ถอดบทเรียนกลุ่ม"ดังลมหายใจ" : (๑) แก่นสาระและแนวคิดที่สำคัญ(Theme)


*สะท้อนเรื่องราวชีวิตในอดีต ของครอบครัวชนบทในบ้านเกิด ท่ามกลางญาติพี่น้องที่มี"แม่" เป็นศูนย์กลางและตัวหลักของเนื้อเรื่อง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุ แต่มีจิตสำนึกอย่างชาวบ้าน ที่ผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันวิถีชีวิต เปรียบเสมือนดัง "ลมหายใจเข้าออก"

 

  

  

  http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/351266

  

  แก่นสาระของblog "ดังลมหายใจ" ของ ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ :

  

*สะท้อนเรื่องราวชีวิตในอดีต ของครอบครัวชนบทในบ้านเกิด ท่ามกลางญาติพี่น้องที่มี"แม่" เป็นศูนย์กลางและตัวหลักของเนื้อเรื่อง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุ แต่มีจิตสำนึกอย่างชาวบ้าน ที่ผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันวิถีชีวิต เปรียบเสมือนดัง "ลมหายใจเข้าออก"

  

    

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/351266                           

  

* เป็นการนำเสนอให้คนสัมผัสได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องของตนเอง และเชื่อมโยงสู่โลกกว้าง คนภายนอกเห็นประเด็นที่ไม่ใช่เรื่องจำเพาะกรณี แต่เห็นภาพของสังคมทั่วไปในบริบทเหล่านี้ :

  

  ๑.กิจกรรมชุมชน และความเป็นชุมชนที่คลุกคลีและสัมผัสด้วยตนเอง และจากการถ่ายทอดของ "แม่"และกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน

  

 

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/351266 

 

๒. เค้าโครงการผูกเรื่องนั้น เป็นการตกผลึกสิ่งที่ได้จากการวิจัย การทำงาน และการสรุปบทเรียนของชีวิตในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้น ความมีจิตสาธารณะ ของปัจเจกและกลุ่มก้อนของคน ในบริบทของชุมชนและสังคมไทย ซึ่งเป็นประเด็นย่อยของ Civil Society 

  

๓. พยายามจูงมือผู้อ่าน ไปสัมผัสในแง่มุมต่างๆผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต มีเหตุการณ์และการแสดงออกในสถานะการณ์ต่างๆ การก่อเกิดจากครอบครัว สภาพแวดล้อมชุมชน การเล่นและกลุ่มเพื่อน การปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การสนทนากับระบบคิด และหลักชีวิตที่มาในศาสนธรรม

  

     

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/351266                          

  

 ๔. ใช้ศิลปะภาพเขียน เพื่อสื่อภาษาภาพ และก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง ที่เรียกว่า Simplification Communication และ Interaction Learning Empowerment เพื่อมุ่งเน้นให้ชาวบ้านที่อ่านหรือเขียนหนังสือ หรือแสดงความรู้ที่เป็นทางการกับบุคคลภายนอกไม่ค่อยได้ ไม่เกิดความเคอะเขิน ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง ทำให้เกิดชุมชนที่ใช้ความรู้และปัญญาในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan  

 

 

 

     การถอดบทเรียนกลุ่ม "ดังลมหายใจ"นี้ ประกอบด้วยสมาชิก G2K ๖  คน คือ

 

 

  

 

  ประเด็นตั้งใจเบื้องต้นในการถอดบทเรียนครั้งนี้คือ :(ชื่อในวงเล็บคือผู้ตั้งประเด็น สมาชิกคนอื่นสามารถตั้งเพิ่มหรือร่วมเขียนได้)

 

 

 

๑.แก่นสาระหลัก (theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" (นาง นงนาท สนธิสุวรรณ)

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433145

 

  

 .บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน(นาง นงนาท สนธิสุวรรณ)

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433316

 

 

๓.“พลังแห่งชีวิตที่สัมผัสได้ด้วยหัวใจกับการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตชุมชน(แสงแห่งความดี)

ตอนที่ ๑

http://gotoknow.org/blog/sangsri/433093

ตอนที่ ๒

 http://gotoknow.org/blog/sangsri/433609

ตอนที่ ๓

http://gotoknow.org/blog/sangsri/435899?refresh_cache=true

 

 

๔..การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา (ณัฐรดา)

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433473

 

๕. การเล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้..ดังลมหายใจของการเติบโต (อ้อยเล็ก)

http://gotoknow.org/blog/sto/433214

 

 

 .ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม(นาง นงนาท สนธิสุวรรณ)

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433705

 

๗. ถอดบทเรียนบันทึก"ดังลมหายใจ" ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบเปรียบเทียบความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ (krutoiting)

 

 

๘. ความแตกต่างที่ไม่แตกต่าง : การเรียนรู้ประสบการณ์ทางวัฒนธรรมผ่านปัจเจก(ณัฐพัชร์)

   

    

    ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ได้กรุณาให้ความเห็นในการถอดบทเรียนของพวกเราดังนี้ :

  

Ico48

 

ประเด็นดีจังเลยครับพี่ใหญ่ครับ
เป็นการร่วมกันเขียนหนังสือไปในตัววิธีหนึ่งเลยนะครับ
ผมเองก็จะนำมาเขียนบทสังเคราะห์เชิงทฤษฎีเพิ่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกันครับ
จะเพิ่มระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในแนว Autoethnography เข้าไปครับ
เชื่อว่าจะเป็นระเบียบวิธีที่เหมาะมากสำหรับวิธีทำประสบการณ์ชีวิตและประวัติศาสตร์สังคมที่สะท้อนอยู่ในเรื่องราวตัวบุคคลให้เป็นการสร้างความรู้และวิธีเรียนรู้ทางสังคม สำหรับสังคมที่มีพื้นฐานที่ดีมากมายแต่มีช่วงเวลาการพัฒนาสังคมแห่งความรู้ทีหลังประเทศที่พัฒนามาก่อนของโลกดังเช่นสังคมไทย

แต่ละท่านนี่สามารถเน้นบางด้านที่เป็นการสกัดประเด็นและสร้างความรู้ต่อยอดขึ้นจากกรณีตัวอย่างที่ใช้เป็นวัตถุดิบการถอดบทเรียนด้วยกัน ในแง่มุมที่แตกต่างหลายด้านเลยนะครับ

  • อย่างคุณแสงแห่งความดีก็น่าจะเชื่อมโยงไปยังการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตชุมชน
  • คุณณัฐรดานี่ได้รอบด้านเลย โดยเฉพาะเรื่องระบบวิธีคิดทางพุทธธรรม ศิลปะ
  • อาจารย์ณัฐพัชร์น่าจะเชื่อมโยงไปที่เรื่องศิลปะและสื่อภาพกับการวิจัยชุมชน โดยเฉพาะวิธีทำให้การพรรณาและเรื่องเล่าเพื่อนำเสนอการวิจัยเชิงคุณภาพให้มีพลังต่อการแสดงสิ่งซึ่งมีความเป็นนามธรรมมากกว่าข้อมูลตัวหนังสือ
  • น้องคุณครูอ้อยเล็กนี่น่าจะโยงไปที่การพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นและกิจกรรมชีวิตชุมชน และการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะแบบบูรณาการ
  • ส่วนของพี่ใหญ่นี่ นอกจากโยงไปที่ประเด็น ๒, ๓, ๔ อย่างอยู่มือได้เป็นอย่างดีแน่นอนแล้ว เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้าน ในชุมชน รวมทั้งจากแหล่งประสบการณ์ที่มีอยู่หลากหลายในสังคม เช่น กลุ่มเพื่อน หนังสือและการอ่าน ศิลปะวรรณกรรม เหล่านี้พี่ใหญ่ก็มองเชื่อมโยงได้ลึกซึ้งและกว้างขวางครับ

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วางอยู่บนฐานของการเห็นและรู้สึกได้ออกมาจากข้างในแล้วก็ว่าไปตามนั้นนี่ดีที่สุดครับ จะสบายและเป็นการได้ทำเพื่อเรียนรู้ตัวเอง เบาๆ และบอกเล่าสะท้อนความบันดาลใจได้ดีกว่าวิธีอื่นครับ

http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/432524?refresh_cache=true

 

 

   

       

หมายเลขบันทึก: 433145เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2011 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

  • น้องมาร่วมเป็นกำลังใจให้พี่ใหญ่และทีมงานทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

มาติดตามเรียนรู้และเป็นกำลังใจให้ทั้งคณะค่ะ

แก่นสาระได้ใจความกระทัดรัด  อ่านและเข้าใจง่ายค่ะ

สวัสดีค่ะ

       มาเป็นกำลังใจให้พี่ใหญ่และทีมงานค่ะ 

              จะติดตามอ่านต่อไปค่ะ

                            

ชื่นชมในวิธีการทำงานเป็นทีมผ่านบล๊อกของพี่นงนาทมากค่ะ  นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการถอดบทเรียนร่วมกันค่ะ

คุณยาย ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกถอดบทเรียนกลุ่ม "ดังลมหายใจ" ของblog ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ 

..เป็นครั้งแรกของพี่ใหญ่ที่ประสานงานกันทาง on-line ที่เป็นเรื่องท้าทายมากๆ..เมื่อน้องมะปรางส่งเทียบให้มาร่วมกิจกรรม..แอบอยากได้เสื้อของท่านเจ้าของ blog ออกแบบเองด้วยอย่างสวยงาม..

..สิ่งที่พี่ใหญ่เรียนรู้ในการประสานงานกลุ่มคือ :

๑.เราควรเลือกเรื่องที่มีความศรัทธาที่จะถอดบทเรียนจริงๆ และมีความคุ้นเคยกับเจ้าของ blog มากพอสมควรที่เราจะวิ่ง(ทาง on-line)ไปขอความเห็นดีๆจากท่านได้อย่างสนิทใจ..ซึ่งท่านให้ความเมตตามาก ทำให้เกิดข้อยุติในการแบ่งงานกันอย่างเหมาะสมและสนับสนุนประเด็นที่จะถอดบทเรียนด้วย..

๒.การไปชวนสมาชิกเข้ากลุ่ม ควรเลือก "ขาประจำ" blog ที่เราจะถอดบทเรียน ซึ่งย่อมเชื่อมั่นว่า ท่านเหล่านี้จะยินดีมาตามคำชวนด้วยอย่างรวดเร็ว..(พี่ใหญ่ชวน ๔ คน วิ่งตามมา ๓ คนนะคะ..น่าดีใจจริงๆ..)

๓. ต้องเดินหน้าจัดขบวนและริเริ่มสิ่งที่จำเป็นต่อการถอดบทเรียนไปก่อน..แล้วรีบวิ่งไป post ข้อเสนออย่างรวดเร็ว เพื่อให้สมาชิกช่วยพิจารณา..หากมัวรอกันไปกันมา..เกรงว่า น้องมะปรางจะเคาะระฆังหมดเวลาก่อน..สมาชิกหลายท่านมีธุระยุ่งๆมากมาย..น่าเห็นใจค่ะ..พี่ใหญ่เกษียณแล้ว..เวลาว่างเป็นต่อน้องๆทั้งหลาย

๔.มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับตัวและการทำงาน..ข้อสำคัญ..อย่าเครียด..น้องมะปรางปลอบว่า ให้ทำแบบง่ายๆ..สบายๆๆ..

น้องคิม ขอบคุณมากๆค่ะที่ให้กำลังใจแก่พวกเรา..เสียดายว่า หากกลุ่มเรามีเธออยู่ด้วย จะมีบทเรียนดีๆที่ถอดมาได้อีกมากมาย เพราะเป็นผู้ปฏิบัติจริงลงในชุมชนยิ่งกว่าพี่ใหญ่เสียอีกค่ะ..

สวัสดีค่ะพี่

ที่พี่ได้โพสต์บอกไว้

..โดยที่ คุณแสงแห่งความดี ได้ริเริ่มแยกเขียนบันทึกไปก่อนตามที่เธอถนัดและสะดวก..พี่จึงใคร่ขอหารือว่า คุณณัฐรดาได้เขียนเรื่องมารอไว้รวบรวมแล้ว..หากจะลงเป็นบันทึกของตนเองเช่นนี้บ้าง ก็น่าจะเป็นการดีนะคะ..เพราะเนื้อหามีสาระเฉพาะค่ะ..

..พี่เรียงหัวข้อ การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา (คูณณัฐรดา) ไว้เป็นลำดับที่ ๔ แต่ไม่จำเป็นต้องรอเขียนบันทึกตามลำดับ..ใครพร้อมสามารถขึ้นบันทึกได้เลยค่ะ..ขอบคุณมากๆนะคะ..

หมายถึงว่า ไม่ต้องมีผู้แทนกลุ่ม (เข้าใจเอาเองว่าน่าจะเป็นพี่น่ะค่ะ) รวบรวมประเด็นทั้งหมดออกบันทึกใหม่บันทึกเดียว แต่ให้แต่ละคนเขียนบันทึกประเด็นที่ทำเองหรือคะ

ตามความเข้าใจคือ ทุกคนเขียนประเด็นที่สนใจ หลังจากช่วยกันปรับแต่งแล้ว ผู้แทนกลุ่มรวบรวมข้อเขียนมาสร้างเป็นบันทึกของกลุ่มบันทึกเดียวน่ะค่ะ (ที่จริงอยากให้เป็นอย่างที่เข้าใจนะคะ)

 

 

 

คุณKRUDALA ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกนี้..

..นี่เพิ่งเริ่มยกแรก ที่หวังว่าเมื่อจับแก่นหลักได้แล้ว..การถอดบทเรียนคงจะตรงประเด็น..ตามที่ตั้งใจไว้..

..งานชิ้นนี้นับว่า "หิน" สำหรับพี่ใหญ่ เพราะเนื้อหาเป็นเรื่องที่ตนเองสัมผัสด้วยตนเองน้อย..แม้คุณแม่ของพี่จะเป็นชาวจ.นครสวรรค์ (ปากน้ำโพ)..แต่พี่ไปเกิดในค่ายทหารยุตปลายสงครามโลกครั้งที่สอง..และมาเติบโตในกทม.พร้อมพ่อ-แม่ ไม่ได้จากครอบครัวมาเดี่ยว..

..อีกประการหนึ่ง เรื่องเล่าของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ไม่ธรรมดาในวิธีเขียนและแนวคิดที่สอดแทรกปรัชญาทางสังคมไว้มากมาย..ต้องระวังการจับแก่นหลักให้ตรงกับของท่าน...อ่านอยู่หลายรอบค่ะ..

คุณ Sila Phu-Chaya ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกนี้..

..พี่หวังว่า กิจกรรมนี้ พวกเราทุกกลุ่มคงได้ทั้งบทเรียนจากการทำงานและความรู้ดีๆ ลปรร.ระหว่างกันมากๆ..และขอให้กำลังใจกลุ่มของน้องศิลาและคุณนุช ค่ะ..

คุณณัฐรดา ขอบคุณค่ะสำหรับข้อหารือ...ตามที่น้องเข้าใจนั้น น่าจะถูกต้องตามที่ควรจะเป็น..เข้าใจตรงกันค่ะ..

..พี่ใหญ่ยังเต็มใจรับหน้าที่ผู้แทนกลุ่มเช่นเดิม จึงได้เสนอประเด็นให้ทุกคนร่วมกันพิจารณา และหวังว่าพวกเราจะช่วยกันเขียนเนื้อหาตามที่เห็นชอบร่วมกัน

..ในระหว่างนี้  สมาชิกที่พร้อมจะเขียนบันทึกตามประเด็นใด สามารถทำได้ก่อน โดยพิจารณาความสอคล้องของแก่นสาระ และเนื้อหา อาจหารือกันก่อนเขียน หรือขอปรับเพิ่มเติมได้

.. สำหรับบันทึกสรุปนั้น คงจะทำได้เมื่อ สมาชิกทุกคนได้ลงมือเขียน หรือส่งร่างเนื้อหาของแต่ละประเด็นมาให้ผู้แทนกลุ่มได้รวบรวมแล้ว..รอจนกว่าจะถึงวาระนั้น..หวังว่าจะทันเวลานะคะ..

 

ค่ะพี่

เนื่องจากได้เขียนและเสนอมาแล้ว คิดว่าคงไม่ต้องออกอีกบันทึกมังคะ

ขอรอพี่รวบรวมแล้วอ่านทีเดียวเลยนะคะ

คุณป้าแดง/คุณณัฐพัชร์/คุณหนูรี

     ขอบคุณสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกนี้ เป็นกำลังใจที่มีคุณค่ามากๆค่ะ..หวังว่าจะมี การ ลปรร. จากอีกหลายกลุ่ม..ตามที่น้องมะปรางออกแรงเชียร์อยู่

คุณณัฐรดา ขอบคุณค่ะที่มีความเห็นอันเป็นที่ยุติเช่นนี้..พี่จะได้ตั้งใจทำหน้าที่ผู้แทนกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ค่ะ..

http://gotoknow.org/blog/sto/433214

พี่ใหญ่อ้อยบันทึกไว้ที่นี้นะคะ...ไปทำงานก่อนเดี๋ยวมาบันทึกต่อค่ะ

คุณครูอ้อยเล็ก ขอบคุณมากค่ะที่มาส่งข่าวการถอดบทเรียน "การเล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้..ดังลมหายใจของการเติบโต (กลุ่ม)"

...ดีจังค่ะ..พี่ใหญ่จะได้เพิ่ม link เมื่อ น้องครูอ้อย ได้บันทึกจบแล้วนะคะ..

 

คุณอ.นุ ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่การถอดบทเรียนของกลุ่ม "ดังลมหายใจ"..ขณะนี้สมาชิกของเรากำลังทะยอยส่งมา ลปรร.ในแต่ละบริบทตามที่สนใจและถนัดค่ะ..รออ่านนะคะ..

มารับทราบความก้าวหน้า เพียงคร่าว ๆ ก่อน นะครับพี่ใหญ่และสมาชิกกลุ่มครับ

...

 

คุณแสงแห่งความดี ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาติดตามความเคลื่อนไหว..

..พี่ใหญ่กำลังร่างบันทึก" บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน" และจะได้นำไป link ให้ทราบทั่วกันค่ะ..

  • มาแจ้งพี่ใหญ่ว่า
  • อยากถอดบทรียนเรื่องการปลูกผักกินได้เหมือนกัน
  • แต่งานยุ่งมาก
  • นึกว่าต้องทำภายใน 31 มีนาคมที่ไหนได้ แค่สมัคร
  • ตกลงว่า สามารถปั่นเรื่องเขียนได้ครับ
  • ขอบคุณมากๆๆครับ

ดร.ขจิต ขอบคุณและดีใจมากๆค่ะ..ทั้ง น้องมะปรางและ คุณอุ้มบุญ คงยิ้มแป้นเบิกบานใจที่เจ้าพ่อเมล็ดพันธุ์ผัก มาเป็นหัวหน้า กลุ่มคนปลูกผักกินได้..

..หวังว่าท่านคงไปแสดงตัวตนกับน้องมะปราง แล้วนะคะ..

..พี่ใหญ่ช่วยถอดบทเรียนในประเด็น "ปลูกผักกินได้ในกระถางแบบสวนสวยกินได้" ..จากประสบการณ์ตนเองน่ะค่ะ..

  • ช่างเป็นลมหายใจ ที่งดงาม
  • ✿อุ้มบุญ✿ ปลื้มใจยิ่งนัก 
  • วันนี้เป็นที่ดีวันหนึ่งนะคะพี่ใหญ่ ได้รับข่าวดี  ทั้งวัน เลย....

คุณอุ้มบุญ พี่ใหญ่คาดอยู่แล้วว่า งานถอดบทเรียนของ "กลุ่มคนปลูกผักกินได้ " ต้องเริ่มต้นด้วยดี (มีสมาชิกคับคั่ง)..ทำงานสนุกเพราะกลุ่มดี..เนื้อหาสกัดจากความรู้และความพอใจ..สำเร็จตามที่หวังอย่างแน่นอน..

..พี่ใหญ่จะเร่งทำงานของ "กลุ่มดังลมหายใจ" ที่ใกล้เสร็จแล้ว..จะมาช่วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท