“หาคนมุ่งมั่นร่วมฝันจุดประกาย”


SHA

จากบันทึกก่อน แรกเริ่มประเดิม SHA ได้พูดถึง “สินค้า” เรียกว่าเป็น จุดขายดีกว่า...คือแนวคิดของการทำงาน SHA และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ความจริงอาจจะมีบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สองนี้ ซึ่งเป็นชื่อบันทึก

หาคนมุ่งมั่นร่วมฝันจุดประกาย”  

จึงขอนำมาเขียนเป็นบันทึกที่สองเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นต่างๆ ชัดเจนมากขึ้นค่ะ

การที่เราจะสร้างสรรเรื่องใหม่ๆ เราคงจะต้องหาคนที่ใช่ มาเป็นแนวร่วมเพื่อให้การทำงานของเราสำเร็จ

เจ้ามือใหญ่มาช่วยหล่อเลี้ยง..

  • คนแรกที่เราเชิญชวนคือเจ้าของงบประมาณ คือ สสส.  ชวนมาเป็นหุ้นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เราทำงานได้สำเร็จ ไม่ใช่ว่าเงินสำคัญกว่าทุกสิ่ง แต่เงินมีส่วนสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จได้ จริงไหมคะ
  • กลุ่มต่อไปที่เราเชิญชวนมาเป็นส่วนร่วมสำคัญคือ โรงพยาบาล โดยท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละแห่งในโครงการ จำนวน 123 แห่ง มาช่วยกันสร้างภาพฝันในการอยากเห็นระบบสาธารณสุขของเราในอนาคต เขาเรียกว่ามาวาดความฝัน future scenario เพื่อที่จะนำไปสานต่อให้เกิดขึ้นในรพ.ของตนเอง นับว่าเป็นที่น่าปลื้ม ปิติและภาคภูมิใจเป็นอย่างสูงที่ ผอ.รพ.หลายแห่งได้มานั่งฟังและร่วมคิด ร่วมฝันไปกับ สรพ.  http://gotoknow.org/blog/shaduangsa/261993  คิดการใหญ่สร้างแรงบันดาลใจ

  • รพ.มหาวิทยาลัย รพ.ตติยภูมิบางแห่ง ยกขบวนเจ้าหน้าที่มาเรียนรู้เพิ่มเติมจากจำนวนที่เราได้มีโควต้าให้ ผลลัพธ์เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างสูงในรพ.แห่งนี้ ซึ่งแฟนคลับของ SHA คงอาจจะนึกออกใช่ไหมคะ โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ...
  • นอกจากนี้แล้ว เรายังได้รับเกียรติเป็นอย่างสูง จากวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ บางท่านก็ระดับนานาประเทศ เข้ามาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเรา เหล่ารพ. SHA ขอหยิบยกมาให้เห็นตามประเด็นสำคัญหรือแนวคิดสำคัญของ SHA ดังนี้

Narrative medicine ได้รับเกียรติจากท่านดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

Image

จัด workshop เรื่องเล่าเปลี่ยนโลก ท่านมีความสามารถในการเล่าเรื่อง มีศิลปะในการพูด การคิดที่ประณีตสูง ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร แบบทุ่มเทร่างกายและหัวใจให้ SHA เลยที่เดียวค่ะ แบบว่าจัดเต็มๆ สามวัน สามคืนทั้งๆ ที่มีไข้ต้องรับประทานยา paracetamol ตลอด สนใจติดตามได้ที่ http://gotoknow.org/blog/sha-paula/386978  เรืองเล่าเปลี่ยนโลกจริงหรือไม่ มาพิสูจน์กัน

 

หลังจากเรามี Workshop แล้ว รพ.ต่างๆ ก็ไปสร้างบันทึกเขียนเรื่องเล่าจำนวนมากมาย เชื่อมโยงต่อไปจนถึงบันทึกของป้าแดง เลยนะคะ ที่นี่ค่ะ ขอบคุณป้าแดงที่รวบรวมมาให้ค่ะ ที่http://gotoknow.org/blog/hatb/434775 ค่ะ

 

นอกจากจะเห็นภาพของการขยายการเขียนออกไปจำนวนมากแล้ว(ความจริง gotoknow เป็นภาคีที่ support เรามากๆ เลยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ) อยากจะขอนำความเห็นของผู้เข้าอบรมที่ไปอ่านพบในบันทึกมาเพื่อให้เห็นภาพของบรรยากาศ การอบรมที่เป็นกำลังใจให้กับผู้จัดได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ การอบรมของเราเปลี่ยนวิธีคิดคนได้เลยค่ะ ลองอ่านดูนะคะ

 

การอบรมใกล้เลิก ฉันรู้สึกว่าเวลามันผ่านไปเร็วจัง ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีทั้งหมอ พยาบาล เภสัชกร NGO แต่ละคนไม่ได้เป็นอย่างที่ฉันคิดเลย ทุกคนน่ารัก เอื้ออาทร รอยยิ้มที่อ่านแววตาออกว่า พวกพี่ๆมีความเมตตาต่อฉันไม่แพ้เพื่อนร่วมงานที่โรงพยาบาล ฉันได้เติมเต็มความรู้จากวิทยากรระดับประเทศ ภาพวิทยากรดุๆแก่ๆไม่หลงเหลืออยู่ในใจฉันเลย ตั้งแต่เกิดมาฉันยอมรับเลยว่าฉันไม่เคยเจอวิทยากรที่มีวิทยายุทธล้ำเลิศขนาดนี้มาก่อน เพราะตลอดระยะเวลาที่อบรม ฉันมีความสุข ได้หัวเราะ ได้กำลังใจ ทำให้ฉันมั่นใจว่าฉันต้องทำได้ ถึงไม่ดีที่สุดแต่ก็มีโอกาสทำเต็มที่ สิ่งที่ฉันอยากจะทำสิ่งแรกที่กลับไปถึงโรงพยาบาล คือไปกราบขอบพระคุณพี่หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ที่ให้โอกาสฉันได้พบกับสิ่งดีๆ และอยากบอกพี่ด้วยว่า “หนูขอโทษ..ที่นึกโกรธพี่ในครั้งแรก” 

นอกจากนี้ ยังได้รับเกียริตจากท่าน ดร.นพ.สกล สิงหะ

มาเป็นวิทยากรและเขียนบทความให้เราได้อ่าน ได้เรียนรู้แนวคิต่างๆ มากมาย ค่ะท่านได้กล่าวไว้ในบันทึกเกี่ยวกับ narrative medicine ว่า

narrative medicine จะเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่ง ที่ทำให้เกิด "ความหมาย" หรือ "นัยยะ" แห่งการทำงานที่เชื่อมโยงไปสู่คำถาม-คำตอบของที่มาแห่งความเป็นมนุษย์”

เล่าเพื่ออะไร เล่าเพื่อสื่อสาร เล่าเพื่อเยียวยา เล่าเพื่อเสริมพลัง เล่าเพื่อสะท้อน

และอีกหลายๆ บันทึกใน gotoknow แห่งนี้

ท่านได้เขียนถึง SHA ไว้ขอสรุปย่อ มา ดังนี้ค่ะ

  • SHA มากับรอยยิ้มของคนทำงาน
  • SHA สะท้อนต้นทุนชีวิตของผู้คน
  • SHA จะใช้วิธี appreciatvie enquiry และ dialogue เป็นเครื่องมือสำคัญ
  • SHA คือการทำงานประจำเพื่อก้าวพ้นแต่ปนอยู่

ประโยคนี้ชอบมากค่ะ

ความทุกข์ของโรงพยาบาลที่จำหน่ายคนไข้เด็กที่มีระบบลำไส้ล้มเหลวไม่ออก ต้องแบกภาระค่าใช้จ่าย ค่าอาหารทางหลอดเลือดดำที่แพงหูฉี่ อาการก็ทรงๆและรอโอกาสจะทรุด แต่ถ้าเรามองเห็นเพียงแค่ปัญหา เพียงแค่ความทุกข์ เราก็จะ "ติดกับดัก"ถ้าเราไม่ได้เห็นว่าเรากำลังทำงานช่วยชีวิตคน เรากำลังทำให้ชีวิตๆหนึ่ง หากปราศจากความช่วยเหลือทางการแพทย์แล้ว คนๆนี้กำลังจะตายจากการขาดอาหาร กินไม่ได้...

ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์ species อื่นๆตรงที่เรา "สามารถ" ทำเรื่องนี้ได้ และได้ทำกับดักแห่งการคิดติดลบนี้ก็จะหยุดเราอยู่กับที่

การใช้ SHA ที่ slow down จิตของเราให้สงบ และเห็น และรู้สึก เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา เราสามารถสร้างความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงของ events ต่างๆได้มากยิ่งขึ้น ว่าทำไม ทำไม เราจึงได้มาเจอะเจอเรื่องราวเหล่านี้...

นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นกระบวนกร ในหัวข้อ  Salutogenesis ร่วมกับสหายรัก ท่านอ.นพ.วิธาน นพ.วรวุฒิ และป๋าแอ๊ด อ.พัฒนา เสียงเรียง เป็นการนำแนวคิดที่อธิบายยาก ตามทฤษฎี มาทำ work shop ให้เราเข้าใจ คำว่าสุขภาวะกำเนิด ขึ้นมาบ้าง ...

หลังจากการอบรมกลับมา มีรพ.หลายแห่งกลับมาเขียน สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก work shop นี้ สำหรับพอลล่าก็บันทึกไว้ที่ นี่ค่ะ http://gotoknow.org/blog/sha-paula/404416 

มาถึงเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ OM หรือ แผนที่ผลลัพธ์ สรพ.ได้รับเกียรติจาก ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด และทีมงานมาเป็นวิทยากร ให้ได้เรียนรู้และทดลองเขียนกันเลยค่ะ  จากบันทึกนี้

http://gotoknow.org/blog/paula-story/262272?page=1  พอลล่าพบกุนซือ

 

ในปีที่สอง เราก้ค้นพบ หญิงเก่งในดวงใจ พี่เซาะ ของเราที่นำเครื่องมือไปใช้ที่รพ. จนสามารถถ่ายทอดให้ รพ.ได้เข้าใจ OM ได้ดีมากขึ้นเลยค่ะ

และนอกจากนี้ เรายังมีสอง blogger หนุ่มไปแรง มาเป็นผู้เข้าไปถอดบทเรียนจากรพ.ที่น่าจะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณภาพได้ สองท่าน

คือพี่หนานเกียรติ เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร และ

คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เราได้เรียนรู้การทำงานของคนนอกวงการ การมองจากคนนอก ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ประชาชน ในการเข้ามามองการทำงานของรพ. พี่หนานบอกว่า ไม่เคยเห็นรพ.เป็นแบบนี้มาก่อนเลย ภาพเก่าๆ ประสบการณ์เดิมๆ ของพี่หนานที่เคยพบเจอ กับการบริการในรพ.นั้นเปี๋ยนไป ซึ่งพี่ทั้งสองเป็นหัวเรียว หัวแรงสำคัญในการถอดองค์ความรู้ในรพ.ให้สรพ.ค่ะ ติดตามอ่านได้จากบันทึกที่เกี่ยวข้อง ข้างล่างนี้ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/duangsa/256543  narrative

http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/220718 narrative นั้นสำคัญฉไน 

http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/386031 เรื่องเล่าทำไมต้องเล่า

http://gotoknow.org/blog/pcunurse/388293 พยาบาล PCU รพ.หาดใหญ่

http://gotoknow.org/blog/leena-lee/293447 SHA แก่งคอย

http://gotoknow.org/blog/sha-tippramuan/289841 โนนคูณ

http://gotoknow.org/blog/sha-sankamilo/296223 รพ.ซานคามิลโล

http://gotoknow.org/blog/sha-puahos/269156 รพร.ปัว

  http://gotoknow.org/blog/sha-kratainoii/272330 รพ.แม่พริก

http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/162687 พยาธิกำเนิด

http://gotoknow.org/blog/paula-story/262272?page=1  พอลล่าพบกุนซือ

http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/372752

http://gotoknow.org/blog/mr-credit/342323 SHA OM รพ.มโนรมย์

http://gotoknow.org/blog/shapatty/263659

http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror/413709 salutogenesis& self transcendence

http://gotoknow.org/blog/2us4us/314700  บล๊อกจาก ม เชียงใหม่

http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/423112  คุณจตุพร

http://gotoknow.org/blog/kiat12/393635 พีหนานเกียรติ 



คำสำคัญ (Tags): #sha#ถอดบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 435002เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณที่ให้โอกาสดีดีแก่เราชาวพิจิตร

แต่ละท่านน่ะขั้นเทพเลยนะคะขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ'paula'

แวะมาชื่นชมการทำงานค่ะ

Ico48

Oraphan

ขอบคุณชาว รพ.พิจิตร เช่นกันค่ะ ที่มาร่วมสร้างสิ่งใหม่ๆ กับ SHA ค่ะ 

"ชา" ร้านนี้ตกแต่งสวยจัง

รสชาติก็อร่อยด้วย

มามอบกำลังใจให้กับกลุ่ม "SHA" ค่ะ

ประกาย~natachoei ที่~natadee

ขอบคุณสมาชิกทีม มาให้กำลังใจค่า..

ขอขอบพระคุณที่ให้ความรู้ครับ ขอให้กำลังใจในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ยิ่งต่อไปขอรับ

สวัสดีค่ะน้องpaula

  • คุณยายมาส่งกำลังใจค่ะ

ในภาพนั้นเป้นกลุ่มชีวิตใหม่ใช่ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท