สรีร(จักร)ยาน=Bodcycle=สรีรยาน=Bod(y)cycle//รถชีวภาพBiocar


ไม่ใช้น้ำมันไม่กลัวแดดฝนเร็วกว่าจักรยานนุ่งกระโปรงขี่ก็ไม่โป๊

สรีร(จักร)ยาน=Bodcycle=สรีรยาน=Bod(y)cycle

                                                           (เปลี่ยนชื่อเป็น "รถชีวภาพ Biocar" เมื่อ5พ.ค.52)

  

(รูปbodcycleหลังเสร็จphase2 ก่อนนำไปทดลองขับขี่เป็นเวลา1สัปดาห์ เพื่อประเมินการใช้งานจริง แล้วจึงจะทำต่อในphaseที่3ต่อไป)    รายละเอียดใน bodcycleออกมาเป็นตัวจริงๆฯ

 

ความเป็นมา    ผมเห็นประโยชน์ของการขี่จักรยานไปทำงาน+รับส่งลูกมานานแล้ว ได้พยายามชักชวนภรรยาให้มาขี่จักรยานด้วยกันเสมอมา แต่ทว่าผ่านมาหลายปีแล้วก็ยังไม่สำเร็จ เพราะเหตุผลสำคัญของเธอคือ    1. ถ้าต้องแต่งชุดกีฬาไปจากบ้าน พอถึงทีทำงานค่อยเปลี่ยนชุด ก็จะต้องรีบออกเดินทางเร็วขึ้นอีกอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และถ้าจะต้องอาบน้ำอีกก็จะยิ่งนานกว่านั้น

             2. ถ้าให้แต่งชุดทำงานขี่จักรยานไปจากบ้าน พอถึงที่ทำงานอย่างน้อยก็ยังต้องทำผมใหม่ และอาจจะมีรายการกระโปรงเปิดระหว่างทางเป็นของแถม

             3. คนแรงน้อยจะให้ขี่ได้เร็วเท่าคนแข็งแรงคงไม่ได้ (ข้อนี้ผมอยากจะเถียงว่าขี่ไปก่อนแล้วจะแข็งแรงขึ้นเอง แต่คงต้องรอหลังจากแก้ปัญหาข้อ 1.+2.ให้ได้เสียก่อน)

                  เมื่อ 3-4ปีก่อน ผมคิดโครงการ"จักรยานไฮโซ"(high-so bike) แต่ยังไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา และยังคิดว่าน่าจะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้อีก

                  2-3เดือนที่ผ่านมา แบบของจักรยานในฝันของผมก็ค่อยๆตกผลึกออกมาเป็นbodcycle และยังมีแบบเผื่อเลือกที่อยู่ระหว่างจักรยานไฮโซ กับbodcycle ซึ่งอาจเรียกเป็น Modcycle (minus-bodcycle)

                  ไม่กี่วันมานี้ผมพบข่าวโครงการproject10tothe100ของGoogle จึงถือเป็นโอกาสที่จะเปิดตัว"สรีรยาน"bodcycleต่อสาธารณชน พร้อมทั้งถ้าโชคดียังอาจได้รับทุนสนันสนุนจากGoogleอีกด้วย ผมจึงส่งแนวคิดเข้าประกวดในโครงการฯ และแจกแจงรายละเอียดในบล็อกbikeforheavenไปด้วยพร้อมๆกัน(ช่วยกันไปโหวตให้ผมหน่อยก็ดีนะครับ)

I. แนวคิดจักรยานไฮโซ high-so bike

       1) ถ้าเป็นจักรยาน2ล้อคงจะติดตั้งหลังคา+ตัวถังเพื่อป้องกันแดด-ลม-ฝนและโคลนกระเด็นเลอะเนื้อตัวไม่ได้ เพราะเราจะต้องใช้ขายันพื้นไว้ในตอนขึ้นลงและจอดติดไฟแดง ดังนั้นจึงต้องเป็น3-4ล้อ แต่3ล้อจะสร้างได้ง่ายกว่า4ล้อ และได้ข้อยกเว้นเรื่องการจดทะเบียนยานพาหนะตามกฎหมายไทยด้วย

       2) ต้องการให้นั่งสบายๆแบบรถเก๋งและมีความสูงน้อยลง จึงออกแบบระบบขับเคลื่อนใหม่ จากการปั่นบันไดวนรอบแกนหมุนก็เปลี่ยนมาใช้การถีบยันในแนวหน้าหลัง ซึ่งทำได้โดยใช้เฟืองฟรี(ที่มีอยู่ในดุมล้อหลังของจักรยานทั่วไป)มาเป็นตัวเชื่อมถ่ายทอดกำลังขับเมื่อเราถีบเท้าไปข้างหน้า และเฟืองจะฟรีเวลาเลื่อนเท้ากลับมาข้างหลัง นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์แถมพกคือสามารถถีบเท้าทีละข้างสลับกันก็ได้ หรือจะถีบพร้อมกัน2ข้างเมื่อต้องการแรงถีบเพิ่มก็ยังได้ เช่นขณะออกตัวหรือขับขึ้นเนินเป็นต้น

        3) สามารถเพิ่มชุดขับเคลื่อนอีก1ชุดสำหรับคนซ้อนช่วยออกแรง โดยไม่ต้องถีบพร้อมๆกันเหมือนจักรยานตามชายหาด ซึ่งนอกจากไม่เปลืองแรงคนขับมากขึ้นแล้วยังจะช่วยให้ไปเร็วขึ้นได้ด้วย

            แต่จักรยานไฮโซก็มีจุดอ่อนที่น้ำหนักรถจะมากขึ้น ดังนั้นอาจต้องสร้างจากวัสดุที่เบาแต่แข็งแกร่ง เช่นอลูมิเนียมอัลลอยด์+ไฟเบอร์กลาส และใช้อุปกรณ์(เช่นวงล้อ แบริ่ง เกียร์ เบรค)ในระดับคุณภาพของรถแข่ง ซึ่งจะทำให้ราคาแพงขึ้น(สมกับชื่อไฮโซ) ในขณะที่ความเร็วก็คงทำได้ไม่เร็วเท่าจักรยานพวกเสือๆทั้งหลายที่อาจจะราคาถูกกว่า

II. แนวคิด สรีรยาน Bodcycle รถชีวภาพ-Biocar

        1) พัฒนาต่อมาจากจักรยานไฮโซ

        2) ใช้หลักการออกแรงคล้ายการกรรเชียงเรือ ซึ่งจะใช้พลังกล้ามเนื้อจากขา2ข้าง+แขน2ข้าง+ไหล่2ข้างพร้อมๆกัน ต่อเนื่องตลอดเวลา (อาจรวมทั้งกล้ามเนื้อหลัง+หน้าท้องด้วย)  ดังนั้นผู้ขับขี่คนเดียวกันจะสามารถส่งแรงไปขับเคลื่อนรถได้มากกว่าการปั่นจักรยานแบบธรรมดา(ปั่นวนรอบแกนบันได สลับขาซ้ายขวา)เพิ่มขึ้นหลายเท่า  เพราะฉะนั้น แม้ว่าน้ำหนักรถจะเพิ่มขึ้น+บรรทุกสัมภาระอีกพอสมควรก็ยังน่าจะแล่นได้เร็วกว่า+เหนื่อยน้อยกว่าการปั่นจักรยานธรรมดา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มอัตราทดของเกียร์ได้มากขึ้น อาจจะทำความเร็วได้มากกว่าบรรดาเสือทั้งหลายก็เป็นได้ (น่าลองเป็นอย่างยิ่ง)  ขณะเดียวกันในแง่ของการออกกำลังกาย ก็จะเป็นการออกกำลังกายพร้อมกันทั่วร่างกาย พวกสาวๆจึงไม่ต้องห่วงอีกต่อไปว่าจะโป่งเฉพาะน่องเหมือนลุงที่ถีบสามล้อรับจ้าง

       3) สามารถออกแบบให้ลู่ลมซึ่งจะช่วยลดแรงต้านได้มาก (จากประสพการณ์ของผม พบว่าแรงต้านของลมทำให้หนักแรงมากกว่ามีลูกนั่งซ้อนท้าย)

III. กลไกการขับเคลื่อนของBodcycle Biocar

       1) เบาะนั่งวางบนรางที่เลื่อนได้สะดวกในแนวหน้าหลัง

       2) เบาะจะเลื่อนจากแรงดึง+ดันของขา2ข้างพร้อมๆกับแขน2ข้าง

       3) เท้า2ข้างวางบนแป้นเหยียบที่มีสายกระวิน(หรือจะติดล็อคกับรองเท้าแบบจักรยานแข่งก็ได้) เวลาออกแรงงอเข่าจะดึงให้เบาะเลื่อนไปข้างหน้า เวลาเหยียดเข่าจะเป็นการดันให้เบาะเลื่อนไปข้างหลัง

       4) แขน2ข้างดึงและดันแฮนเดิลบาร์ให้เข้าจังหวะกันกับขา

       5) ถ้าออกแบบกลไกการทำงานได้ดีๆก็น่าจะได้แรงจากกล้ามเนื้อหลัง+หน้าท้องด้วย

       6) ตัวเบาะต่อเชื่อมอยู่กับชุดสลักฟรี ซึ่งจะเกาะกับโซ่ด้านบนในขณะที่เบาะเลื่อนไปด้านหน้า และจะเกาะกับโซ่ด้านล่างในขณะที่เบาะเลื่อนไปด้านหลัง  ดังนั้นโซ่จะดึงจานเฟืองให้หมุนไปด้านหน้าตลอดเวลาที่เบาะเลื่อนไป

       7) จานเฟืองในข้อ6จะทำงานแทนบันไดถีบของจักรยานทั่วไป ดังนั้นBodcycleจึงใช้ชุดเกียร์ของเสือภูเขาได้ และยังเพิ่มเกียร์อีก1ชุดที่จานเฟืองนี้ได้ด้วย ทำให้เพิ่มอัตราทดเกียร์ได้อีกมาก เช่นมี3x3x8เกียร์ และถ้าต้องการก็สามารถเพิ่มได้ถึง8x3x8เกียร์(ถ้ามีแรงมากพอ)

IV. ระบบเบรคแบบแลกพลังงานคืนกลับเป็นไฟฟ้า

        ใช้บ็อชปั่นไฟของจักรยาน2-6ตัวมาต่อเป็นแผง2แผง ประกบ2ข้างแก้มยางแทนผ้าเบรคล้อหลัง เวลาเบรคก็จะได้ไฟฟ้าสามารถเก็บไว้ในแบตเตอรีเล็กๆเพื่อใช้กับไฟเลี้ยว ไฟส่องทาง พัดลม และเครื่องเสียงได้  แต่ถ้าจะใช้ขับเคลื่อนรถด้วยจะต้องเสียบชาร์จไฟบ้านได้ด้วย หรือถ้าให้ดีควรเป็นระบบโซลาเซลล์ก็จะดีมากๆ(=option) ส่วนเบรคของล้อหน้ายังเป็นเบรคธรรมดาเพื่อจะสามารถหยุดรถได้ทันที (บ็อชปั่นไฟทำหน้าที่หน่วงให้รถช้าลงเรื่อยๆค่อยๆหยุด อาจเบรคไม่ทันในสถานการณ์ฉุกเฉิน)

V. ข้อดีของการขี่จักรยานแทนการใช้รถส่วนตัว

         1. ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล/นิวเคลียร์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม  หรือแม้แต่เชื้อเพลิงชีวภาพ

         2.ถึงที่หมาายเร็ว หาที่จอดง่าย (ดูtipsในประวัติย่อฯ )

       3.ประหยัดมากๆ (ดูในเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายฯ)

       4.ได้ออกกำลังกายขณะเดินทาง=เปลี่ยนท้องถนนเป็นสวนสุขภาพ

       5.ใช้หน้ากากชุบน้ำปิดปาก+ขับจักรยานไฮโซ/สรีรจักรยานก็เหมือนขับรถติดแอร์

VI. ปัญหา อุปสรรค + แนวทางแก้ไข 

       1) สลักฟรีไม่มีขาย ต้องสั่งทำขึ้นเอง ไม่แน่ใจว่าจะหาโรงกลึงที่มีฝีมือพอทำได้หรือไม่  ->ใช้เฟืองฟรีของดุมล้อแทนได้ แต่จะทำให้มีเกียร์ถอยหลังไม่ได้

       2) การเลื่อนเบาะในแนวหน้าหลังเป็นวิธีที่คนทั่วไปไม่คุนเคย ->ใช้การฝึกฝนบ่อยๆจะชำนาญขึ้นเอง ,อาจมีวิธีอื่นอีก-รอดูหลังจากทดลองใช้รถต้นแบบก่อน

       3) การออกแรงดึง+ดันที่แฮนเดิลบาร์อาจกระทบต่อการบังคับเลี้ยวได้ ->แก้ไขเช่นเดียวกับข้อ2

       4) แป้นเหยียบ+สายกระวินเท้าจะใส่-ถอดลำบาก +ไม่ค่อยสบายเท้า ->อาจใช้รองเท้ากีฬาขนาดใหญ่ๆมาตรึงไว้กับแป้น หรือจะใช้รองเท้าแข่งจักรยานแบบมีแป้นล็อคกับบันไดรถ จะล้อค+ปลดล็อคได้ง่าย แต่ต้องมีรองเท้าเฉพาะของแต่ละคน และราคาจะแพงกว่ารองเท้าปกติ

       5) จักรยาน3ล้อไม่สามารถยกขึ้นจูงบนทางเท้าเหมือน2ล้อ ดังนั้นจึงเลี่ยงone wayไม่ได้ ->ข้อนี้ต้องทำใจครับ(แต่ก็ยังซอกแซกไปตามตรอกซอยได้ดีกว่ารถยนต์ครับ)

VII. คำถามคำตอบในproject10tothe100.com

- โปรดระบุประโยคที่อธิบายความคิดของคุณได้ดีที่สุดประโยคเดียว  (ขออภัยครับ ว่าจะลงคำถามคำตอบที่ส่งไปประกวดโครงงานกับGoogle /project10tothe100.com แต่ปรากฏว่าทำfileต้นฉบับหายไปแล้วครับ ถ้าสนใจสามารถไปอ่านจากwebsiteได้โดยตรงครับ แต่คงต้องรออ่านหลังวันที่17มี.ค.2552ครับ)



ความเห็น (4)

ต้องออกมาดีแน่ๆเลย 1ในสมาชิกgotoknowขอเชียร์ค่ะ

ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ อย่าลืมเข้าไปช่วยโหวตคะแนนให้ผมในwww.project10tothe100.com ด้วยนะครับ    ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ประภัสร์ คล้ายสุบรรณ

ชื่นชมในความคิด และเป็นกำลังใจให้ครับ และแอบแซวเล็กๆว่า ยังไงก็ยังต้องอาศัยเชื้อเพลิงชีวภาพทางอ้อมอยู่ดี เพราะต้องใช้เติมให้คนขี่ครับ อิอิ

ขอบคุณที่เข้ามาเม้นต์ครับ. ตอนนี้ผมพัฒนาต่อไปถึงโมเดลที่4แล้วครับ ระบบขับเคลื่อนผมคิดว่าลงตัวดีแล้ว หลังคาก็กันแดดกันฝน+กันลมได้ดี(ไม่ต้องเผื่อเสื่อกันฝนไว้ในรถอีกต่อไป อิอิ) ฝนตกก็กางร่มไปปิดประตูรั้วแล้วมาขึ้นรถขับไปทำงานได้ครับ

ที่ยังรอพัฒนาก็เหลือเพียงการผลิตด้วยวัสดุที่เบาๆเช่นโครโมลีย์/หรือกราไฟต์/คาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยให้ขับขี่ได้เร็วขึ้น/ไปได้ไกลขึ้นน่ะครับ ปัจจุบันยังใช้เหล็กแป็บธรรมดา ผมเลยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วยผ่อนแรงครั

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท