพที่มีลิขสิทธิ์อาจไม่ระบุสัญลักษณ์ทางลิขสิทธิ์ข้างต้นใด ๆ ไว้เลย ทำให้ผู้เขียนบางรายนำภาพเอาไปเผยแพร่ต่อสาธารณะก็ถูกฟ้องร้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เหมือนกัน

พฤติกรรมใดบ้างที่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์

-------------------------------------------------

การนำส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานที่มีลิขสิทธิ์เหล่านั้นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของผลงาน ไม่ว่าจะ

- นำไปเผยแพร่โดยเป็นผลงานต้นฉบับ

- นำไปเผยแพร่โดยได้ดัดแปลงผลงานนั้น

ตัวอย่างพฤติกรรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์

--------------------------------------------------

(พฤติกรรมที่กระทำโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของลิขสิทธิ์)

1. นำภาพที่มีลิขสิทธิ์เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

2. ตัดต่อวิดีโอโดยปรากฎผลงานที่มีลิขสิทธิ์นั้นอยู่ด้วย

3. นำภาพจากแผ่นซีดี ฯลฯ ที่คุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ อัปโหลดเป็นวีดีโอ หรือตัดต่อออกมาเป็นรูปภาพ (เช่น นำภาพยนตร์ในซีดี ฯลฯ มาโพสต์ในอินเทอร์เน็ต)

4. นำภาพที่ถ่ายจากกล้องวิดีโอส่วนตัวที่ถ่ายทำการแสดงคอนเสิร์ตมาโพสต์เผยแพร่ในโลกอินเทอร์เน็ต (บางคอร์นเสิร์ตที่ไม่อนุญาติให้ทำการบันทึกภาพใด ๆ หากผู้ใช้นั้นได้บันทึกภาพและนำไปเผยแพร่จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์)

5. การนำผลงานหรือสัญลักษณ์ที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้ซ้ำในเชิงการค้า

ผลงานในบ้างที่ไม่ถูกคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์

-----------------------------------------------------

1.ผลงานที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างง่าย เช่น สี่เหลี่ยม ฯลฯ

2.ผลงานที่มีแต่ตัวอักษรเรียบ ๆ เช่น ตัว M สีแดงในพื้นหลังสีดำ

ฯลฯ

ยอดเยี่ยมมากเลยครับ คุณ Top ;)...

ขอบคุณมากครับสำหรับการต่อยอดเพื่อเผยแพร่ความรู้ออกไปอีก ;)...

แบบนี้เข้าข่าย 555 รอตั้งนานกว่าเด็กจะหัวเราะ แถมกด สงวนลิขสิทธิ์ เอาไว้ด้วย ทักษะแห่งอนาคตใหม่กับการโจรกรรมทางวิชาการ(plagiarism)

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/474983

บันทึกนี้อายุ ๔ ปีเข้าให้แล้ว อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

บันทึกอาจารย์จึงทันสมัยทันที อิ อิ

ขอเอาไป link ไว้ที่บันทึกให้คนอื่นๆอ่านนะครับ ขอบคุณครับ 4 ปี ทันสมัยเสมอเลยครับ เย้ๆๆ

ขอความรู้หน่อยนะคะอาจารย์วัต

ตอนนี้ มีแผ่นซีดีภาพที่ซื้อมาจากร้านขายของมือสองแผ่นละสิบบาท

มีหลายแผ่นค่ะ ทั้งภาพสัตว์ ดอกไม้ มากมาย

วันก่อน นำมาใช้ตัดต่อประกอบเพลง เก็บดอกหญ้ามาฝาก

นำขึ้น Youtube ด้วยค่ะ

ที่ขอให้อาจารย์ช่วยดูและบอกว่าภาพเสียงชัดเจนนะคะ

ไม่ทราบว่า ทำแบบนี้เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่คะ?

ขอบคุณมากค่ะ

คงต้องดูปกของแผ่นซีดีครับว่า เขามีคำว่า "สงวนลิขสิทธิ์" บ้างหรือไม่

มีคำว่า "อนุญาต" บ้างหรือไม่ อนุญาตให้ใช้เฉพาะที่ หรือไม่

ประมาณนี้ครับ หากมีคงต้องอ่านคำอนุญาตให้ชัดเจน

หากไม่มีอะไรเลย สงสัยจะ "เถื่อน" ซะแล้วล่ะนะครับ

เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ฟ้องร้องได้ทันที เพราะเขาไม่ได้อนุญาตไงครับ

จำได้ว่าช่วงแรกๆ ที่เข้ามา โกว์ มีกัลยาณมิตร หลายๆท่าน กล่าวไว้ ข้อมูล ภาพ อะไร พวกเรามิหวง เลยยินดีแบ่งปันเพื่อประโยชน์เรียนรู้ ศึกษา

จวบจนครึ่งทศวรรษแล้ว ปูก็ยังไม่เขียนชื่อในภาพเลยสักใบ (จริงๆคือทำไม่เป็น:) หากแต่ทุกข้อความ ทุกคำพูด ทุกประโยค ทุกวรรค ทุกเคาะ ทุกเครื่องหมาย ทุกภาพถ่าย ที่ออกจากใจ เราทั้งหลายล้วนจำได้แม่นยำ ใช่ไหมคะอ. เสือโหดฯ ... ฝันร้ายเน่อเจ้า

เป็นสามัญสำนึกกระมังครับ คุณ Poo ;)...

ประเทศไทยเรายังขาดเรื่องนี้ค่อนข้างมาก

จนกว่าเราจะเป็นผู้ถูกละเมิดเสียเอง

ขอสอบถามเพื่อความชัดเจน 1.ในกรณีที่ดิฉันถ่ายภาพหอดูโจรในตลาดแห่งหนึ่งแล้วนำภาพนั้นไปปรากฏบนกล่องใส่ขนมของตนเองเพื่อใส่สินค้าจำหน่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่เพราะอะไร 2.ถ้าเจ้าของตลาดยังไม่จดลิขสิทธิ์แต่มาเรียกร้องเงินค่าลิขสิทธิ์ได้หรือไม่เพราะอะไร 3.ถ้าเจ้าของตลาดจดลิขสิทธิ์ในปี 2555 และภาพนำมาใช้ตั้งแต่2545 ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ควรทำอย่างไร

  • ขออนุญาตตอบคุณบัวแดงแทนอาจารย์วัสนะคะ 
  • ภาพถ่ายหอดูโจรไม่ต้องจดลิขสิทธิ์ค่ะ ภาพนั้นถ่ายโดยฝีมือคุณ คุณเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ค่ะ แต่การเอาภาพไปปรากฎบนกล่องขนมใส่สินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้าค่ะ
  • "เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้                  1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น..." ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_content&task=section&id=20&Itemid=197
  • ส่วนในกรณีเจ้าของตลาดมาเรียกร้องการนำภาพไปใช้จะต้องอ้างเรื่องใครมีสิทธิดีกว่ากันในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • หากว่าภาพที่คุณถ่ายไปใช้ในประกอบการเขียนบรรยายหรือประกอบข้อมูลอื่นไม่ใช่เรื่องการนำไปเป็นเครื่องหมาย/สัญญลักษณ์ที่ใช้กับสินค้า จะยังคงเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์เท่านั้น
  • แต่หากว่าเป็นกรณีนำภาพไปใช้เป็นเครื่องหมาย/สัญญลักษณ์เพื่อแสดงว่าสินค้าคุณแตกต่างกับสินค้าอื่น ๆ ใครที่นำเครื่องหมาย/สัญญลักษณ์ดังกล่าวไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน ก็จะมีสิทธิดีกว่า
  • อย่างไรก็ตาม การตอบปัญหาทางกฎหมาย จะต้องใช้รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเพียงพอ หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้วจริง ๆ คงต้องรีบปรึกษาทนายความโดยตรงเพื่อตรวจสอบประเด็นที่เจ้าของตลาดฟ้องว่าอ้างข้อกฎหมายอะไรบนพื้นฐานข้อเท็จจริงอะไรประกอบด้วยค่ะ 

เรียน คุณ บัวแดง ครับ

ผมเชิญนักกฎหมายตัวจริง อาจารย์ Sila Phu-Chaya มาให้ข้อแนะนำครับ

เชิญอ่านได้ตามความคิดเห็นข้างบนนี้นะครับ

ขอให้โชคดีนะครับ ;)...

ขอบคุณ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Sila Phu-Chaya  ที่ให้เกียรติตามคำเชิญครับ ;)...

ขอขอบคุณอาจารย์ sila phu-chaya และอาจารย์ Wasawat คะสำหรับข้อมูล ซึ่งเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ค้าในแหล่งท่องเที่ยวตลาดเก่าทั้งหลายกระทำการโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งพ่อค้า แม่ค้าเหล่านั้นไม่มีความรู้ทางกฏหมายลิขสิทธิ์เลย

ยังอ่านความรู้ไม่หมดเลยค่ะ ขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้มากๆ เลยค่ะ มีประโยชน์มากๆ ค่ะ แต่ปัจจุบันได้ทำวีดีโอเป็นของตัวเอง และนำภาพจากอินเตอร์เนตคือภาพเวบไซต์ของวัดลงเอาไว้ และเวบเค้าก็ได้ใส่แหล่งที่มาไว้หมด คือเป็นภาพวาด มีชื่อของเจ้าของภาพ  ถ้าเราทำเป็นวีดีโอ เราตั้งใจใส่แหล่งที่มาของภาพ และชื่อผู้วาดภาพนี้ด้วย ชื่อผู้ขับร้อง ในวีดีโอตอนท้ายๆ ของเรื่อง เป็นเพลงพุทธประวัติ ของพระพุทธเจ้าน่ะค่ะ   แต่เพลงและรูปเคยเห็นเค้าก็เผยแพร่และแชร์ กันในเวบธรรมะให้เราดาวโหลดเพลงได้ และภาพก็แชร์กันในโซเชียลด้วยน่ะค่ะ แต่เราทำวีดีโอเผยแพร่แล้วอัพโหลด ขึ้น ยูทูป เราจะผิดหรือไม่ ช่วยกรุณาแนะนำหน่อยค่ะ กลัวละเมิดผู้ขับร้อง กับ ผู้วาดภาพ และหนังสือสมุดภาพด้วยน่ะค่ะ

ทำหนังสือขออนุญาตอย่างเป็นทางการกับเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน
เมื่อเขาอนุญาตแล้ว จึงค่อยลงมือสร้างชิ้นงานนี้ครับผม ;)...

เตือนภัยงานบนอินเตอร์เน็ต ! ! เงิน

http://dangermoneyonline.blogspot.com

ก่อนที่จะหาเงินในเน็ตโปรดคลิกก่อน ไม่งั้นอาจจะสายก่อนที่จะทำงานบนโลกออนไลน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท