กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำหนังสือหรือบทความของบุคคลอื่น เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ของคณะในมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา


กรณีศึกษา :

การนำหนังสือหรือบทความของบุคคลอื่น เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ของคณะในมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา ไม่ได้มีการแสวงหากำไร จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

แม้จะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและไม่มีการแสวงหากำไร แต่การกระทำดังกล่าว ย่อมทำให้หนังสือหรือบทความนั้นไม่อาจจำหน่ายได้ อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะนักศึกษาจะเข้าไปอ่านจากเว็บไซต์ จึงถือว่า การกระทำนี้เป็นการกระทบสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (ดูมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗)

 

งานของบุคคลอื่น คือ งานที่มีลิขสิทธิ์เป็นของคนอื่น จะทำการเผยแพร่อันมีผลกระทบต่อสิทธิ์ในการแสวงประโยชน์ของเจ้าของสิทธิ์มิได้ ...

หากว่าผลงานของท่านเหล่านี้มีความจำเป็นจริง ๆ สำหรับการให้ความรู้ต่อหนังสือ อาจแก้ปัญหาโดยการให้นักศึกษาเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเล่มนั้นมาเป็นเจ้าของ หรือ หากหนังสือเล่มนั้นไม่มีการจัดจำหน่ายอีกต่อไป อาจจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการว่า สามารถนำขึ้นสู่ระบบเว็บไซต์ของคณะในมหาวิทยาลัย (Intranet) ได้หรือไม่ หากได้รับอนุญาตจึงค่อยนำขึ้น หากไม่ได้อนุญาตก็ต้องหาวิธีการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อไป

สิทธิ์เป็นลักษณะเฉพาะ ต้องขออนุญาตเสียก่อนนะครับ :) 

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (14 มกราคม 2552).

 



ความเห็น (4)
  • เคยเข้าไปในเว็บไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย...พบว่า เมื่อปี 2550 นำวิทยานิพนธ์ขึ้นเว็บไซต์ค่ะ ก็เลยโหลดเก็บไว้ พอเมื่อปีที่แล้ว (2551) เข้าไปดูอีก ก็ขึ้นข้อความว่า วิทยานิพนธ์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ไม่เผยแพร่ทางเว็บไซต์แล้ว
  • วิทยานิพนธ์เป็นผลงานทางวิชาการ ไม่ได้แสวงหากำไร อีกทั้งไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย  ก็ยังถูกห้ามค่ะ ใครอยากอ่านต้องไปยืมเองที่ห้องสมุด
  • ขอบพระคุณค่ะ มีประโยชน์ในยุคสังคมข่าวสารมากเลยค่ะ

สวัสดีครับ คุณ Sila Phu-Chaya :)

ผมก็เคยเห็นครับ ... วิทยานิพนธ์ในรูปแบบไฟล์ขึ้นทั้งเล่มเลย โดยส่วนใหญ่นั้น จะเป็นการใช้งานภายใน CAMPUS ครับ เรียกว่า INTRANET หากเป็น INTERNET อาจจะต้องมีการปิดกั้นเอาไว้ครับ ถึงแม้จะเป็นการศึกษาก็ตาม เพราะเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้วิจัย ครับ

ป้องกันไว้ก่อน ... ดีกว่าถูกฟ้องร้องกันในภายหลังครับ

อย่างไรก็ตาม วิทยานิพนธ์นี้จะถูกเก็บไว้ในรูปของฐานข้อมูลภายใน ใช้งานกันภายใน จัดกระทำโดยบรรณารักษ์ผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ครับ

ขอบคุณครับที่มาแลกเปลี่ยนกัน :)

  • สวัสดีค่ะอาจารย์  แหะๆและแล้วก็ตามมาอีกบล๊อกจนได้  อิอิ
  • เคยเจอทั้งสองแบบค่ะ ทั้งวิทยานิพนธ์ในรูปแบบไฟล์ขึ้นทั้งเล่ม  แล้วก็โหลดมาเก็บไว้ค่ะ  อีกแบบต้องไปเข้าระบบของทาทางมหาวิทยาลัยค่ะ
  • หนังสือหนูไปตามหาที่ SE-ED  ไม่มีค่ะ ไม่มีให้สั่งซื่อด้วย  (เมืองที่อยู่เล็กๆค่ะ)
  • ต้องรอเสาร์อาทิตย์เข้ามหาวิทยาลัยค่ะ  จะไปตามล่าหาหนังสือที่ศูนย์หนังสือ มข. และในร้านหนังสือในตัวจังหวัดค่ะ
  • ก็เลยมาอ่านเก็บเกี่ยวจากบล๊อกของอาจารย์ก่อนค่ะ 
  • ปกติรู้ว่า เราต้องอ้างอิง ให้เกียรติเจ้าของผลงานทุกครั้ง แต่ก็ไม่คิดว่าจะมีรายละเอียดเกร็ดเล็กๆน้อยที่ต้องใส่ใจมากขนาดนี้เลยค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ  ^_^

ใช่แล้ว น้องคุณครู เทียนน้อย ... การทำงานวิชาการไม่ว่าจะทำผลงานหรือวิทยานิพนธ์ต้องมีความละเอียดในการทำค่อนข้างมากครับ ฝึกตนทำให้ตัวเองเป็นคนที่รอบคอบไงครับ ค่อยคิด ค่อยทำ ให้เป็นนิสัย รับรองว่า จะประสบความสำเร็จในชีวิตดังที่คาดหวัง อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดีต่อคนอื่น ๆ ด้วยครับ

ลองตามหาดูก่อนนะครับ สำหรับหนังสือคงเจอเข้าสักวัน และสักที่หนึ่งนะครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท