พาชมเกษตรกรตัวอย่าง "ทำนาดำ ผลิตเมล็ดพันธุ์ แบบสวยเลือกได้ สร้างความมั่นคง บนวิถีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"


การผลิตทางด้านการเกษตรไม่ได้เป็นเพียง การปลูกข้าวหรือพืชผักผลไม้เพื่อขายเท่านั้น  หากแต่เป็นการลงฝีมือทุกขั้นตอนของการผลิต อาจารย์สุภาภรณ์ ชิเกโตมิ ได้กล่าวถึงลักษณะการผลิตเช่นนี้ว่าเป็นการทำงานของ “ช่างฝีมือ” ไม่ใช่ชาวนาธรรมดา

หลังจากต้นกล้า ได้เขียนบันทึก ว่าด้วย "หลักการ และการจัดการ ต่างๆ ในนาข้าว ในครัวเรือน แบบผสมผสานครบวงจร" ตั้งแต่

1."จัดระเบียบการปลูกข้าว จากเเปลงนา สู่การพัฒนาประเทศ "บทเรียนรู้จากญี่ปุ่น ที่ผู้ใหญ่ต้องศึกษา

2.การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ก้าวสู่เกษตรอินทรีย์ ในไต้หวัน ญี่ปุ่น (มีตัวอย่างที่นครสวรรค์ แล้วครับ)

3.ทางเลือกในการผลิตข้าว "เมื่อการทำนา คือ การลงทุน ที่ไม่รู้ผลตอบแทน"

4.ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว S.R.I “Achieving More with Less: A new way of rice cultivation" “ผลิตให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง: หนทางใหม่ในการเพาะปลูกข้าว”

5.Aging Society จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป เมื่อ "อายุ ไม่เข้าใครออกใคร เกษตรกรต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนแก่"

6.Q:ประสิทธิภาพการจัดการเเปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว อยู่ที่ไหน A:อยู่ที่ "ทัศนคติ" ที่มีต่อฟางข้าว และเพื่อนร่วมโลก

7.วงเวียนชีวิต เศรษฐกิจริมคันนา "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา"

8.Aging Society ในภาคเกษตร ภาค 2 : เมื่อประชากร 100 คน เหลือคนทำการเกษตร 2 คน กับ "คนที่มีที่" ก็คือ "คนที่มีทาง"

9."Rice is Life"-1 ว่าด้วย วิธีการเพาะปลูกข้าว

10.ข้าววัชพืช เป็นวิกฤติชาติ - ชาวนาไทย : ทำนาปี นาปรัง มีแต่หญ้า ยา ปุ๋ยเคมี

11.Rice is life-2 : จากเกษตรกรรายย่อยสู่การรวมกลุ่ม - ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร บ้านช้างมิ่งสามัคคี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

12.รวมกลุ่มทำนาดำ "แบบสวยเลือกได้" ผลิต "เมล็ดพันธุ์ดี บริสุทธิ์ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้

13.Rice is life : โลกต้องปฏิรูประบบเกษตรกรรมรับมือประชากร 9,000 ล้านคน ใน 40 ปี กับเทคนิคการจัดการน้ำในเเปลงนา: AWD ของ IRRI

วันนี้ต้นกล้า ก็ถือโอกาส เอาหนึ่งตัวอย่างเกษตรกรหัวก้าวหน้า (จากหลายๆ ตัวอย่างที่จะทยอยมานำเสนอใน G2K)  ที่ได้นำเทคนิค

"หลักการ การจัดการ และวิธีการ ดังกล่าวข้างต้น ลงสู่เเปลงปฏิบัติ"  

ลงสู่เเปลงปฏิบัติ  ว่ากันด้วยของจริง เกษตรกรตัวจริง เเปลงนาจริงในเมืองไทย

 

หลักอย่างหนึ่งที่ต้นกล้า น้อมนำแนวพระราชดำริ มาใช้ในการปฏิบัติงาน กับเกษตรกรก็คือ

 

"เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

 

ท่านที่ผ่านไปนครสวรรค์ สามารถ ไปทำความ เข้าใจ เข้าถึงได้โดยตรงครับ ไปสัมผัสชีวิต ชาวนา ที่ทำนาแบบเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ มีรายได้ที่มั่นคงขึ้น ได้ทุกวันครับ

ถนนสายนครสวรรค์-บรรพตพิสัย อยู่ซ้ายมือ

(สายบ้านแก่ง ริมแม่น้ำปิง)

 

การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ก้าวสู่เกษตรอินทรีย์ ในไต้หวัน ญี่ปุ่น


ตอนต่อไป พบ บัญชี รายได้ และต้นทุนการทำนา

ในรอบแรก ของลุงกมล สังข์อ่อน  ครับ

และประมาณการในรอบปัจจุบัน

ที่เริ่มปักดำ 12 ธันวาคม 2553 เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคม 54


ทิ้งท้ายบันทึก

ทุกเรื่องเมื่อดูจบคำถามก็คือว่า แต่ละเรื่อง

"ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ"


หมายเลขบันทึก: 421887เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2011 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

พี่คิมว่าบันทึกของต้นกล้ามีคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติมากนะคะ  ทำอย่างไรที่จะให้มีผู้เข้ามาเรียนรู้ได้มาก ๆ

ตอนนี้พี่คิมอยู่ที่เปียงซ้อ  จัดค่ายที่โรงเรียน  ในชุมชนมีนาขั้นบันไดที่กำลังพัฒนาตามโครงการปิดทองหลังพระค่ะ

นักเรียน ครู น่ารักมาก  ไม่น่าเชื่อว่าจะพบได้ในโรงเรียนสูงบนยอดดอยค่ะ

  • มาอ่านสาระดี ๆ ที่ขออนุญาตนำไปบอกต่อก็แล้วกัน
  • ขอบคุณ  ขอบคุณ

สวัสดีค่ะคุณต้นกล้า

  • คุณยายไปเยี่ยมบ้านมา มีของมาฝากด้วยค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม ครับ

Ico48 Ico48 Ico48 Ico48

พี่คิม ต้นกล้าขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

คุณมะเดือ ยินดีมากครับ

คุณกานดา ขอแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาวด้วยครับ

คุณยาย ขอบคุณมากครับ แวะไปเยี่ยมที่บันทึกแล้วครับ

  • มาบันทึกนี้สุขใจจัง....
  • หากคนไทยช่วยเหลือตนเองได้เช่นนี่ประเทศไทยจะรอดได้นะคะ
  • หากพยาบาลหันไปทำนาคงสนุกไม่เบาเลยนะนี่

Ico48 ขอบคุณพี่อุ้มบุญครับ

ล่าสุด ดูคลิป ของสสส. บรรเจิดมากครับ ลองตามไปดูนะครับ

ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เกิดขึ้นได้อย่างไร  กับ TVC  ฝีมือใคร ....

http://www.youtube.com/watch?v=W_suOnq0V0M&feature=sub 

สรุป

ผู้นำพร้อม + ชุมชนพร้อม + ความรู้พร้อม=ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ผมชอบมองการพัฒนาการเกษตร เป็นมิติของการพัฒนาร่วมกันของชุมชน ของกลุ่มเกษตรกร มากกว่าต่างคน ต่างทำ เพราะมันไม่ยั่งยืน แล้วก็ล้า ด้วย ช่วยๆกันครับ

ลุงกมล แกมี "หุ้นส่วนที่มีความชำนาญ" มาช่วยลงแขกในเเปลงนา ด้วยครับ

ทั้งความคิด เครื่องมือ และความตั้งใจ ครับ ไว้คอยติดตามนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจคนทำงาน พร้อมกับมาชมเกษตรกรตัวอย่างค่ะ
  • คุณต้นกล้าสบายดีนะค่ะ ด้วยความระลึกถึงกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                               

ขอบคุณมากสำหรับเรื่องเป็ดในนา กำลังสนใจอยู่พอดีครับ

ขอบคุณมากค่ะ..ชื่นใจที่ได้เห็นบุคคลตัวอย่างและภาพการเกษตรที่มีประสิทธิผลจากภูมิปัญญาไทยเช่นนี้..พี่ใหญ่ขอมอบดอกไม้ให้บทความดีๆนี้ค่ะ..

          ดอกกล้วยไม้หวายแคระบานหน้าบ้านยามเช้า

ขอขอบคุณ

Ico48 Ico48 Ico48

คุณบุษรา ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ

อ.ขจิต ไว้เอามาแลกเปลี่ยนเรียนกันครับ

พี่ใหญ่ คนทำดี เป็นตัวอย่างได้ ต้องประชาสัมพันธ์ครับ สู้ๆ

 

สวัสดีค่ะ คุณต้นกล้า

นาแปลงที่เห็น อยู่ห่างที่ทำสวนกล้วยของดิฉันประมาณไม่ถึง 1 กิโลเอง

(แต่ดิฉันไม่เคยไปทำสวนนี้ เพราะบ้านอยู่อำเภอเมือง นานๆ จะไปสักครั้ง)

เมื่อก่อนที่นานี้ก็ไม่สวยอย่างนี้ เพิ่งเห็นปีนี้ที่ทุ่งนาสวยเป็นระเบียบ

สระที่เห็นนั่นก็เพิ่งขุด แสดงว่าคุณต้นกล้าเพิ่งมาถ่ายรูป

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลนะคะ จะได้แวะไปเที่ยวชม

Ico48 คนบ้านใกล้เรือนเคียงนี่เอง ว่างๆ แวะไปคุยกับ คุณกมล (ลุงมี) ได้นะครับ

ต้องไปเข้าใจ และเข้าถึง ที่เเปลงนา จริง ครับ  

เป็นประโยชน์แก่มวลชนมากครับ ขอร่วมแบ่งปันนะครับ

Ico48 ขอบคุณ คุณราชิต ที่มาเยี่ยมเยียน ครับ

 

สวัสดีค่ะ  คุณต้นกล้า

ลงสู่เเปลงปฏิบัติ  ว่ากันด้วยของจริง เกษตรกรตัวจริง เเปลงนาจริงในเมืองไทย

ดิฉันอยากให้ชาวนาแถวบ้านดิฉัน มาเห็น มาดู และนำไปใช้บ้างจริงๆ (เลิกใช้ยาฆ่าแมลง ไม่เผาซังข้าวซะที...)

ขอบคุณมากๆค่ะ

 

Ico48 คุณครูมีนา ครับ น่าจะลองจูงใจเด็กๆที่โรงเรียน ให้นำเสนอแผนการทำการเกษตรของที่บ้าน อย่างเป็นกระบวนการ ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม  ครับ จะได้แลกเปลี่ยนกันเรียนรู้ก่อน

ทำแบบนี้เพราะอะไร ทำไมไม่ทำแบบนั้น...จะได้เกิดวงสนทนา >: กลับไปคุยกับผู้ปกครองต่อได้ครับ 

ยอดเยี่ยมค่ะ ชอบการเลี้ยงเป็ดและเป็ดไปว่ายน้ำในร่องนาน่ารักมากๆ

การที่เกษตรกรอื่นๆจะทำเช่นนี้ได้บ้างทางเทคนิคไม่ใช่เรื่องยากแต่มิติทางจิตใจที่มีความเคยชินและไม่อยากเปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะรู้ว่าทำอย่างเดิมไม่รอดแต่ก็ไม่กล้าพอที่จะแหวกกับดักความคิดของตนเอง

เมื่อไม่กี่วันพี่ได้ไปแถวบ้านแพรก ในอยุธยา ได้ทานข้าวโพดข้าวเหนียวตัดใหม่ๆแล้วต้ม หวานอร่อยมาก ไม่ใช่หวานเพราะสดเท่านั้นแต่หวานที่เมล็ดซึ่งจะมีเมล็ดบางช่วงที่จะหวานสลับกับเมล็ดที่รสชาติเดิมของข้าวโพดข้าวเหนียวซึ่งไม่ได้หวานโดดเด่น จึงถามถึงเมล็ดพันธุ์อยากได้ไปปลูกบ้าง แต่คำตอบคือ เกษตรกรได้เมล็ดพันธุ์จากผู้ที่มารับซื้อ ซื้อเมล็ดพันธุ์กันเช่นนี้ ไม่มีเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ปลูกในช่วงต่อไปได้ น่าวิตกว่าการทำเช่นนี้ทำให้เกษตรกรไม่ต้องคิดพยายามคิด สังเกต ปรับปรุงพันธุ์พืชเอง เป็นการสูญเสียความรู้เดิมของตนเองไปเรื่อยๆและต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์จากบริษัทตลอดเวลานะคะ

 Ico48 ขอบคุณครับ พี่นุช

แนวความคิดของผมคือ "ทำเรื่องง่ายๆ ที่เกษตรกรเข้าใจ เข้าถึง ได้ง่าย ทำเองได้ดีที่สุด"

บางอย่าง ที่เค้ายังไม่มั่นใจ ผมอาสา "ลงขัน" ทำด้วย ไม่เอากำไร ให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่า

ไม่ทิ้งให้เค้าเดียวดาย อีกสิ่งหนึ่งที่ได้ก็คือ ผลลัพธ์จากเเปลงนาเกษตรกร จะบอกกับตัวเกษตรกรเองว่า "ดีกว่าวิธีการเดิมๆอย่างไร" จะต่อยอดขยายผลถึงเพื่อนบ้านในละเเวกใกล้เคียงได้ ...ให้เกิดความเชื่อมั่น

กรณีเมล็ดพันธุ์ อยู่ที่เจ้าภาพ ครับ เอกชนมีทุน ทำในรูปแบบธุรกิจหวังผลกำไร มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนา มีหน่วยผลิต หน่วยส่งเสริม การตลาดครบวงจร มี ...

คำถามคือ ภาครัฐทำอะไร ปล่อยลอยแพเกษตรกรหรือไม่.

ทางรอด ในความเป็นจริง คือ "รอใครไม่ได้ รอไป รอมา มันจะอดตาย"  ครับ เริ่ม จากรวมกลุ่มกันให้ได้  แล้วจัดการความรู้ การพัฒนาสายพันธุ์พื้นบ้านเดิมขึ้นมา เพื่อกำหนดเป็น place of origin เป็น village brand ครับ  ส่วนจะทำได้แค่ไหนก็อยู่ที่

"วิสัยทัศน์ผู้นำชุมชน หรือหมู่บ้านครับ"   

Ico48 อาจารย์โสภณ ถ้ามีเวลาเรียนเชิญได้ที่นครสวรรค์ครับ

ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท