กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำบทความจากนิตยสารมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่อง


กรณีศึกษา :

การนำบทความจากนิตยสารมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่อง โดยมีการระบุนามปากกาและนิตยสารอย่างชัดเจน จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

บทความในนิตยสาร ปกติลิขสิทธิ์ย่อมเป็นของผู้เขียนบทความ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันให้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของนิตยสาร แต่อย่างไรก็ดี เมื่อบทความนั้นมีลิขสิทธิ์ การนำบทความมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่องในลักษณะที่นำมาทั้งบทความนั้น แม้จะมีการอ้างอิงระบุนามปากกาและนิตยสารอย่างชัดเจน ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะกระทบต่อสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (คือนำบทความมาทั้งบทความ)

ในกรณีประเด็นปัญหานี้ หากผู้เขียนประสงค์จะเขียนตำราแล้วยกบทความของผู้อื่นมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ผู้เขียนจะต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน

 

โดยสรุป... แม้มีการอ้างอิงอย่างชัดเจน แล้วหากไม่ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นกัน

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (11 มกราคม 2552).

 

หมายเลขบันทึก: 234666เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2009 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • แล้วถ้ายังกรณีเราเขียนบทที่สอง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • ของวิทยานิพนธ์หละคะ  ควรจะเขียนอย่างไร
  • ส่วนมากที่เห็นๆก็จะคล้ายๆกันนะคะ
  • ส่วนมากก็ยกเนื้อหา  ตรงที่เกี่ยวข้องมาเลย
  • ทำอย่างไรจึงจะไม่เข่าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์หละคะ
  • ขอบคุณค่ะ  ^_^

สวัสดีครับ ... น้องคุณครู เทียนน้อย :)

"วิทยานิพนธ์" เป็นงานวิจัยที่ไม่ได้แสวงหากำไร เป็นไปตามมาตรา ๓๒ (๑) ... (อ่านเพิ่มเติมจากบันทึก กฎหมายลิขสิทธิ์ : ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ) เป็นข้อยกเว้น หากไม่ได้กระทบเทือนต่อสิทธิประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ครับ

แต่ ... ข้อที่ควรคำนึงถึงตลอดเวลา ก็คือ การให้เกียรติงานของเจ้าของลิขสิทธิ์ ครับ

การให้เกียรติที่นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ที่ให้เกียรติได้ เช่น

  • แจ้งที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องของเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งอ้างอิงในเนื้อหา หรือ บรรณานุกรม
  • หากจำเป็นต้องยกเนื้อความมาจำนวนมาก ควรจะขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการก่อน (ใจเขาใจเราน่ะครับ)

แต่สิ่งที่จะแนะนำวิธีการเขียนบทที่ 2 ก็คือ

รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลเนื้อหาทั้งหมด แล้วจึงลงมือเขียนด้วยสำนวนของตัวเอง ยกเว้น เป็นหลักการและทฤษฎีที่จำเป็นจริง ๆ ก็ต้องระบุที่มาให้ถูกต้อง

ส่วนใหญ่ปัญหาของนักศึกษาปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก หลายคนกระทำ คือ ลอกมาทั้งดุ้น ... ควรค่าแก่การถูกฟ้องร้องเหลือเกิน อีกทั้งยังทำให้วงการวิชาการนั้น ๆ ตกต่ำลงอีกต่างหาก

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ข้อยกเว้นที่กล่าวมา ก็ไม่ได้หมายความว่า จะฟ้องร้องไม่ได้ครับ หากกระทบกระเทือนเจ้าของสิทธิ์ หรือเจ้าของผลงานมากเกินไป

ระมัดระวังครับ ... พอเข้าใจเนาะ :) 

สวัสดีค่ะอาจารย์ ^_^

ขอบคุณนะคะสำหรับคำชี้แนะและข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ ^_^

  • ตามมาดู
  • กลัวเขาเอาไปแล้วไม่บอกครับ
  • อิอิๆๆ
  • ต่อไปจะอ้างอะไรต้องรัดกุมน่าดู
  • ขอไปหาหนังสือเล่มส้มมาอ่านบ้างดีกว่า
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ...

ถ้าเขาเอาไปแล้วไม่บอก นั่นก็แสดงนิสัยที่แท้จริงของเขาไงครับ

กฎหมายลิขสิทธิ์ ทำให้นักวิชาการต้องเพิ่มความรัดกุมมากขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท