การพัฒนาหลักสูตรและวิธีเป็นครูโรงเรียน อสม. : ๑.ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.


เครือข่ายศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น และภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีแนวคิดที่จะพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนและในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศในการสร้างพลังของผู้บริโภคในระดับชุมชน โดยเอาประเด็นความสนใจและทุนศักยยภาพที่ชุมชนมีอยู่แล้วเป็นตัวตั้ง เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อบรรลุจุดหมายการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตพร้อมไปกับการพัฒนาคนและชุมชนให้มีความเท่าทันในการจัดการความเปลี่ยนแปลงด้วยการพึ่งตนเองได้มากยิ่งๆขึ้น

กลุ่มเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโครงการก็คือ กลุ่ม อสม.และกลุ่มพลเมืองจิตอาสาในชุมชนต่างๆของประเทศ หน่วยงานที่ให้การสนุบสนุนที่สำคัญก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ : สสส สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค : สคบ และ สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ : สปสช

คนทำงานในเครือข่ายโครงการชุดนี้ เป็นมือวิชาการและนักวิจัยสุขภาพชุมชนมือดีในศูนย์สุขภาพภาคประชาชนของกระทรวงสาธารณสุขที่ผมรู้จักดีมากกว่า ๒๐ ปี และผมเคารพนับถือเป็นพี่ๆเพื่อนๆทั้งสิ้น เป็นผู้ที่มีบทบาทตัวจริงส่วนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของงานสาธารณสุขมูลฐานไทยและกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่เคลื่อนไหวเข้าสู่การนำการพัฒนาสุขภาพชุมชนในยุคปัจจุบัน

ทีมผู้ประสานงานสองท่าน ท่านหนึ่งเดินทางมาจากภาคใต้และอีกท่านหนึ่งเดินทางมาจากนครสวรรค์เพื่อมาประชุมที่อำเภอสามพราน นครปฐม แต่ถือโอกาสหอบหิ้วกันปลีกเวลาไปนั่งคุยกับผมที่ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลว่าขอให้ไปช่วยจัดกระบวนการให้หน่อย

ผมจับประเด็นเอาเองซึ่งพอสรุปได้ว่าเครือข่ายโครงการนี้เขาต้องการบูรณาการการบริหารจัดการอย่างเป็นยุทธศาสตร์โดยวิธีทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ซึ่งนำเสนอโดยหมออมร นนทสุต กูรุ ด้าน อสม ของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็ต้องการนำเอาการทำแผนที่ประเมินผลลัพธ์มาใช้ด้วย  

นอกจากนี้ ก็ต้องการผสมผสานการจัดการความรู้เข้าไปด้วย โดยได้ดึงกลุ่มผู้มีความสำเร็จเป็นบทเรียนตัวอย่างหรือ Best Practice จาก อสม. ที่เป็นตัวอย่างระดับประเทศหลายสาขา รวมทั้งนักวิชาการ หมออนามัย เภสัชกรชุมชน และทันตแพทย์ชุมชน ที่จัดว่าเป็นผู้มีความสำเร็จในการทำงานชุมชนอย่างเยี่ยมยอดในระดับประเทศ จาก ๙ จังหวัดของประเทศและรวมแล้วประมาณ ๓๐ คน ไปประชุมเชิงปฏิบัติที่ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเวลา ๓ วัน ๑๘-๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ 

ในทรรศนะผมนั้น ๓-๔ เรื่องนี้เป็น ๓ มิติบนเรื่องเดียวกัน หากคนไม่เข้าใจก็จะเห็นว่าเป็นงานหลายงานเหมือนกับเป็นการมองงานและระบุความต้องการไม่ชัดเจน แต่ถ้าหากพิจารณาให้เข้าใจแล้วก็จะทราบได้ว่าเป็น ๓ มิติบนเนื้อหาของงานเดียวกัน

การทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นั้น จัดได้ว่าเป็นการวางแผนเพื่อบริหารจัดการองค์ประกอบต่างๆสำหรับทำงานให้ได้ผลตามเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนแผนที่การประเมินผลลัพธ์ก็เป็นกระบวนการเรียนรู้การปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการสิ่งต่างๆให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับแผนที่ยุทธศาสตร์ที่มี การจัดการความรู้เป็นวิธีบริหารจัดการปัจจัยด้านศักยภาพคนและวิธีทำงานด้วยกันให้ได้ผลดีที่สุดด้วยการใช้ความรู้ในการปฏิบัติอย่างผสมผสาน และโรงเรียน อสม.เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคก็เป็นเนื้อหาของงานเครือข่ายโครงการนี้นั่นเอง  

ผมนั้นกริ่งเกรงใจมากว่าจะไปทำให้ได้ไม่ค่อยดี อีกทั้งเมื่อดูลักษณะงานและความต้องการแล้ว หากต้องการทำเชิงกระบวนการที่ให้ประสบการณ์ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมประชุมเป็นฐานในการคิดและจัดกระบวนการต่างๆให้งานออกมาดังต้องการแล้วละก็ คงต้องเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อปรับกระบวนการต่างๆด้วยกันซึ่งต้องให้เวลาเป็นอย่างมาก เกรงจะไม่มีเวลาเตรียมตัวด้วยกันพอ

แต่สองท่านซึ่งเป็นคนทำงานจริง อีกทั้งลงทุนเดินไปขอความร่วมมือกันด้วยตนเอง พร้อมกับเตรียมข้อมูลเพื่อช่วยเตรียมการต่างๆอย่างเรียบร้อย จึงช่วยให้สามารถช่วยกันทำการศึกษาและหารือกันได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็เลือกให้เป็นวันทำการเพียง ๑ วัน ที่เหลือเป็นวันเสาร์-อาทิตย์

จากนั้นก็ช่วยกันเตรียมการและวางแผน ต่างก็พอจะนึกภาพต่างๆกันออกและกลับไปเตรียมตนเองกันอย่างคู่ขนาน เมื่อถึงวันงานก็จะได้ตั้งหลักซักซ้อมแล้วทำงานกันได้เลย.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 คลิ๊กลงไปบนชื่อเรื่อง  เพื่ออ่านเนื้อหาทั้งหมด ๑๒ ตอน   ท่านกำลังอ่าน ตอนที่ ๑  

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์.

หมายเลขบันทึก: 368666เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ไม่มีความรู้ที่จะคอมเม้นท์ แต่สนใจเรื่องโรงเรียน อสม. น่าจะช่วยพัฒนาชาวบ้านได้มาก

ผมเองนั้นก็สนใจมากเช่นเดียวกันครับ น่าจะเป็นพื้นที่ทางปัญญาและพื้นที่การเรียนรู้ในวิถีประชาสังคม ที่สอดคล้องกับความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ทัดเทียมและมีความสมดุลกับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาการและเทคโนโลยี อยู่เสมอเลยนะครับ

มาชม

มาเชียร์

เดี๋ยวว่าง ๆ คงได้อ่านบันทึกนะครับผม...

ตามมาจากบันทึกของ ดร.ประพนธ์ค่ะ...

น่าสนใจมากเลยค่ะอาจารย์...แต่กะปุ๋มยังตามดูไม่ครบสิบสองตอน ขอเข้ามาบอกรอยก่อนว่ามาเรียนรู้จากความกรุณาที่อาจารย์นำมาเผยแพร่และบอกเล่าค่ะ

Zen_pics_007 

ขอบพระคุณค่ะ

555 ขอหัวเราะมาก่อนนะคะอาจารย์...ให้ความเห็นก่อนหน้านี้

แล้วไปเปิดดูบันทึกตัวเอง พบว่าอาจารย์ก็กรุณานำสิ่งที่ดีนี้ไปฝากเช่นกัน...

ประทับใจมากเลยค่ะ

(^_________^)

ด้วยความเคารพและนับถืออย่างยิ่งเลยค่ะ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ดร.umiครับ
  • ขอบพระคุณที่มาเยือนครับ
  • ขอคารวะครับ
  • สวัสดีครับ ดร.Ka-Poom ครับ
  • ดีครับ ได้เข้ามาทักทายกันหลายๆรอบ เหมือนได้แวะมาเปลี่ยนอริยาบทกันนะครับ
  • ได้อาศัยเข้าไปอ่านและดูรูปถ่าย-งานเขียนของ ดร.Ka-Poom อยู่เป็นระยะๆนะครับ
  • เลยขอถือโอกาสขอบคุณและขอให้มีความสุขมากๆเช่นกันครับ

-ประสบการณ์การทำงานชุมชนในฐานะวิทยากรสุขภาพ การลงพื้นที่เห็นภาพจริงในชุมชนคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ

-ฝึก อสม ให้ปฎิบัติจริง เจาะเบาหวาน เป็น ดีเจ ตรวจร้านอาหาร แผงลอย เงาะถอดรูป

แต่หนูไม่ได้รับงานตรง  อสม แต่หนูคลุกคลีกับงานของ อสม ทุกงาน

-อสม ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของชาวบ้าน ก่อนอสม เป็น เราต้องเป็นก่อน  หนูทำน้ำยาอเนกประสงค์เอง หมักอีเอ็ม  ซักผ้า ทำอาหาร ปลูกผักกินได้หลังบ้าน        ทำงานให้เกิดประโยขน์ ให้ชาวบ้านเห็น ถ้าเราไม่ทำ คนอื่นไม่เชื่อเรา ค่ะ 

สวัสดีครับคุณichครับ

  • สั้น กระชับ แต่เจาะจงตรงประเด็น วิธีสอนที่เป็นเนื้อเดียวกับชีวิตแบบ 'ทำให้ดู อยู่ให้เห็น'
  • "...หนูไม่ได้รับงานตรงอสม.แต่หนูคลุกคลีกับงานของอสม.ทุกงาน..." เยี่ยมไปเลยครับ เป็นการแบ่งปันปัญญาจากประสบการณ์ชีวิตและให้ทรรศนะที่สะท้อนความเป็นผู้มีจิตใหญ่ใจกว้าง มีจิตสาธารณะและคุณธรรมต่อความเป็นส่วนรวมอยู่ในการปฏิบัติ ไม่ได้ทำเพียงแค่เป็นหน้าที่ตามตำแหน่งเงินเดือน
  • สังคมมักกล่าวถึงอยู่เสมอครับว่าต้องการคนทำงานอย่างเอาธุระต่อความเป็นส่วนรวมเป็นที่ตั้งอย่างนี้
  • เห็นด้วยครับ การได้ทำและใช้ชีวิตเพื่อพิสูจน์ ทดลอง และตรวจสอบความรู้เพื่อการทำงาน ให้รู้และได้ผลจริงนั้น หากต้องสอนและถ่ายทอดแก่ผู้อื่น นอกจากจะทำให้ผู้อื่นเชื่อถือได้แล้ว เราเองก็เชื่อมั่นในตนเองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
  • 'เงาะถอดรูป' นี่มันอะไรครับเนี่ย ตามไม่ทันเสียแล้วละครับ
  • แวะนำสิ่งดีๆมาแบ่งปันและบันทึกถ่ายทอดไว้อีกนะครับ คนทำงานด้วยกันจะได้ประโยชน์ครับ
  • ก๊ากกกกกกก ก ก
  • เป็นปรัชญาชีวิตและอุดมการณ์เพื่อการปรองดองแห่งชาติดีมากครับคุณหมอสีอิฐครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท