แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

อันเนื่องจาก ….. เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (8)


ต่อเนื่องจาก "อันเนื่องจาก ….. เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (1,2,3,4,5,6,7)"

 

 

 

                     

เข้าเลือกอ่านบทความต่อเนื่อง


1.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(1)
2.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(2)
3.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(3)
4.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(4)
5.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(5)
6.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(6)
7.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(7)
8.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(8)
9.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45(9)
10.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิต ในปี '45(10)
11.) เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิต ในปี '45(11

แต่ในวันที่ 6 นี้เองที่แตงดันกำหนดจิตให้อยู่กับการเจ็บปวดเพื่อจะได้ไม่ต้องคิดเรื่องพฤติกรรมของคน ...
และเป็นครั้งแรกที่แตงกำหนดจิตให้พิจารณาสังเกตความเจ็บปวดว่ามันเริ่มเกิดอย่างไร มีอะไรเกิดขึ้นกับตัวเองบ้าง และได้คำตอบด้วยนะคะ
... ออ ... มันเริ่มปวดแล้ว ... และวิ่งเป็นริ้วๆ ไปตามข้อไปกล้ามเนื้อ มันปวดมาก เกิดอาการเย็นตามจุดที่ปวด
พอเพ่งไปสักพักก็เกิดอาการอุ่นและความปวดเริ่มเปลี่ยนไปลดน้อยลง ...
และเริ่มมีอาการชาตามจุดที่วิ่งริ้วๆ ของอาการปวด ...
เพลินมากเลยค่ะ แตงนั่งพิจารณานานมาก
มารู้ทีหลังว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง ... อาจารย์เป็นผู้บอกนะคะ
เพราะจิตจะล้า แทนที่จิตจะไปอยู่กับการพิจารณาเวทนา
จิตนั่นแหล่ะจะต้องเสียพลังไปกับการรักษาความเจ็บปวด และการพิจารณาเวทนาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
และเข้าใจเลยค่ะว่า ... เวลาคุณแม่คลอดพวกแตง ... คุณแม่คงจะปวดสุดๆ ...
เพราะนี่เพียงท่านั่งท่าเดียวในระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมง แตงยังเจ็บปวดมากขนาดนี้ ... 
แล้ว ตอนคุณแม่คลอดพวกแตงหล่ะ ตั้ง 4 คนแหน่ะ ... และคลอดธรรมชาติด้วย ... สมัยก่อนผ่าคลอดก็ยังไม่มี ... คุณแม่คงปวดมากกกกกกก ... (ลากเสียงยาวนะ) ...
หรือไม่อาการปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ของป้าซู ... คงปวดอย่างนี้นี่เอง ... ปวดสุดแสน ... ปวดชนิดที่อยากจะตัดขาทิ้งนั้นเป็นอย่างไร ...
แตงพิจารณาการเกิดและดับของความเจ็บปวดจนไม่ได้ยินเสียงระฆังพักกลางวัน ... จนเลยเที่ยง ...
พี่ที่เป็นธรรมบริกรต้องเข้ามาปลุกและบอกว่า ... เป็นช่วงถามตอบคำถามแล้ว ขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติรวม
... ดูเถอะแตงอยู่ในภวังค์จนเลยเที่ยง ... ลงไปกินข้าวเขาก็เก็บเกือบหมดแล้ว ...
หลัง จากช่วงนั้นแตงนั่งอย่างระวังมากกลัวจะเข้าสู่ภวังค์อีก และกลัวว่าถ้าฉันอยู่ในอาการนั้นอีก แล้วจะมีใครมาปลุกฉันมั๊ยเนี่ย และฉันคงจะต้องนั่งไปจนเช้าแน่ ...
แต่ใช้วิธีใหม่คือ ... ให้จิตรับรู้สิ่งรอบข้างด้วย ...
พูดคุยกับตัวเองว่า ... ออ ... เสียงนกร้องนะ ... เสียงรถ ... เสียงคนไอ ... กระแอม ... และเสียงอะไรอีกจิปาถะ ...
แต่อยู่ในอาการที่จิตนิ่งนะ รับรู้สิ่งรอบข้างอย่างตั้งใจ ...
ทีนี้แหล่ะมันดันชอบฟังเสียงธรรมชาติเหล่านั้นเสียแล้วซิ ...
พอระฆังตีบอกให้พักดันไม่อยากจะลุกขึ้น ... ชอบฟังคนเดินผ่านหน้าตัวเองไป ...
และบอกตัวเองว่า ... ขออีกนิดนึงนะ ... เพราะชอบเสียงเหล่านั้นมาก ...
ดูนะพี่เกิดอาการติดยึดอีกอย่างเสียนี่ และยังชอบพิจารณาอาการเจ็บปวด
เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำให้นั่งอยู่ได้นาน ...
แต่ก็ยังระลึกถึงคำสอนของอาจารย์นะว่า ไม่สมควรกระทำ แต่จิตมันชอบแล้วซิ ของแว๊บไปพิจารณานิดนึงนะ

 

 

 

 

บทความต่อเนื่อง
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (1) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (2) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (3) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (4) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (5) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (6) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (7) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (8) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิตในปี '45 (9) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิต ในปี '45 (10) (ที่นี่)
เนื่องจาก...เริ่มวิปัสสนาครั้งแรกของชีวิต ในปี '45 (11) (ที่นี่)

 

แนะนำบันทึกเพิ่มเติม 
หลังจากกลับจากวิปัสสนา "ธรรมกมลา" ปี ๒๕๕๒

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 238826เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท