7 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก


ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

Hiker

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสองในสหรัฐฯ รองจากมะเร็งปอดซึ่งพบเป็นอันดับหนึ่ง

ปัจจุบันมีการศึกษาทดลองใช้วิตะมินอี และเซเลเนียมว่า จะป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้หรือไม่ ซึ่งคงจะทราบผลการวิจัยได้ในปีพ.ศ. 2556

เว็บไซต์ของมาโยคลินิก ซึ่งเป็นสถาบันที่รักษา วิจัย และเผยแพร่ความรู้เรื่องมะเร็งในสหรัฐฯ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากที่สำคัญได้แก่...

 

1.      อายุ:                                      

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งของคนสูงอายุ พบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังอายุ 50 ปี และไม่ค่อยพบก่อนอายุ 50 ปี

2.      เชื้อชาติ:                             

ชาวอาฟริกันอเมริกัน(ผิวดำ)มีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวขาว เราคนไทยเห็นนักกีฬานิโกรแล้วอาจจะนึกว่า คนนิโกรแข็งแรง

ทว่า...สถิติอเมริกันพบว่า นิโกรมีโรคเรื้อรัง เช่น ความดันเลือดสูง มะเร็ง ฯลฯ มากกว่าฝรั่งผิวขาว

มีผู้สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะบรรพบุรุษของนิโกรอยู่ในทวีปที่มีความอดอยากมายาวนาน

ร่างกายจึงเก็บสะสมสารอาหารได้มาก เช่น สะสมไขมันทำให้อ้วนง่าย สะสมเกลือทำให้ความดันเลือดสูงง่าย ฯลฯ 

คนไทยที่ผิวคล้ำหน่อยไม่ต้องตกใจนะครับ ผิวคล้ำแบบไทยป้องกันอันตรายจากแสงแดด(ยูวี)ได้บ้าง ยังไม่พบว่า มีความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้เพิ่มขึ้นอย่างนิโกร

3.      พันธุกรรม:                             

ถ้ามีญาติสายตรง เช่น พ่อ พี่ชาย ฯลฯ เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

4.      ไขมัน                                    

จากการศึกษาพบว่า มะเร็งต่อมลูกหมากพบเพิ่มขึ้นในประเทศที่กินอาหารมีไขมันสูง

นอกจากนั้นอัตราตายยังแปรตามปริมาณพลังงาน(แคลอรี่)ในอาหาร กินมากตายเร็วหน่อย กินน้อยตายช้าหน่อย

5.      ปลาทะเล:                     

มีรายงานการศึกษาหนึ่งพบว่า คนที่กินปลาทะเลที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน แฮริ่ง แมคเคอเรล ฯลฯ ปานกลางถึงมากเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนที่กินปลาทะเลน้อย 2-3 เท่า

6.      พืชตระกูลถั่ว:                       

พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ฯลฯ มีฮอร์โมนพืช(ไฟโตเอสโตรเจน)น่าจะมีส่วนทำให้มะเร็งชนิดนี้ลดลงในกลุ่มประเทศอาเซียน

7.      พืชผักสีแดง:               

เม็ดสีแดงแรงฤทธิ์หรือไลโคพีน (lycopene) ในพืชผักสีแดง เช่น มะเขือเทศ เกรพฟรุตสีชมพู แตงโม ฯลฯ น่าจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยลง

ไม่ควรกินสารสกัดเป็นเม็ด เนื่องจากการออกฤทธิ์ของสารพลังพืชน่าจะเป็นผลจากการทำงานร่วมกัน (synergy) ของพฤกษเภสัชหรือสมุนไพรหลายชนิด ไม่ใช่สารเคมีเพียงตัวเดียว

 

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบว่า สารสกัดเม็ดมีประสิทธิผลจริง ยกเว้นบริษัทขายยารวยจริงๆ

    คำแนะนำ:     

อาจารย์เมโยคลินิกแนะนำวิธีป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากดังต่อไปนี้...

1.      กินพืชผักมากขึ้น:        

กินพืชผัก(ข้าวกล้อง ถั่ว งา ผัก และผลไม้)ให้มากขึ้น แนะนำให้กินถั่ว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ฯลฯ

พืชผักสีแดง เช่น แตงโม มะเขือเทศ ฯลฯ และปลาทะเลเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นฝรั่งให้กินขนมปังโฮลวีตหรือขนมปังที่มีรำปนอยู่แทนข้าวกล้อง

2.      กินไขมันให้น้อยลง:             

กินไขมันให้น้อยลง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม กะทิ ฯลฯ ให้น้อยลง

ถ้าเป็นสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ ควรลอกส่วนหนังทิ้งไปเสีย ไม่ควรกินเนื้อมากเกิน เนื่องจากเนื้อทุกชนิดมีไขมันแทรกอยู่ภายใน แม้เป็นเนื้อแดงก็ยังมีไขมันอิ่มตัว

3.      ควบคุมน้ำหนัก:                     

ควบคุมน้ำหนักด้วยการไม่กินมากเกิน โดยเฉพาะอาหารหวานมัน กินพืชผัก(ข้าวกล้อง ถั่ว งา ผัก และผลไม้ไม่หวานจัด)ให้มากขึ้น และออกกำลังกาย

การกินพืชผักนั้น...สิ่งแรกที่ควรเปลี่ยนคือ ให้เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เนื่องจากเป็นแหล่งเส้นใยมากกว่าเส้นใยในผักและผลไม้ นอกจากนั้นยังมีวิตะมิน เกลือแร่ และสมุนไพรอีกหลายชนิด(ผู้เขียน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตะมินบีหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้สมองและเซลล์ประสาทเสื่อม

4.      ลดเค็ม:                      

กินเค็มให้น้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคความดันเลือดสูง ซึ่งจะทำให้สุขภาพส่วนรวมแย่ลง

คนแข็งแรงมีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนอ่อนแอ(ไม่ว่าจะกายหรือใจ)

5.      ไม่ดื่ม:                                            

ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ มากเกิน คนไทยไม่ควรดื่มเลย เพราะแทบไม่มีใครรู้จักเลยว่า เหล้ามีความพอดีอยู่ตรงไหน

แอลกอฮอล์ทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิด นอกจากนั้นคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการขาดอาหาร ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง และทำให้สุขภาพส่วนรวมแย่ลง

 

ถึงตรงนี้... เรียนเชิญท่านผู้อ่านกินมะเขือเทศเป็นประจำ จะเป็นต้ม ผัด ทอด หรือซอสมะเขือเทศ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ทั้งนั้นครับ...

    รวมเรื่อง "ปลา"...        

  • น้ำมันปลา ดีกับสมอง
  • [ Click - Click ]
  • ไม่กินเนื้อ อาจฉลาดกว่า
  • [ Click - Click ]
  • วันนี้ กินปลาหรือน้ำมันปลาดี
  • [ Click - Click ]

  • ลดความอ้วน ช่วยชาติ
  • [ Click - Click ]
  • ถั่วกับปลา อาหารลดเสี่ยงมะเร็ง
  • [ Click - Click ]
  • ปลาน้ำจืด มีดีเหมือนกัน
  • [ Click - Click ]

  • ซูชิ ไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด
  • [ Click - Click ]
  • 9 อาหารเพื่อชีวิต(ที่ดีขึ้น)
  • [ Click - Click ]
  • 10 ยอดอาหารสุขภาพ
  • [ Click - Click ]

  • อาหารลดโคเลสเตอรอล
  • [ Click - Click ]
  • โคเลสเตอรอลสูง กินอยู่อย่างไรดี
  • [ Click - Click ]
  • มลภาวะ ปลา น้ำมันปลา
  • [ Click - Click ]

  • กินปลา สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • [ Click - Click ]
  • 7 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • [ Click - Click ]
  • 7 วิธีป้องกันโรคหัวใจ
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:     

  •  ขอขอบพระคุณ (thank) > www.mayoclinic.com/health/prostate-cancer-prevention/M000027 > November 8, 2005 > Prostate cancer prevension: What you can do.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ > ปรับปรุง ๒๕ ตุลาคม ๔๙ > 27 เมษายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 7280เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2005 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณคุณหมอที่เอาความรู้สุขภาพมาให้ จะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ป้องกันไว้ก่อน ขอบคุณครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์บางทรายและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

การป้องกันโรคมีส่วนช่วยชาติประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มาก และช่วยประหยัด "ชีวิต" ทำให้เรามีโอกาสใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ

  • อายุขัยเฉลี่ยคนไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น.... เมื่ออายุขัยเริ่ม 65 ปีขึ้นไปจะเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากกันแล้ว
  • ป้องกันไว้น่าจะดีกว่าครับ

ขอขอบคุณ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท