กฎหมายลิขสิทธิ์ : การแปลหนังสือต่างประเทศเป็นภาษาไทย และการแปลหนังสือภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ


การแปลหนังสือไม่ว่าจะจากภาษาใดไปภาษาใด ผู้แปลต้องขออนุญาตจากผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นเสียก่อน มิฉะนั้น จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

หากผู้แปลต้องการแปลหนังสือต่างประเทศ อาจจะมีขั้นตอนการดำเนินการขอลิขสิทธิ์เพื่อมาแปลยุ่งยากเสียหน่อย ท่านผู้แปลอาจจะทำการดำเนินการผ่านสำนักพิมพ์ที่มีความเชี่ยวชาญก็จะง่ายขึ้น

หากติดต่อผู้เขียนหนังสือไม่ได้ แต่ท่านแปลเสร็จแล้ว จะตัดสินใจที่จะพิมพ์เผยแพร่ อาจจะไม่คุ้มต่อความเสี่ยง เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ดังนั้น ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้แปลจะต้องขออนุญาตผู้เขียนหนังสือให้สำเร็จเสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะลงมือแปล

 

รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า

"... หากหนังสือหรือตำราต่างประเทศนั้น หมดอายุในการคุ้มครองลิขสิทธิ์เสียแล้ว เช่น เลย 50 ปีนับจากผู้แต่งเสียชีวิต เช่นนี้ ผู้แปลสามารถนำมาแปลได้ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สิ่งที่ยุ่งยาก และต้องทำให้รู้แจ้งชัด คือ ต้องแน่ใจว่า หนังสือหรือตำราต่างประเทศนั้นหมดอายุในการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างแท้จริง

ในเรื่องการแปลตำราภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยนี้ มีผู้เข้าใจว่า ไม่ผิดกฏหมายลิขสิทธิ์ เพราะนักศึกษาไม่ซื้อตำราภาษาต่างประเทศนั้นเนื่องจากอ่านไม่เข้าใจ จึงไม่เป็นการทำให้ผู้แต่งตำราต่างประเทศเสียสิทธิ์ ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์จากการที่จะไม่ถูกผู้อื่นแปลงานนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ..."

สรุปสั้น ๆ ว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้แปลก็ต้องขออนุญาตผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นเสียก่อนที่จะทำการแปล มิฉะนั้น ถือว่า เป็นการละเมิดลิทธิ์ นะครับ

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (22 ธันวาคม 2551).

 

หมายเลขบันทึก: 231252เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ขอบคุณมากครับ
  • ได้ความรู้ดีๆๆมากเลย
  • อยากแปลหนังสืออาจารย์ครับ
  • อิอิๆๆ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ... อาจารย์ต้องรอผมอีกหลายปีครับ อิ อิ อยากแปลหนังสือ จะคิดถึงอาจารย์คนแรกเลยครับ อิ อิ :)

จะรออ่านนะคะ..(กองเชียร์..หุ หุ หุ)

ขอบคุณอาจารย์ Wasawat มากครับ

  • เรื่องน่าสนใจมากครับ
  • ประมาณปี 2544-2545 จำไม่ได้แน่ เคยเขียนไปขออนุญาตผู้แต่งที่เป็นอาจารย์ที่สก็อตแลนด์ เขาส่งจดหมายพร้อมรายเซ็นต์อนุญาตของผู้แต่งร่วมมาให้เลยครับ (แต่ว่าทั้งผมและอาจารย์ต่างไม่ได้พูดเรื่องค่าลิขสิทธิ์อะไรเลย) หลังจากติดต่อสำนักพิมพ์ เขาว่ามันจะมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ราคาหนังสือสูง ก็เลยเลิกคิดไปเลย (จริงๆปัจจุบันเอามาอ้างได้ เข้าใจว่าน่าจะไม่เกิน 1 บทของหนังสือ---ผมอาจผิด)
  • อีกประเด็นหนึ่งคือ กรณีผู้แต่งเสียไปนานแล้ว แต่สำนักพิมพ์ยังอาจพิมพ์เป็นบางครั้งคราว เช่นนี้ต้องขออนุญาตสำนักพิมพ์ไหม (หรือว่าขึ้นอยู่กับข้อสัญญาระหว่างผู้แต่งและสำนักพิมพ์)
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับแรงเชียร์ของคุณพยาบาล สีตะวัน :) สู้ว้อย ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ พันคำ  :)

ไม่ทราบว่าผมจะเข้าใจถูกหรือไม่นะครับ

กรณีผู้แต่งเสียชีวิตไปแล้ว แต่ต้องดูตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศนั้น ๆ ด้วยครับว่า ลิขสิทธิ์จะหมดไปหลังจากการเสียชีวิตไปแล้วกี่ปี จึงจะสามารถนำงานนั้นมาเผยแพร่ได้ และลิขสิทธิ์นั้น เจ้าของงานได้มอบไว้กับใครหรือไม่

สำนักพิมพ์หรือผู้แปลต้องติดต่อกับผู้นั้นที่ได้รับสิทธิ์ต่อ

เช่นเดียวกันครับ หากต้องการพิมพ์เป็นครั้ง ๆ ไป ผู้แปลหรือสำนักพิมพ์ก็ต้องขออนุญาตเป็นครั้ง ๆ ไปเช่นกันครับ หรือขึ้นอยู่กับข้อสัญญาระหว่างกันว่าครอบคลุมการพิมพ์เป็นครั้ง ๆ ด้วยหรือไม่ ครับ

อาจารย์ลองหาข้อมูลเพิ่มได้ที่ http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?lang=th 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา :)

ขอบคุณประเด็นนี้ครับ

อยากทราบว่าถ้าแปลบทความหรือหนังสือต่างประเทศที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ซึ่งให้ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ Pdf ก็เข้าหลักเกณฑ์เดียวกันนี้รึเปล่าค

หลักเกณฑ์เดียวกันครับ คุณ kiki

งานย่อมมีลิขสิทธิ์เสมอ

สวัสดีค่ะ สอบถามค่ะ ถ้างานต้นฉบับต่างประเทศอายุเกิน 100 ปี แต่มีผู้นำมาแปลแล้วในไทยประมาณ 35 ปี เราอยากแปลอีก ด้วยสำนวนของเราเองจะผิดลิขสิทธิ์ หรือละเมิดผู้แปลรายแรกในไทยไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอแนะนำว่า ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือผู้ถือลิขสิทธิ์ก่อนครับ

เรียกว่า ถูกทั้งมารยาท และ ถูกทั้งกฎหมายครับ

ส่วนผู้แปลรายแรกนั้น เราอาจจะต้องคุยกับเขาว่า เขาได้ลิขสิทธิ์จากการแปลครั้งแรกจำนวนกี่ปี หรือจำนวนกี่ครั้ง หรือมีเงื่อนไขอื่นใดอีกหรือไม่

แต่ลิขสิทธิ์ ถือเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือ ผู้ถือลิขสิทธิ์ เท่านั้นนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท