ลานปัญญาของคนหนองบัว


 ลานปัญญาของคนหนองบัว : อีกมิติหนึ่งของเวทีคนหนองบัว

 เวทีคนหนองบัว  ตามหัวข้อต่างๆ มีหลายเวทีด้วยกัน ที่สำคัญก็ได้แก่ เวทีของพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแล ขำสุข(อาสโย) เป็นการรวบรวมข้อมูลและความรู้ด้านทุนทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชนอำเภอหนองบัว ซึ่งมีคนเข้าไปดูมากครั้งที่สุด อีกทั้งมีข้อมูลทั้งเรื่องราว ภาพถ่าย รูปวาด งานวิจัยและงานเขียน รวมทั้งข้อมูลจากการสนทนากันของหลายคน เป็นจำนวนมาก เวทีของกลุ่มพริกเกลือ โดยคุณเสวก ใยอินทร์ และเวทีที่ผมเขียนขึ้นซึ่งมีอยู่สามส่วน คือ (๑) เวทีเรียนรู้สร้างสุขภาวะของคนหนองบัว ที่เปิดขึ้นให้ท่านพระมหาแลกับคนหนองบัวในนามของผม แต่ได้พัฒนาไปเป็นเครือข่ายการดูแลและช่วยกันจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วมไปแล้ว (๒) บันทึกเรื่องราวของชุมชนหนองบัวที่ผมเขียนเอง และ (๓) บันทึกเรื่องราวของโรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) กับชุมชนบ้านตาลิน ซึ่งเป็นบ้านเกิดผมและเป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่รอบนอกของอำเภอหนองบัว

นอกจากนี้ ก็มีเวทีของคนรักหนัง เป็นเวทีของคุณครูอนุกูล วิมูลศักดิ์ คุณครูอัตราจ้างของโรงเรียนชุมชนวัดเทพสุทธาวาส ซึ่งเขียนเรื่องราวด้านต่างๆของโรงหนังในอำเภอหนองบัว เชื่อมโยงออกไปถึงวงการธุรกิจภาพยนต์ ดนตรี และธุรกิจบันเทิงของภาคเหนือ นครสวรรค์ ไปจนถึงวงการคนรักษ์หนังของประเทศ นานๆครั้งคุณอนุกูลเธอก็จะเขียนและเข้ามาสนทนาสักครั้งหนึ่ง ทว่า เขียนอย่างเป็นระบบ และในทรรศนะผมแล้ว เมื่อดูจากความเป็นผู้สนใจ การลงมือสะสมทั้งหนังและเครื่องฉายหนัง รวมทั้งความเป็นผู้มีเครือข่ายใกล้ชิดกับคนในวงการและมีกำลังทางความรู้มากของคุณครูอนุกูลนั้น ผมก็คิดว่าเวทีคนรักหนังเป็นเวทีคนหนองบัวที่มองผ่านเรื่องหนัง แต่เห็นมิติสังคมท้องถิ่น วัฒนธรรม การสื่อสารเรียนรู้ และพัฒนาการทางด้านต่างๆ ของภาคเหนือและของประเทศไทยที่ดีและน่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

เวทีคนหนองบัวดังที่กล่าวถึงในข้างต้น เริ่มมีข้อมูลมากยิ่งๆขึ้น ทั้งข้อมูลชั้นต้นที่เขียนถ่ายทอดและบันทึกไว้ก่อนจากแหล่งบุคคล กับความรู้ต้นเรื่อง รวมไปจนถึงความรู้และข้อมูลของชุมชนหนองบัวที่ผู้อื่นได้เขียนไว้แล้วก็มีผู้ขอนำมาเก็บรวบรวมไว้ให้เป็นหมวดหมู่ในชุดความรู้และกลุ่มข้อมูลของชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ และข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงออกไปจากชุมชนหนองบัวในภาพกว้าง ขยายออกไปจนถึงต่างประเทศ ซึ่งข้อมูลและความรู้ดังกล่าวนับว่ามีคุณค่ามากทั้งสำหรับคนหนองบัวและสำหรับสังคมไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นด้านที่ได้ช่วยกันทำด้วยพลังความริเริ่มและความสร้างสรรค์ต่อส่วนรวมของผู้คนหลายคน ซึ่งบางท่านเป็นเครือข่ายคนมีประสบการณ์หลายด้านที่อยู่ในจังหวัดและท้องถิ่นอื่นๆของประเทศ ทำให้ความรู้ ข้อมูล และสิ่งสร้างสรรค์หลายอย่างที่เกิดขึ้นตามมา เป็นผลสืบเนื่องของการทำและเรียนรู้ไปด้วยกันด้วยรูปแบบผสมผสานหลายอย่าง ทั้งเครือข่ายของกลุ่มคนในโลกไซเบอร์ซึ่งทันสมัยก้าวหน้าทั้งวิทยาการและเทคโนโลยี เครือข่ายของคนทำงานและดำเนินชีวิตในวิถีธรรมชาติ  กลุ่มคนที่เป็นชุมชนหรือเป็นกลุ่มทำงานด้วยกันตามพื้นที่ต่างๆ  ตลอดจนชาวบ้าน พนักงานองค์กรท้องถิ่น พระสงฆ์และคนทำงานพัฒนาชีวิตด้านในของปัจเจกและชุมชน ซึ่งรูปแบบผสมผสานหลากหลายมิติดังกล่าวนี้นั่นเอง ที่ทำให้เวทีคนหนองบัวเป็นรูปแบบการทำงานความรู้เชิงสังคมที่สามารถข้ามข้อจำกัดและริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งดีๆด้วยกันได้หลายอย่าง

ทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงนี้ สามารถเข้าไปเยือนและอ่านตามลิ๊งค์ที่อยู่ในหัวข้อ  รวมลิ๊งค์เพื่อเข้าไปอ่านเวทีของคนหนองบัว ที่อยู่ด้านล่างของบล๊อกนี้เลยครับ

การช่วยกันสร้างความรู้ เขียนบันทึกข้อมูล และเป็นเครือข่ายความรู้ชุมชนท้องถิ่น ด้านหนึ่งก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาของชุมชนทุกระดับทั้งปัจจุบันและในอนาคต และอีกด้านหนึ่งก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนที่ช่วยกันทำไปด้วย ผมเลยเห็นความสำคัญที่จะเปิดเวทีจำเพาะให้อีกเวทีหนึ่งต่างหาก สำหรับเป็นที่ถอดบทเรียนควบคู่ไปกับเวทีหัวข้ออื่นๆของคนหนองบัว

 ความเป็นเวทีถอดบทเรียนและพัฒนาความรู้เชิงกระบวนการ 

การถอดบทเรียนและการนำเอาประสบการณ์ ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดมานั่งทบทวนให้ได้ความแยบคายต่อชีวิตนั้น สามารถทำได้หลายมิติและสามารถทำให้คืบหน้าไปกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ชุมชน กลุ่มประชาคม และนักกิจกรรม พัฒนาความเป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิตที่กว้างขวางขึ้นมาจากสิ่งที่ได้ทำ เวทีนี้จึงจะมีไว้สำหรับการถอดบทเรียน เพื่อสะสมความรู้จากการปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ของตัวเราเองทุกคน และนำกลับไปพัฒนาการเขียนและสร้างความรู้ตามหัวข้อต่างๆที่มีอยู่ ให้ดียิ่งๆขึ้น 

การมีเวทีคนหนองบัวหลายเรื่องหลายหัวข้อ รวมทั้งได้มีความริเริ่มสิ่งดีไปด้วยอยู่เสมอนั้น เป็นเหมือนความสำเร็จที่สัมผัสได้ แต่ภายใต้ความสำเร็จและการค่อยๆทำขึ้นมาทีละเล็กละน้อยดังกล่าว เชื่อว่ามีการแก้ปัญหาและมีประสบการณ์การเรียนรู้อยู่มากมาย เวทีถอดบทเรียนนี้จึงจะเป็นที่ระดมพลังทางปัญญา ที่ทุกท่านจะช่วยกันนำเอาประสบการณ์มาสังเคราะห์ แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และสะสมบทเรียนดังกล่าวไว้ เริ่มไปอย่างกว้างๆ สร้างความหลากหลาย และให้ค่อยๆมีพัฒนาการขึ้นมาตามเหตุปัจจัยต่างๆไปเรื่อยๆ ดีกว่าก็แล้วกันนะครับ

           รวมลิ๊งค์เวทีของคนหนองบัว อำเภอหนองบัว นครสวรรค์ ลากเมาส์วางลงบนหัวข้อแล้วคลิ๊กเข้าไปดูได้เลยครับ          

เวทีสร้างความรู้และเรียนรู้ชุมชน : ทุนสังคมวัฒนธรรมของอำเภอหนองบัว โดยพระมหาแล ขำสุข (อาสโย) | เวทีเรียนรู้สร้างสุขภาวะคนหนองบัว | เวทีคนหนองบัวกับพริกเกลือ โดย คุณเสวก ใยอินทร์ | เวทีคนรักหนัง : โรงหนังในอดีตของอำเภอหนองบัว โดย คุณครูอนุกูล วิมูลศักดิ์ | โรงเรียนประจำอำเภอหนองบัว | ชุมชนบ้านตาลินและโรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) อำเภอหนองบัว | บวชนาคหมู่ : เอกลักษณ์ของหนองบัว | การลงแขกฝัดข้าว | แรกมีของอำเภอหนองบัว(๔) |  สุขาภิบาลและสาธารณสุขชุมชนบ้านตาลิน | แรกมีของอำเภอหนองบัว ๓ | แรกมีของอำเภอหนองบัว๒ | แรกมีของอำเภอหนองบัว๑ | ไอ้เป๋หนองบัวกับวัวหลวงพ่ออ๋อย | ทุนทางสังคมอำเภอหนองบัว | คุณครูศุภฤกษ์ ฟูเผ่า โรงเรียนหนองบัว | โรงเรียนบ้านหนองไผ่กับเครือข่ายขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน | ดังลมหายใจ : ปัจเจก ครอบครัว และชุมชน ในบริบทของเมืองกับชนบท 

           ย้อนกลับไปดู ทบทวน และร่วมเขียน แล้วนำมาถอดบทเรียนบันทึกและแบ่งปันกันไว้ในนี้ได้ตามอัธยาศัยครับ         

หมายเลขบันทึก: 322873เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

บทเรียนบางประการจากเวทีคนหนองบัว

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแล คนหนองบัว และเครือข่ายกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

อ้างอิง : Comment ๖๒ บันทึก 'เวทีเรียนรู้สร้างสุขภาวะคนหนองบัว'

  • ร่วมแสดงความยินดีกับพระคุณเจ้าด้วยครับ ผมก็รู้สึกดีใจอย่างที่พระคุณเจ้าสะท้อนออกมาครับ
  • แล้วก็เห็นด้วยอย่างมากครับว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับพระคุณเจ้าและทุกท่าน ทำเวทีคนหนองบัวในบล๊อก GotoKnow อย่างนี้ขึ้นมา ซึ่งริเริ่มกันด้วยความมีจิตใหญ่ ทว่า ทำกันไปตามกำลัง แต่คิดว่ามีส่วนทำให้ความเป็นชุมชนหนองบัวในโลกของความรู้และยุคข้อมูลความสาร สามารถมีอัตลักษณ์ เห็นการดำรงอยู่ เห็นความมีอยู่  มองเห็นและสัมผัสได้ทั้งจากคนหนองบัวเองและจากโลกภายนอก จากที่แต่เดิมชุมชนหนองบัวเราดูเป็นบ้านนาป่าดง ห่างไกลจากความรับรู้ของผู้คนทั่วไปมากๆ

  เป็นเอกลักษณ์และหนึ่งเดียวของประเทศ 

  • โดยเฉพาะนอกเหนือจากแหล่งข้อมูลที่ราชการทำขึ้นมาแล้ว เมื่อหาความเป็นชุมชนอำเภอที่เป็นความเคลื่อนไหวของประชาชน เวทีคนของชุมชน หรือเวทีพลเมืองแล้ว ลองสำรวจดู ก็จะเห็นมีเวทีที่ช่วยกันทำอย่างนี้ก็แต่เวทีนี้แห่งเดียวในประเทศก็ได้กระมังครับ ชุมชนบ้านนอกกว่าเพื่อนก็อาจทำบางสิ่งที่นำหน้าชุมชนอื่นๆได้นาครับจะว่าไป 

  ที่สุดของประเทศ 

  • รวมไปจนถึงชุมชนเล็กๆอย่างบ้านตาลินและโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) ซึ่งนำร่องให้เป็นภาพเชิงลึกของชุมชนอำเภอหนองบัวนั้น ผมกล้าพูดได้ว่า ในจำนวนชุมชนของโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ๕ แห่งนั้น เรื่องราว ความเป็นวันครูและโรงเรียนวันครูกับความสำคัญต่อพัฒนาการศึกษาของสังคมไทย รวมทั้ง โรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) กับ วัด ผู้นำชุมชน และชุมชนโดยรอบ ที่บ้านตาลิน ของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ของเรา ณ วันนี้ รอบด้านที่สุดในประเทศครับ ลองคลิ๊กไปดูได้ตามลิ๊งค์ตัวสีแดงข้างบนทั้ง ๒ ลิ๊งค์ครับ 

 มองเห็นและสัมผัสได้อย่างไร้พรมแดน

  • หากใส่คำค้น แล้วค้นหาด้วยกูเกิ้ล ด้วยคำว่า เวทีพลเมือง / เวทีคนหนองบัว คนหนองบัว / อำเภอหนองบัว / โรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) / บ้านตาลิน เหล่านี้ ก็จะเห็นตัวตนของคนหนองบัวได้ทันทีจากโลกไซเบอร์ครับ แล้วไม่ใช่เห็นแค่ข้อมูลแข็งๆครับ แต่เห็นมิติของชีวิตจิตใจ เรื่องราวของอำเภอ เรื่องราวของผู้คน องค์ความรู้ชุมชนท้องถิ่น แล้วก็มีข้อมูลและวัตถุดิบเพื่อนำไปจัดการความรู้พัตนาสิ่งสร้างสรรค์ต่างๆได้อีกมากมายครับ

 หลายอย่างเป็นต้นเรื่อง

  • บางเรื่องเป็นประเด็นที่ก้าวล้ำยิ่งกว่าเรื่องทั่วไปที่สังคมคุยกันจากข่าวสารประจำวันเสียอีกครับ เช่น เรื่องคุยแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความรู้ และสร้างสัมมาทรรศนะต่อประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว และตัวตนของชุมชนด้วยความรู้จากประสบการณ์ชีวิตของบุคคล อย่างเช่นของคุณสมบัติ ฆ้อนทอง พระคุณเจ้า และคุณเสวก ใยอินทร์ ซึ่งทั้งความเป็นเรื่องสร้างสรรค์และความที่ผู้นำเรื่องเหล่านี้มาคุย เป็นคนท้องถิ่นหนองบัว ทว่า มีบทบาทต่องานภาคสาธารณะของประเทศโดยตรงด้วย
  • เรียกว่าเป็นเวทีคนหนองบัวซึ่งเป็นชุมชนท้องถิ่นก็จริง แต่บางเรื่อง กลับเป็นเรื่องที่คนหนองบัวได้ความเป็นต้นฉบับและจากคนต้นเรื่องของประเทศ-นานาชาติ 

 วิถีเรียนรู้แบบปฏิบัติธรรม

  • หลายเรื่องก็เป็นความริเริ่มกันเอง อย่างที่พระคุณเจ้าประมวลข้อมูลให้เห็นภาพรวมของคนที่เข้ามาเสวนากันในเวทีนี้ ตรง คห ๒๖๑ ซึ่งทำให้เห็นกลุ่มคนตั้งหลายคน ก็เป็นการทำไปก็เรียนรู้และสร้างความรู้เกี่ยวกับตนเองไปอย่างง่ายๆแต่มีความพอเหมาะ พอเพียง พอดี มีความหมาย และเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความเคารพผู้คน
  • อันที่จริงต้องยกให้เป็นคุณูปการของพระคุณเจ้าครับ เพราะเริ่มต้นมาจากพระคุณเจ้า จนเวทีแรกทะลุไปเกือบ ๕,๐๐๐ คน/ครั้งแล้วครับ ผมเห็นเวทีแรกที่เปิดขึ้นเพื่อรองรับจำเพาะของพระคุณเจ้าซึ่งมีข้อมูลมากและมีคนเข้ามาดูเยอะจนเห็นจะต้องช่วยกันดูแล เลยแตกออกมาเป็นเวทีสาขาแห่งนี้ แล้วก็มีคนเข้ามาดูกว่า ๔,๐๐๐ คน/ครั้งเช่นกันแล้วครับ

                            

                            

                             คุณครูจุฑารัตน์ คนพยุหะคีรี จาก สพท กำแพงเพชร และกัลยาณมิตรของคนหนองบัว และเพื่อร่วมทีม ไปดูงานนิทรรศการรูปเขียน และนั่งคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกัน ที่หน้ามหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งต้องถือว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการนำเอาข้อมูลจากเวทีคนหนองบัว ไปจัดกิจกรรมต่อไปอีก จึงทำให้ได้เจอคนเก่งๆที่ทำงานเพื่อเด็กๆและเป็นคนท้องถิ่นนครสวรรค์ (ต้องขออภัยที่แต่เดิมผมเข้าใจว่าเป็นคนหนองบัว แต่เป็นเพื่อนน้องผมและเป็นคนพยุหะคีรี แต่ก็ถือว่าใช่คนอื่นคนไกลครับ)

 จัดการความรู้สู่ความสร้างสรรค์ต่อเนื่องที่เกิดผลดีทั้งต่อท้องถิ่นและต่อสังคม

  • นอกจากเป็นที่สนใจและมีความเคลื่อนไหวดีมากพอสมควรแล้ว ก็ทำให้เกิดกิจกรรมที่ออกไปในทางสร้างสรรค์การเรียนรู้ของสังคม เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามมาอีกหลายอย่างครับ เป็นต้นว่า ผมได้รวบรวมรูปเขียน ที่ดึงข้อมูลจากเวทีนี้มาเขียนนำเสนอเป็นรูปวาด แล้วก็รวบรวมสมทบกับรูปเขียนอื่นๆของผมจากงานวิจัยชุมชนอื่นๆ รวมแล้วได้กว่า ๖๐ รูป แล้วก็จัดแสดงนิทรรศการศิลปะที่อำเภอพุทธมณฑล หน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งตอนนี้ตกลงกันว่าจะขยายการแสดงให้คนเข้าชมไปจนถึงกลางเดือนมกราคม ปีหน้า ๒๕๕๓

 สร้างชุมชนและเครือข่ายคนหนองบัวอีกมิติหนึ่งให้เข้มแข็งขึ้น

  • จากเวทีนี้ คนหนองบัว และศิษย์เก่าของสถานศึกษาในหนองบัว ก็มีแหล่งได้คุยกันและได้ริเริ่มทำสิ่งดีๆด้วยกันอีกหลายอย่าง หลายคนเคยแต่เชื่อมโยงกับญาติพี่น้องและถิ่นเกิดด้วยการกลับไปเยี่ยมญาติอย่างเดียว ก็มีเวทีนี้เพิ่มโอกาสให้สามารถทำสิ่งต่างๆด้วยกันอีกตั้งหลายเรื่อง 

เพียงที่กล่าวถึงเหล่านี้ ก็ต้องถือว่าเวทีนี้ได้ทำสิ่งสร้างสรรค์มากพอดูหลายเรื่องทีเดียวครับ

สวัสดีครับพี่ใหญ่ พี่นงนาท

  • ผมเลยขออนุญาตแวะเข้าไปท่องในบ้านของพี่ใหญ่ แล้วก็เพลินไปเลยครับ สัมผัสได้ถึงความสุขในชีวิต ความอิ่มเต็ม และความเบิกบานในใจอยู่ในทุกอณูเลยทีเดียวครับ
  • ร่วมขอบพระคุณกับคนหนองบัวด้วยครับ
  • แล้วก็เป็นแขกผู้มาเยือนที่คนหนองบัวหลายคนคงจะดีใจ โดยเฉพาะคุณครูพนม จันทร์ดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองไผ่ และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) กับเครือข่ายสถานศึกษาที่ทำงานในแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเน้นคุณธรรมจริยธรรม อย่างในแนวทางการทำงานของพี่ด้วยนะครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์...

แวะมาสวัสดีปีใหม่อาจารย์ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ดิฉันเข้ามาอ่านเรื่องเล่าเวทีของคนหนองบัว  เพื่อการเรียนรู้
  • ตอนนี้ได้เริ่มที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ ๓ ก่อนค่ะ ให้เขาไปเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนของเขาแล้วนำมาเขียนเป็นหนังสือทำมือ
  • ซึ่งน้อง หนานเกียรติ ได้เข้าไปช่วยเหลือจัดค่าย ฯ ให้ค่ะ
  • ดิฉันขัดข้องปัจจัยของการมีส่วนร่วมในการช่วยกันสร้างความรู้  การเขียนบันทึกข้อมูล และการเป็นเครือข่ายความรู้ชุมชนท้องถิ่น
  • แต่คนในชุมชนเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาของชุมชนทุกระดับทั้งปัจจุบันและในอนาคต  สังเกตเห็นมีความกระตือรือร้นเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ
  • ถ้าหากเป็นการเริ่มที่เด็ก แบบค่อยเป็นค่อยไป เด็กก็คือเด็กหาดขาดตอนหรือเว้นวรรค  ทุกอย่างก็แทบจะต่อไม่ติดค่ะ
  • กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
  • ด้วยความเคารพ
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ลานปัญญาคนหนองบัว-ลานวัดหนองกลับ

เจริญพรอาจารย์วิรัตน์ชาวหนองบัวและผู้อ่านทุกท่าน

ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีกับชาวหนองบัวที่มีเวทีเกิดใหม่อีกแห่งหนึ่งอันจะเป็นที่เรียนรู้ร่วมกันของคนบ้านเรา เชิญทุกท่านและโดยเฉพาะคนหนองบัวที่มีประสบการณ์มาแบ่งปันความรู้ให้ลูกหลานคนหนองบัวนี่คือลานปัญญเป็นเรื่องความรู้ประสบการณ์และสร้างสรรค์หลายท่านเป็นบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานการดำเนินชีวิตเป็นบุคคลที่มีคุณค่า ประสบการณ์ของท่านจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอีกหลายคน มิได้หมายความว่าผลสำเร็จแห่งชีวิตที่กล่าวถึงนี้จะต้องเป็นคนใหญ่คนโตร่ำรวยอะไรเป็นเรื่องที่เรามีอยู่ทำอยู่นี้ก็ถือเป็นความสำเร็จของแต่ท่านอยู่แล้ว เรามาร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อหนองบัวของเรา พวกเรามิใช่ใครอื่นคนไกลคนกันเองทั้งนั้น เจริญพรขอเชิญชวนตรง ๆ ซื่อ ๆ อย่างนี้แหละพี่น้อง

ขอบคุณคุณจตุพรที่ตั้งชื่อเวทีคนหนองบัวว่าลานปัญญาของคนหนองบัว ลานวัดหนองกลับก่อเกิดสิ่งดี ๆ มากมายความเป็นหนองบัวความเป็นชุมชน ความเป็นเมืองหนองบัว คำขวัญของอำเภอหนองบัวนั้นเกือบจะทั้งหมดรวมอยู่ที่วัดหนองกลับ-ลานวัดแห่งนี้มี

๑. ก่อนเป็นอำเภอหนองบัววัดหนองกลับเป็นที่ทำการกิ่งอำเภออยู่ ๔ ปี โดยใช้กุฏิพระเป็นออฟฟิชสำนักงานข้าราชการงานเมืองโดยในสมัยนั้นหลวงพ่ออ๋อย สุวณฺโณ(พระครูนิกรปทุกมรักษ์ )เจ้าคณะอำเภอหนองบัวเป็นเจ้าอาวาส

๒. วัดหนองกลับเป็นวัดที่มีพระเถระผู้ใหญ่บริหารพระศาสนาโดยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอรูปแรกก็คือหลวงพ่ออ๋อย

๓. โรงเรียนแห่งแรกของอำเภอหนองบัวตั้งอยู่ในพื้นที่วัดหนองกลับโดยหลวงพ่ออ๋อยซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นบริจาคที่ดินให้เพื่อสร้างโรงเรียนและผู้ก่อตั้งโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(โรงเรียนอนุบาลหนองบัว)ก็คือท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก(ห้อง ชาตสิริ ป.ธ. ๖ ท้วมเทศ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งท่านเป็นคนเนินพลวงตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว

๔. ลานวัดแห่งนี้เป็นสถานศึกษาแห่งแรกของท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายกซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ ๘ ปีได้ศึกษาภาษาไทยกับพระหัด ท้วมเทศ ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านเอง ๕. วัดหนองกลับมีสระน้ำขนาดใหญ่สองสระประมาณ ๒๐ ไร่เป็นแหล่งน้ำสำหรับบริโภคใช้สอยของคนทั้งอำเภอเรียกว่าสระน้ำหลวงพ่ออ๋อยคนรุ่นเก่าเล่าให้ฟังว่าใครกินน้ำสระหลวงพ่ออ๋อยแล้วจะต้องกลับมาหนองบัวอีก

๖. วัดหนอบกลับมีศาลาการเปรียญขนาดใหญ่เสาร้อยกว่าต้นเสามีขนาดคนโอบรอบสร้างโดยหลวงพ่อเดิมและแรงศรัทธาความสามัคีของคนหนองบัว

๗. ลานวัดหนองกลับถือเป็นเมืองหนองบัวเป็นศูนย์รวมจิตใจเพราะอะไรเพราะคำขวัญวรรคแรกที่ว่า หลวงพ่อเดิมสร้างเมืองและด้วยความจริงก็คือหลวงพ่อเดิมท่านสร้างศาลาการเปรียญวัดหนองกลับแต่ชาวหนองบัวถือว่านี่คือการสร้างเมืองหนองบัวนั่นเอง

๘. ลานปัญญาแห่งนี้ได้สร้างปัญญาเบื้องต้นแก่คนบ้านนอกบ้านป่าจนต่อมาได้เป็นผู้นำและบริหารกิจการพระศาสนาที่ถือว่าสูงสุดในระดับจังหวัดนั่นก็คือท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยข้อมูลที่อาตมามีอยู่ตอนนี้และอยู่ไกลบ้าน ด้วยยังไม่ได้ตรวจสอบเอกสารอย่างครบถ้วน แต่มีความเห็นส่วนตัวว่า ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก ท่านน่าจะเป็นคนแรก ๆ ของหนองบัวที่ได้เดินทางไปศึกษาถึงกรุงเทพมหานครเมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา

๙. ลานปัญญาหรือคือโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(โรงเรียนอนุบาลหนองบัว)แห่งนี้เป็นแหล่งสร้างบุคลากรแห่งแรกของชุมชนและปัจจุบันท่านเหล่านั้นมีบทบาทเป็นกำลังสำคัญทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติมากมาย

๑๐. ลานแห่งนี้เป็นสถานที่ฝึกฝนอบรมกุลบุตรที่เข้ามาบรรพชาอุปสมบทกับหลวงพ่ออ๋อยตั้งแต่รุ่นปู่จนถึงรุ่นเหลนทั้งอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง กุลธิดามีที่เรียนหนังสือหลวงพ่ออ๋อยไม่มีลูกก็จริงแต่ลูกท่านมีทั้งอำเภอคือชายเป็นลูกศิษย์ทั้งบวชและศิษย์วัดฝ่ายหญิงหลวงพ่ออ๋อยสร้างโรงเรียนประจำอำเภอให้มีที่เรียน และเมื่อจะออกเรือนมีคู่ครองลูกหลานมักนิยมให้ลูกหลวงพ่ออ๋อยผูกข้อมือวันแต่งงานเพื่อเป็นศิริมงคลในการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่.

สวัสดีครับหนานเกียรติ ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย ให้หนานเกียรติ ภรรยา เฌวา และยายตา ย่าปู่ และสิ่งที่เคารพนับถือ อำนวยพรให้หนานเกียรติ ครอบครัว และญาติพี่น้อง ประสบความสุขความเจริญงอกงาม ได้ประสบการณ์ที่ดี มีกำลังใจ และได้ทำงานที่ให้ความงอกงามแก่ชีวิตทุกด้านเลย

สวัสดีครับคุณครูคิม :

  • ได้ติดตามอ่านบันทึกรายงานสนามที่คุณครูคิมและหมู่มิตรที่เป็นมือหนึ่งทั้งในด้านความมีจิตอาสาและด้านความเชี่ยวชาญในการทำงานสร้างสรรค์สิ่งดีหลายท่าน ที่ได้ไปช่วยกันทำค่ายการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่โรงเรียนวิทยสัมพันธ์ พิษณุโลก ตลอดเลยนะนครับ
  • เป็นทั้งกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างคน และเป็นวิธีทำงานแบบเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาเรียนรู้โดยกลุ่มคนทำงานจากแหล่งต่างๆของประเทศที่น่าสนใจมากเลยครับ
  • ดูแล้วเป็นทั้งการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ของจริงของเด็กเป็นตัวตั้ง แล้วก็ทำวิจัยปฏิบัติการด้วยกันเป็นกลุ่ม ได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาความรู้เชิงวิชาการไปด้วยกัน ได้เพิ่มพูนประสบการณ์และความแข็งแกร่งในทุกด้านของครูและคนทำงานด้านการศึกษา ได้เพื่อน และได้ร่วมกันตรวจสอบนวัตกรรมการเรียนการสอนมิติต่างๆ โดยไม่ต้องแยกส่วนออกไปทำนอกสถานการณ์ของการเรียนรู้จริง
  • เลยขอให้กำลังใจทั้งครูคิม หนานเกียรติ ศน.อ้วนและทีม และหมู่มิตร ทุกท่านที่กำลังช่วยกันทำสิ่งดีๆ ให้แก่เด็กๆและวงการศึกษาครับ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแลครับ

  • เห็นแล้วตะลึงครับ เป็นความต่อเนื่องที่ผุดให้เห็นความรู้ของชุมชนหนองบัวที่เริ่มเกิดการย่อย สังเคราะห์ และเจียรนัยมิติใหม่ๆออกมา แล้วได้ความรู้ มุมมอง ความเข้าใจ ที่ดีมากขึ้นเป็นลำดับครับ เพิ่มพูนความหมายและมิติคุณค่าที่ถูกมองข้ามไปหรือไม่ค่อยได้เรียนรู้ว่ามีสิ่งดีอยู่ในตนเองของคนหนองบัว ให้เห็นได้มากยิ่งๆขึ้น
  • ผมเองก็จะดูด้านที่ผมดูให้ได้และช่วยสกัดออกมาโยนไว้อย่างนี้ไปเรื่อยๆด้วยเช่นกันครับ
  • ท่านอื่นๆเห็นแล้วก็คงช่วยดูในด้านที่มองเห็น หรือเสริมต่อรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้นช่วยกันนะครับ

สวัสดีครับคุณครูพนมไพรครับ

  • รูปดอกไม้ในโถลายคราม เป็นหมู่ดอกไม้ที่เห็นทั่วไปในพื้นถิ่นไทยมากๆเลยครับ ทั้งดอกบัวหลวง บัวสี แพงพวย ลั่นทม จำปา กรรณิการ์ บานชื่น กุหลาบ ดอกข่า ดอกกล้วยไม้ และใบแสงจันทร์
  • แต่รูปซันต้านี่ สงสัยลงมาทางปล่องไฟนะครับ หน้าดำเหมือนรมควันเชียว
  • แต่ดึงรูปดอกบัวให้เด่น แล้วในความเป็นชุมชนของคนหนองบัวนั้น โดยพื้นเพก็มีทั้งโรงพยาบาลคริสเตียนและพี่น้องคริสเตียนร่วมสานความเป็นชุมชนอยู่เป็นส่วนหนึ่งด้วย ก็เลยช่วยกันทำให้เห็นว่านี่เป็นของขวัญพิเศษสำหรับคนหนองบัวในปีใหม่ ๒๕๕๓ นี้ เลยก็ขอร่วมแสดงสันถวะและขอขอบพระคุณยิ่งครับ

 

สวัสดีปีใหม่อุทัยรุ่ง 

ชีวิตมุ่งหมายสร้างทางสดใส

จบพบสิ่งมิ่งมงคลดลโชคชัย

ขอพรให้ผู้อ่านสราญรมย์

 

สวัสดีครับอาจารย์ธนิตย์ครับ

  • รูปนี้เป็นศิลปะภาพถ่ายที่สวยและลูกเล่นน่าสนุกครับ งานแนวนี้ เมื่อก่อนต้องเล่นเป็นภาพเงาดำและโชว์การเล่นเส้นขอบ (Sillhouett) หรือทำให้เกิดรูปร่างด้วยการแลบแสงตามขอบของ subject แล้วก็ให้เงาสร้างภาพแบนๆเป็นแผ่น แต่เห็นลีลาและ movment ของเส้นแล้วทำให้เกิดความงาม หรือเห็นความมีชีวิต
  • อย่างในภาพนี้ เห็นความเป็นชีวิตในวัยร่าเริงและได้ยินเสียงคุยกันของเด็กเลยครับ ทั้งที่เห็นเพียงลีลาและการไหลของเส้น
  • การ Defocus และเล่นจังหวะแสง Reflect ลบเงาด้านหลังให้ซอล์ฟและเห็นลึกเข้าไปในด้านเงา ก็ช่วยให้เกิดลูกเล่นได้สนุกดีครับ
  • ดูผลที่ออกมาของภาพแล้วน่าจะเป็นกล้องที่ทำงานระดับคุณภาพเทียบเท่ากล้อง Single Lens Reflex แบบเมื่อก่อนนี้เลยนะครับ
  • ขอร่วมสวัสดีปีใหม่อาจารย์ด้วยเช่นกันครับ

สวัสดีครับคุณครูใจดี

  • เช่นกันครับ ขออ้างคุณแห่งพระรัตนตรัย
  • อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วแดนไกล นบน้อมสม
  • บารมีบรมบพิตรเจ้า คุ้มเกล้าทุกหมู่เหล่านิยมชม
  • แลอินทร์พรหม สยามเทวธิราช เหนือแดนไตร
  • ขอเอย เป็นพลังและปัจจัย โน้มนำสุข
  • ให้นิราศทุกข์ ความหม่นหมอง ความเจ็บไข้
  • จะดำเนินชีวิต ทำการงาน ก็นิราศภัย
  • เถิดบังเกิดทุกวันไป แด่ครูใจดี ที่มาเยือน

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ด้วยคนครับ

 

สวัสดีปีใหม่ครับ อ.ดร.วิรัตน์

ผมติดตามงาน "เวทีเรียนรู้สร้างสุขภาวะคนหนองบัว"มาตลอดด้วยความสนใจอย่างยิ่ง

ต้องขอชื่นชม "อ.ดร.วิรัตน์และทีมงานวิจัยสุขภาวะชุมชน  มหาวิทยาลัยมหิดล"ครับ

รู้สึกทึ่ง อึ่ง มหัศจรรย์กับความยิ่งใหญ่อลังกา ครบเครื่องครบครัน รอบคอบ รอบด้าน ทุกแง่มุม  ลุ่มลึกและงดงาม  เรื่องของคนตัวเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่

เมื่อหาความเป็นชุมชนอำเภอที่เป็นความเคลื่อนไหวของประชาชน เวทีคนของชุมชน หรือเวทีพลเมืองแล้ว ลองสำรวจดู ก็จะเห็นมีเวทีที่ช่วยกันทำอย่างนี้ก็แต่เวทีนี้แห่งเดียวในประเทศก็ได้กระมังครับ ชุมชนบ้านนอกกว่าเพื่อนก็อาจทำบางสิ่งที่นำหน้าชุมชนอื่นๆได้นาครับจะว่าไป 

 เรื่องราว ความเป็นวันครูและโรงเรียนวันครูกับความสำคัญต่อพัฒนาการศึกษาของสังคมไทย รวมทั้ง โรงเรียนวันครู (๒๕๐๔) กับ วัด ผู้นำชุมชน และชุมชนโดยรอบ ที่บ้านตาลิน ของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ของเรา ณ วันนี้ รอบด้านที่สุดในประเทศครับ

ริเริ่มกันด้วยความมีจิตใหญ่ ทว่า ทำกันไปตามกำลัง แต่คิดว่ามีส่วนทำให้ความเป็นชุมชนหนองบัวในโลกของความรู้และยุคข้อมูลความสาร สามารถมีอัตลักษณ์ เห็นการดำรงอยู่ เห็นความมีอยู่  มองเห็นและสัมผัสได้ทั้งจากคนหนองบัวเองและจากโลกภายนอก

ผมมีพื้นที่เรียนรู้ในหมู่คนทำงานที่สนใจเรื่อง "การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา(ความสุขมวลรวม)"ที่ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ที่บ้านของคุณณัฐพัชร์เองนั่นแหละครับ   อยากจะบอกว่าที่บ้านของทีมงานอ.ดร.วิรัตน์ (คุณณัฐพัชร์)ก็มีเรื่องราวที่ดีๆที่งดงามครับ  อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ท่านติดตาม ลปรร.กับชุมชนนี้ต่อเนื่องครับ  วันที่ 24 ม.ค.53 ท่านจะลงเยี่ยมพื้นที่ นี้อีกครั้ง  หากทีมงานอ.ดร.วิรัตน์สนใจหรือจะให้คุณณัฐพัชร์ถือโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน ก็ยินดีนะครับ

อ.ดร.วิรัตน์ครับที่บ้านเลือกนี้เป็นพื้นที่ ลปรร.หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ท่านอ.ไพบูลย์ได้ให้แนวไว้ว่า  ให้เน้น เรียบง่าย งดงามและงัดลึก(ถึงการ "ฟื้นเวียง")ครับ(ง่ายๆจนนักวิชาการมาเห็นอาจจะตั้งคำถาม  นี่เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการตรงไหน)

 

  • นี่คุณสุเทพ มือกระบี่แห่งหุบเขาพอช มาเยือนเวทีหนองบัว ต้องขอคารวะด้วยน้ำชาเกสรดอกบัวแห่งบ้านหนองบัวสักเหยือก ท่านพระอาจารย์มหาแล คุณเสวก คุณฉิก และคนหนองบัวหลายท่าน รวมไปจนถึงทุกท่านที่เข้ามาเจอกันในเวทีคนหนองบัวนี้ ขอเชิญร่วมเสวนาและได้สันถวะกันตามอัธยาศัยเลยเชียว
  • ต้องขอบคุณในข้อสังเกตและการเสริมกำลังใจกันแก่เวทีคนหนองบัวครับ ผมเองก็ได้ความคิดและเห็นโอกาสการพัฒนาเรื่องต่างๆที่ดีจริงๆ ทั้งต่อท้องถิ่นหนองบัว และต่อการนำไปใช้ทั่วไป ผุดขึ้นมาจากเวทีนี้อยู่เสมอครับ
  • เรื่อง "การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา(ความสุขมวลรวม)" ที่ พอช ทำ รวมทั้งที่ท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ท่านติดตามเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อย่างที่คุณสุเทพพูดถึงนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งในแง่กระบวนการและการทำวิจัยซ้อนลงไปให้ได้ตัวความรู้เพื่อการทำงานขยายผลต่อไปด้วย มากเลยนะครับ
  • ในระหว่างทำงานวิจัยชุมชน ผมก็ดูมิตินี้ไปด้วยเสมอเช่นกันครับ แต่เนื่องจากสนใจที่จะเชื่อมโยงกับตัวความคิดในบริบทของสังคมไทยด้วย ก็เลยเน้นหนักไปยังกระบวนการสร้างเป้าหมาย ตัวชี้วัด การถอดบทเรียน และกระบวนการจัดการเพื่อนำเอาบทเรียนมาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งของชุมชนและของกลุ่มนักวิจัยเอง
  • อาจจะต่างจากทั่วไปบางส่วนบ้างที่มักเน้นไปที่การระบุตัวเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เบ็ดเสร็จ แล้วนำไปใช้อย่างไม่รู้วิธีคิดและการมีความหมายทางการปฏิบัติ แต่ใช้เพียงเป็นเกณฑ์และมาตรฐานเพื่อรวบรวมหลักฐานมาประกอบ แล้วก็ตัดสินใจบนงานเอกสารกับถ้อยความตัวหนังสือเกี่ยวกับตัวชี้วัด ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็เป็นอย่างนี้ไปหมดทั้งในสังคมไทยและแทบจะทั่วโลกน่ะครับ
  • เพราะในบริบทของสังคมไทยนั้น เราคงต้องการยกระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความต้องการให้แยบคายมากยิ่งๆไปด้วยก่อนสักระยะหนึ่ง เพราะความต้องการและความจำเป็นต่างๆนั้น สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ มีพัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงไปตามการได้มีโอกาสการเรียนรู้และการได้บรรลุจุดหมายคุณภาพแห่งชีวิต ที่ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นได้
  • เมื่อมองอีกแง่หนึ่งอย่างนี้ เป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมในแง่ที่เป็นกระบวนการ จึงทำให้เป็นปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์การคิดและยุทธศาสตร์การเรียนรู้เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนได้ เป็นตัวกระบวนการที่ตัวเป้าหมายและตัวชี้วัดเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งในระดับชุมชน และในระดับการทำงานเชิงพื้นที่แล้ว ควรมีชุดหนึ่งที่ไม่ควรแยกออกมาโดดๆจากตัวกระบวนการ 
  • ผมเลยเน้นกระบวนการถอดบทเรียนและจัดการความรู้เพื่อสะท้อนกลับไปสู่การปรับปรุงปัจจัยกระบวนการเชิงยุทธศาสตร์สำคัญในแนวของเราอยู่เสมอๆใน ๓ ตัวแปร  ในขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ก็จะดูอย่างทั่วๆไป คือ (๑) การพัฒนาความเป็นกลุ่มประชาคมเพื่อจัดการระดมพลังของปัจเจกในวิถีชุมชนในบริบทที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้วของสังคม ให้เป็นองค์กรบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อดูแลสุขภาวะชุมชนของตนเอง (๒) การพัฒนาปฏิบัติการและเรียนรู้เป็นกลุ่ม เรียนรู้เป็นชุมชน ทั้งเพื่อสนองตอบต่อความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับชุมชนและเพื่อยกระดับบทบาทของปัจเจกและส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานในวิถีชุมชนในแนวทางใหม่ๆของสังคมไทย (๓) การพัฒนาพลังการสื่อสารเรียนรู้เชิงปฏิสัมพันธ์ โดยเฉพาะความเป็นสื่อบุคคล สื่อขนาดเล็ก สื่อเฉพาะกิจ สื่อชุมชน สื่อแบบสองทาง รวมทั้งสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าที่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์กันของชุมชนที่เชื่อมโยงไปถึงคนและประเด็นระดับในพื้นที่ต่างๆ
  • หากมีบทเรียนที่ดีและมีความชัดเจนทางความรู้พอสมควรแล้ว ก็คงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและผสมผสาน เติมเต็ม ให้มีความรอบด้านต่อการพัฒนาของสังคมทั่วๆไป เสริมต่อกับแนวทางของ พอช ได้บ้างนะครับ
  • เรียน อ.ดร.วิรัตน์ครับ

    ผมอยากจะเน้นตรงนี้ครับ

    ที่บ้านเลือกนี้เป็นพื้นที่ ลปรร.หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ท่านอ.ไพบูลย์ได้ให้แนวไว้ว่า  ให้เน้น ง่ายๆ งดงามและงัดลึก (ลึกถึงการ "ฟื้นเวียง")ครับ(ง่ายๆจนนักวิชาการมาเห็นอาจจะตั้งคำถาม  นี่มันเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการตรงไหนนี่)

    งานที่นี่ยังไม่ถึงกับเป็นแนว พอช.ครับ  เป็นเพียงพื้นที่ที่กลุ่มคนทำงานสนใจมา ลปรร.กับท่านอ.ไพบูลย์และพี่น้อง "ชุมชนบ้านเลือก"ครับ  ตอนนี้ท่าน อ.ไพบูลย์ท่านก็ไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรใน พอช.ครับ เป็นที่ปรึกษาห่างๆแบบไม่เป็นทางการมากกว่า พื้นที่นี้เป็น พื้นที่ ลปรร.ต่อเนื่องจาก "หนองสาหร่าย"ครับ

    สำหรับเรื่อง "การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา"นั้น  มันเป็นเพียงกระบวนที่เอื้ออำนวยให้ชุมชนได้ออกแบบลิขิตอนาคตชุมชนด้วยตัวเองมากกว่าครับ เป็นกระบวนการที่เน้นให้ชุมชนเป็นเของกระบวนการและเป็นเจ้าของตัวชี้วัดเองครับ   จะต่างกับตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานของหน่วยงานครับ หรือตัวชี้วัดแบบ กพร.

    ขอบคุณกับการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

    การมีพื้นที่ ที่ได้เรียนรู้กับชุมชนอย่างรอบด้าน เหมือนกับเป็น Socail Lab ทางการปฏิบัติการวิจัยแบบชุมชนอย่างนี้ก็ดีนะครับ จะทำให้เห็นความเป็นจริงบนความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของสังคม 

    'งัดลึกและลึกถึงการฟื้นเวียง'...ฟื้นเวียงนี่ มันเป็นนิยามปฏิบัติการหรือว่าศัพท์ท้องถิ่นอะไรหรือครับเนี่ย แล้วมันมีนัยะถึงความลึกหรือง่ายงามอย่างไรต่อการทำงานแนวนี้เพื่อให้ชุมชนสามารถลิขิตอนาคตตนเองได้หรือครับ ฟังดูน่าสนใจและแปลกดีน่ะครับ

    ภาษาลาวและภาษาท้องถิ่นทางเหนือนั้น เวียงก็มีความหมายว่า เมือง เวลาบอกว่า ไปเวียง ก็หมายถึงไปในตัวเมือง ไม่ยักมีความหมายในเชิงวิธีคิดและวิธีงัดลึกอะไร  หรือหมายถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับแนวคิดระบบจัดการเมืองแบบจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา แบบโบราณ ซึ่งเวียงหมายถึงระบบกิจการชุมชนในเมืองชั้นในและของราชการ

    เรียนอ.ดร.วิรัตน์ ครับ

    ยินดีครับกับการลปรร.และคำแนะนำครับ

    ผมมีบันทึกเรื่องนี้ไว้ใน

    http://gotoknow.org/blog/suthepphutai/323250

    ไปแวะเยี่ยมแล้ว ขอคำแนะนำด้วยครับ

    • เพิ่งว่างมาครับอาจารย์
    • ท่านมหาไปเยี่ยมหลายครั้งแล้ว
    • เข้าใจว่าชุมชนเข้มแข็ง
    • ไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง
    • ชุมชนจะคงอยู่ต่อไปนะครับ
    • เอาเด็กน้อยปั้นดินและทำกิจกรรมที่โรงเรียนเกาะแก้ว(การไฟฟ้าอุปถัมภ์) มาฝากอาจารย์ครับ

    ขอร่วมกับท่านพระอาจารย์มหาแล ขำสุข(อาสโย) | คุณเสวก ใยอินทร์ |คุณสมบัติ ฆ้อนทอง | คุณฉิก | คุณครูอนุกูล วิมูลศักดิ์ | และคนหนองบัวทุกคน | สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ คนหนองบัว เครือข่ายกัลยาณมิตร และผู้อ่านทุกท่านนะครับ

     ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย พระบารมีปกเกล้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล รวมทั้งสิ่งที่ทุกท่านเคารพนับถือ จงร่วมเป็นขวัญและกำลังชีวิตสำหรับทุกท่าน ให้ทุกขณะและทุกอริยาทบทในชีวิตของทุกท่านจงได้กอปรด้วยพลังแห่งความเป็นสัมมา กร้าแกร่งในพลังปัญญาและปรีชาญาณในการแก้ปัญหาต่างๆ มีพลังแห่งสติ พลังแห่งความตั้งมั่น ตบะ บากบั่น อดทน พลังแห่งความริเริ่มสร้างสรรค์

    มุ่งสู่ความสุขและความศานติ สงบเย็นทั้งกายใจ เจริญงอกงามในการปฏิบัติธรรมแห่งชีวิตทั้งเพื่อผู้อื่นและตนเอง มีความงอกงามก้าวหน้าในการเรียนรู้ในทุกสถาน พึ่งตนเอง พอเพียง มีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะสังคม และสามารถเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีของหมู่มิตร เพื่อนร่วมงาน ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ให้ได้ปฏิบัติและเรียนรู้สิ่งดีไปด้วยกันอยู่เสมอ

    จำเพาะเวทีของคนหนองบัวนี้ ก็ขอให้เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งพัฒนาบทบาทของทุกท่านที่เข้ามาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยกัน ให้ได้ประสบการณ์ชีวิตที่ดีสำหรับนำกลับไปทำการงานและดำเนินชีวิตเหมือนได้หมู่มิตรและที่ปรึกษาหารือให้ชีวิตกอปรด้วยความมีสติปัญญาและการใช้เหตุผลที่พอดี พอเพียง และเหมาะสมแก่เหตุปัจจัยแห่งชีวิตตนอยู่เสมอ ได้ความรอบด้าน มีความรู้ และมีสายตาที่เท่าทันโลกรอบข้าง

    หากเป็นพ่อแม่ เป็นผู้นำของครอบครัว ก็ขอให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายผู้คนผู้มีน้ำใจแห่งมิตร มีความรู้ มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ และมีความดีงามอยู่ในตนเองอย่างหลากหลายทั่วประเทศในเวทีนี้ และได้เวทีนี้เป็นแหล่งบ่มเพาะศักยภาพความเป็นครอบครัวของพ่อแม่ เพื่อสามารถเป็นที่ปรึกษาอันเท่าทันโลกแก่ลูก เป็นครูและเป็นผู้นำประสบการณ์ที่ดีมาสู่การเรียนรู้ของลูก เป็นกลุ่มสังคมและเป็นสถาบันอันดับแรกที่สร้างความมั่นคงเข้มแข็งของสังคมอย่างมีพลัง

    หากเป็นเด็กและเยาวชนคนหนองบัว รวมทั้งในท้องถิ่นต่างๆที่ได้เข้ามาเป็นเพื่อนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนหนองบัว ก็มีความองอาจสง่างาม รอบรู้ทางสังคม มองไกลสู่โลกกว้าง มีปัญญาและความฉลาดต่อการเข้าถึงวิทยาการและเทคโนโลยีที่เห็นประโยชน์สุขของคน ชุมชน และสังคม เป็นฐาน เรียนรู้ความกว้างขวางของโลกรอบข้างอย่างนอบน้อม เคารพผู้อื่น และเห็นภาวะผู้นำของตนเอง มีความเชื่อมั่น แจ่มแจ้ง และชัดเจนในสิ่งที่สังคมของตนมี สามารถแบ่งปัน นำเสนอความแตกต่างให้กับผู้อื่น และสามารถนำการปฏิบัติให้แก่ผู้อื่นด้วยหนทางที่แตกต่างหลากหลายยิ่งขึ้น จากความเป็นตัวของตัวเองได้เสมอ

                                  

                                 อ้างอิงภาพภาพจากอาจารย์ขจิต ฝอยทอง

    หากเป็นคนทำงานท้องถิ่นและคนของราชการ ก็เป็นคนบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาพอเพียงแก่การทำการงานสังคมให้รอบคอบ เชื่อมโยงความเป็นท้องถิ่น ความเป็นสาธารณะของสังคมไทย และความเป็นสากลของโลก เป็นความอุ่นใจของประชาชน เป็นกำลังทางวิชาการเพื่อการสร้างสุขภาวะของชุมชนทุกระดับขึ้นจากฐานชุมชนให้งอกงามและเป็นตัวของตัวเอง ได้มีโอกาสฟื้นฟูและส่งเสริมการเรียนรู้ตนเองของชุมชนให้ยิ่งงอกงาม สนุก ประสบความสำเร็จทีละเล็กละน้อยในการได้สร้างและสะสมพลังความรู้อย่างในเวทีคนหนองบัวช่วยกันให้มากยิ่งๆขึ้น ทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าแห่งชีวิตและมีโอกาสพัฒนาตนเองเพื่อมีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์ในสิ่งที่ต้องการทำเพื่อผู้อยู่ร่วมกันกับอื่น

    คนหนองบัวทุกท่านที่เข้ามาพัฒนาเวทีคนหนองบัวด้วยกันในทุกเวทีย่อยๆ ก็ขอจงได้ประสบทุกสิ่งในข้างต้น และขอให้ได้ประสบการณ์ที่ดี สามารถร่วมสร้างสรรค์ และทำให้เวทีคนหนองบัวมีความคึกคัก ได้ความเป็นชุมชนและเครือข่ายของคนที่คิดดี ทำดี มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาทั้งเพื่อกลุ่มก้อนของตนเองและเพื่อความเป็นสาธารณะในทุกขอบเขตที่ทุกท่านสามารถนำตนเองเข้าไปมีส่วนร่วมได้

     ด้วยพลังความสร้างสรรค์สิ่งดี จากการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติของเราทุกท่านดังกล่าว ก็ขอให้เป็นเหตุปัจจัยส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้มีแต่ความสุข มีสุขภาวะสาธารณะ และทุกท่านก็ประสบแต่สิ่งดี ตลอดปี ๒๕๕๓ และตลอดไป ทุกท่าน เทอญฯ.

    สวัสดีครับคุณสุเทพ เมื่อวานได้อ่านไปแล้วครับ ชอบทั้งแนวคิดและกระบวนการครับ หากมีโอกาสก็อาจจะมีแนวคิดที่เพิ่มเติมให้ได้บ้างเหมือนกันครับ โดยเฉพาะแง่มมุมที่สามารถนำมาออกแบบให้การวิจัยชุมชนในแนวนี้เป็นการปฏิบัติการเชิงสังคม แล้วก็เป็นโอกาสส่งเสริมพลังการพัฒนาออกจากตนเองของชุมชนในด้านที่จะทำให้สังคมเข้มแข็งในระดับชุมชนฐานราก

    สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ ดูแล้วโคตรสนุกและมีความเป็นชีวิตมากเลยนะครับ เลยขอยืมรูปอาจารย์มาใช้สวัสดีปีใหม่กับทุกท่านด้วยเลยครับ ขอให้อาจารย์มีความสุข ได้ทั้งความแตกฉานทางวิชการ ได้ความงอกงามทางปัญญา ได้เพื่อนและชุมชนทางวิชาการที่ทำให้ชีวิตมีความงอกงามเติบโต แล้วก็ได้ความรื่นรมย์ในชีวิตจากทุกการงานที่ทำ เสมอๆเลยนะครับ

    การทำนา ดำรงชีวิตอยู่กับการงานและการผลิต มีวิชาชีวิตและหลักปฏิบัติต่างๆอยู่มากมาย เป็นระบบคิดที่วางอยู่บนคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและการปรับตนเองให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับธรรมชาติ เช่น หลังการเกี่ยวและนวดข้าว กระทั่งขนข้าวใส่ยุ้งฉางแล้ว ก็จะถือหลักห้ามนำเอาข้าวเปลือกออกมาขายหรือทำกิน ต้องรอจนถึงเดือน ๓ ถึงย่างเดือน ๖ ซึ่งก็จะเริ่มต้นในช่วงปลายเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์ และถ้าหากจะให้ดี ก็จะต้องจกข้าวในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งจะเป็นวันที่ชาวนาเรียกว่า “กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูขี้” (กบไม่มีปากและนาคไม่มีรูก้น)

           [จากบันทึก ๑๐ :ทำอยู่ทำกิน เรียนรู้พอเพียง]

    วิชาชีวิตและหลักปฏิบัติในวิถีชาวบ้านดังกล่าว ดูเหมือนจะไม่ได้อยู่ในรูปของสถิติตัวเลขและวิชาหนังสือ ทว่า เมื่อศึกษาและวิเคราะห์ให้รอบด้านแล้ว ก็จะเห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลไปกับธรรมชาติและฤดูกาลอย่างยิ่ง

           [จากบันทึก ๑๐:ทำอยู่ทำกิน เรียนรู้พอเพียง]

    • และให้คนที่เกิดปีขาล มะโรง มะเส็ง เป็นคนตัก เพราะเป็นสัตว์ที่ไม่กินข้าว จำได้ว่าเคยตักค่ะ เพราะเกิดปีมะโรง คงเป็นความเชื่อตามที่พี่ชายอธิบายไว้ “กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูขี้” (กบไม่มีปากและนาคไม่มีรูก้น)

    • ตา ยาย และพวกน้าๆเกิดปีสัตว์กินข้าวทุกคน หลานคนแรกนี่แหละค่ะ ที่เกิดปีมะโรง ได้ตักทุกปี

           [ความเห็นที่ ๒๔ คุณ NU 11 : จากบันทึก ๑๐ ทำอยู่ทำกิน เรียนรู้พอเพียง]

    นมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแล อาสโย /เรียน อ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

    • มองเห็น “สุนทรียะ”จากเวที ดังคุณเอก-จตุพรว่าไว้ครับ และขอแสดงความยินดีกับเวที “ลานปัญญาของคนหนองบัว” .....
    • ย้อนกลับทบทวนบันทึกที่ผ่านมาของอาจารย์... และรำลึกได้ว่าเมื่อคราวเดินทางลงพื้นที่วิจัยทางภาคเหนือ ระหว่างทางแวะเยือน “บ้านตาลิน” ของท่านหัวหน้า ในวงสนทนายามเย็นพร้อมสำรับข้าวอาหารพื้นบ้าน “คนแม่” เล่าถึงภูมิแห่งวิถีการทำมาหากิน เล่าถึงคติ “กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูขี้” ยังนึกชมถึงภูมิรู้อันลุ่มลึกของคุณแม่ เห็นถึงกระบวนการ “บ่มเพาะ” และกระบวนการ “ถ่ายทอด” ของบุรพชนจากรุ่นสู่รุ่น จนแปรเป็น “วิถีคิดและวิถีปฏิบัติ” ของลูกหลานรุ่นต่อมา เป็นทั้ง Folk และ lore ที่มีความงดงาม ....
    • มองเห็น “ชุมชนชาวหนองบัว” เป็น “พื้นที่ศึกษา” (area studies) ครับ.... นอกจากจะมี “อัตลักษณ์” จำเพาะแล้ว เป็นพื้นที่ที่จักเชื่อมโยง และสะท้อนอะไรๆ หลายๆ อย่างให้กับ “ปรากฎการณ์ของสังคมไทย” ยามนั้น ยามที่สังคมไทยกับอยู่ในห้วงของการ “สร้างบ้านแปลงเมือง” สู่ความทันสมัย (ซึ่งผู้คนหลายท่านยังร่วมสมัย) ทั้งด้วยภูมิศาสตร์ของนครสวรรค์เอง ที่เป็นจุดศูนย์กลางของประเทศที่เป็น “รอยต่อ” ของ “วัฒนธรรม” ทั้งชุมชนไทยอีสาน ไทยเหนือ ไทยภาคกลาง ชุมชนไทยจีน จึงมีความหลากหลาย และงดงามยิ่งนัก....
    • มองเห็น"การเชื่อมต่อของ" ของแนวคิด “บวร : บ้าน วัด และโรงเรียน” (จากข้อมูลพระอาจารย์มหาแล อาสโย) ที่วงการศึกษา และการพัฒนาของไทยกำลังรื้อฟื้นและพัฒนาในปัจจุบัน ซึ่งพวกเราสามารถเรียนรู้จากเวทีชุมชนชาวหนองบัวนี้ได้  เป็นการเรียนรู้ตามรอยวัตรปฏิบัติที่ หลวงพ่ออ๋อย สุวณฺโณ(พระครูนิกรปทุกมรักษ์ ) และ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก(ห้อง ชาตสิริ ป.ธ. ๖ ท้วมเทศ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ท่านทั้งสองได้วางไว้ให้ศึกษา....
    • ขอบพระคุณมากครับ
    • ฮาตรงโคตรสนุกครับ
    • เอามาเพิ่มครับ
    • เรียนรู้ชุมชน
    • เรียนภาษาสนุกๆๆ
    • ผมได้ของกลับบ้านแล้ว เย้ๆๆๆ

    ดีครับคุณช้างน้อยมอมแมม การสร้างความรู้และฟื้นฟูภูมิปัญญาของสังคมในเงื่อนไขแวดล้อมปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผสมผสานอย่างกลมกลืนระหว่างความเป็นท้องถิ่นกับเงื่อนไขแวดล้อมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ลำพังแต่สถาบันวิชาการ องค์กรภาครัฐ และชุมชนทางวิชาการจะดำเนินการขึ้นด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญของตนเอง ก็คงจะไม่สามารถเข้าถึงความเป็นจริงของสังคมได้ ประเด็นของคุณช้างน้อยมอมแมมจึงเป็นทั้งการวิเคราะห์ให้เห็นทั้งศักยภาพและความเป็นตัวตนของชุมชนหนองบัวที่มีอยู่แต่เดิม พร้อมกับชี้แนะแง่มุมที่จะสามารถเสริมพลังชุมชน ให้ยกระดับความสำคัญของเวทีเรียนรู้ชุมชน ที่กำลังมีอยู่ในเวทีหนองบัวนี้ ในหลายประเด็นด้วยกัน เลยอยากร่วมตกผลึกต่อให้อีกนะครับ....

    มองเห็น “ชุมชนชาวหนองบัว” เป็น “พื้นที่ศึกษา” (area studies) ครับ.... นอกจากจะมี “อัตลักษณ์” จำเพาะแล้ว เป็นพื้นที่ที่จักเชื่อมโยง และสะท้อนอะไรๆ หลายๆ อย่างให้กับ “ปรากฎการณ์ของสังคมไทย” 

           [ประเด็นการวิเคราะห์ศักยภาพและทุนทางสังคมของชุมชนหนองบัว ในความเห็นที่ ๒๕ ของ คุณช้างน้อยมอมแมม]

    การทำให้ชุมชนเป็นพื้นที่ศึกษาจากประเด็นการวิเคราะห์ดังกล่าว ด้านหนึ่งจึงทำให้สิ่งที่กำลังค่อยๆทำกันในเวทีคนหนองบัวนี้ ยกระดับความเป็นกระบวนการศึกษาเรียนรู้ที่มีความเป็นจริงจากชุมชนเชิงพื้นที่เป็นแหล่งการสร้างตัวปัญญาอย่างบูรณาการด้วยกัน ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มความสำคัญของการเรียนรู้ชุมชนจากความเป็นชุมชนหนองบัว ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในตนเองอยู่แล้วนั้น ให้เป็นภาพสะท้อนของสังคมไทย เป็นแง่มุมที่จะทำให้การเรียนรู้ชุมชนของคนหนองบัว เป็นทั้งการเสริมพลังปัญญาและการได้ซาบซึ้งในอัตลักษณ์ตนเอง พร้อมกับทำให้พลเมืองของท้องถิ่นได้เรียนรู้อย่างเชื่อมโยงให้เห็นความซับซ้อนของโลกกว้างที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งๆขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ให้ประชาชนและชุมชนมากมายในสังคมเกิดความสำนึกร่วมต่อสังคม และเห็นแนวคิด ตลอดจนมิติอื่นๆเพื่อสะท้อนลงไปสู่การปฏิบัติในระดับที่อยู่ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างผสมกลมกลืน มากยิ่งๆขึ้น

    เล่าถึงภูมิแห่งวิถีการทำมาหากิน เล่าถึงคติ “กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูขี้” ยังนึกชมถึงภูมิรู้อันลุ่มลึกของคุณแม่ เห็นถึงกระบวนการ “บ่มเพาะ” และกระบวนการ “ถ่ายทอด” ของบุรพชนจากรุ่นสู่รุ่น จนแปรเป็น “วิถีคิดและวิถีปฏิบัติ” ของลูกหลานรุ่นต่อมา เป็นทั้ง Folk และ lore      

           [ประเด็นการวิเคราะห์ศักยภาพและทุนทางสังคมของชุมชนหนองบัว ในความเห็นที่ ๒๕ ของ คุณช้างน้อยมอมแมม]

    ข้อวิเคราะห์และนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจที่อยู่ในเรื่องราวและข้อมูลมากมายที่มีคนคุยกันในเวทีคนหนองบัวอย่างที่คุณช้างน้อยมอมแมมชี้ให้เห็นนี้ ทำให้เห็นกรอบและหมวดหมู่ในการย่อยข้อมูลและนำมาประมวลผลเพื่อสร้างความรู้ไดอีกอีกชุดหนึ่ง คือ..วิถีการทำมาหากิน | กระบวนการบ่มเพาะ | กระบวนการถ่ายทอด | วิถีคิดและวิถีปฏิบัติในความเป็นทรรศนะ ความเชื่อ กฏเณฑ์ และวิถีปฏิบัติของท้องถิ่น

    นอกจากนี้ องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาพิจารณาอย่างเอกเทศ ก็คงจะเป็นสิ่งที่เป็นกิจกรรมชีวิตและเรื่องราวของชุมชนเล็กๆ  ทว่า เมื่อมองในบางแง่มุมอย่างที่คุณช้างน้อยมอมแมมวิเคราะห์และผุดประเด็นขึ้นมา แล้วก็เชื่อมโยงให้เห็นความเกี่ยวข้องกันทั้งในระนาบของชุมชน และระหว่างชุมชนกับสังคมไทยและโลกภายนอกแล้ว สิ่งที่เห็นในความเป็นชุมชนหนองบัว ก็สามารถใช้เป็นข้อค้นพบเพื่อศึกษาเรียนรู้ย้อนเข้าสู่บริบทแวดล้อมและปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกันของสังคมไทยและสังคมโลก น่าสนุกและน่าสนใจครับ

    แนวการศึกษาอย่างนี้ หากเป็นหลักของขงจื้อ ก็ต้องบอกว่า นั่งอยู่ในห้องเล็กๆ หากแต่มีความแยบคายและลึกซึ้ง ก็สามารถมองออกไปในโลกกว้างและเข้าใจในสรรพสิ่งได้ (๑) หากพิจารณาจากวิถีปฏิบัติอย่างแยบคายต่อชีวิตแห่งการเรียนรู้โดยหลักโยนิโสมนสิการ ก็จัดเข้าเป็นวิธีคิดแบบ ปฏิโลม หรือคิดจากผลย้อนเข้าหาชุดแห่งอิทัปปัจจยตาหรือปัจจัยเชิงสาเหตุ ซึ่งเป็น ๑ ในวิธีคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ (๒)  และหากเป็นการสร้างความรู้โดยวิธีการวิทยาศาสตร์ตามระเบียบวิธีการวิจัยสมัยใหม่ ก็นับว่าเป็นการวิเคราะห์ถดถอยจากตัวแปรตาม สืบสาวเข้าสู่ตัวแปรต้น (๓)  ซึ่งประเด็นของผมก็คือ เราจะเห็นว่าเมื่อมีการวิเคราะห์และเรียนรู้ให้แยบคายอย่างนี้ ก็จะเห็นได้อย่างแน่ชัดว่าภูมิปัญญาและการเรียนรู้ชุมชนนั้น จะสามารถทำให้ทั้งเข้าใจตนเอง พร้อมกับสามารถเห็นแง่มุมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งของโลกและของสังคมสมัยใหม่ ที่จะทำให้เห็นตนเองและเข้าใจผู้อื่นในสากลได้ดียิ่งๆขึ้น เป็นการยกระดับการเรียนรู้ของชุมชนดีมากๆครับ

    โดยวิธีการอย่างนี้ เมื่อนำมาผสมผสานกับความรู้และวิถีแห่งปัญญาเกี่ยวกับสังคมที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นความรู้แบบรวมศูนย์ ก็จะทำให้ได้ความรู้และตัวปัญญาอีกมิติหนึ่งที่ถักทอขึ้นมาจากชุมชนระดับฐานราก แต่สามารถเชื่อมโยงและแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความรู้ทั่วไปที่มีอยู่แล้วดังกล่าวนั้น เราก็จะเห็นความมีปฏิสัมพันธ์กันสองทางของสังคมระหว่างความเป็นท้องถิ่นกับความเป็นสากล ผ่านกระบวนการทางปัญญาที่มีความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างตลอดสาย

    เพียงเริ่มเห็นลางๆอย่างนี้ ก็พอจะเห็นความสำคัญของเวทีคนหนองบัวมากยิ่งๆขึ้นแล้วละครับ เห็นด้วยครับในการพัฒนาเวทีให้เป็นกลไกจัดการเครือข่ายการเรียนรู้และประสานความเชื่อมโยง ให้ชุมชนหนองบัวเป็นหนึ่งในกรณีการเรียนรู้นำร่องของความเป็นพื้นที่ศึกษา พร้อมกับเป็นพื้นที่ปฏิบัติการที่ค่อยๆเป็นระบบ เพื่อให้เป็นโอกาสพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้สังคมในวงกว้างทั้งของคนหนองบัวและคนทำงานแนวนี้จากทั่วประเทศที่เข้ามาในเวทีนี้ได้ จากบทเรียนและความเป็นจริงที่ได้จากเวทีคนหนองบัวด้วยกัน

    เยี่ยม-เยี่ยม ครับ คุณช้างน้อยมอมแมม

    สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ : อาจารย์เชื่อไหมครับ สิ่งที่เขาได้ประสบการณ์อันงดงามในชีวิตครั้งนี้จากอาจารย์และคณะ จะส่งผลปรากฏให้เขาทำดี มีความเมตตา รักส่วนรวมและมีความรักต่อผู้อื่นในอีก ๒๐-๓๐ ปีข้างหน้า อาจารย์ตามไป AAR ดูได้เลย แต่ว่าถึงตอนนั้นแล้วนี่ สงสัยคงต้องเขียนรายงานลงในใบกงเต๊กส่งไปให้ผมรับทราบ หรือคุยเป็น Story telling ให้รับรู้กันตอนกรวดน้ำก็แล้วกันนะครับ ไม่อย่างนั้นก็คงแก่หง่อมมากแล้วน่ะซีครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยื่ยมเยียนให้กำลังใจเวทีใหม่นี้พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งได้ช่วยถอดบทเรียนเวทีคนหนองบัวอีกด้วย
    • เวทีคนหนองบัวแห่งนี้ยินดีต้อนรับด้วยความเต็มใจทุกเสียงที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยสะท้อนทัศนะล้วนเป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยมแก่ชาวหนองบัว
    • ขอเรียนเชิญทุกท่านได้ร่วมเสวนาแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้แก่ชาวหนองบัวได้ตามสะดวกมิต้องกริ่งเกรงใจอันใดเวทีคนเล็ก ๆ แห่งนี้ปรารถนาเรียนรู้สิ่งดีงามจากผู้มีประสบการณ์ตลอดเวลา.

    ขอเจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เครื่องจักสานงานฝีมือชาวบ้านหนองบัว-หนองกลับขนานแท้เจ้าเก่าเจ้าเดิม(ไม่ใช่ร้านอาหารนะ)มีอยู่หลายประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องจักสานที่ต้องใช้ความละเอียดปราณีตชนิดที่ตามท้องตลาดโดยทั่วไปหาไม่ได้ เช่นกระบุงหาบหรือชาวบ้านเรียกกระเช้าคนที่ทำกระเช้าได้ตอนนี้ยังพอมีแต่น่าจะไม่มากมายแล้ว(คนรุ่นเก่าหน่อยทำได้น่าจะ-อายุ ๖๐ อัพ)
    • กระเช้าของคนหนองบัว-หนองกลับนี้เป็นผลิตภัณฑ์งานฝืมือที่คุณพ่อรุ่นเก่าทั้งหลายทำให้ว่าที่ลูกสะใภ้หรือคู่ดอง(คู่หมั้น)เอาไว้ใช้สำหรับใส่ข้าวของหาบไปทำบุญออกงานแต่งงานบวชงานศพและอื่น ๆ
    • ใช้เวลาทำนานมากการเหลาตอกมีดต้องคมมาก ๆ เหลาจนตอกเป็นเส้นเล็ก ๆ ตอกเส้นเล็กนี่แหละทำให้กระเช้าที่สานแล้วเนียนจนมือลูบไม่มีเสี้ยนตำมือเลย
    • ทั้งคนที่ทำให้และคนที่ได้รับจะรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่ง
    • ถ้าทำเองไม่สวยงามไม่ถูกใจกลัวลูกสะใภ้รับไปแล้วไม่เต็มใจนำมาไปใช้สอย ก็เปลี่ยนจากทำเองเป็นให้ผู้อื่นทำคือลงทุนซื้อของสวย ๆ เพื่อมอบให้ลูกสะใภ้
    • ฉะนั้นคนที่มีฝือมือทางจักสานงานด้านนี้จะมีงานเข้าตลอดเรียกว่านั่งเหลาตอกทำกันจนหลังขดหลังแข็งไม่ได้หยุดหย่อนเลย
    • ธรรมเนียมคนหนองบัว-หนองกลับจะให้เกียรติว่าที่ลูกสะใภ้ว่าที่ลูกเขย สังเกตได้จากคำพูดที่ใช้เรียกลูกสะใภ้หรือลูกเขย,สรรพนามที่ใช้แทนคือคำว่า ออ,เอ็ง(คุณ)
    • เครื่องมือของใช้อีกอย่างหนึ่งคือไถอาสา ไถอาสานี้สำหรับเอาไว้ใช้ไปช่วยคู่ดองไถนาและไถอาสานี่เองหนองบัวจึงมีศัพท์เรียกขานโดยเฉพาะว่า “ไถอาสา”
    • อันนี้ถือว่าเป็นมรดกทางภาษาและก็เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นหนองบัวด้วย
    • ปัจจุบันใครไปชมพิพิธภัณฑ์วัดหนองกลับจะได้พบเห็นไถอาสาของชาวหนองบัวที่ยังเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญยืนยันให้ได้ดูชมกันอยู่
    • สิ่งที่กล่าวถึงนี้มิได้มาคุยโชว์อวดชาวบ้านชาวช่องให้ดูเหมือมายกย่องบ้านตัวเองว่าทำเก่งกว่าคนอื่นแต่ประการใดทั้งสิ้น
    • จะขอกล่าวอ้างถึงบุคคลที่เราเคารพนับถือกันทั้งบ้านทั้งเมืองเพื่อมายืนยันถึงงานฝืมือคนหนองบัวว่าท่านกล่าวถึงไว้เป็นประการใด
    •  ท่านผู้นั้นก็คือหลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเดิมท่านรักและชื่นชมชาวหนองบัวตอนที่ท่านมาเป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญวัดใหญ่(วัดหนองกลับ)หลังปัจจุบันนี่แหละ
    • ท่านชมว่าคนหนองบัวนั้นส่วนมากทำงานเป็นทีมพร้อมเพรียงกันดีและทุกคนดูเหมือนจะเป็นช่างกันหมดใช้ทำอะไรทำได้ทันทีเหมือนเป็นผู้ชำนาญการเลยเชียว
    • ไม่ใช่ทำได้อย่างเดียวเท่านั้นแต่สามารถทำได้อย่างสวยงามปราณีตนี่คือจุดเด่นคนหนองบัวที่หลวงพ่อเดิมท่านชื่นชมและชอบชาวหนองบัว
    • ถ้าเป็นสมัยนี้ก็เหมือนกับคนหนองบัวรุ่นปู่ย่าตายายของเรานั้นท่านผ่านหลักสูตรจากสำนักตักสิลาเทียบเท่าระดับจบวิศวะจบเทคนิคจบสถาปนิคนั่นเลยทีเดียว.

    เลยขอนำเอารูปไถอาสา ที่หนุ่มหนองบัวทำขึ้นเพื่อไปช่วยไถนาของคู่หมั้น จากไฟล์ของคุณเสวก ใยอินทร์มาประกอบด้วยเลยนะครับ ภาพนี้จากพิพิธภัณฑ์ของวัดหนองกลับ

                                 Cimg1270 

                                อ้างอิงภาพ : เสวก ใยอินทร์  จากไฟล์ภาพ CIMG1270.JPG

    สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร.วิรัตน์  ฝากลิงค์ "การประชุม Case จริยธรรม ครั้งที่ 3 (Ethical Conference 3) ณ ห้องประชุม เยียน โพธิสุวรรณ โดย ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยมหิดล" http://gotoknow.org/blog/manywad/324525 ให้เข้าไปชม ลูกหลานคนนครสวรรค์ ประชุมกันค่ะ (อ้อ มี นศพ ที่เป็นลูกหลาน คนอุทัยฯ พิจิตร กำแพงฯ ตาก สุโขทัย ด้วยค่ะ)

    :)

    ด้วยความยินดีและขอบคุณมากครับคุณมณีวาจ ผมแวะเข้าไปดูและได้ร่วมสะท้อนความคิดเห็นด้วยเลยนะครับ

    เป็น..เรียกว่าโรงเก็บเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำนาทั้งหมดของชุมชนวัดม่วงค่ะพี่อาจารย์ไปเที่ยวมานานแล้วเลยเก็บภาพมา..ภาพอื่นหมดอายุไปแล้วไฟล์ภาพไปฝากเขาไว่ก็อย่างนี้หมดอายุไปก็เหลือแต่โลโก้ส่วนภาพเราที่ฝากไว้หายจ้อยเลย..เหลือภาพนี้ภาพเดียว...วัดม่วง วิเศษชัยชาญ อ่างทอง เข้าใจว่ารวบรวมไว้แล้วคงจัดทำเป็พิพิธภัณฑ์ต่อไปค่ะ

    ภาพข้างบนก็พอจะเห็นได้ในกรอบแดงเป็นเครื่องสีข้าวด้วยมือ สีฝัดฝัดข้าว และถังไม้สำหรับตวงข้าว

    ยุ้งข้าว...สวยกว่าบ้านนะคะ..ภาพจากเว็บอรุณสวัสดิ์

    http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=3489.460

    เอามาฝากรำลึกถึงพระคุณของพี่น้องชาวนาไทยค่ะ...

    เสียดายจังเลยนะครับคุณครูอ้อยเล็ก เขาไม่น่าทาสีเลย หากปล่อยให้เนื้อไม้และความเก่าแก่ มีร่องรอยการผ่านการใช้งาน บอกเล่าและแสดงเรื่องราวด้วยตัวของสิ่งของเองก็จะมีจิตวิญญาณและเห็นความเป็นชีวิตชุมชนที่หนักแน่นจริงจังมากกว่าอย่างที่เห็นนะครับ เสียดายจริงๆ

    การ Label เขียนระบุรายการกำกับ ที่ใช้พู่กันป้ายสีและเขียนหยาบๆอย่างนั้น เห็นแล้วก็ใจหายครับ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่ทำให้ได้มองย้อนกลับมาและเห็นความสำคัญของเวทีคนหนองบัว ที่มีการพัฒนาวิธีประมวลข้อมูลและหาวิธีจัดการความรู้ไปสู่การทำสื่อและสาระการเรียนรู้ชุมชนจากสิ่งที่รวบรวมมาจากชุมชน ซึ่งบางส่วนนั้นชาวบ้านและคนของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นคุณเสวก คุณฉิก ท่านพระอาจารย์มหาแล สามารถทำได้และพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

    ทักษะอย่างนี้หากพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยชาวบ้านและกลุ่มประชาคมพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนให้ทำได้ ภาพอย่างนี้ก็คงจะเปลี่ยนไปในอีกหลายแห่งของสังคมไทย

    ภาพยุ้งข้าวของทางเหนือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีพอเพียง กับวิถีชีวิตของชุมชนชาวนา รวมไปจนถึงการประดิษฐ์ประเพณีแรกนาขวัญเพื่อสร้างเสริมพลังสังคมการผลิตกสิกรรม เป็นข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณค่ามากเลยนะครับ คุณครูอ้อยเล็กนำมาฝากและรวบรวมไว้ในเวทีคนหนองบัวด้วยนั้น ยิ่งช่วยทำให้มีความเป็นคลังข้อมูลและคลังความรู้เพื่อการเรียนรู้ชุมชนได้อย่างรอบด้านมากยิ่งๆขึ้นอีก

    ขอถือโอกาสมอบการ์ดปีใหม่ ๒๕๕๓ แด่คุณครูอ้อยเล็กและมวลมิตรของเวทีคนหนองบัวทุกท่านไปด้วยเลยนะครับ

                            

    รูปวาดทั้งชุดนี้ เป็นผลพวงจากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเดินบวกความสร้างสรรค์ให้กันในเวทีคนหนองบัว และตอนนี้กำลังจัดเป็นนิทรรศการอยู่ที่ร้านหนังสือเบิกม่าน หน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม แสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ จนถึงกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๓ ครับ อาจารย์ณัฐพัชร์ท่านกรุณารวบรวมทำเป็นการ์ดเหมือนกับปฏิทินตามการเสนอความคิดของท่านพระอาจารย์มหาแล ซึ่งเป็นท่านหนึ่งที่ร่วมเสวนาและเป็นที่มาของการวาดรูปชุดดังกล่าวนี้ด้วย

    ขอส่งความสุขและน้ำใจแห่งมิตรมายังทุกท่านครับ ด้วยจิตคาระวะจากทีมวิจัยสร้างสุขภาวะชุมชน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชมรมชีวเกษมและเครือข่ายชุมชน : ปรีชา ก้อนทอง | ศราวุธ ปรีชาเดช | สนั่น ไชยเสน | เริงวิชญ์ นิลโคตร | กานต์ จันทวงษ์  | อาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ | ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

    Cimg1270

    ลองเปรีบยเทียบ2ภาพดูก็จะเห็นมนต์ขลังของเก่าที่มีเสน่ห์กว่าทั้งนี้ทั้งนั้นหนองบัวโชคดีกว่าตรงที่มีผู้รู้และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ดำรงไว้ด้วยการเก็บรักษาอย่างถูกต้องถูกวิธีค่ะ

    • เห็นความแตกต่างกันมากเลยนะครับ
    • แต่อย่างการรวบรวมสิ่งของมาจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ของวัดหนองกลับ อำเภอหนองบัวนั้น ก็ยังขาดการสร้างเนื้อหาที่ทำให้สิ่งจัดแสดงบอกเล่าเรื่องราวชุมชน ให้ได้การเรียนรู้จากการศึกษาและการเยี่ยมชมด้วยตนเอง ทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและเรื่องราววิถีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
    • การที่ไม่มีข้อมูลและเนื้อหาการเรียนรู้ไปด้วย ชาวบ้านและคนเข้าไปดูพิพิธภัณฑ์ก็จะได้ความรู้สึกเพียงมีสิ่งของแปลกๆและอยู่ในสภาพห้องเก็บรวบรวมสิ่งของสำหรับอนุรักษ์หรือรักษาไว้เท่านั้น แต่ไม่ได้ประบการณ์ทางสังคมและการเรียนรู้ให้ชีวิตมีความรอบด้าน กว้างขวาง มีความรู้ความเข้าใจและทรรศนะสร้างสรรค์เพื่อจัดวางตนเองให้ดำเนินชีวิตและทำการงานในสังคมอย่างมีความสุข
    • การที่จะได้การเรียนรู้ก็จะต้องอาศัยมีคนมาคอยเล่าและถ่ายทอดให้ฟังไปทุกครั้ง
    • คุณครูอ้อยเล็กมีวิธีจัดวางภาพที่เอื้อการเรียนรู้ในประเด็นที่ต้องการได้ดีจริงๆนะครับ
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรอาจารย์วัริตน์ชาวหนองบัวและผู้อ่านทุกท่าน

    •  เมื่อสักครู่โทรศัพท์คุยกับโยมพ่อที่หนองบัวถามเรื่องการสร้างอาคารเรียนโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(โรงเรียนอนุบาลหนองบัว-เทพวิทยาคม) 
    •  การสร้างอาคารเรียนครั้งนั้นมีทั้งหมด ๕ หลัง นายอำเภอสมัยนั้นคือนายอำเภออรุณ วิไลรัตน์ 
    • ยังนึกว่าการสร้างอาคารเรียนครั้งนี้ก่อนหรือหลังโรงเรียนบ้านตาลิน(โรงเรียนวันครู๒๕๐๔)
    •  ผู้นำท้องถิ่นสองตำบลคือตำบลหนองบัว-ตำบลหนองกลับ ตำบลหนองกลับมีกำนันยัน พวงจำปา(ชื่อของท่านสะกดถูกหรือไม่ยังไม่ได้ตรวจสอบ) ตำบลหนองบัวมีกำนันเทอญ นวลละออง 
    •  ผู้นำสงฆ์คือหลวงพ่ออ๋อย(พระครูนิกรปทุมรักษ์)เจ้าอาวาสวัดใหญ่(หนองกลับ) 
    • วิธีจำของโยมพ่อง่าย ๆ ก็คือการสร้างอาคารเรียนครั้งนี้พระ(คืออาตมา)ยังไม่เข้าโรเรียน โยมพ่อคำนวณว่าช่วงนี้(ปีสร้างอาคารเรียน)พระน่าไม่เกินสามขวบ 
    •  ลองถามโยมพ่อว่าใครเป็นครูใหญ่โยมจำได้ไหมโยมคิดนิดนึงแล้วตอบว่าไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือไม่ คือครูแม้นหรือครูเมี้ยนนี่แหละ 
    •  สิ่งที่น่าสนใจก็คือนายอำเภออรุณท่านขอแรงงานคนสองตำบล(หนองบัว-หนองกลับ)ไม่ใช่ขอแรงงานอย่างเดียวท่านขอไม้จากชาวบ้านด้วย 
    •  อุปกรณ์ทั้งหมดได้รับบริจาคจากชาวหนองบัว-หนองกลับ 
    •  เสา-พื้น-ฝา-เครื่องบน-สังกะสี-ตะปู ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ชาวบ้านท่านนำมารวมกันสร้างอาคารเรียนได้ ๕ หลัง 
    •  ใครมีไม้ฝาก็นำมา มีพื้นก็เอามา คนละชิ้นสองชิ้น มีไม้ที่บ้านเลื่อยเสร็จแล้วก็มาบริจาคสร้างอาคารเรียนร่วมกัน 
    •  อาคารเรียน ๕ หลังนี้ไม่ใช้เงินรัฐ แรงงานก็ได้จากชาวบ้านหนองบัว-หนองกลับ โยมพ่อก็ไปช่วยทำและนำไม้ไปบริจาคด้วย 
    •  โยมพ่อเล่าว่าคนรุ่นโยมนั้นอายุ ๒๐ กว่า ๆ เป็นช่างไม้กันหมดทำงานสร้างบ้านเรือนชานได้สบาย 
    •  โยมบอกว่าคนสองตำบลสามารถช่วยกันสร้างอาคารเรียน ๕ หลังเสร็จภายในวันเดียว คือสามารถใช้ประโยชน์ได้เลย มีงานเก็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มาทำเพิ่มเติมกันวันหลังนิดหน่อยเอง 
    •  สองงานที่ทำเสร็จวันเดียวแบบอัศจรรย์ในเมืองหนองบัวด้วยพลังความสามัคคี งานแรกคืองานก่อสร้างวัดเทพสุทธาวาส ด้วยพลังแรงงานแรงศรัทธาของคนสองตำบลเหมือนกัน(ตำบลหนองบัว-ตำบลหนองกลับ)
    • โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้สร้างวัดเทพสุทธาวาสที่ตำบลหนองกลับ มีกุฏิ ๔ หลัง หอสวดมนต์ ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง รวมเป็น ๖ หลัง ทำเสร็จเพียงวันเดียวเท่านั้นด้วยความพร้อมเพรียงของประชาชน ภายใต้การนำของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก(ห้อง ป.ธ.๖ ท้วมเทศ)นั่นเอง 
    •  งานที่สองคือการสร้างอาคารเรียน ๕ หลังโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(โรงเรียนอนุบาลหนองบัว-เทพวิทยาคม) 
    •  งานแรกคือการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดใหญ่(หนองกลับ)โดยมีหลวงพ่อเดิมท่านเป็นประธาน ศาลาหลังนี้ใหญ่มากต้องใช้แรงงานคนทั้งสองตำบล หนองบัว-หนองกลับ ไปช่วยกันตัดไม้ขนาดใหญ่จากป่าเขาสูงเขาพระมาทำเสาศาลาจำนวนร้อยกว่าต้น โดยแรงงานคนล้วน ๆ ใช้พิรุณลากไม้มาจากในดง
    •  ด้วยความใหญ่โตของศาลาแม้จะมีแรงงานจำนวนมากแต่ต้องใช้เวลาถึง ๑ ปี จึงสร้างเสร็จ 
    •  อาจารย์วิรัตน์เคยพูดว่าหนองบัวเรานั้นมีอะไรที่ที่อื่นไม่มีเราน่าจะทำอะไรได้มากและทำได้ดีด้วย เห็นด้วยอย่างเลยมากประเด็นนี้.
    • งานกึ่งศตวรรษทั้งโรงเรียนหนองคอก โรงเรียนบ้านตาลิน (โรงเรียนวันครู ๒๕๐๔)อยากให้มีการรำลึกถึงท่านผู้เฒ่าผู้แก่และนำท่านเหล่านั้นมาพูดคุยในเวที(อาจจะนอกประเด็นก็ได้-อยากให้จัดเวทีชาวบ้านแนวนี้)โยมพ่อบอกว่าโรงเรียนหนองคอกไม่ได้ใช้แรงงานชาวบ้าน คงจ้างช่างรับเหมาทำ
    • อีกทั้งท่านเหล่านั้นทั้งคนหมู่บ้านตาลินบ้านป่ารัง ฯลฯ หนองบัว-หนองกลับยังมีชีวิตอยู่และจำเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้อย่างดีเสียด้วย.

    ตื่นเต้นครับ ทั้งเรื่องราว ข้อมูล กับวิธีรวบรวมข้อมูลแบบที่กลมกลืนกับภารกิจและกิจกรรมของชีวิต แล้วนำมาสร้างความรู้ปะติดปะต่อทีละเล็กละน้อยของพระคุณเจ้า ประเดี๋ยวผมจะกลับมาอีกครับเพื่อร่วมสกัดบทเรียนและช่วยกันผุดแง่มุม เพื่อประมวลความรู้ให้เป็นเรื่องราวต่อกันไปได้อีก

    วันนี้นำไปหุ่นฟางไปจัดเป็นมุมนิทรรศการ ในงานวิชาการเทศบาลระดับภาคกลาง ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเจ้าภาพ เลยมาเยี่ยมชุมชนชาวหนองบัวก่อน ซึ่งภาพนนี้ทำให้เก็บรายละเอียดได้ว่า การมัดข้าวลำเลียงขึ้นลานนวดข้าวนั้น การมัดไม่เหมือนกัน ในภาพนี้มัดเป็นกำใหญ่ๆ ส่วนนาที่ครูอ้อยเคยทำกับพ่อและญาติพี่น้องนั้น มัดเป็นฟ่อนๆ ฟ่อนในที่นี้หมายถึงการนำข้าวเป็นกำๆดังรูปมารวมกันให้เป็นมัดใหญ่ๆพร้อมที่จะหาบและลำเลียงไปสู่ลานนวดข้าวค่ะ..

    สวัสดีครับคุณครูอ้อยเล็ก

                                

                                 อ้างอิงภาพจาก dialogues box 42 วัชรี โชติรัตน์ 

    ผมเคยเห็นและแถวบ้านเมื่อก่อนนี้ก็เคยทำอย่างนี้เป็นบางครั้งเหมือนกันครับ หากเป็นการเกี่ยวและกำรวงข้าวบรรทุกเรือย่างนี้ โดยมากแล้วก็จะเป็นข้าวหนักและอยู่ในน้ำลึก ทั้งเป็นหนอง ที่ลุ่ม และเกิดน้ำท่วมมากกว่าปรกติ พอข้าวเสียดต้นขึ้นพ้นน้ำ ออกรวงจนแก่แล้วแต่น้ำก็ยังไม่ลดให้นาบข้าวได้ ก็จะต้องนั่งบนเรือเกี่ยวข้าว หรือลอยคอเกี่ยวแล้วก็กำใส่เรืออย่างนี้แหละครับ บางครั้งเกี่ยวหญ้าให้ควายวัว ก็ทำอย่างนี้เหมือนกันครับ แต่รูปนี้ดูความเป็น HaftTone ที่มีน้ำหนักหลายระดับและมีสภาพแวดล้อมกับลักษณะอาคารบ้านเรือนอย่างนี้แล้ว ก็น่าจะเป็นรูปถ่ายที่ยังไม่นานเท่าไหร่ใช่ไหมครับ

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแลครับ : ผมเห็นเรื่องที่น่าสนใจมากหลายอย่างเลยครับ

    พลังความสามัคคีของคนหนองบัว : การสร้างวัดและโรงเรียน (๑) วัดเทพสุทธาวาส  ๒๔๙๙  (๒) โรงเรียนหนองบัว(เทพวิทยาคม) (๓) ศาลาการเปรียญวัดหนองกลับ ๒๔๖๖  จัดว่าเป็นมรดกทางสังคมในการบุกเบิกและสร้างเมืองหนองบัวซึ่งสืบทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางของการศึกษาอบรมทั้งด้านจิตใจ และการให้พื้นฐานการศึกษาแก่คนหนองบัว-หนองกลับ แทบทุกรุ่นมากกว่า ๖๐ ปี....

          อาคารเรียน ๕ หลังนี้ไม่ใช้เงินรัฐ แรงงานก็ได้จากชาวบ้านหนองบัว-หนองกลับ โยมพ่อก็ไปช่วยทำและนำไม้ไปบริจาคด้วย.....(สนทนาทางโทรศัพท์โยมพ่อของพระมหาแล, พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ใน เวทีคนหนองบัว : ลานปัญญาของคนหนองบัว,dialogues box 40)

    ความมีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการสร้างความเป็นส่วนรวม จึงเป็นสิ่งสะท้อนสำนึกต่อความดีงามและการสร้างสิ่งอันเป็นบุญกุศล ประสบการณ์ทางสังคมอย่างนี้ของคนหนองบัว สามารถเป็นเนื้อหาการเรียนรู้ทางสังคมที่ทำให้พลเมืองมีอัตลักษณ์ เกิดความสำนึกร่วมบนความแตกต่างหลากหลาย ภาคภูมิใจ และเป็นทุนทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการระดมพลังและสร้างเสริมให้มีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชนหนองบัวมาแต่ในอดีต ดังคำกล่าวที่ว่า.....

          นายอำเภออรุณท่านขอแรงงานคนสองตำบล(หนองบัว-หนองกลับ)ไม่ใช่ขอแรงงานอย่างเดียวท่านขอไม้จากชาวบ้านด้วย .....(สนทนาทางโทรศัพท์โยมพ่อของพระมหาแล, พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ใน เวทีคนหนองบัว : ลานปัญญาของคนหนองบัว,dialogues box 40)

         ผู้นำสงฆ์คือหลวงพ่ออ๋อย(พระครูนิกรปทุมรักษ์)เจ้าอาวาสวัดใหญ่(หนองกลับ) ....(สนทนาทางโทรศัพท์โยมพ่อของพระมหาแล, พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ใน เวทีคนหนองบัว : ลานปัญญาของคนหนองบัว,dialogues box 40)

         การก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดใหญ่(หนองกลับ)โดยมีหลวงพ่อเดิมท่านเป็นประธาน ศาลาหลังนี้ใหญ่มากต้องใช้แรงงานคนทั้งสองตำบล หนองบัว-หนองกลับ ไปช่วยกันตัดไม้ขนาดใหญ่จากป่าเขาสูงเขาพระมาทำเสาศาลาจำนวนร้อยกว่าต้น โดยแรงงานคนล้วน ๆ ใช้พิรุณลากไม้มาจากในดง......(สนทนาทางโทรศัพท์โยมพ่อของพระมหาแล, พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ใน เวทีคนหนองบัว : ลานปัญญาของคนหนองบัว,dialogues box 40)

    ผู้นำเป็นกลุ่มและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม : การหลอมรวมใจเพื่อสร้างส่วนรวม ทั้งโดยการระดมทรัพยากรในท้องถิ่น การเข้าไปหาไม้อย่างดีในป่าเขาสูง แรงงาน ภูมิปัญญาและฝีมือการช่าง จากสองตำบลคือหนองบัวและหนองกลับ มีภาวะผู้นำผสมผสานทั้งจากภาครัฐ(นายอำเภออรุณ วิไลรัตน์) พระสงฆ์ (เจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ หลวงพ่อเดิม หลวงพ่ออ๋อย) และผู้นำชุมชนท้องถิ่น (กำนัน เทอญ นวลละอองตำบลหนองบัว และกำนันยัน พวงจำปา ตำบลหนองกลับ) รวมไปจนถึงครูและคนเฒ่าคนแก่ ร่วมกันเป็นผู้นำแบบหมู่คณะหรือผู้นำเป็นกลุ่ม Group Leadership) นำความร่วมมือและสมานสามัคคีของประชาชน ซึ่งเป็นตัวแบบการระดมพลังที่สะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของ บ้าน วัด โรงเรียน

    ปฏิทินและกรอบอ้างอิงในวิถีชาวบ้าน : ลูกหลาน คนรอบข้าง ประสบการณ์ตรงต่อชุมชน เป็นปฏิทิน หมุดหมาย กรอบอ้างอิง สำหรับแสดงกาลเทศะเพื่ออ้างอิงเหตุการณ์และปราฏการณ์ต่างๆในชีวิตของชาวบ้าน สะท้อนให้เห็นว่า การมี Conceptual framework ของปัจเจกนั้น เป็นคุณสมบัติของชีวิตและการเรียนรู้ซึ่งทุกคนมีอยู่เป็นพื้นฐาน เพียงแต่กรอบทฤษฎีและวิธีอ้างอิงของชาวบ้านนั้น อยู่ในโลกทรรศน์คนละชุดกับทฤษฎีสมัยใหม่และกรอบทฤษฎีจากภายนอกสังคม ดังคำกล่าวของโยมพ่อที่พระคุณเจ้ากล่าวถึง....

          วิธีจำของโยมพ่อง่าย ๆ ก็คือการสร้างอาคารเรียนครั้งนี้พระ(คืออาตมา)ยังไม่เข้าโรเรียน โยมพ่อคำนวณว่าช่วงนี้(ปีสร้างอาคารเรียน)พระน่าไม่เกินสามขวบ.... (สนทนาทางโทรศัพท์โยมพ่อของพระมหาแล, พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) ใน เวทีคนหนองบัว : ลานปัญญาของคนหนองบัว,dialogues box 40)

    บทเรียนและความรู้เกี่ยวกับชุมชนในแง่มุมนี้ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากทุนประสบการณ์ของชุมชนที่สำคัญและน่าภาคภูมิใจมากครับ ผมเลยช่วยเสริมพระคุณเจ้าและทำหมายเหตุเก็บไว้ไปก่อนทีละนิด เพื่อพัฒนาแนวทางประมวลผลข้อมูลและสร้างความรู้บอกเล่าสิ่งต่างๆในอำเภอช่วยกันใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    เป็นการถอดรหัสให้เห็นมรดกภูมิปัญญา ความจริงของท้องถิ่น ความดี และความงดงาม ที่จะเพิ่มพูนให้สิ่งที่เป็นหนองบัวอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ เกิดมิติเชิงคุณค่าและเห็นการมีความหมายอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะทางด้านจิตวิญญาณของเมืองแห่งหนึ่งในชนบท ซึ่งผู้คนอาจจะยากจนทางวัตถุและเงินทอง ทว่า มีความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมมากทีเดียว โดยเฉพาะพื้นฐานด้านการพัฒนาคนและการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้แก่ผู้คนทุกกลุ่ม

    ในแง่การพัฒนาความผสมผสานและเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ง่ายๆของพระคุณเจ้าอย่างเช่นการพบปะญาติโยมแล้วก็ชวนตั้งหัวข้อพูดคุยสนทนาเรื่องปูมชุมชน หรือโทรศัพท์ขอเรียนรู้สอดแทรกไปกับการเยี่ยมเยียนและถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ แล้วก็รีบนำมาโยนบันทึกไว้อย่างในนี้ ก็นำว่าเป็นวิธีสร้างความรู้และจัดการความรู้แบบพอเพียงมากเลยครับ การบันทึกใน GotoKnow นี้ ในแง่การเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว แปรแกรมก็จะช่วยลดความยุ่งยากในการลงบันทึกวันเวลาให้ หากจะเพิ่มความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ก็อาจจะบันทึกกำกับเองไปด้วยว่า ได้คุย ได้เรียนรู้และได้ข้อมูล เมื่อไหร่ เพิ่มขึ้นอีกก็ได้ครับ

    ในส่วนของการเขียนบันทึกข้อมูลหลากหลายประเด็น และล้วนมีโครงสร้างเนื้อหาที่ให้ประเด็นย่อยๆมากมายนั้น

                  (๑) หากเราสามารถแบ่งข้อความ เป็นประเด็นย่อยๆ 
                 ซึ่งแต่เดิมก็ใส่เครื่องหมาย Bullet เป็นการเริ่มต้นข้อความนั้น
                  (๒) อาจจะลองใส่เลขลำดับกำกับย่อหน้า
                  (๓) หรือหากมีประเด็นแยกย่อย ก็อาจใส่กำกับบรรทัด
                  (๔) ซึ่งเมื่อช่วยกันประมวลผล ต่อยอดหมุนเกลียวความรู้เชิงสังเคราะห์
                  (๕) ก็จะสามารถอ้างอิงไปถึงข้อความ เช่น บรรทัดที่ (๑) ย่อหน้าที่ (๒) บรรทัดที่ (๓).......

    แต่วิธีอย่างนี้พอจะใช้ได้บ้างเป็นบางครั้ง เพราะจะทำให้เรื่องมากและสะดุดการเขียน ทำให้ไม่น่าอ่าน

    จากตัวอย่างที่พระคุณเจ้าลองทำวิจัยและเก็บข้อมูลอย่างง่ายๆนี้ผมว่าเป็นการพัฒนาวิธีสร้างความรู้ที่กลมกลืนอยู่กับการทำบทบาทหน้าที่ต่อสังคมได้อย่างน่าสนใจมากครับ อีกทั้งเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ชุมชนที่บูรณาการไปกับวิถีชีวิตโดยทั่วไปที่ยังคงดำเนินไปตามปรกติ มีโอกาสเกิดเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้และทำให้ชุมชนได้พัฒนาความรู้ตนเอง อยู่บนฐานชีวิต ไปด้วยตลอดเวลา ดีจังเลยครับ

    ผมเองนั้นก็จะทำในลักษณะนี้เป็นระยะๆด้วยเช่นกันครับ อีกทั้งจะช่วยกันหาวิธีพัฒนาการเขียนความรู้ในแนวที่จะสามารถพัฒนารูปแบบไปทีละนิดให้เป็นเครือข่ายเขียนความรู้อย่างนี้ไปด้วยกันกับคนหนองบัวทุกท่านครับ

    กราบนมัสการด้วยความเคารพครับ

    ไหว้ครูภูมิปัญญาไทยค่ะ....

    สวัสดีคุณครูอย่างนอบน้อม

    ลูกศิษย์ก้มประนมกรวอนไหว้

    พระคุณครูยิ่งใหญ่มหันต์นาม

    ทั่วเขตคามระลึกถึงพระคุณครู

                    ครูอ้อยเล็ก

    เนื่องในวันครู ๒๕๕๓
    ขอกราบน้อมเคารพพระคุณครู 

    กราบคุณครูประถมต้นของผม โรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) : คุณครูประสิทธิ์ รัชตสิทธิ์ บ้านชุมแสง | คุณครูเหลือ ศรีสวัสดิ์ บ้านใต้ | คุณครูทองหล่อ บุญเกิด บ้านเตาอิฐ | คุณครูเสาวนิตย์ ภู่เกตุ บ้านหนองบัว | คุณครูชัยยุทธ ภู่เกตุ บ้านหนองบัว | คุณครูชาญชัย เหลืองสุรภีสกุล บ้านรังย้อย | คุณครูเสริญ บ้านป่ารัง | คุณครูกิตติ เกตุยา บ้านห้วยถั่วเหนือ

    คุณครูประถมปลาย โรงเรียนหนองบัว(เทพวิทยาคม) : คุณครูประเสริฐ คุณครูลำดวน จันทรบุตร คุณครูอัมพร จันทร์จินดา คุณครูยุพิน คุณครูทองสุข ยศอ่อน คุณครูเอนก คุณครูสำเริง คุณครูปวีณา คุณครูชำนาญ ยาใจ คุณครูนุช เจริญสุข คุณครูประสิทธิ์ ยั่งยืน คุณครูฉ่ำ ยศอ่อน

    คุณครูมัธยมศึกษาหนองคอก โรงเรียนหนองบัว : คุณครูศศิธร สุวรรณเทพ คุณครูโสภณ สารธรรม คุณครูสมัคร รอดเขียน คุณครูณรงค์ ฤทธิ์เต็ม คุณครูณรงค์ คุณครูสมนึก คุณครูสุนทร สันคามินทร์ คุณครูลัดดา พูลสวัสดิ์ คุณครูศุภฤกษ์ คุณครูสมสุข สินประเสริฐ คุณครูฤดีวรรณ คุณครูอุดม โต๊ะปรีชา คุณครูปรีชา คุณครูทิม บุญประสม คุณครูเขจร เปรมจิตร์ คุณครูรวีวรรณ เปรมจิตร์ คุณครูเทิน ราชสันเที๊ยะ

                         'มอบแด่ครูทั้งปวง เนื่องในวันครู ๒๕๕๓'

                                                  

                                                   (๑)
                                 วันครู พระคุณครู ขอน้อมรำลึก
                                 ถึงผู้บ่มเพาะ เพียรฝึก ให้การศึกษา
                                 ขจัดพาล ปกป้องภัย ให้ความเมตตา
                                 เพื่อแกร่งกร้า เจริญสติปัญญา กายและใจ

                                                   (๒)
                                 พ่อแม่
     บุรพคณาจารย์ เป็นปฐม
                                 ให้ชีวิต ให้การอบรม เป็นคนได้
                                 สร้างพื้นฐาน เรียนรู้สังคม เจริญวัย
                                 เป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ ตลอดกาล

                                 ครูผู้ให้การศึกษา วิชาความรู้
                                 ดุจพ่อแม่ ผู้เฝ้าดู ให้รู้รอบด้าน
                                 ตระหนักรู้ ในตัวตน เพื่อการงาน
                                 รู้สร้างสาน สุขภาวะ แก่สังคม

                                 อุปัชฌาจารย์ อีกทั้งกัลยาณมิตร
                                 คือครูให้รู้คิด ความเหมาะสม
                                 เรียนรู้ตน ครองธรรม อันควรชื่นชม
                                 เป็นพลเมือง สร้างสังคม ด้วยจิตวิญญาณ

                                 เพื่อนมนุษย์ สรรพชีวิต ร่วมทุกข์สุข
                                 คือครูผู้ร่วมยุค วัฏฏสงสาร
                                 ต่างแบ่งปันเรียนรู้ เจือจาร
                                 ได้ก้าวผ่าน สร้างชีวิต เป็นทุนแห่งตน

                                                (๓)
                                 ข้าขอประณตน้อม ศิระกราน
                                 น้อมกาย จิตวิญญาณ น้อมนำผล
                                 ด้วยสำนึก ถึงคุณครู ผู้เพียรสร้างคน
                                 ร่วมผองชน จบเกล้า บูชาครู
     
                                                   (๔)
                                 "จะน้อมตน ปฏิบัติ วิถีแห่งธรรม
                                 ครองตน ครองธรรม ตระหนักรู้
                                 ครองงาน สานสิ่งดีงาม ความเป็นครู
                                 ใช้ความรู้ ด้วยสติปัญญา และคุณธรรม

                                 กราบหนึ่ง
    น้อมรำลึก พระคุณครูทั้งปวง
                                 กราบสอง ใดก้าวล่วง ขอสมาทุกกรรมกล้ำ 
                                 กราบสาม ขอผสานชีวิต งาน และธรรม
                                 สร้างสังคม สานสิ่งดีงาม บูชาครู"

                                                              วันครู ๒๕๕๓
                                                              ๑๖ มกราคม ๒๕๕๓
                                                              วิรัตน์ คำศรีจันทร์


    อีกทั้งขอคารวะและมอบเป็นกำลังใจแด่ผู้มีจิตวิญญาณแห่งครูในเวทีคนหนองบัว
     
    เวทีคนหนองบัวกับเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : พระมหาแล อาสโย(ขำสุข) คุณสมบัติ ฆ้อนทอง  คุณเสวก ใยอินทร์   คุณครูอนุกูล วิมูลศักดิ์  คุณศักดิ์ศรี พิทักษ์อำนวย-ฉิก คุณครูจุฑารัตน์ ดร.ขจิต ฝอยทอง  คุณตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร คุณครูอ้อยเล็ก : วัชรี โชติรัตน์ อาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ ดร.จรูญatozorama  คุณช้างน้อยมอมแมม คุณสนั่น ไชยเสน คุณสุ-มหาวิทยาลัยชีวิตที่ไม่มีวันปิดทำการ คุณมณีวาจ คุณนงนาท สนธิสุวรรณ หนานเกียรติ  คุณครูคิม  ผอ.พนมไพร อาจารย์ธนิตย์ สุวรรณเจริญ คุณครูใจดีครูใจดี คุณสุเทพ ไชยขันธุ์ แห่ง พอช. คุณnana งาน พสว.ศอ.8 คุณใบไม้ย้อนแสง คนไม่มีราก ดร.ธวัชชัย-ดร.จันทวรรณ ทีมงานของ GotoKnow  สคส. และอีกหลายท่านเหลือเกิน

    สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์วิรัตน์ :

    พบลิงค์เครือข่ายครู บันทึกถึงโรงเรียนหนองบัวค่ะ โดยคุณครูเพลิน ....

    กิจกรรมดีเลิศของสถานศึกษา : โรงเรียนหนองบัว โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและการส่งเสริมการจัดการเรียนร่วม ค่ะ

    ขอบคุณครับอาจารย์ณัฐพัชร์ แวะเข้าไปดูแล้วครับ เยอะแยะเลยครับ

  • แต่เดิมนั้นก็เชื่ออยู่ครับว่าคงต้องมีกิจกรรมดีๆทั้งเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาสุขภาพอย่างบูรณาการในสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ที่น่าสนใจอยู่มากมายในโรงเรียนครับ
  • แต่ให้โรงเรียนทำอยู่ในกรอบของตนเองนั้นก็ดีมากอย่างยิ่งแล้วครับ ผมว่าสถานศึกษาทุกแห่งของประเทศ ทั้งโรงเรียนหนองบัวบ้านผมและที่อื่นๆนั้น ทั้งคุณครูและเด็กๆงานหนัก แออัดเกินไปมากแล้วครับ
  • มีเวทีระดมศิษย์เก่าและชุมชนภายนอกที่ใส่ใจการศึกษาเด็กและการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ของสังคม ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงเรียนและพร้อมจะเป็นเวทีรับลูกเชื่อมให้โรงเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับโลกกว้างได้เร็วๆ อยู่ข้างนอก ที่ไม่ต้องทำให้เป็นงานเพิ่มขึ้นมาอีกในภาระงานของคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนแบบสบายๆอยู่นอกโครงสร้างอย่างนี้ไปก่อนผมว่าก็ดีมากเหมือนกันนะครับ
  • ความไม่ต้องเริ่มต้นให้เป็นงานนั้น หากคุณครู นักเรียน และโรงเรียน เห็นว่าได้ประโยชน์และเป็นเวทีรองรับการสร้างสรรค์สิ่งใดได้ ก็จะได้เข้ามาใช้และสร้างให้มันเป็นอย่างที่อยากเห็น ได้ทั้งงาน ได้ทั้งการเดินออกมาหาวัตถุดิบกลับไปทำงาน และได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอันกว้างขวาง โดยทำไปตามความสนใจส่วนบุคคลของคุณครูหรือเด็กๆที่ออกมา ไม่ต้องแบกความรับผิดชอบองค์กรออกมาด้วยซึ่งจะทำให้หัวไม่แล่น และไม่เป็นตัวของตัวเองพอที่จะทำงานสร้างสรรค์
  • และเมื่อดึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนได้ตรงส่วนไหน ก็จะได้นั่งเลือกสรรเอาไปตามความพร้อมโดยถือเอาการพัฒนาโรงเรียนและผลที่จะเกิดต่อเด็กเป็นตัวตั้ง พวกเราทั้งเป็นสังคมแวดล้อมและศิษย์เก่า ก็จะได้มีส่วนร่วมในทางอ้อม ซึ่งสิ่งที่ทำก็มีประโยชน์และคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง แต่สิ่งใดที่เป็นผลดีต่อโรงเรียน ก็จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กๆช่วยคุณครู ซึ่งก็อนาคตของประเทศนั่นละครับ โดยไม่ต้องไปทำให้คุณครูและคนทำงานไม่มีอิสระที่จะคิดและทำ ในทางวิชาการ
  • สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนก็เคยร่วมสนับสนุนเหมือนกันครับ ผมเคยส่งสื่อและเอกสารความรู้ เพื่อสนับสนุนคุณครูได้ใช้พัฒนาเอดส์ศึกษา และให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาในเยาวชน ไปให้เพื่อนซึ่งเป็นครูอยู่ที่นั่นอยู่เหมือนกัน
  •    ทุนมนุษย์และทุนทางสังคมของชุมชนหนองบัว  

      พระเทพสิทธินายก   : ผู้นำสร้างโรงเรียน วัดเทพสุทธาวาส
    และที่มาของชื่อในวงเล็บ โรงเรียนหนองบัว(เทพวิทยาคม)
    โดย พระมาแล อาสโย(ขำสุข) และคุณศักดิ์ศรี-ฉิก

    วันนี้ขออนุญาตนำเสนอบุคคลสำคัญในอดีตที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึษาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและด้านอื่นๆที่เกิดขึ้นในชุมชนของเรา เพื่อให้ชาวหนองบัวและลูกหลานเยาวชนรุ่นหลังในชุมชนของเรานี้ได้รู้จักและระลึกถึงคุณความดีตลอดถึงการเห็นคุณค่าการสร้างสรรค์ประโยชน์ที่ท่านได้กระทำไว้ ดังนี้

    พระเทพสิทธินายก(ห้อง ชาตสิริ ท้วมเทศ ป.ธ.๖ ๒๔๓๘-๒๔๙๙) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ พระเดชพระคุณท่านถือกำเนิดที่บ้านเนินพลวง หมู่ที่ ๔ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นลูกชาวนาบ้านป่าดงดอนเมื่อกว่าศตวรรษที่ผ่านมาหรือร้อยกว่าปีมาแล้ว ยุคสมัยที่ท่านเกิดนั้นบ้านหนองบัวขึ้นกับการปกครองสองจังหวัดด้วยกัน บางส่วนขึ้นกับอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ บางส่วนก็แยกไปขึ้นกับอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ท่านเป็นคนบ้านเนินพลวงที่ตอนนั้นขึ้นกับอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ท่านมีคุณูปการต่อชุมชนหนองบัวและพระศาสนาอย่างมากมาย ขอสรุย่อ ๆ ได้ดังนี้

    ๑.เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว)
    ๒.เป็นผู้ให้กำเนิดก่อสร้างวัดเทพสุทธาวาส
    ๓.เป็นคนหนองบัวคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางการบริหารของคณะสงฆ์ในระดับจังหวัด
    ๔.เป็นคนหนองบัวคนแรกที่ทรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ(ที่ชาวบ้านรู้จักและเรียกกันว่าเจ้าคุณ พ.ศ.๒๔๗๙)
    ๕.เป็นพระราชาคณะรูปที่สองของจังหวัด รูปแรกคือหลวงพ่อพระธรรมไตรโลกาจารย์(ยอด อกฺกวํโส ป.ธ. ๖) วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
    ๖.เป็นมหาเปรียญรูปแรกของอำเภอหนองบัว
    ๗.เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์รูปที่ ๕
    ๘.เป็นศิษย์หลวงพ่อคล้าย จนฺทโชโต(พระนิพันธ์ธรรมาจารย์) วัดเขาพนมรอก อำเภอท่าตะโก ซึ่งท่านบวชเณรให้ หลวงพ่อคล้ายเป็นพระมหาเถระที่คู่บารมี หลวงพ่อเดิม ได้มีโอกาสสร้างโบสถ์วัดพนมรอกร่วมกับหลวงพ่อเดิม ท่านถือได้ว่าเป็นศิษย์องค์สำคัญในลำดับที่หนึ่งของหลวงพ่อคล้ายจากบรรดาศิษย์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย
    ๙.ท่านไม่ใช่เป็นเพียงคนแรกในหลาย ๆ ด้านของอำเภอหนองบัวเท่านั้น แต่ท่านยังเป็นบุคคลในลำดับต้นๆ ที่มีวุฒิทางการศึกษาสูงของเมืองนครสวรรค์อีกด้วย(ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ที่เป็นมหาเปรียญรูปที่ ๒)
    ๑๐.เป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี ป.ธ.๙) ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทในการจัดการศึกษาสงฆ์และการศึกษาสำหรับกุลบุตรฝ่ายบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่๕

                                 พระเทพสิทธินายก(ห้อง ชาตสิริ ท้วมเทศ ป.ธ.๖ ๒๔๓๘-๒๔๙๙) ผมยังไม่เกิดเลย เห็นนามสกุลนี่เดาได้เลยว่าต้องอยู่หนองกลับแน่ๆ (ต้องเกี่ยวข้องอะไรกับกำนันเทียน ท้วมเทศ)  โดย คุณศักดิ์ศรี-ฉิก ใน dialogue box 553 เวทีคนหนองบัว   

    ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก(ห้อง ชาตสิริ ท้วมเทศ ป.ธ.๖) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ท่านเป็นคนหนองกลับ หมู่ ๔ บ้านเนินพลวง กำนันเทียน ท้วมเทศนั้นเกี่ยวเนื่องโดยตรงเลยคือเป็นหลานแท้ๆของหลวงพ่อเจ้าคุณเทพฯนั่นเอง

    ก็ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลประวัติศาสตร์บางส่วนให้คุณฉิกได้ทราบเลยว่า ท่านเป็นคนหนองบัวที่ได้ดำริริเริ่มวางรากฐานการศึกษาให้แก่คนหนองบัวมาตั้งแต่ต้น
    คือปีพ.ศ.๒๔๖๖ท่านได้เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว) และชื่อโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคมที่พวกเราหลายคนเรียนชั้นประถมศึกษานั้นก็ได้มาจากราชทินนามของหลวงพ่อ ชื่อของท่านคือพระเทพสิทธินายก-ชื่อโรงเรียนคือโรงเรียนเทพวิทยาคม

    อีกชื่อหนึ่งที่ได้มาจากชื่อสมณศักดิ์หรือราชทินนามของหลวงพ่อโดยเฉพาะก็คือวัดเทพสุทธาวาส ตอนเริ่มสร้างวัดนั้น ท่านเจ้าคุณเทพฯได้ตั้งชื่อวัดมา ๓ ชื่อเพื่อให้ชาวบ้านเลือก ปรากฏว่าชาวบ้านเลือกชื่อวัดเทพสุทธาวาสซึ่งเป็นชื่อสมณศักดิ์ของท่านนั่นเอง และวัดเทพสุทธาวาสนี้เอง ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของชาวหนองบัวได้เลย นั่นคือปี พ.ศ.๒๔๙๙ มีการก่อสร้างวัดขึ้นที่หมู่บ้านหนองกลับได้มีพี่น้องประชาชนชาย-หญิงทั้งหนองบัว-หนองกลับรวมสองตำบลร่วมแรงร่วมใจกันมาสร้างเสนาสนะอย่างพร้อมเพรียงได้สร้าง กุฏิ ๔ หลัง ศาลา ๑ หลัง หอสวดมนต์ ๑ หลัง รวมเป็น ๖ หลัง ทำเสร็จภายในวันเดียว โดยการนำของท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายกและหลวงพ่ออ๋อยวัดหนองกลับ เรื่องนี้ตรงกับคำขวัญประจำอำเภอหนองบัวในวรรคสองที่ว่า ลือเลื่องความสามัคคี  โดยพระมหาแล อาสโย (ขำสุข) ใน เวทีคนหนองบัว dialogue box 554

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท