กร่อนคำ..ถอดความ จากหนังสือ "กัมพูชากับสงครามล้างเผ่าพันธุ์ฯ" ... ( 4 )


นานแล้วที่ไม่ได้เขียนบันทึกนี้ต่อให้เสร็จ

ผมลองกร่อนคำ...ถอดความต่อเป็นบันทึกที่ 4 นะครับ

 

๔. 

 

เขมรแดงยึดครองกัมพูชาแบบเบ็ดเสร็จ

 

เป็นที่ประจักษ์ว่าในการโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ ของเขมรแดง (กัมพูชาประชาธิปไตย) นั้นได้ใช้พระนามสมเด็จนโรดม สีหนุ เป็นที่ตั้ง ทั้งนี้เพราะเขมรแดงตระหนักว่ายังมีประชาชนศรัทธาพระองค์อยู่มาก โดยวิธีนี้เขมรแดงก็ได้รับชัยชนะเกือบทุกสมรภูมิที่มีการประจัญบานกับทหารฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น กองทหารเขมรแดงจึงสามารถเคลื่อนกำลังเข้ายึดกรุงพนมเปญ และส่วนหนึ่งเข้ายึดหัวเมืองต่าง ๆ เช่น เสียมราฐ พระตะบอง กัมปงธม เป็นต้น

จากวันที่ 12 - 16 เมษายน พ.ศ.2518 ทัพเขมรแดงทำการปิดล้อมกรุงพนมเปญ ปิดถนนหนทางทุกเส้นทางแล้วรุ่งเช้าวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2518 เขมรแดงก็เข้ายึดกรุงพนมเปญ โดยปราศจากการต่อต้านใด ๆ ตรงกันข้าม ประชาชนต่างไชโยโห่ร้องแสดงความยินดีต้อนรับทหารเขมรแดง โดยเชื่อว่า เขาเป็นผู้นำสันติภาพมาสู่กัมพูชา และมาเพื่อปราบข้าราชการ นายทุนที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งมีอยู่ทั่วกัมพูชา

นับจากวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2518 รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย โดยการนำของนายพล พต และนายเขียว สัมพัน ก็ปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จ ปิดประเทศไม่ติดต่อกับโลกภายนอกเป็นเวลานาน รวม 3 ปี 8 เดือน กับ 20 วัน

 

 

 

คณะรัฐมนตรีรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย

 

นายพล พต

ประธานคณะกรรมการกองทัพแห่งชาติและผู้บัญชาการทหารสูงสุด

 

1. นายเขียว สัมพัน ... นายกรัฐมนตรี

2. นายเอียง ซารี ... รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายต่างประเทศ

3. นายซอน เซน ... รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการป้องกันประเทศ

4. นายจวน เจียน ... รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการคลัง

5. นายเอียง ธิริธ ... รัฐมนตรีฝ่ายกิจการสังคม

6. นายจวน เจือน ... รัฐมนตรีสาธารณสุข

7. นายยุน ยัต ... รัฐมนตรีวัฒนธรรมและการศึกษา

8. นายทัช ริน ... รัฐมนตรีฝ่ายข่าวสาร

9. นายซา คิม ... รัฐมนตรียุทโธกรณ์และการขนส่ง

10. นายซอน ฮาย ... รัฐมนตรีไปรษณีย์และคมนาคม

11. นายจวน มุม ... ประธานกรรมการการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

12. นายกีด ชอน ... รัฐมนตรีสำนักนายรัฐมนตรี

 

   

......................................................................................................................................

 

ความคิดเห็นส่วนตัว...

 

เขมรแดงยึดกรุงพนมเปญแบบสะดวกโยธิน อันเนื่องมาจากการใช้พระนามของสมเด็จนโรดม สีหนุ เป็นใบเบิกทาง

ประชาชนในกรุงพนมเปญดีใจมากมายถึงการเข้ายึดอำนาจของเขมรแดง โดยหารู้ไม่ว่า นี่คือ มฤตยูโหดกำลังจะเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างหลีกหนีไม่ได้

 

โปรดติดตามในบันทึกต่อไปนะครับ

ขอบคุณครับ :)

 

...................................................................................................................................

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

  

 

 

แหล่งอ้างอิง

ปะแดง มหาบุญเรือง คัชมาย์.  บันทึกความทรงจำ กัมพูชากับสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และศูนย์อพยพในประเทศไทย.  สุรินทร์: โรงพิมพ์รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท, 2543.

 

หมายเลขบันทึก: 313274เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

บันทึกนี้เข้ากับสถานการณ์ดีจังครับ..
เศร้าใจกับคนไทยบางคนที่คิด ที่ทำ ไม่คิดถึงประเทศชาติ

หากเป็นสมัยก่อนก็ถือว่าเป็น( กบฏเมือง)

  • สิ่งที่เขาเป็น น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนไทยเราอย่างมากนะคะ จะทำอะไรนับจากนี้ต่อไป นึกถึงอดีตกันเยอะ ๆ อยุธยาเคยแตกเพราะอะไร
  • ท่านอาจารย์สบายดีนะคะ

ใช่ครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;) ... การลงทุนสักหมื่นล้าน + การใช้ทุกยุทธวิธีที่ทำให้ได้เงินคืนสักหกหมื่นล้านมันคุ้มค่า ... แค่ยำยีคนชาติเดียวกันแค่นั้นเอง ครับ ... สงครามย่อย ๆ อาจเกิด เศรษฐกิจด้านตะวันออกของประเทศคงพัง นิดหน่อยครับ นิดหน่อย ... มันแค่การลงทุนของนักธุรกิจคนหนึ่งเท่านั้น

ติดตามต่อนะครับ ;)

สบายดีอยู่ครับ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Sila Phu-Chaya ... ;)

ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยมักจะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยเสมอ ครับ ... นานไป ก็ลืมหมด

สวัสดีค่ะ

น่าสนใจมากค่ะ

แล้วจะมาติดตามชมอีก

ขอบคุณค่ะ^^

ขอบคุณมากครับ คุณ ต้นเฟิร์น ;)...

ประวัติศาสตร์มีไว้ไม่ให้ซ้ำรอย ครับ (ถ้าเป็นเรื่องดี ๆ ซ้ำรอยได้ครับ)

เป็นเรื่องราวที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับชาติพันธ์มนุษย์เลย น่าสลดใจยิ่งนัก

ขอบคุณครับ คุณ rattanajan ที่ได้มาเยี่ยมเยือนบันทึกนี้ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท