กฏหมายลิขสิทธิ์ : การนำวิทยานิพนธ์ของตนเองมาเป็นส่วนหนึ่งของตำรา


กรณีศึกษา :

บุคคลใดได้เขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก แล้วต่อมาประสงค์จะนำวิทยานิพนธ์นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตำราที่ได้เขียนขึ้น เช่นนี้จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

"...ประเด็นนี้ต้องพิจารณาว่า ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของใครระหว่างผู้เขียนวิทยานิพนธ์กับมหาวิทยาลัย เพราะหากลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนย่อมนำวิทยานิพนธ์นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตำราของตนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตใคร แต่หากลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์นั้น ผู้เขียนก็ต้องดำเนินการขออนุญาตก่อนนำวิทยานิพนธ์มาเป็นส่วนหนึ่งของตำรา

ปกติโดยทั่วไป หน้าปกของวิทยานิพนธ์มักจะมีข้อความทำนองว่า "ลิขสิทธิ์เป็นของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย..............." ซึ่งทำให้เข้าใจว่าลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์นั้น

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาให้ถ่อยแท้แล้วจะพบว่า หาได้เป็นอย่างที่เข้าใจกันไม่ เพราะในการเขียนวิทยานิพนธ์นั้น ผู้เขียนไม่ได้รับจ้างมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ ในการเขียน ลิขสิทธิ์จึงไม่เป็นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ อีกทั้งข้อสำคัญคือ การเขียนวิทยานิพนธ์เป็นการใช้ความรู้ความสามารถของผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นโดยแท้ จึงถือว่า ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของผู้เขียนวิทยานิพนธ์ไม่ใช่ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์นั้น

เมื่อลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนย่อมนำมาเป็นส่วนหนึ่งในตำราของตนได้ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติในสังคมไทย มักนิยมที่จะทำหนังสือขออนุญาตจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์เสียก่อน เพื่อไม่ให้ผิดพ้องหมองใจกัน และโดยปกติอีกเช่นกันว่าจะได้รับอนุญาตโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ..." 

.....................................................................................................................................

 

ไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมนะครับ อาจารย์เขียนได้ชัดเจนมากครับ :)

ขอบคุณครับ

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (15 มกราคม 2552).

 

หมายเลขบันทึก: 235414เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ชัดเจนดีแล้วค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ชัดเจนแล้วเปลี่ยน วอ สอง วอ แปด :) น้องคุณครู เทียนน้อย

ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจผิดที่มีต่อลิขสิทธิ์กันมานานนะครับ

แต่คิดว่าคงไม่รวม "ชิ้นงานนวัตกรรม" ที่เกิดขึ้นนะครับ ต้องไปดูข้อตกลงระหว่างผู้วิจัยกับมหาวิทยาลัยอีกทีครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท