KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 619. แนะนำหนังสือ KM ในภาคการศึกษา (๙.๓)


นานาทัศนะ : การจัดการความรู้เพื่อสร้างสังคมฐานความรู้ในภาคการศึกษา

ตอนที่ ๑ , ตอนที่ ๒ , ตอนที่ ๓ , ตอนที่ ๔, ตอนที่ ๕.๑, ตอนที่ ๕.๒,

 ตอนที่ ๖.๑, ตอนที่ ๖.๒, ตอนที่ ๗.๑, ตอนที่ ๗.๒, ตอนที่ ๘.๑. ตอนที่ ๘.๒

ตอนที่ ๙.๑, ตอนที่ ๙.๒

 

ระยะเวลาวิจัยและแนวการดำเนินงาน:

จากการวางแผนดำเนินงานวิจัย กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึง มิถุนายน 2551 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะที่ 1 (มกราคม มีนาคม 2549) คือ ศึกษาความพร้อม ศักยภาพ และความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมโครงการวิจัยขององค์กรการศึกษาเป้าหมายการวิจัย

2. ระยะที่ 2 (เมษายน 2549 มิถุนายน 2550) คือ ระยะพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรการศึกษาเป้าหมายการวิจัย และเริ่มขยายผลรูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรการศึกษา

3. ระยะที่ 3 (กรกฎาคม 2550 มิถุนายน 2551) คือ ระยะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และขยายผลรูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มองค์กรการศึกษาเป้าหมายการวิจัย

ในแต่ละระยะของการดำเนินงานวิจัย กำหนดแนวการดำเนินงานดังนี้

ระยะที่ 1 : ระยะเตรียมการ (มกราคม มีนาคม 2549) เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study) เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายการวิจัย มีการดำเนินการดังนี้

 

ระยะเวลา กิจกรรม ผลที่เกิดขึ้น
มกราคม 2549 1. เลือกกลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามเขตตรวจราชการกระทรวง ศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 12 - 20 เขตพื้นที่การศึกษา 1. ได้กลุ่มเป้าหมายคือ เขตพื้นที่การศึกษาตามจำนวนเขตตรวจราชการกระทรวง ศึกษาธิการ
23 มกราคม  2549 2. ประชุมปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายการวิจัย เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจหลักการ เหตุผล เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานโครงการ เพื่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย พร้อมสรุปผลจำนวนกลุ่มเป้าหมาย
ที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย
2. กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ และสนใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการวิจัยขององค์กรในระดับพื้นที่

มกราคม - มีนาคม

2549
3. ศึกษาสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ และภูมิหลังของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 17 แห่ง และสถานศึกษา 78 แห่ง) โดยศึกษา ตรวจสอบข้อมูล สภาพปัจจุบัน ภูมิหลังขององค์กรเพื่อประเมินศักยภาพ พร้อมให้การปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการสร้างทีมจัดการความรู้ขององค์กร และวางแผนดำเนินการวิจัย 3. เกิดแผนปฏิบัติการวิจัยระดับพื้นที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป้าหมายการวิจัย และ(ร่าง)แผนปฏิบัติการจัดการความรู้ขององค์กรเป้าหมายการวิจัย
มีนาคม 2549 4. สรุปข้อค้นพบจากการศึกษาและประเมินสภาพจริงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป้าหมายการวิจัย และนำข้อมูลมาปรับแผนดำเนินงานของโครงการวิจัย 4. มีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป้าหมายการวิจัย และได้แผนดำเนินงานตลอดโครงการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น

ระยะเวลาวิจัยและแนวการดำเนินงาน:

จากการวางแผนดำเนินงานวิจัย กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึง มิถุนายน 2551 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะที่ 1 (มกราคม มีนาคม 2549) คือ ศึกษาความพร้อม ศักยภาพ และความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมโครงการวิจัยขององค์กรการศึกษาเป้าหมายการวิจัย

2. ระยะที่ 2 (เมษายน 2549 มิถุนายน 2550) คือ ระยะพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรการศึกษาเป้าหมายการวิจัย และเริ่มขยายผลรูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรการศึกษา

3. ระยะที่ 3 (กรกฎาคม 2550 มิถุนายน 2551) คือ ระยะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และขยายผลรูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มองค์กรการศึกษาเป้าหมายการวิจัย

ในแต่ละระยะของการดำเนินงานวิจัย กำหนดแนวการดำเนินงานดังนี้

ระยะที่ 1 : ระยะเตรียมการ (มกราคม มีนาคม 2549) เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study) เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายการวิจัย มีการดำเนินการดังนี้

  

ระยะที่ 2: ระยะพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มองค์กรเป้าหมายการวิจัย และเริ่มการขยายผล (เมษายน 2549 มิถุนายน 2550)

ระยะเวลา

กิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น

เมษายน - พฤษภาคม 2549

1. จัดทำหลักสูตรการอบรมปฏิบัติการบุคลากรแกนนำการจัดการความรู้ด้าน IT เพื่อสร้างและใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ คือ บล็อก (blog) เพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหลักสูตรการพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรสำหรับทีมแกนนำนักจัดการความรู้ขององค์กรเป้าหมายการวิจัย พร้อมจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ขององค์กรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. มีหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้าน IT และทีมแกนนำขององค์กรเป้าหมายการวิจัยที่เป็นแกนหลักเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อให้มีความรู้ มีทักษะการใช้บล็อก และใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ เพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร

พฤษภาคม 2549

2. ประชุมปฏิบัติการบุคลากรแกนนำการจัดการความรู้ที่รับผิดชอบด้าน IT ของกลุ่มเป้าหมาย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 17  เขต สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 78 แห่ง เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการความรู้ คือ การใช้บล็อกเพื่อการสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของโครงการวิจัย พร้อมทั้งนำไปถ่ายทอดและพัฒนาให้กับทีมนักจัดการความรู้ในองค์กร

2. บุคลากรด้าน IT ที่เป็นแกนหลักเรื่องการจัดการความรู้ มีความรู้และสามารถใช้บล็อกเป็นเครื่องมือของการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร

มิถุนายน กรกฎาคม 2549

3. ประชุมปฏิบัติการบุคลากรแกนนำการจัดการความรู้ขององค์กรเป้าหมายการวิจัย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 17 เขต สถานศึกษาขั้น พื้นฐาน 78 แห่ง เกี่ยวกับการสร้างกระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร 

3. บุคลากรมีความรู้ มีทักษะการจัดการความรู้ และเป็นทีมหลัก การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร

กรกฎาคม สิงหาคม 2549

4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มเป้าหมายการวิจัย ทำการสร้างทีมจัดการความรู้ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร และพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร

4. เกิดทีมปฏิบัติการจัดการความรู้ แผนปฏิบัติการ และกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งองค์กร

สิงหาคม 2549 – พฤษภาคม 2550

5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มเป้าหมายการวิจัยจัดกิจกรรมและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรและระหว่างองค์กร ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือการจัดการความรู้ และบล็อกเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายการจัดการความรู้

5. แต่ละองค์กรเป้าหมายการวิจัยเริ่มมีรูปแบบการจัดการความรู้ และมีวิธีการที่ดีที่สุด (best practice) ขององค์กร มีบล็อกเพื่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายการจัดการความรู้

กันยายน 2549  เมษายน 2550

6. นิเทศ ติดตาม ให้การปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ขององค์กร จำนวน 2 ครั้ง พร้อมเก็บข้อมูล และศึกษากระบวนการแพร่ขยายรูปแบบการจัดการความรู้ รวมทั้งวิเคราะห์และสรุปบทเรียนของการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และการขยายผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป้าหมายการวิจัย

6. มีรายงานเบื้องต้นของการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มกราคม มิถุนายน 2550

7. กลุ่มเป้าหมายแพร่ขยายรูปแบบการจัดการความรู้ไปสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และเขตพื้นที่การศึกษาอื่น

7. การแพร่ขยายกระบวนการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้

เมษายน มิถุนายน 2550

8. นำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ขององค์กรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ต่อคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.)  องค์กรสนับสนุนการดำเนินงาน และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมนำไปเยี่ยมชมการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรเป้าหมายการวิจัย รวมทั้งขยายผลไปสู่องค์กรการศึกษาอื่น

8. เกิดแรงจูงใจในการผลักดันการใช้การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อ่าน ระยะที่ 3: ระยะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและขยายผลการจัดการความรู้ของกลุ่มองค์กรเป้าหมายการวิจัย (กรกฎาคม 2550 มิถุนายน 2551)   ตอนที่ ๙.๔

วิจารณ์ พานิช

๑๓ พ.ย. ๕๑

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 225306เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท