Dialogue_สุนทรียสนทนา : รากฐานการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้


“ฟังกันมากขึ้น คุยกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น” เพราะมันเป็นการแบ่งปันที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลยแม้แต่บาทเดียว และเริ่มต้นได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งการ

วันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริช โฮเต็ล ถนนพระราม ๕ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ส่วนพัฒนากระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้จัดเวทีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการจัดการความรู้โดย Dialogue (สุนทรียสนทนา) กับการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมนอกจากตัวแทนจากภาค/ส่วน/หน่วยต่างๆ ของสถาบันฯ แล้ว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นภาคีการพัฒนาก็ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมในงานครั้งนี้ด้วย

ผมประสานงานการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้และได้เรียนเชิญดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร มาเป็นวิทยากรกระบวนการ คุณหวาน_รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนั้นได้บันทึกบรรยากาศการอบรมในครั้งนั้นไว้ที่   ผมขออนุญาติคุณหวานนำมาเผยแพร่ต่อในG2Kเพื่อการลปรร.ครับ

สุนทรียสนทนา : รากฐานการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 

           

“คุยกันมากขึ้น เข้าใจกันยากขึ้น เชื่อใจกันแย่ขึ้น” คำพูดนี้น่าจะเป็นประโยคหนึ่งที่สะท้อนภาพรวมของสังคมในยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และนับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล คู่รัก ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ไล่เรียงไปจนถึงโครงสร้าง กลไก ทั้งในหน่วยงานภาคธุรกิจ องค์กรภาครัฐในรูปแบบต่างๆ กระทั่งในระดับสภาผู้ทรงเกียรติ ที่เมื่อประชุมกันคราใดภาพที่เห็นจนชินตาไปแล้วก็คือการทะเลาะเบาะแว้ง ก่นว่า กล่าวหา ช่วงชิงกันทุกครั้งทุกคราวไป ที่ทำอยู่ที่ทำไปเพื่อสิ่งใดกันหรือ? หรือว่าโครงสร้างทางสังคมในทุกระดับชั้นมุ่งบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้ให้เจริญเติบโตงอกงาม ทั้งๆ ที่ภายในของคนทุกคนต่างต้องการความรัก ความเข้าใจ การยอมรับ และเคารพซึ่งกันและกัน ช่างน่าเศร้าใจ และเสียดายยิ่งนัก

แทนที่จะกลับกัน อย่างในภาพยนตร์โฆษณาทางจอโทรทัศน์เพื่อขายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนึ่ง เมื่อสมัยหนึ่งที่พยามจะสื่อสารบอกกับผู้คนในสังคมให้รับรู้ว่า คนเราเมื่อ “คุยกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น” แต่ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายมุ่งหวังในยอดขาย และกำไรสูงสุด โดยจับจุดความสำคัญของการสื่อสารระหว่างกันของผู้คนมาเน้นย้ำให้เห็นถึงข้อดี และคุณค่าของมนุษย์ที่พึงมีต่อกัน โดยต้องใช้เครื่องมือที่สามารถสนองตอบได้ก็คือ โทรศัพท์ยี่ห้อของเขานั่นเอง ซึ่งผมก็ไม่ได้ปฏิเสธเครื่องมือประเภทนี้ที่จะทำให้คู่สนทนาได้รับสาร สร้างความเข้าใจระหว่างกัน

แต่เครื่องมือสร้างความเข้าใจในกันและกัน ไม่ได้มีเฉพาะในรูปแบบนี้เพียงเท่านั้น “สุนทรียสนทนา” หรือ “สานเสวนา” ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่ว่า “Dialogue” ก็เป็นเครื่องมืออีกประเภทหนึ่งที่จะทำให้การสื่อสารระหว่างกันสร้างความเข้าใจ รับรู้ถึงกัน ในแบบฉบับด้านบวกด้วยความสร้างสรรค์โดยมุ่งเป้าสู่ “ความดีงาม” ทั้งนี้สามารถใช้ได้ในทุกระดับของสังคมด้วยเช่นกัน

เมื่อวันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริช โฮเต็ล ถนนพระราม ๕ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ส่วนพัฒนากระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้จัดเวทีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการจัดการความรู้โดย Dialogue (สุนทรียสนทนา) กับการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมนอกจากตัวแทนจากภาค/ส่วน/หน่วยต่างๆ ของสถาบันฯ แล้ว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นภาคีการพัฒนาก็ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมในงานครั้งนี้ด้วย

        

“Dialogue” เครื่องมือการจัดการความรู้ : รากฐานการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในฐานะวิทยากรผู้ให้ความรู้แก่ผู้อบรม ได้เสนอแง่คิดให้เราเห็นว่า “หัวใจของ Dialogue เป้าหมายเพื่อต้องการให้กลุ่มคนทั้งที่ทำงานด้วยกันหรือไม่ได้ร่วมงานกันมาก่อน สามารถทำงานทางความคิดร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแชร์ความคิดด้วยกัน ใช้สติปัญญาด้วยกัน ร่วมคิดร่วมสติปัญญาด้วยกัน นี่คือหัวใจหรือเป้าหมายท้ายสุดของกระบวนการ Dialogue”

ในระหว่างการเข้าไปสู่เป้าหมายปลายทาง ต้องมีการพัฒนาทักษะของแต่ละคนก่อน ทักษะเรื่องการเรียนรู้ที่จะ “ฟัง” และ “วาง” และเปิดตัวเข้าไป ฟังแล้ววางและเปิดตัวเข้าไปเรื่อยๆ ตามลำดับ อันนี้เป็นทักษะการฟัง และที่สำคัญอีกประการคือ “การไตร่ตรอง” ความคิด และทักษะการพูดการนำเสนอ ซึ่งรวมถึงทักษะการซักถามประเด็นที่เราสนใจด้วย

ดร.มนต์ชัย ชี้ว่ากระบวนการนี้สามารถส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งบทบาทของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป้าหมายหลักคือ การทำให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง ความเข้มแข็งของชุมชน คือการที่ชุมชนมีสติปัญญาของตัวเอง และทั้งกลุ่มทั้งชุมชน ที่ไม่ใช่แค่ผู้นำเพียงไม่กี่คน พอผู้นำจากไปแล้วชุมชนนั้นก็กลับมาเหมือนเดิม กระบวนการ Dialogue อาจจะช้าหน่อยแต่เราก็เน้นที่จะฝากไว้กับทุกคน เมื่อกลุ่มคนเข้มแข็งมีสติปัญญา กระบวนการพัฒนาก็สามารถเดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างทางก็ทำให้คนในชุมชนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น คุยกันมากขึ้น ปัญหาความขัดแย้งก็จะหายไป ความไม่เข้าใจระหว่างกันก็ลดน้อยลง

ความน่าอยู่ของชุมชนก็เกิดขึ้น เมื่อมีคนฟังเรา เสียงของเราก็มีความหมาย เมื่อมีใครพูดคนทั้งหมดฟังเรา ความคิดของเราได้รับการยอมรับ เพราะแต่ละคนที่ฟังเค้าต้องวางความคิดตนเองก่อน ความคิดที่ไม่เข้าท่า ความคิดที่รู้สึกว่าใช้ได้ใช้ไม่ได้ก็ได้รับการยอมรับ

เรื่องที่พูดนั้นเป็นกลไกพื้นฐานของมนุษย์ ที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำความขัดแย้งกันในสังคมได้ สังคมเราทุกที่ ทุกกลุ่มเมื่อมีความขัดแย้งกัน บางเรื่องเรามักคุยกันไม่ได้ ถ้าเรามีทักษะในเรื่องเหล่านี้ทุกคน คนในสังคมก็สามารถที่จะคุยกันได้หมด ซึ่งเราสามารถแตกต่างทางความคิดได้ แต่ต้องไม่แตกแยกกัน คนส่วนมากจะพูดกันถึง End แต่ไม่พูดถึง Mean เราอยากได้แบบนี้ แต่วิธีการเราไม่พูดถึงกัน ซึ่งกระบวนการ Dialogue เป็นทักษะที่เราลืมกันไป เรามัวแต่ไปสนใจเรื่องอื่นๆ นอกตัวเรา คนใกล้ๆ คนข้างๆ รอบตัวเราเรามักจะไม่สนใจซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ

         
สอดคล้องกับพัชณี พนิตอังกูล ผช.ผู้จัดการปฏิบัติการชุมชนภาคใต้ ที่เล่าว่า ก่อนหน้าที่จะได้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ตนเองได้ทำเรื่องงานจัดการความรู้มาก่อนหน้า แล้วมาเข้าร่วมเวที Dialogue ในครั้งนี้ ทำให้กระบวนการจัดการความรู้ที่เรากำลังทำ ได้มีเทคนิคที่จะทำให้การจัดการความรู้ส่งผลในทางที่จะพัฒนาได้มากขึ้น อย่างเช่นเรื่องการฟัง คือ ฟังอย่างตั้งใจ รู้จักที่จะฟังคนอื่นก่อน แล้วก็นำการข้อมูลที่ได้จากการฟังมาไตร่ตรอง แล้วถึงจะพูดสื่อสารออกไป และฝึกให้เราเป็นคนที่มีสมาธิ ฟังคนอื่นก่อนที่จะพูด

ตอนแบ่งกลุ่มย่อยเราคุยกันถึงเรื่องกลุ่ม COP: Community Of Practice หรือกลุ่มนักปฏิบัติการด้านการจัดการความรู้ของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งก็กำลังร่วมกันออกแบบที่จะนำเรื่อง Dialogue หรือสุนทรียสนทนาไปประยุกต์ใช้กับการถอดองค์ความรู้ การจัดการความรู้ และการเขียน ณ ขณะนี้อาจยังไม่ตกผลึก และชัดเจนมากนัก แต่คิดว่าจะไปโยงกับเรื่องชุมชนจัดการตัวเองที่เรากำลังพัฒนาเชิงคุณภาพกันอยู่ เพราะการพัฒนางานในเชิงคุณภาพต้องใช้เครื่องมือหลายตัว และก็เห็นว่าเจ้าหน้าที่จำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ในการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงแล้วนำความรู้จากการปฏิบัติงานจริงนำมาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งกระบวนการแลกเปลี่ยนก็สามารถนำเอาเครื่องมือ Dialogue ไปเสริมให้การแลกเปลี่ยนเป็นการพูดคุยที่สร้างสรรค์ คนทำงานเอาความรู้จากการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง โดยเพื่อนต้องฟังอย่างตั้งใจ เพื่อจะได้นำ Dialogue ไปประยุกต์กับการออกแบบงานต่อไป

พัชณี สะท้อนความรู้สึกให้ฟังว่า ต้องการให้กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชนได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เราอาจไม่ใช้คำว่า Dialogue เพราะจะดูวิชาการเกินไป เราอาจใช้คำว่า “เราจะทำงานอย่างสร้างสรรค์ จะฟังอย่างสร้างสรรค์ จะคุยอย่างสร้างสรรค์” มาครั้งนี้ก็เหมือนมาเติม มาชาร์ตแบตทั้งตนเองและเพื่อนๆ ที่มาร่วม ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ทำให้เรามีเครื่องไม้เครื่องมือมากขึ้น และที่สำคัญ อย่ารู้สึกแอนตี้กับสิ่งใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ หรือเที่ยวตั้งคำถามว่าเป็นไปตามกระแสหรือเปล่า เมื่อพอได้มาสัมผัสก็ได้พัฒนาตัวเอง ซึ่งน่าจะทำให้การออกแบบงานนั้นมีคุณภาพมากขึ้น จากที่ผ่านมาที่เน้นไปในเรื่องของเชิงปริมาณอย่างเดียว

          
คล้ายๆ กับจักรพันธ์ ยาคู เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชน ภาคกรุงเทพปริมณฑลและตะวันออก ที่เผยว่า หลักสูตรนี้เป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดีในการทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผมได้รู้ว่าในการทำงาน “การฟัง” สำคัญที่สุด “การฟังสำคัญกว่าการพูด” ในวงสนทนาสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เราพูดอย่างไร แต่สำคัญที่ว่าเราฟังอย่างไรมากกว่า

สำหรับการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในงาน ไม่ใช่เอาไปให้ชาวบ้านประชุมแบบ Dialogue วิธีการที่ชัดเจนที่สุดคือ ค่อยๆ ชวนชาวบ้านด้วยกระบวนการอะไรบางอย่าง เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการสุนทรียสนทนา เช่น การเอากติกาของ Dialogue บางข้อไปใช้ เช่นในเรื่องของทุกคนต้องได้พูด กระบวนการนี้น่าจะไปประยุกต์ได้ในบางขั้นตอนของเวที เพื่อให้ความสัมพันธ์ในเวทีดีขึ้น แล้วนำไปสู่การจัดการ เป้าหมายของเวทีที่ดีขึ้นร่วมกัน

คิดว่ากระบวนการแบบนี้สำคัญ และนอกจากเจ้าหน้าที่จะนำไปประยุกต์ใช้แล้ว น่าจะมีการส่งเสริมให้กระบวนการหรือเวทีแบบ Dialogue ให้เกิดขึ้นมากๆ น่าจะมีวันและเวลาให้เจ้าหน้าที่ได้มาพูดคุยกันในรูปแบบของ Dialogue มากขึ้นในองค์กร เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้ดีขึ้น

             

ไม่ต่างกับอนุชิต อรรคสังข์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบิรหารงานชุมชน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ที่สะท้อนให้ฟังว่า การอบรมในครั้งนี้ สำหรับตนเองเป็นความรู้ใหม่ Dialogue เป็นหลักสูตรที่เน้นในเรื่องการฟัง ฟังอย่างไม่ตัดสิน ในวงสนทนาให้ทุกคนเอาสิ่งที่ตนเองคิดมากองไว้บนโต๊ะสนทนา อะไรที่อยู่ใต้พรมก็เอามากองไว้ด้วยเช่นกัน ท้ายสุดเมื่อการคุยเสร็จสิ้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่จะเลือกหยิบเอาสิ่งที่พูดคุยนำไปใช้ต่อได้อย่างไร เป็นจุดที่ผมมองจากเนื้อหาของการอบรม

คล้ายกับเป็นการพัฒนาเราในเรื่องของการฟังกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น เพราะโดยปรกติของการประชุมโดยทั่วไปเรามักจะใช้การ Discussions ที่หนักไปทางถกเถียง โต้แย้ง ที่ทุกคนมุ่งแต่จะนำเสนอแนวทางในความคิดของตนอย่างเดียว โดยที่ไม่ฟังว่าฝ่ายตรงข้ามเขาคิดอย่างไรบ้าง เป็นการรุกอย่างเดียว การใช้ Dialogue จะให้เรากลับมาเป็นฝ่ายรับ ถอยออกมาดูก้าวหนึ่งว่ารอบข้างเราเป็นอย่างไรบ้าง ทำความเข้าใจกับมัน แล้วเราจะดำเนินการหรือตัดสินใจจากข้อมูลต่างๆ อย่างไร

การไปปรับใช้ในเบื้องต้นคงปรับใช้กับตัวเองก่อน เวลาการประชุม หรือเวลาลงชุมชนไปพบกับชาวบ้าน ต้องรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านเป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะเป็นฝ่ายที่นำแนวคิดของเรา หรือนโยบายที่ผู้บริหารกำหนดมาไปบอกให้ชาวบ้านฟัง แต่ต่อไปนอกจากเราจะนำนโยบายไปบอกชาวบ้านแต่สิ่งที่เราจะเพิ่มเติมคือเราต้องถอยหนึ่งก้าวเพื่อฟังชาวบ้านว่าเขาคิดอย่างไรบ้าง และฟังอย่างเข้าใจโดยที่ไม่ตัดสินว่าดีหรือไม่ดีถูกต้องหรือไม่ถูกต้องจากนโยบายที่เราเสนอให้เขา และหาทางประนีประนอมและหาทางทำงานร่วมกับชุมชนต่อไป อนุชิตกล่าวทิ้งท้าย

         
สำหรับผมแม้จะเคยมีโอกาสได้มองผ่านวิวไฟน์เดอร์ (View Finder) จากการบันทึกเทปของกล้องวีดีโอ ที่ร่วมเดินทางไปกับหลักสูตรการอบรม Dialogue ของอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ แห่งสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (Civicnet) มาหลายครั้งก็ตามที และเมื่อรวมกับครั้งนี้...โดยส่วนตัว...ผมมองว่า Dialogue เป็นเรื่องของ “การขัดเกลาตนเอง” โดยยึดหลักในทางศาสนาเช่นเรื่องของ ศีล สติ สมาธิ การปล่อยวาง ไม่ถือดี อวดดี และฯลฯ โดยอาศัยการฟัง การไตร่ตรองเป็นเครื่องมือ และการมั่นฝึกฝนดำรงสติ ค้นหาความสงบ เพื่อสร้างให้เกิด “สภาวะตื่นรู้” จากภายใน และนี่แหละจะเป็นเหตุเพื่อนำไปสู่ผลของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรชุมชนได้อย่างมีพลัง และมั่นคง...ซึ่งผมเชื่อเช่นนี้จริงๆ “ฟังกันมากขึ้น คุยกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น” เพราะมันเป็นการแบ่งปันที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลยแม้แต่บาทเดียว และเริ่มต้นได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งการ

เรื่อง/ภาพ: รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน
เสาร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๓

              

             

             

             

หมายเลขบันทึก: 370088เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

สุดยอดมากๆครับ ขอนำไปใช้ต่อนะครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับคุณสุดปฐพีP

“ฟังกันมากขึ้น คุยกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น” เพราะมันเป็นการแบ่งปันที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลยแม้แต่บาทเดียว และเริ่มต้นได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งการ

ผมชอบบทสรุปสุดท้ายของคุณหวานเขา นำไปใช้ได้เลยครับ

ขอบคุณครับ

          

ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในฐานะวิทยากรกระบวนการผู้ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม  เป็นโค้ชที่สุดยอดเลยครับ สอนDialogue โดยฝึกปฏิบัติตั้งแต่ขั้นBasic แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่หนักแน่นมั่นคงครับ ขอบคุณมากครับ

เสียดายครับ ที่ไม่ได้เข้าร่วมด้วย ได้ฟังจากเพื่อนที่เข้าร่วมแล้วน่าสนใจมาก

พี่สุเทพครับ

"คนตาบอดจบถึงดอกเตอร์ แต่คนหูหนวก........."

ทำให้นึกถึงสังคมปัจจุบันครับว่าคนฟังกันน้อยลง พูดมากขึ้น

อันที่จริงผมเห็นด้วยมากที่ต้องฟังอย่างมีสมาธิ ๗๐ ไตร่ตรอง ๒๕ พูด ๕ จะทำให้เกิดปัญญาแก้ไขปัญหาต่างๆได้

ถัาจะให้เพิ่มก็คงต้อง "เขียนให้ได้ซัก๕๐ เปอร์เซ็นต์ นะผมว่า" จะทำให้สิ่งที่เป็นข้อมูลในหัวได้ไหลออกมาให้เราได้อ่าน

เหมือนที่พี่สุเทพ กำลังทำอยู่นี้ไงครับ

ซึ่งผมก็จะพยายามต่อไป

ฝน

เสียดายครับ ที่ไม่ได้เข้าร่วมด้วย ได้ฟังจากเพื่อนที่เข้าร่วมแล้วน่าสนใจมาก

สวัสดีครับฝนP

เน้นในเรื่องการฟัง ฟังอย่างไม่ตัดสิน ในวงสนทนาให้ทุกคนเอาสิ่งที่ตนเองคิดมากองไว้บนโต๊ะสนทนา  อะไรที่อยู่ใต้พรมก็เอามากองไว้ด้วยเช่นกัน ท้ายสุดเมื่อการคุยเสร็จสิ้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่จะเลือกหยิบเอาสิ่งที่พูดคุยนำไปใช้ต่อได้อย่างไร

คุณอนุชิต อรรคสังข์ เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้เสียงสะท้อนได้อย่างน่าสนใจครับ

อภินันท์ครับP

การทำให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง ความเข้มแข็งของชุมชน คือการที่ชุมชนมีสติปัญญาของตัวเอง และทั้งกลุ่มทั้งชุมชน ที่ไม่ใช่แค่ผู้นำเพียงไม่กี่คน

ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร

อย่างน้อยชุมชนการอบรมสัมมนาเมื่อวันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริช โฮเต็ล ถนนพระราม ๕  ก็ขาดผู้นำอย่างอภินันท์ไปคนหนึ่งอภินันท์มาร่วมสมทบระหว่างทาง

กระบวนการ Dialogue อาจจะช้าหน่อยแต่เราก็เน้นที่จะฝากไว้กับทุกคน เมื่อกลุ่มคนเข้มแข็งมีสติปัญญา กระบวนการพัฒนาก็สามารถเดินไปข้างหน้าได้ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างทางก็ทำให้คนในชุมชนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น คุยกันมากขึ้น

ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร

 

เยี่ยมยุทธ์ มากๆ เลยค่ะ ภาษา ดอกอะไล้ ไดอะล็อก

ท่านเทพฯ สบายดีแล้วนะคะ มีความสุขเช่นเคยค่ะ

คุณปูครับP

ครับสบายดีแล้ว มีความสุขเช่นเคยกับดอกอะไล้ ไดอะล็อก

ออกจากโรงพยาบาลแล้วครับ

พอจะไปทำงานได้  สะสางงานที่ค้างสัก 2-3 วันแล้วจะลาพักผ่อนแบบสบายๆหลายวัน พอสมควรแล้วมาลุยงานต่อครับ

สวัสดีค่ะ

มาติดตามเรียนรู้ค่ะ จะนำไปพัมนากระบวนการเข้าค่ายบ้าง  เคยฝึกกับนักเรียน  ผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนเหมือนกันค่ะ

ส่วนมากบอกว่าดี แต่ไม่มีจังหวะที่จะฝึกต่อ ได้แต่ถอดบทเรียนไปแบบที่ไร้กระบวนท่านั่นแหละค่ะ

บันทึกนี้ให้ความรู้และเข้าใจยิ่งขึ้น  ขอขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาส่งความคิดถึงและชวนไปเอาบุญบั้งไฟด้วยกันค่ะที่

http://gotoknow.org/blog/0815444794/370867  

                                  มาตายี

ขอบคุณครับครูคิมP

ได้แต่ถอดบทเรียนไปแบบที่ไร้กระบวนท่านั่นแหละ

ไร้กระบวนท่าคือสุดยอดกระบวนท่า

สุดยอดเพลงกระบี๋คืออยู่ที่ใจครับ

สวัสดีครับคุณมาตายีP

ไปแวะเยี่ยมชมงานบุญบั้งไฟกับสาวพิณลอยพร้อมหมอลำซิ่งสนกๆมาแล้วครับ

คนบ้านใกล้กันคราวที่แล้วไปงานที่สารคาม

ตั้งใจจะเลยกลับบ้านที่กุฉินารายณ์แต่ขาเดี้ยงก่อนครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่ไปเยี่ยมชมดอกไม้นะคะ ทำงานอย่างเต็มที่ มุ่งมั่นเช่นนี้ ได้พักใจพักสายตาบ้างก็ดีค่ะ ที่จริงต้องยินดีกับคุณสุเทพที่ใช้กระบวนการKM ในการทำงานเพราะทำให้ทำงานมีความสุขขึ้นแม้จะเหนื่อยกายอยู่บ้างใช่มั้ยคะ แม้ว่า KM ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษแต่หากใช้ถูกทาง ถูกวิธีจะคล้ายๆการปฏิบัติธรรม ที่จิตจะเบิกบานและมีเมตตามากขึ้น

KM ธรรมชาติ ทำให้ได้ทำให้ดูเสียก่อน ทำได้แล้วค่อย....ก่อใ้เกิดคำถามทำถาม อะไร ? ทำไม? ทำได้อย่างไร? แล้วเราจะทำอย่างได้ไร? ดอกอะไรก็จะเกิดขึ้นอย่างงดงาม เป็นการปรับเปลี่ยนเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว เกิดความสนุกในการฟัง ในการเข้าใจ ในการเชื่อมั่น นำมาซึ่งการสนทนาอย่างสร้างสรร  เพิ่มเป็นพลังการเปลี่ยนแปลงที่ดี กล้าคิด กล้าทำ(การปรับเปลี่ยน) เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ใครทำใครได้ เริ่มจากตัวเรา ถ้าทุกคนเริ่มที่ตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้แน่นอนค่ะ

แค่พูดๆ ยกตัวอย่างๆ อบรมๆๆๆๆๆ จนไม่มีเวลาที่ลงมือทำ มันน่าเป็นห่วงค่ะ

 

สวัสดีครับคุณนายดอกเตอร์P

แม้ว่า KM ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษแต่หากใช้ถูกทาง ถูกวิธีจะคล้ายๆการปฏิบัติธรรม ที่จิตจะเบิกบานและมีเมตตามากขึ้น

ผมนึกถึงจิ๋ว นึกถึงแม่ฑีตากับKMผ้าฝ้ายย้อมสีครามธรรมชาติ ที่พรรณานิคม สกลนคร

เป็นตำนานKMที่คุณนายดอกเตอร์ร่วมพัฒนากับชุมชนบนฐานความรู้ชาวบ้านผสมกับความรู้สมัยใหม่

เป็นตำนานKMที่น่าประทับใจมาก ครับ

ยินดีได้รู้จักครับคุณLin HUiP

KM ธรรมชาติ ทำให้ได้ทำให้ดูเสียก่อน ทำได้แล้วค่อย....ก่อใ้เกิดคำถามทำถาม อะไร ? ทำไม? ทำได้อย่างไร? แล้วเราจะทำอย่างได้ไร? ดอกอะไรก็จะเกิดขึ้นอย่างงดงาม เป็นการปรับเปลี่ยนเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว เกิดความสนุกในการฟัง ในการเข้าใจ ในการเชื่อมั่น นำมาซึ่งการสนทนาอย่างสร้างสรร  เพิ่มเป็นพลังการเปลี่ยนแปลงที่ดี กล้าคิด กล้าทำ(การปรับเปลี่ยน) เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ใครทำใครได้ เริ่มจากตัวเรา ถ้าทุกคนเริ่มที่ตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้แน่

ขอบคุณครับคุณLin Hui เป็นคำแนะนำที่ตรงใจมากครับ

เมื่อวาน(30 มิ.ย.)เราพึ่งจะแระชุมกลุ่ม COP ภายในจะลงมือลุยกันแล้วครับ

สวัสดีครับคุณสุเทพ

วันนี้เป็นวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัยครับ เลยถือโอกาสหิ้วของฝากตระเวนแวะมาเยี่ยมคารวะหมู่มิตรและคุณสุเทพน่ะครับ มีความสุขและมีกำลังใจในการนำเรื่องราวดีๆมาถ่ายทอดแบ่งปันแก่ผู้อ่านเสมอครับ บันทึกนี้ชอบวิธีเรียบเรียงและศิลปะการจัดเรื่องราวมากเลยละครับ อย่างกับมือกราฟิคอาร์ตแน่ะ

 มิติหนึ่งของคนทำงานและครูชีวิตสุขภาพในชุมชน ให้ความบันดาลใจดีครับ  คลิ้กหัวข้อเพื่ออ่านเนื้อหา ๑๒ ตอน

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  คลิ๊กเพื่อเข้าไปดู  เครื่องมือและผลประเมินของเวทีโดยการโหวต   : ความเข้มแข็งและแนวโน้มความยั่งยืนของเครือข่ายครูโรงเรียนอสม. : มิติการพิจารณาความยั่งยืน ๓ องค์ประกอบ ๖ ตัวชี้วัด [Click here]

สวัสดีครับดร.วิรัตน์P

บันทึกนี้ชอบวิธีเรียบเรียงและศิลปะการจัดเรื่องราวมากเลยละครับ

 สวัสดีค่ะ.ท่านสุเทพ..

  • มิตรภาพที่ 170 ยินดีต้อนรับและดีใจมาก ๆ ที่ท่านแวะไปทักทาย(ร่วมแจม) ค่ะ
  • จริง ๆ แล้ว แอบเซปบล็อกท่านไว้ในแพลนเน็ทของจำเนียรวดีแล้วค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ..ขอได้รับความสุขจากการแบ่งปันด้วยค่ะ..
  • รักษาสุขภาพนะคะ..เดินทางปลอดภัยด้วยค่ะ

นำภาพการทำงานกับชุมชนบางช่วงบางตอนมาฝากค่ะ

สวัสดีครับคุณจำเนียรวดีP

  • เห็นภาพการทำงานกับชุมชนบางช่วงบางตอนของคุณจำเนียรวดีที่มาฝากแล้วชื่นใจแทนชุมชนครับ
  • การทำงานกับชุมชนโดยล้อมวงสนทนาโดยใช้กระบวนการDialogue_KM ในการทำงานเป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้ทำงานมีความสุขขึ้นแม้จะเหนื่อยกายอยู่บ้าง
  • คุณจำเนียรวดีให้พรเดินทางปลอดภัยด้วยช้าไปครับ  พึ่งจะประสบอุบัติเหตุอาทิตย์ที่ผ่านมาขาเดี้ยง..คงต้องพักรักษาตัวหลายวัน
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ และขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบันทึก ค่ะ ได้ตามมาอ่านกระบวนการสุนทรียสนทนา สาธก แล้ว ขอชื่นชมค่ะ
  • คนมักชอบให้ใครมารับฟังสิ่งที่ตนพูด และชอบคำหวานหู เป็นธรรมดานะคะ

 

ความภูมิใจ ความสนุก ความได้อย่างใจ และความเก่ง ใครเห็นว่าอะไรสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงาน

คนมักชอบให้ใครมารับฟังสิ่งที่ตนพูด และชอบคำหวานหู เป็นธรรมดา

  • ชอบบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การทำงานอย่างมีความสุข"ของคุณใบบุญครับ
  • มีความชื่นชมหลักAIของอาจารย์ ดร.ภิญโญ  รัตนาพันธุ์ และทีมงาน เป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย
  • ขอบคุณครับ

ใจสำราญ งานสำเร็จ นะคะท่านเทพฯ  ศุกร์สุขสันต์กับการงาน ขอบคุณค่ะ

P

ณ ราตรี ต้นฝน ปนลมหนาว
แม้ฟากฟ้าไร้ดวงดาวพราวสีสัน
หากในใจยังกระจ่างสว่างครัน
เธอและฉันท่ามกลางฟ้าแห่งราตรีฯ

มีความสุขครับเมื่อได้อ่านบทกวี รอยรฤก ณ ราตรี .... ของคุณปู

บันทึกนี้เมื่อนำมาอยู่ในg2k แล้วทำให้รูปชัดขึ้นมาก และมีรูปอื่น ๆประกอบด้วย ตัวหนังสือก็ใหญ่กว่า น่าอ่านมากขึ้น ทำให้ต้องอ่านอีกรอบ ประทับใจค่ะ ให้กำลังใจพี่สุเทพนะคะ วันนั้น 30มิ.ย ที่พวกเรานัดกันออกเเบบกลุ่ม copกันหลังจากนั้น พวกเรา3-4 คนไปนั่งคุยกันต่อก็ได้มีการพูดถึงพี่สุเทพด้วยความเป็นห่วงที่อุตส่าห์ลำบากมาต่องานทั้งที่สุขภาพไม่เอื้ออำนวย ขอให้หายเร็วๆค่ะ

ขอบคุณครับพัชนีP

อยากให้กลุ่มชุมชนนักปฏบัติ(COP)ของเราทั้ง 10 กลุ่มเริ่มต้นได้ เกิดความชัดเจนถึงแนวทางปฏิบัติร่วมกันตั้งแต่ต้น

ได้พูดคุยกันแล้วเหมือนได้เติมพลังให้กันและกัน จากพลังDialogueจึงเกิดความเชื่อมั่นว่าทั้ง10 กลุ่มน่าจะเดินหน้าได้

ในทางวิชาการเขาถึงเรียกว่า "การบ่มเพาะชุมชนนักปฏิบัติ" มันเกิดขึ้นยากในระยะแรกแต่เมื่อตั้งตัวได้ แล้ว โบยบินไปได้เลย

ขอบคุณครับ 

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ มาอ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง กำลังใจค่ะ

เกิดขึ้นยากในระยะแรกแต่เมื่อตั้งตัวได้ แล้ว โบยบินไปได้เลย

ทุกสิ่งดูเหมือนจะยากตรงที่ ก้าวแรก เริ่มต้น นี่กระมังคะ พอผ่านช่วงแรกไปได้แล้ว ดูเหมือนว่า จะไปได้ด้วยดีพร้อมความประทับใจ ...

คงกลับมาทำงานได้อย่างมีความสุขทุกโมงยามเช่นเคยแล้วนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณปูP

  • ผมจะกลับเข้าไปทำงานในวันที่ 28 ก.ค. ครับ
  • ได้หยุดยาว....ได้อยู่เงียบๆกับตัวเอง  พักผ่อนเต็มที่
  • มีเวลาได้ไตร่ตรองเรื่องราวต่างๆในชีวิต
  • ได้อ่านหนังสือ  ได้ฟังเพลง
  • ได้ยอมรับสภาพตัวเอง  ที่จะไม่ค่อยตัวเวลาจะไปไหนมาไหน ด้วยต้องพึ่งพาคนอื่น
  • แต่ก็ขอบคุณ  ห้วงเวลาหนึ่งแบบนี้  ที่ผ่านมาในชีวิตครับไม่เป็นอะไรมากก็สุดแสนจะดีแล้ว
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • Dialogue สุนทรียสนทนา : ที่โรงพยาบาลพะโต๊ะก็เคยนำมาใช้เหมือนกันค่ะ ได้ผลดีทีเดียว “ฟังกันมากขึ้น คุยกันมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น”  จากที่เมื่อก่อนจะไม่สนใจใคร คิดว่าตัวเองถูกอย่างเดียว....
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

                             

สวัสดีครับคุณบุษราP

วันนี้พ่อและแม่ได้รับปริญญาแล้ว ด้วยการที่ลูกของพ่อทุกคนเป็นคนดี ทำในสิ่งเป็นที่เป็น ความดี ความงาม ความจริงให้พ่อและแม่ภูมิใจ.....

ได้ไปอ่านเรื่องเล่าเร้าพลังของคุณบุษรามาแล้วครับ

ชื่นชมและยินดีกับความสำเร็จในปริญญามหาวิทยาลัยชีวิต  ของคุณพ่อและคุณแม่ คุณบุษราด้วยครับ  อ่านเรื่องเล่าแล้วประทับใจครับ

ขอบคุณครับ

... คุณสุเทพ ครับ ... ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับการฟังคนอื่นให้มากและมี         โยนิโสมนสิการ ... เพราะว่าทุกวันนี้เราฟังคนอื่นน้อยลง จึงทำให้มีปัญหาเรื่อง       ความคิดที่ไม่ตรงกันอย่างมากเลยครับในสังคมของเรา ...

สวัสดีครับอาจารย์ศุภัชณัฎฐ์P

ขอบคุณครับอาจารย์ที่มาแวะเยี่ยม

มีโอกาสอยากไปฟังเสียงคลื่นที่เขาเต่า ให้มากขึ้นฟื้นความหลังที่ประจวบ

หรือเลยไกลไปถึงบางสะพาน  อยู่เงียบๆสงบๆ  ฟังให้นานๆฟังให้ลึกๆไปเลย

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย และมาหย่อนความระลึกถึงกันค่ะ 
  • ช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้วรักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                   

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ สบายดีนะคะ ห่างหายไปนาน มาชวนไปชมดอกอะไร ... ช่วงนี้ฝนตกบ่อยๆ เช่นเคย ดอกอะไรๆ ก็แข่งกันเบ่งบาน

สวัสดีครับคุณบุษราP

  • ช่วงเข้าหน้าฝนแล้วรักษาสุขภาพด้วยเช่นกันครับคุณหมอ
  • ผมกลับมาทำงานแล้วครับหลังหยุดพักเป็นเดือน
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณปูP

  • ผมกลับมาทำงานแล้วครับคุณปูหลังหยุดพักเป็นเดือน
  • ภาพข้างบนเป็นภาพบ้านหลังใหม่คุณปูหรือครับ น่าอยู่จัง
  • ไปแวะเยี่ยมชมสวนดอกไม้  ไปชมดอกอะไรบานฉ่ำ มาแล้วครับสดชื่นดี
  • ขอบคุณครับ

                                              " สุขสันต์วันแม่...มีความสุขมากๆ นะคะ "
                                             Mothers day

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท