ถอดบทเรียน สว. สูงวัย กับสุขภาพช่องปาก (3) แรงใจ / กลไก ... การทำงาน (ภาค 2)


 

ถอดบทเรียน สว. สูงวัย กับสุขภาพช่องปาก (3) แรงใจ / กลไก ... การทำงาน (ภาค 1)

การทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุเรามีเป้าหมาย เรามองไปที่เป้าหมายของโครงการ และเลยไปถึงเป้าหมายของอนาคต ซึ่งเป้าหมายของเรา คือ "ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ทั้งกายและใจ ชมรมผู้สูงอายุอยู่ได้อย่างยั่งยืน มีความเหนียวแน่น และมีการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ" และยังมีเป้าหมายเพิ่มเติมในปี 2553 ที่สำนักทันตฯ ได้กำหนดให้มี 1 จังหวัด 1 ชมรมฯ แต่อำนาจเจริญเราขอล้ำเส้นนิดหนึ่ง ให้มี 1 อำเภอ 1 ชมรมต้นแบบ ซึ่งตอนนี้เราก็ทำได้ทุกอำเภอ (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/388639)

เรามีข้อจำกัดในพื้นที่ ก็คือ เรื่องศาสนา ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่นี่เป็นมุสลิม ผู้สูงวัยจะใช้ภาษามาลายู หรือภาษายาวี แต่ถ้าเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานขึ้นมาหน่อย ก็จะพูดไทยเหมือนเราได้ ซึ่งบุคลากรที่ลงไปทำงานตรงนี้ พูดภาษายาวีได้ท่านเดียว จากทีมทั้งหมด 5 ท่าน ค่อนข้างที่จะมีปัญหา เราก็เลยต้องมาคุยกัน

วิธีการทำงานของเราก็คือ ... หนึ่งคนที่พูดได้ เราก็ต้องไปสร้างแกนนำ สร้างเครือข่ายขึ้นมา เรามาคุยถึงรูปแบบการทำงานของเราให้เขาได้รับทราบ และนำเขาเหล่านี้มาช่วยเราในการที่จะไปพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้สูงอายุของเรา

แล้วก็ในส่วนของการประกอบอาชีพ ฤดูกาล ปรากฎว่าผู้สูงอายุ ยังต้องทำงาน ที่สตูลเขายังทำสวนยางกันอยู่ เพราะฉะนั้น เราลงไปทำงานในช่วงช่วงเวลาที่เขาว่าง และเข้าไปแทรก (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/388653)

คติ ชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม ... "ผู้สูงอายุจึงไม่ควรให้วันเวลาล่วงผ่าน เป็นเพียงการเพิ่มความชราให้แก่ชีวิต แต่ควรเพิ่มความงดงาม และคุณค่าให้แก่ชีวิตทุกขณะ เมื่อเวลาล่วงผ่าน" ... (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/394303)

รู้สึกว่า เราเป็นบุคลากรตัวเล็กๆ หน่วยงานเล็กๆ หน่วยหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สูงอายุมารวมกลุ่มได้ เกิดพลังความคิด พลังสร้างสรรค์ และทำกิจกรรมร่วมกัน เห็นเขามีความสุข ก็รู้สึกดีใจ อยากให้โครงการมีอยู่เรื่อยๆ และคงจะได้ร่วมกิจกรรมกันไปเรื่อย (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/391991)

การทำงานที่จะสำเร็จได้นั้น จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องหา key person ในชุมชนให้เจอ ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือหน่วยงานไหน คนที่มีภาวะผู้นำ มีความเสียสละ และมีวิสัยทัศน์ ช่วงเวลาที่เข้าไปต้องเหมาะสม การทำงานต้องมีเทคนิค เทคนิคหลากหลายต้องใช้ให้เป็น ต้องยืดหยุ่น แต่ไม่หย่อนยาน (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/396454)

ชมรมผู้สูงอายุ ต้องถือว่า จะเป็นแกนหลักของชุมชนในอนาคตแน่นอน เพราะว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอายุค่าเฉลี่ยก็ยืนยาวขึ้น ... สิ่งที่จะดำเนินการต่อ ก็คือ การเชื่อมประสาน ผลักดัน และก้าวเดินไปพร้อมๆ กันในการที่จะสร้างสุขภาพช่องปาก เพื่อที่จะทำให้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสุขภาพ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ที่เชื่อมโยงไปทั้งร่างกาย และจิตใจ นำสู่สังคมที่มีสุขภาวะ ในทุกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน ในตำบล (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/432067)

หลักของคนทำงานชุมชนที่ง่ายๆ ก็คือ "Support" การทำงานของเรา เราก็จะได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ แห่ง เช่น นโยบาย ศูนย์อนามัย สสจ. รพท. รพช. รพ.สต. อนามัย ก็จะกลับไปกลับมาในตอนนี้ได้ "Analysis" การทำงานก็ต้องตามบริบทของเรา ต้องมีการวิเคราะห์ "Learned" การเรียนรู้ เราต้องพยายามเปิดใจเรียนรู้ตลอดเวลา เรื่องใหม่ๆ เรื่องดีๆ สุดท้าย "Team" การทำงานไม่มีใคร one man show ต้อง everybody (http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/432867)

เยอะแยะมากมาย แต่ยังไม่หมด ที่รวบรวมมาได้ ประมาณนี้

โดยสรุป แรงใจ / กลไกการทำงานของบุคลากร รวมถึงผู้สูงอายุ และภาคประชาชน ก็อาจจะเป็นว่า

  1. บริบทของชุมชน เมื่อได้เรียนรู้ ก็มีความจริงใจ ที่จะอาสาทำกิจกรรมเพื่อลูกหลาน ชุมชนของตนเอง
  2. การที่จะให้ความรู้แก่คนในชุมชน อาศัยเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น ปากต่อปาก เสียงตามสาย แกนนำ วัด โรงเรียน
  3. ใช้ชุมชน ช่วยชุมชน เช่น ชุมชนไปช่วยโรงเรียนทำกิจกรรม อสม. ผู้สูงอายุ เข้าไปช่วยทำกิจกรรมในโรงเรียน
  4. ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่น งด/ลด น้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ
  5. ผู้สูงอายุ เป็นปูชนียบุคคล ที่เป็นที่เคารพของชุมชน มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี
  6. ทัศนคติในการทำงานชุมชน ต้องเข้าใจบริบทชุมชน ให้เขาได้คิดเอง ทำเอง บนพื้นฐานความรู้ ที่ต้องมีการส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้ ในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่สร้างเสริมสุขภาพที่ดี
  7. ทีมงาน มีได้หลากหลาย รวมตัวกันเพื่อ คุณภาพชีวิตของคนไทย
  8. การทำงานกับชุมชน ต้องทำในช่วงเวลาที่ชุมชนว่างจากงานประจำ ต้องทำตามปฏิทินชุมชน
  9. ชมรมที่เน้นเรื่องส่งเสริมสุขภาพ สามารถทำกิจกรรมกันได้ทุกวัน
  10. เมื่อคนในชุมชนได้เรียนรู้ ก็จะสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเองได้ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้สนับสนุน ตามความต้องการของชุมชน
  11. รางวัล เกียรติยศที่ได้รับ เป็นแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน
  12. งานส่งเสริมสุขภาพ ไม่ได้ทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน บูรณาการไปด้วยกัน
  13. จิตอาสาในชุมชน มีความทุ่มเททำงานให้ชุมชนด้วยใจ
  14. การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดกิจกรรมต่อยอด
  15. ผู้สูงอายุที่มีความสามารถ ย่อมต้องการถ่ายทอดแก่ลูกหลาน
  16. ผู้สูงอายุมีทักษะการพูดคุย ให้ความรู้ผู้สูงอายุกันเอง ได้อย่างเข้าใจกันและกัน
  17. ชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็ง คือ ชมรมที่มีการทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไร มีแกนนำ และทีมงานร่วมทำกิจกรรม มีการเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  18. สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการ คือ ร่างกายแข็งแรงยามชรา มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นหนึ่งในครอบครัว
  19. ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ คือ ทุกคน
  20. ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ที่จะรู้จัก และเข้าใจ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
  21. วัฒนธรรมประเพณี สามารถบูรณาการกับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพได้อย่างดี
  22. เมื่อทำกิจกรรมแล้ว มีความรู้สึกดีดี เกิดขึ้น กับทั้งผู้ให้ และผู้ได้รับ นั่นคือ ความสำเร็จ
  23. แกนนำ มีความเป็นไปได้ทั้ง ภาคประชาชน และภาครัฐ
  24. ข้อจำกัดใดๆ เมื่อร่วมกันแก้ไข ก็ส่งผลให้ทำกิจกรรมได้

... อิอิ ก็แบบเสร็จ เหมือนไม่เสร็จละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 434264เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาติดตามอ่านต่อค่ะ ยิ่งอ่านก็ยิ่งรักฟันมากยิ่งขึ้น อยากมีฟันไว้ใช้งานนานๆ นะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้กับกลุ่มนี้นะคะ ^__^

  • เข้ามาติดตามอ่านครับ
  • ตอนนี้ไม่ได้รับเรื่องผู้สูงอายุแล้วครับ เป็นกำลังใจให้ครับ
  • Ico48
  • ได้แรงใจ จากน้องมะปรางก็ เต็มร้อย แล้วละค่ะ
  • Ico48 ... อิอิ ไม่หรอก ยังต้องเป็นผู้นำกิจกรรมอยู่แหล่ะ จ้ะ
  • Ico48 ... รออ่านผลงานจ้า คุณแม่น้องเป๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท