กฎหมายลิขสิทธิ์ : การวิเคราะห์นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ ทั้งเรื่อง


กรณีศึกษา :

การนำนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ ทั้งเรื่อง มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวคิด และกลวิธีในการนำเสนอแนวคิดอย่างละเอียด โดยนำข้อความมาชี้ให้เห็นเป็นระยะ ๆ ตามประเด็น โดยมีการอ้างอิงข้อความตลอด เช่นนี้จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

 

รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำชี้แจงไว้ว่า

"... แม้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 32 วรรคสอง จะยกเว้นให้การ "ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น" ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ในกรณีนี้เป็นการนำนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ ทั้งเรื่อง มาวิเคราะห์ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า มีเนื้อหาอันเป็นการสร้างสรรค์ของผู้เขียนนวนิยาย เรื่องสั้น หรือกวีนิพนธ์ อยู่ในงานเขียนของผู้ที่วิเคราะห์ดังกล่าวย่อมกระทบต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร จึงไม่สามารถกระทำได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น หากผู้เขียนประสงค์จะเขียนหนังสือแนววิเคราะห์ดังกล่าวต้องดำเนินการขออนุญาตผู้แต่งนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์เสียก่อน

มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า หากเป็นเพียงการวิเคราะห์นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ โดยไม่มีการนำเนื้อหาของนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์นั้นมาลงไว้ในหนังสือที่วิเคราะห์ เช่นนี้สามารถทำได้ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคสอง (3) ที่ให้ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นได้ ..."

 

 

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (21 ธันวาคม 2551).

 

หมายเลขบันทึก: 231013เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2008 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มาเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์Wasawat Deemarn

  • มาเป็นนักเรียนค่ะ
  • ในสมัยเป็นนักเรียน..อาจารย์ให้เลือกวิเคราะห์หนังสืออ่านแบบพ็อกเก็ตบุคร์เล่มใดก็ได้ที่เราสนใจ ก็ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นะคะ ตาม มาตรา 32 วรรคสอง (3) ที่ให้ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นได้ 
  • ขอบคุณค่ะ

การละเมิดดังข้างต้นรวมถึงการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ของนักศึกษารึเปล่าครับ ถ้าละเมินจริงอาจารย์ภาษาไทย(ที่สอนมหาวิทยาลัยต่าง)ก็คงละเมิดผลงานทั้งประเทศแน่ ๆ

สวัสดีคะอาจารย์ ตามมาอ่านค่ะ

มาเป็นนักเรียน GOTOKNOW

กลัวทำวิทยานิพนธ์ละเมิดลิขสิทธิ์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ คุณ krutoi ที่แวะมาเรียนรู้ร่วมกัน :)

ขอบคุณครับ คุณพยาบาล สีตะวัน ที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ครับ

เรียน อาจารย์ พิมล มองจันทร์

บันทึกนี้เป็นกรณีของ "การวิเคราะห์นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ ทั้งเรื่อง" ที่เป็นการเขียนวิเคราะห์เป็นหนังสือ หรือ สิ่งพิมพ์ที่มีการหากำไรจากงานเขียนวิเคราะห์ ครับ 

ส่วนการทำวิทยานิพนธ์ มีข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตราที่ ๓๒ (๑)

"... มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไรวิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร ..."

ดังนั้น การวิเคราะห์ในงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ จึงได้รับการยกเว้นครับ แต่ทางในปฎิบัติ ควรแจ้งไปยังเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นให้ได้ทราบ และควรมีการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องด้วยครับ

ใจเขาใจเราน่ะครับ หามีใครมานำงานของเราไปใช้ เราคงอยากให้เขาแจ้งให้เราทราบด้วยน่ะครับ :)

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ :)

ครับพี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ก็ไม่ต้องกลัวครับ กฎหมายลิขสิทธิ์ก็มีข้อยกเว้น กฎหมายลิขสิทธิ์ : ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตั้งหลายข้อกรณีครับ

กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งเน้นการปกป้องสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงาน ครับ โดยเฉพาะการแสวงหาผลกำไรจากงานคนอื่น แบบนี้กฎหมายไม่ยินยอมครับ

ฟ้องเอาผิดได้ทั้งอาญา และเรียกค่าเสียหายจากแพ่ง ครับ :)

น้องคุณครู เทียนน้อย กฎหมายมีข้อยกเว้นให้กับงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ ในมาตราที่ ๓๒ ไงครับ แต่หากเราเอางานเขามาอ้างมากเกินไป โดยไม่ได้คิดเอง ก็ไม่ควรทำเหมือนกันครับ

ควรอ่าน ทำความเข้าใจ ประมวลความรู้ แล้วเขียนด้วยสำนวนตัวเองครับ หากอ้างเขามาก็อ้างอิงในเนื้อหาให้เจ้าของเขาด้วย ตบท้ายด้วยบรรณานุกรมอ้างอิงงานเขาให้สัมพันธ์กับในเนื้อหา แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ :)

อ๋อ เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ

ยินดี และขอบคุณอาจารย์ พิมล มองจันทร์ มากครับ :)

มาอ่านเพื่อเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับประเด็นนี้

ปีที่เริ่อง เวลา ของชาติ ได้รางวัล

มีนักวิจารณ์ เริงศักดิ์ กำธร นำไปวิพากษ์ แล้วทำเป็นเล่ม วางจำหน่าย

คงเป็นกรณีย์ ศึกษา(ไม่ลงลึกน่ะครับ)

ขอบคุณครับ ท่าน บังหีม ...

ขึ้นอยู่ว่า มีการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ เท่านั้นเองครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท