โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

จดหมายเหตุการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย "ทบทวนสิ่งที่ทำ..ความทรงจำในช่วงเวลาที่ผ่านมา"


ช่วงก่อนที่จะทำงานนี้ (ก่อนปี 49) อหังการ..น่าจะเป็นนิยามของผม.

สวัสดีครับ...วันนี้ผมตื่นเช้า (5.30 น.) ได้มีโอกาสมานั้งทบทวนบันทึกที่เขียนมาครบปีที่ 2 จากบันทึกแรกถึงปัจจุบันได้มองเห็นตัวเอง...ในอดีต(สารบัญ) ได้เห็นบางช่วงเวลาที่ยากลำบากมากมายในการทำงานแล้วผ่านมาได้ ผมเคยทบทวนตัวเองไปครั้งหนึ่งในบันทึก  สรุปรวบยอดบันทึก รัก palliative ปี 2550 อ่านแล้วก็ดีนะครับ..เตือนสติว่า การงานยังมีมุมที่หลากหลาย...งานสอนคนครับ

จริง ๆ แล้วผมเริ่มจับงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ตั้งแต่ต้นปี 2549 จากบันทึก การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตอนที่1 พบว่า "แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เราคิดทำอะไรนอกขนบเดิม ๆ เปลี่ยนวิธีการทำงาน"

หลังจากเริ่มทำงานไป ผมพบว่า จริง ๆแล้วเรามิได้เดินอยู่คนเดียวหากแต่ยังมีเพื่อนร่วมความคิดเดียวกันมากมาย ผมได้รู้จักหลายผู้คนทั้งอาจารย์เต็มศักดิ์(พูดน้อย..ฟังมาก...)..อาจารย์สกล(ผู้ให้แนวคิดสกิตผมให้มองต่างมุมอยู่เสมอทุกครั้งที่อ่านบทความของท่าน-หรือแม้ในทุกครั้งที่ได้สนทนากัน) ผมพบทีมพุทธิกา-พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ผมได้เรียนรู้หลายอย่างโดยเฉพาะเรื่องจิตใจ "ผมรู้ว่าคนทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ทุกคนมีปมที่อยู่ในใจ" ....หากทุกข์ของเรายังใหญ่..คงยากที่ใจจะเห็นทุกข์ผู้อื่น

ได้รู้อีกว่า ทำให้เวลาที่ผมเขียนบันทึกออกไป จะมีคนแวะเวียนมาให้กำลังใจตลอด (เพราะเรื่องที่เขียนดูจะเป็นเรื่องเศร้าเสียเป็นส่วนใหญ่)...ขอบคุณนะครับ แต่กระนั้นก็มีมุมยิ้มๆ อยู่หลายตอน เช่น รักนิรันดร์ เป็นต้น

ผมมองใจตัวเองในช่วงเวลาที่ผ่านไป มันเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ

1.ช่วงก่อนที่จะทำงานนี้ (ก่อนปี 49) อหังการ..น่าจะเป็นนิยามของผม..เวลาที่พบคนไข้ก็รู้สึกว่าตัวเองตัวใหญ่-สำคัญมาก บางครั้งหูดับฟังอะไรไม่ได้ยิน...น่าจะไปขึ้นทะเบียนผู้พิการ :)

2.ช่วงเริ่มทำงานใหม่ (ปี 49-50) คิดอะไรเป็นโครงการ เป็นขั้นตอน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตอนที่2  การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตอนที่3 ช่วงนั้น.....ทำงานด้วยความมุ่งมั่น แต่ทุกข์มากพอสมควร อยากให้คนนี้เป็นอย่างนั้น...คนนั้นเป็นอย่างนี้...อยากบอกว่าตัวเองเชี่ยวชาญ เวลาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะรู้สึกหดหู่และสงสาร และ burn out ง่าย ๆ

3.หลังจากโครงการเพชิญความตายอย่างสงบ โครงการเพชิญความตายอย่างสงบ ได้เรียนรู้อย่างมาก....ทบทวนตัวเองใหม่ เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องครั้งหนึ่งในชีวิต...ได้วางความคิด..หันมามองตัวเองมากกว่ามุ่งไปที่คนอื่น ผลคือ "สุขมากขึ้น" ผมมองผู้ป่วยมะเร็งเป็นเพื่อน ที่คอยสอนผมด้วยชีวิตของพวกเขา...เตือนผมไม่ให้ประมาท (ต่างจากเมื่อก่อนสมัยเป็นหมอจบใหม่..ที่มองการตายของผู้อื่นอย่างเย็นชา)..โดยเฉพาะน้องมะเร็งตับ (hepatoblastoma) อายุ 4 ขวบเสียชีวิตไปแล้วสอนผมว่าใครก็ตายได้ทั้งนั้น ............โลภน้อยลง ปรับ speed ชีวิตใหม่ ฟังมากขึ้นและไม่คาดหวังในงาน

 จะอย่างไรก็แล้วแต่ "งานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคน...คนร่วมกันทำสิ่งดี ๆ ก่อความร่วมมือจนพัฒนาเป็นระบบ...ระบบดี ๆ ย่อมย้อนกลับมาพัฒนาคน เป็นวัฏจักรเช่นนี้ต่อไป"

หมายเลขบันทึก: 270210เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท